มะฟาติฮุลญินาน

จาก wikishia

มะฟาตีฮุลญินาน (ซึ่งมีความหมายว่า กุญแจแห่งสรวงสวรรค์) เป็นชื่อของหนังสือดุอาอ์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในหมู่ชาวชีอะฮ์ เขียนโดย เชคอับบาส กุมมี (1294-1359 ฮ.ศ.) หนังสือเล่มนี้ ได้รวบรวมบทดุอาอ์ การวิงวอน บทซิยาเราะฮ์ การปฏิบัติอะมั้ลประจำปี ประจำเดือน และประจำวัน พิธีกรรมต่างๆทางศาสนาที่ได้รับรายงานมาจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และบรรดาอิมามของชีอะฮ์ (อ.) (การปฏิบัติอะมั้ลที่ได้รับรายงานนี้ ผู้เขียนได้นำภาคส่วนต่างๆของหนังสือเล่มนี้ มาจากหนังสือของชนรุ่นก่อน เช่น หนังสืออิกบาลของซัยยิดอิบนุฏอวูซ มิศบาฮ์ของกัฟอะมีย์ และซาดุลมะอาดของอัลลามะฮ์ มัจญ์ลิซีย์ ตัวบทของดุอาอ์และบทซิยาเราะฮ์ เป็นภาษาอาหรับ และผู้เขียนได้อธิบายบางส่วนของบทดุอาอ์ในตอนต้นของดุอาอ์เหล่านั้น เป็นภาษาฟาร์ซีย์

มะฟาตีฮุลญินาน ได้มีการจัดพิมพ์เป็นครั้งแรกในปี 1344 ฮ.ศ. ที่เมืองมัชฮัด และหนังสือเล่มนี้ เป็นที่นิยมในช่วงระยะเวลาสั้น หนังสือเล่มนี้ยังถูกพบว่า มีอยู่ประจำบ้านและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆของชาวชีอะฮ์ในอิหร่าน และมักจะเป็นแหล่งข้อมูลเดียวที่ชาวชีอะฮ์จำนวนมากทั่วโลกได้ใช้ในการปฏิบัติศาสนกิจที่เป็นมุสตะฮับและพิธีกรรมทางศาสนา

การจัดแปลเป็นภาษาฟาร์ซีที่รู้จักมากที่สุด คือ ผลงานแปลของมะฮ์ดี อิลาฮีย์ กุมชิอี

มุฮัดดิษกุมมี ยังได้เพิ่มหนังสือ อัลบากิยาตุศศอลิฮาต เข้าไปในหนังสือมะฟาติฮุลญินาน ซึ่งมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับบทดุอา การซิยาเราะฮ์และการนมาซต่างๆ โดยส่วนมาก มีการรวบรวมไว้ในส่วนท้ายของหนังสือมะฟาตีฮุลญินาน

หนังสือมะฟาตีฮ์ นาวีน เขียนโดย อยาตุลลอฮ์ มะการิม ชีรอซี และหนังสือมินฮาญุลฮายาต ได้ถูกเรียบเรียงโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการยกหลักฐานแหล่งที่มา และหนังสือมะฟาตีฮุลฮะยาต เขียนโดยอยาตุลลอฮ์ ญะวาดี ออมูลี ด้วยแรงบันดาลใจในการทำให้มะฟาติฮุลญินานได้รับความสมบูรณ์ และยังมีมุนตะค็อบมะฟาตัฮุลญินาน อีกมากมายที่ได้รับการจัดพิมพ์เป็นภาษาต่างๆทั่วโลก

