ฟะดัก
ฟะดัก (ภาษาอาหรับ : فدك )เป็นหมู่บ้านที่มีความอุดมสมบูรณ์ ใกล้กับเขตค็อยบัร ในภูมิภาคฮิญาซ ซึ่งมีชาวยิวอาศัยอยู่ พื้นที่ดังกล่าว พื้นที่ตกอยู่ในมือของชาวมุสลิมโดยไม่มีการต่อสู้ใดๆ ในสมรภูมิค็อยบัร ศาสดามุฮัมมัดได้มอบพื้นที่ดังกล่าวให้กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) บุตรสาวของเขา หลังจากที่โองการ และจงมอบสิทธิ์ของเขาให้แก่ญาติที่ใกล้ชิด ถูกประทานลงมา
หลังจากการวายชนม์ของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เกิดการโต้เถียงระหว่างเคาะลีฟะฮ์คนแรกและท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) เกี่ยวกับการเป็นเจ้าของฟะดัก ซึ่งรู้จักกันในชื่อ เหตุการณ์ฟะดัก อะบูบักร์ได้ยึดครองฟะดักเพื่อเป็นประโยชน์ของเคาะลีฟะฮ์ ซึ่งทำให้ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ออกมาคัดค้าน ฟะดักยังอยู่ในการควบคุมของเคาะลีฟะฮ์ ในช่วงสมัยของบะนีอุมัยยะฮ์และอับบาซียะฮ์ แน่นอนว่า ในบางครั้ง เคาะลีฟะฮ์ในสมัยบะนีอุมัยยะฮ์และอับบาซียะฮ์บางส่วน ได้คืนพื้นที่ดังกล่าวให้กับลูกหลานของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ แม้ว่า เหล่าเคาะลีฟะฮ์ ในภายหลัง จะยึดคืนมาก็ตาม
ฟะดัก ตั้งอยู่ในจังหวัดฮาอิฏ ของซาอุดีอาระเบีย และเป็นที่รู้จักในชื่อ วาดีย์ฟาฏิมะฮ์ และสวนอินทผลัมของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ เรียกว่า สวนของฟาฏิมะฮ์ นอกจากนี้ ยังมีมัสยิดและบ่อน้ำในพื้นที่นี้ ที่รู้จักกันในชื่อ "มัสญิดฟาฏิมะฮ์ และ บ่อน้ำของฟาฏิมะฮ์
ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และความสำคัญทางประวัติศาสตร์
ฟะดัก เป็นดินแดนในฮิญาซ [๑] ห่างจากเมืองมะดีนะฮ์ ประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตร [๒] พืนที่นี้เคยเป็นสถานที่อยู่อาศัยของชาวยิวในช่วงเริ่มต้นของอิสลาม [๓] และถูกยึดครองโดยมุสลิมโดยไม่มีการต่อสู้ในสมรภูมิค็อยบัร [๔] และศาสดามุฮัมมัดได้มอบให้แก่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) [๕] ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ของฟะดัก หลังจากการวายชนม์ของศาสดา ทำให้เกิดการอภิปรายอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับประเด็นนี้ในผลงานเขียนของนักวิชาการชีอะฮ์และอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ [๖] และมีการเขียนหนังสือที่เป็นอิสระเกี่ยวกับเรื่องนี้ [๗] นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดปฏิกิริยาจากเหล่าผู้ปกครองในช่วงเวลาต่างๆ [๘]
คุณค่าของพื้นที่ฟะดัก