ความสำคัญและการแนะนำมะฟาตีฮุลญินาน

มะฟาตีฮุลญินาน ซึ่งรวบรวมโดย เชคอับบาส กุมมี มุฮัดดิษ(ผู้รายงานฮะดีษ)ของชีอะฮ์ ในศตวรรษที่ 14 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช เป็นหนึ่งในหนังสือดุอาและซิยาเราะฮ์ ที่มีชื่อเสียงที่สุดและแพร่หลายที่สุดในหมู่ชาวชีอะฮ์ในศตวรรษที่ 14 และ 15 ชาวชีอะฮ์โดยเฉพาะในอิหร่าน ใช้หนังสือเล่มนี้ในโอกาสต่างๆ เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา มะฟาตีฮ์ เป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมมากที่สุด รองจากอัลกุรอาน[1] และตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการชี้นำของรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ระบุว่า หนังสือเล่มนี้ เกือบ 28 ล้านเล่มได้รับการตีพิมพ์ในอิหร่านในช่วง 45 ปี[2] ‎ผู้จัดพิมพ์บางราย ได้เลือกบางส่วนของเนื้อหาและได้เผยแพร่ด้วยชื่อเช่น มุนตะค็อบ มะฟาตีฮ์ หรือ มะฟาตีฮุลญินาน ฉบับย่อ ในเดือนคุรดอด 1402 ปฏิทินอิหร่าน ณ ที่งานสัมนาครบรอบ 100 ปีแห่งการประพันธ์มะฟาตีฮุลญินาน จัดขึ้นในอิหร่าน [3] งานพิธีนี้เริ่มต้นด้วยการอ่านสาส์นของอยาตุลลอฮ์ มะการิม ชีรอซี จากบรรดามัรญิอ์ตักลีดของชีอะฮ์‏[4]‏

เกี่ยวกับผู้เขียน

ผู้เรียบเรียง มะฟาตีฮุลญินาน คือ เชค อับบาส กุมมี (เสียชีวิต: 1359 ฮ.ศ.) เป็นหนึ่งในนักวิชาการชีอะฮ์ในสาขาฮะดีษ ประวัติศาสตร์ และคิฏอบะฮ์ เขาประพันธ์หนังสือหลายเล่ม รวมถึง ซะฟีนะตุลบิฮาล และมุนตะฮัลอามาล ศพของมุฮัดดิษ กุมมี ฝังอยู่ในฮะร็อมของอิมามอะลี (อ.) ณ เมืองนะญัฟ [5] บุตรชายของมุฮัดดิษ กุมมีได้เล่าว่า บิดาของเขาเขียนหนังสือมะฟาตีฮุลญินานในสภาพที่มีวุฎูอ์ (6) เชคอับบาส กุมมี ได้เขียนว่า มะฟาตีฮุลญินาน ถูกประพันธ์เพื่อปรับปรุงและแก้ไขหนังสือมิฟตาฮุลญินาน (หมายเหตุ 1) ในเวลานั้นมีบทดุอา โดยปราศจากหลักฐานอ้างอิง และผู้ใดที่ต้องการหลักฐาน เขาก็จะแยกออกจากหนังสือมิฟตาฮุลญินาน และเขียนพร้อมกับดุอาบทอื่นๆที่เชื่อถือได้ (7)‎

คุณลักษณะต่างๆ

มะฟาตีฮุลญินาน มีหนึ่งส่วนหลัก ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 บาบ ได้แก่ บทดุอา การปฏิบัติอะมั้ลประจำปี และบทซิยาเราะฮ์ต่างๆ นอกเหนือจากนี้ ผู้เขียนยังได้เพิ่มส่วนที่มีชื่อภาคผนวก (เพิ่มเติม) และหนึ่งส่วนที่มีชื่อว่า บากิยาตุศศอลิฮาต ‎ด้วยปากกาของผู้เขียนอีกด้วย เชค อับบาส กุมมี ไม่ได้นำบทดุอามาพร้อมกับแหล่งที่มา แต่ระบุเพียงว่าบทดุอามาจากแหล่งที่มาไหนบ้าง [8] นอกจากนี้ บางบทดุอาที่รายงานในหนังสือมะฟาตีฮ์ ไม่ได้รายงานจากบรรดามะอ์ศูม ‎แต่ทว่าเขียนโดยบรรดานักวิชาการ เช่น ดุอาอะดีละฮ์ [9]‎

การเพิ่มเติมจากมะฟาตีฮุลญินาน

เชคอับบาส เพื่อต้องการไม่ให้มีผู้ใดเพิ่มสิ่งใดลงไปในหนังสือมะฟาตีฮ์ จึงปล่อยให้ผู้คนเหล่านี้ถูกสาปแช่งของพระเจ้าและคำสาปของศาสนทูตของพระองค์ (ศ็อลฯ) และบรรดาอิมาม ผู้บริสุทธิ์ (อ) (10) ขณะเดียวกัน ผู้จัดพิมพ์มะฟาตีฮ์ หลังจากนั้นได้เพิ่มมุลฮะกอตที่สองเข้าไปในมะฟาตีฮ์ รวมทั้ง ดุอาหลังจากนมาซของอิมามฮุเซน (อ.) อิมามญะวาด (อ.) และฮะดีษกิซาอ์ ด้วยเช่นกัน (11)ผู้จัดพิมพ์บางคนได้เพิ่มส่วนบากิยาตุศศอลิฮาต เป็นสองส่วน ‎ด้วยเหตุนี้เอง มะฟาตีฮุลญินาน จึงมีทั้งหมดหกส่วนด้วยกัน โดยสามส่วนถูกเรียบเรียงโดย เชคอับบาส กุมมี ซึ่งมีดังต่อไปนี้ ตัวบทของมะฟาตีฮ์ มุลฮะกอตมะฟาตีฮ์ และบากิยาตุศศอลิฮาต และอีกสามส่วน หลังจากนั้น กล่าวคือ มุลฮะกอตที่สองของมะฟาตีฮ์ มุลฮะกอตที่หนึ่งของบากิยาตุศศอลิฮาต และมุลฮะกอตที่สองของบากิยาตุศอลิฮาต(12)‎

โครงสร้างและเนื้อหา

โดยปกติแล้ว ในช่วงเริ่มต้นของมะฟาตีฮุลญินาน จะมีการพิมพ์ซูเราะฮ์ที่ยาวและเล็กของอัลกุรอาน [หมายเหตุ 2] ‎เนื้อหาของมะฟาตีฮุลญินาน ถูกแบ่งออกเป็นหลายบทด้วยกัน :‎

บทที่ 1: บทดุอา บทนี้รวมถึงบทดุอาหลังนมาซประจำวัน การปฏิบัติอะมั้ลประจำวัน กลางคืน และช่วงวันต่างๆแห่งสัปดาห์ นมาซที่เป็นที่รู้จัก เช่น นมาซของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) นมาซของท่านอะมีรุลมุอ์มินีน อะลี (อ) นมาซของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) นมาซญะอ์ฟัร ฏ็อยยาร บทซิยาเราะฮ์ประจำวัน และบางบทดุอาและมุนาญาต:‎ ‎ มุนาญาตค็อมซ์ อะชัร จากอิมามซัจญาด (อ.) มุนาญาตอิมามอะลีในมัสยิดกูฟะฮ์ ดุอาซิมาต ดุอากุเมล ดุอาเญาชันศอฆีร และเญาชันกะบีร ดุอามะการิมอัลอัคลาก และอื่นๆ ‎

บทที่สอง: การปฏิบัติอะมั้ลประจำปี ในส่วนนี้ อธิบายถึงการปฏิบัติอะมั้ลที่เป็นมุสตะฮับในช่วงหนึ่งปีแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช โดยเริ่มต้นจากเดือนรอญับและด้วยการปฏิบัติอะมั้ลญะมาดุษษานี และจากนั้นก็เป็นการปฏิบัติอะมั้ลของวันเนารูซและสิ้นสุดด้วยเดือนแห่งโรมัน มุนาญาตชะอ์บานียะฮ์ ในการปฏิบัติอะมั้ลของเดือนชะอ์บาน ดุอาอะบูฮัมซะษุมาลี ดุอาอิฟติตาฮ์ ดุอาซะฮัร ‎การปฏิบัติในคืนลัยละตุลก็อดร์ในเดือนรอมฎอน ดุอาของอิมามฮุเซนในวันอะรอฟะฮ์ ในการปฏิบัติอะมั้ลเดือนซุลฮิจญะฮ์ เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นที่รู้จักของมะฟาตีฮุลญินาน

บทที่สาม: บทซิยาเราะฮ์ ในบทนี้ เริ่มต้นด้วยการอธิบายมารยาทในการเดินทางและซิยาเราะฮ์ และคำอ่านที่ขออนุญาตเข้ายังฮะร็อม บทซิยาเราะฮ์แรกๆ บทซิยาเราะฮ์ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ซิยาเราะฮ์ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) และหลังจากนั้น ซิยาเราะฮ์บรรดาอิมามแห่งบะกีอ์ นอกเหนือจากนี้ ซิยาเราะฮ์อิมามทั้งสิบสอง ในภาคส่วนนี้ รวมถึงบทซิยาเราะฮ์บรรดาอิมามซอเดห์ และบรรดาผู้อาวุโส ผู้สูงส่งและนักวิชาการของชีอะฮ์ เช่น บทซิยาเราะฮ์ท่านฮัมซะฮ์ มุสลิม บินอะกีล ‎ฟาฏิมะฮ์ บินติอะซัด บรรดาชะฮีดแห่งอุฮุด ซัลมาน อัลฟาร์ซีย์ และบุคคลอื่นๆเป็นต้น การปฏิบัติอะมั้ลบางประการที่เป็นที่รู้จัก เช่น มัสยิดกูฟะฮ์ มัสยิดศออ์ศออะฮ์ ก็รวมอยู่ในส่วนนี้ด้วยเช่นกัน ส่วนที่ยาวที่สุดของบทนี้ เน้นย้ำไปที่บทซิยาเราะฮ์ของอิมามฮุเซน (อ.) โดยเฉพาะ บทซิยาเราะฮ์ของอิมามฮุเซน ที่เป็นที่รู้จักที่สุดคือ บทซิยาเราะฮ์อาชูรอ ซิยาเราะฮ์อัรบะอีน และซิยาเราะฮ์วาริษ ในส่วนนี้ ดุอานุดบะฮ์ ดุอาอะฮ์ด ‎บทซิยาเราะฮ์ญามิอะฮ์ กะบีเราะฮ์ รวมอยู่ในบทซิยาเราะฮ์ที่เกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี ด้วยเช่นกัน หลังจากบทซิยาเราะฮ์อิมามมะฮ์ดี บทซิยาเราะฮ์บรรดาศาสดา บทซิยาเราะฮ์ท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ และบทซิยาเราะฮ์ท่านอับดุลอะซีม ฮะซะนี ในส่วนสุดท้ายของบทนี้ ในฉบับเริ่มต้นของมะฟาตีฮ์ ด้วยการซิยาเราะฮ์กุโบร์ของบรรดาผู้ศรัทธาและดุอาที่เกี่ยวข้อง

มุลฮะกอต มะฟาตีฮ์ เชคอับบาส กุมมีได้เพิ่มอีกส่วนหนึ่งด้วยชื่อมุลฮะกอตในหนังสือมะฟาตีฮุลญินาน ในการตีพิมพ์ครั้งที่สอง (13)ในส่วนนี้ มีแปดบท ซึ่งถือว่า ตามความเชื่อของผู้เขียน ดุอาเหล่านี้เป็นสิ่งที่ประชาชนมีความต้องการ ซึ่งดุอาทั้งแปดมีดังต่อไปนี้

ดุอาการอำลาเดือนรอมฎอน คุฏบะฮ์วันอีดฟิฏร์ บทซิยาเราะฮ์ ญามิอะฮ์อะอิมมะฮ์อัลมุสลิมีน ดุอาหลังจากการอ่านซิยาเราะฮ์ บทซิยาเราะฮ์การอำลาบรรดาอิมาม ดุอาของอิมามมะฮ์ดีสำหรับการแสวงหาความต้องการ ดุอาสำหรับอิมามมะฮ์ดีในช่วงการเร้นกายของท่าน มารยาทของการซิยาเราะฮ์แบบตัวแทนผู้อื่น

บากิยาตุศศอลิฮาต

บากิยาตุศศอลิฮาต เป็นหนังสือที่ผู้เขียนเพิ่มเติมในมะฟาตีฮุลญินาน (14) เชคอับบาส กุมมี กล่าวว่า การประพันธ์ส่วนนี้เสร็จสมบูรณ์ เมื่อวันศุกร์ที่ 19 มุฮัรรอม ปี 1345 ฮ.ศ. (15) ในการจัดพิมพ์ต่างๆของมะฟาตีฮุลญินาน มีการเพิ่มส่วนเข้าไปด้วย

หนังสือเล่มนี้ มีทั้งหมดหกบทและถือเป็นมุลฮะกอต ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

บทที่หนึ่ง การปฏิบัติอะมั้ลประจำวันและคืน ซึ่งบางส่วนเกี่ยวกับมารยาทของการดำเนินชีวิตประจำวันและดุอาในทุกชั่วโมงของวันและวิธีการนมาซศอลาตุลลัยล์

บทที่สอง กล่าวถึงนมาซที่เป็นมุสตะฮับ ซึ่งเป็นนมาซฮะดียะฮ์ให้บรรดามะอ์ศูมีน นมาซลัยละตุน ดะฟั่น นมาซเพื่อขอความต้องการ นมาซอิสติฆอษะฮ์ นมาซประจำวันของสัปดาห์ เชคอับบาส ยังรวมถึง การอิสติคอเราะฮ์และวิธีการอิสติคอเราะฮ์

บทที่สาม บทดุอาต่างๆและดุอาที่ป้องกันภัย ความเจ็บปวดและโรคต่างๆ ซึ่งเป็นดุอาที่เกี่ยวกับการขจัดความเจ็บปวดและโรคต่างๆ

บทที่สี่ ดุอาที่เลือกจากหนังสืออัลกาฟีย์ ส่วนมากของดุอาในส่วนนี้สำหรับการขจัดปัญหาต่างๆ เช่น การไม่พอเพียงในปัจจัยยังชีพ และความต้องการทางโลก

บทที่ห้า กล่าวถึงฮิรซ์ และดุอาที่สั้นจากหนังสือมุฮะญุดดะอะวาต และอัลมุจญ์ตะนา ในบทนี้กล่าวถึงดุอาที่ใช้ในการป้องกันภัยอันตรายต่างๆ (ฮิรซ์) และรวมทั้งบางมุนาญาตและดุอาสำหรับการแสวงหาปัจจัยยังชีพ

บทที่หก อธิบายถึงคุณสมบัติพิเศษของบางซูเราะฮ์และบางโองการ และกล่าวถึงบางดุอาและประเด็นทั่วไป คุณสมบัติบางโองการและซูเราะฮ์สำหรับการแก้ไขปัญหาต่างๆประจำวัน ในส่วนนี้ยังกล่าวถึงดุอาเพื่อฝันเห็นบุคคลหนึ่ง บุคคลใด ดุอาสำหรับการอ่านหนังสือ มารยาทในการทำอะกีเกาะฮ์ และการอิสติคอเราะฮ์ด้วยอัลกุรอาน

แหล่งอ้างอิงของหนังสือ

บางส่วนของแหล่งอ้างอิงที่เชคอับบาส กุมมี ใช้ในการประพันธ์หนังสือมะฟาตีฮุลญินาน และมีการกล่าวถึงชื่อของหนังสือเหล่านี้ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1.อิษบาตุลฮุดาห์ เขียนโดย เชคฮุร อามิลี 2.อัลอิฮ์ติญาจ เขียนโดย อะฮ์มัด บินอะลี ฏอบัรซี 3.อัลอิคติยาร เขียนโดย อิบนุบากี 4.อัรบะอะตุ อัยยาม เขียนโดย มีรดามาด 5.อัลอัซซะรียยะฮ์ รู้จักกันในชื่อ ฮาอียะฮ์ เขียนโดย เชคกาซิม อัซรี 6.อิอ์ลามุลวะรอ เขียนโดย เชคฏอบัรซี 7.อัลอิกบาล เขียนโดย ซัยยิด บินฏอวูซ 8.อัลอะมาลี เขียนโดย เชคฏูซี 9.อัลอะมาน เขียนโดย ซัยยิด บินฏอวูซ 10.บิฮารุลอันวาร เขียนโดย อัลลามะฮ์ มัจญ์ลิซี 11.บะละดุลอะมีน เขียนโดย กัฟอะมี

แหล่งอ้างอิงอื่นๆที่เชคอับบาส กุมมี กล่าวไว้ในหนังสือมะฟาตีฮุลญินาน : ตอรีคอาลัมออรอเยอับบาซี เขียนโดย มีรซา อิสกันดัร บีก มะเนชี ตุฮ์ฟะตุซซาอิร เขียนโดย อัลลามะฮ์ มัจญ์ลิซี ตะฮ์ซีบุลอะฮ์กาม เชคฏูซี ญะมิอุลอัคบาร ไม่ทราบชื่อผู้เขียน และญะมาลุลอุซบูอ์ เขียนโดย ซัยยิด บินฏอวูซ (16)

การจัดพิมพ์และการแปล เชคอับบาส กุมมี ได้ประพันธ์หนังสือมะฟาตีฮุลญินาน ในปี 1344 ฮ.ศ.และจัดพิมพ์ครั้งแรกในเมืองมัชฮัด (17) หนังสือนี้ ได้รับการเขียนด้วยลายอักษรจากศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ เช่น ฏอฮิร โคชเนวีซ (18) มิศบาฮ์ซาเดห์ (19) มีรซา อะฮ์มัด ซันญานี (20) มุฮัมมัดริฎอ อัฟชารี (21) เขียนด้วยลายอักษร นัซค์และนัซตะอ์ลีก หนังสือมะฟาตีฮุลญินาน ได้รับการตีพิมพ์ในรูปแบบต่าง ๆนับไม่ถ้วน และด้วยเหตุผลที่ว่า หนังสือเล่มนี้มีปริมาณมาก ผู้จัดพิมพ์บางรายจึงได้เลือกเนื้อหาและจัดพิมพ์ในรูปแบบ มุนตะค็อบ มะฟาตีฮ์ หรือ มะฟาตีฮุลญินาน ฉบับย่อ (22)

การแปลต่างๆ คำอธิบายที่เชคอับบาส กุมมี นำมาไว้ในช่วงเริ่มต้นของทุกบทดุอา หรือบทซิยาเราะฮ์ หรือการปฏิบัติอะมั้ลต่างๆ ล้วนเป็นภาษาฟารซีย์ทั้งสิ้น แต่ทว่า ตัวบทดุอาและบทซิยาเราะฮ์เป็นภาษาอาหรับ และได้รับการแปลจากนักแปลภาษาฟารซีย์บางคน มะฟาตีฮุลญินานที่ได้รับการแปลเป็นภาษาฟาร์ซีย์ที่ถูกรู้จักมากที่สุด คือ การแปลของมะฮ์ดี อิลาฮี กุมชิอี และการแปลอื่นๆ โดยซัยยิดฮาชิม เราะซูลี มะฮัลลาตี (23) ฮุเซน อิสทาโดลี (24) มุฮัมมัดบากิร กะมะเรฮ์อี และคนอื่นๆ

ในวันที่ 9 โครดอด ปี 1402 ตรงกับวันที่ 10 ซุลเกาะอ์ดะฮ์ ปี 1444 ได้มีการจัดสัมนาครั้งใหญ่ขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบหนึ่งร้อยปีของการจัดพิมพ์หนังสือมะฟะตีฮุลญินาน (25) ในการสัมนานี้ ได้มีการแสดงหนังสือมะฟะตีฮ์ ฉบับใหม่ ด้วยลายอักษรจากฏอฮิร โคชเนวีซ ซึ่งได้รับการแก้ไขด้วยลายมือของเชคอับบาส กุมมี ความแตกต่างของแต่ละฉบับมีคำอธิบายข้างล่างเชิงอรรถชัดเจน มีการรวบรวมบทดุอาแต่ละบทอย่างเป็นระเบียบ มีการใช้สัญลักษณ์ต่างๆเช่น จุด วงเล็บ อัฒภาค ฯลฯ ด้วยเช่นกัน (26)

หนังสือมะฟาตีฮุลญินาน ยังได้รับการแปลเป็นภาษาอื่นๆ รวมถึงภาษาอังกฤษ ซึ่งอย่างน้อยมีการแปลสี่ฉบับ) ฝรั่งเศส ตุรกี อูรดูและสเปน (27)

การวิพากษ์วิจารณ์

เนื้อหาบางส่วนและการกล่าวอ้างของเชค อับบาส กุมมี ในมะฟาตีฮุลญินาน ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากบรรดานักวิจัย ยกตัวอย่างเช่น บทกวีอันโด่งดังเรื่อง ซินเดห์ ดิลี ดัร ซัฟเฟ อัฟซุรเดกอน รัฟต์ เบ ฮัมซอเยกีเย มุรเดกอน ซึ่งมาจากบทกวีของญามี [28] ซึ่งถูกให้ความสัมพันธ์ไปยังนิซอมี (29) นอกจากนี้ นะซิร มะการิม ชีรอซี ได้เขียนในบทนำของหนังสือมะฟาตีฮ์ นะวีน เกี่ยวกับการขจัดข้อบกพร่อง การเพิ่มหลักฐานและแหล่งอ้างอิงของบทดุอาและบทซิยาเราะฮ์ต่างๆ โดยคำนึงถึงเงื่อนไขของเวลาและสถานที่ รวมทั้งการตัดเนื้อหาที่เป็นเหตุให้มีผู้ประสงค์ร้าย ‎เนื่องจากปัจจัยบางประการจึงได้มีการแก้ไขมะฟะตีฮ์อย่างกว้างขวาง (30) ‎

หนังสือต่างๆที่เกี่ยวข้อง

มะฟาตีฮ์ นาวีน หนังสือมะฟาตีฮ์ นาวีน ถือเป็นผลงานการประพันธ์ของนาศิร มะการิม ชีรอซี เป็นหนังสือที่รวบรวมและจัดพิมพ์ ‎ด้วยการอ้างอิงหลักฐาน ทำให้หนังสือมะฟาตีฮุลญินานมีความสมบูรณ์แบบ [31] อยาตุลลอฮ์ มะการิม ถือว่า ‎แรงจูงใจของเขาในการจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับยุคปัจจุบันและยังได้ตัดเนื้อหาที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและความคลุมเคลือ [32] ตามที่ผู้เขียนได้เพิ่มบทนำของแต่ละบทดุอาและบทซิยาเระฮ์ด้วยการกล่าวถึงแหล่งอ้างอิงและหลักฐานของบทดุอาและบทซิยาเราะฮ์ในเชิงอรรถ ทั้งการตัดเนื้อหาที่เกี่ยวกับบางการกระทำบางอย่างที่คล้ายคลึงกันและเป็นเนื้อหาที่อ่อนแอ อีกทั้งการให้ความสนใจกับเนื้อหาของบทดุอาและบทซิยาเราะฮ์ ‎และการไม่พอเพียงสำหรับหลักฐานที่ถูกเลือกสรร ถือเป็นหนึ่งในคุณลักษณะที่พิเศษของผลงานชิ้นนี้ [33]‎

มินฮาญุลฮะยาต ฟีย์ อัลอัดอียะฮ์ วัซซิยารอต หนังสือเล่มนี้ ได้รับการวิจัยและเขียนโดย มุฮัมมัดฮาดี ยูซุฟี ฆ็อรวี และสมัชชาอะฮ์ลุลบัยต์สากล ได้ดำเนินการจัดพิมพ์ หนังสือนี้ ได้มีการตรวจสอบหลักฐานของดุอาทั้งหลายและบทซิยาเราะฮ์ต่างๆในหนังสือมะฟาตีฮุลญินานอย่างสมบูรณ์ (34) มีการปรับปรุงหลักฐานของบทดุอาและบทซิยาเราะฮ์ในมะฟาตีฮุลญินาน การตัดออกและการแทนที่ด้วยแหล่งอ้างอิงที่ชัดเจนของบทดุอาและบทซิยาเราะฮ์ และการย้อนกลับไปยังแหล่งอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ของบางกรณี (35)

มะฟาตีฮุลฮะยอต หนังสือมะฟาตีฮุลฮะยอต เขียนโดยกลุ่มนักวิจัย ภายใต้การดูแลของอับดุลลอฮ์ ญะวาดี ออมูลี เขาถือว่า หนังสือเล่มนี้เป็นเล่มที่สองของมะฟะตีฮุลญินาน นอกจากนี้ จุดประสงค์ในการประพันธ์เพื่อการสอนวิถีชีวิตแบบอิสลามให้แก่ประชาชน (36) การมีมุมมองที่ทันต่อเวลาและกาลสมัย ความสามารถในการเปรียบเทียบกับยุคสมัยปัจจุบัน ถือเป็นลักษณะอันพิเศษของผลงานชิ้นนี้ (37)