พื้นที่ฟะดัก มีสวนและสวนอินทผลัมอย่างมากมาย ในช่วงเวลาที่อิสลามถือกำเนิด [๙] อิบนุ อะบีล ฮะดีด มุอ์ตะซีลี (เสียชีวิตในปี ๖๕๖ ฮ.ศ. ) อ้างคำพูดของนักวิชาการชีอะฮ์ที่กล่าวว่า มูลค่าของต้นอินผลัมของฟะดักนั้น เท่ากับต้นอินทผลัมในเมืองกูฟะฮ์ในเวลานั้น ซึ่งเป็นเมืองที่มีความมั่งคั่งพร้อมสวนอินทผลัมที่กว้างใหญ่ [๑๐] ตามแหล่งข้อมูลระบุว่า ชาวยิวอาศัยอยู่ในฟะดัก จนถึงสมัยของเคาะลีฟะฮ์คนที่สอง แต่เขาบังคับให้พวกเขาออกจากพื้นที่ [๑๑] มีรายงานว่า เมื่ออุมัร อิบนุ อัลค็อฏฏ็อบได้ขับไล่ชาวยิวออกจากฮิญาซ เขาจ่ายเงินให้พวกเขา ๕๐,๐๐๐ ดิรฮัมสำหรับมูลค่าครึ่งหนึ่งของฟะดัก [๑๒] ในแหล่งข้อมูลยังรายงานว่า รายได้ประจำปีของฟะดักในสมัยของศาสดาของพระเจ้า (ศ็อลฯ) ประมาณการว่า อยู่ระหว่าง ๒๔,๐๐๐ ดีนาร [๑๓] ถึง ๗๐,๐๐๐ ดีนาร [๑๔]
เรียงลำดับเหตุการณ์ฟะดัก
ชะอ์บาน ปีที่ ๖ ฮ.ศ. อิมามอะลี (อ.) กรีฑาทัพสู่ฟะดัก [๑๕] เศาะฟัร ปีที่ ๗ ฮ.ศ. การพิชิตค็อยบัร [๑๖] เศาะฟัร หรือ เราะบีอุลเอาวัล ปีที่ ๗ ฮ.ศ. ฟะดัก ถูกส่งมอบให้กับศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) โดยชาวยิว ๑๔ ซุลฮิจญะฮ์ ปีที่ ๗ ฮ.ศ.ฟะดักได้มอบให้กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ.) (๑๗) เราะบีอุลเอาวัล ปีที่ ๑๑ ฮ.ศ. ฟะดัก ถูกยึดโดยอะบูบักร์ ประมาณปีที่ ๓๐ ฮ.ศ. ฟะดัก ถูกส่งมอบให้กับมัรวานโดยอุษมาน หลังจาก ๔๐ ฮ.ศ. ฟะดัก ถูกแบ่งระหว่างมัรวาน และ อัมร์ บิน อุษมาน และยะซีด โดยมุอาวียะฮ์ (๑๙) ประมาณปีที่ ๑๐๐ ฮ.ศ. ฟะดัก ได้กลับคืนให้กับลูกหลานของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.)โดยอุมัร บิน อับดุลอะซีซ หลังจากปีที่ ๑๐๑ ฮ.ศ. ยะซีด อิบนุ อับดุลมะลิกได้ยืดฟะดักคืนอีกครั้ง ประมาณปีที่ ๑๓๒ ถึง ๑๓๖ ฮ.ศ. ฟะดัก ถูกส่งคืนโดยซัฟฟาห์ ซึ่งเป็นคอลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ คนแรก (๒๐) ประมาณปีที่ ๑๔๐ ฮ.ศ. การยึดคืนอีกครั้งโดยมันศูร อับบาซีย์ [๒๑] ประมาณปีที่ ๑๖๐ ฮ.ศ. ได้กลับคืนโดยคำสั่งของมะฮ์ดี อับบาซีย์ (๒๒) ประมาณปีที่ ๑๗๐ ฮ.ศ. ถูกยึดคืนอีกครั้งตามคำสั่งของ ฮาดี อับบาซีย์ ปีที่ ๒๑๐ ฮ.ศ. การกลับคืนโดยคำสั่งของมะอ์มูน อับบาซีย์ (๒๓) (ปีที่ ๒๓๒-๒๔๗ ฮ.ศ.) ถูกยึดครองตามคำสั่งของมุตะวักกิล อับบาซีย์ [๒๔] ๒๔๘ ฮ.ศ. การกลับคืนโดยคำสั่งของมุนตะศิร อับบาซี (๒๕)
ชาวมุสลิมปกครองเหนือฟะดัก
หลังจากที่ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้พิชิตครองดินแดนค็อยบัรและป้อมปราการในสมรภูมิค็อยบัร ชาวยิวที่อาศัยอยู่ในป้อมปราการและสวนของฟะดักได้ส่งตัวแทนไปยังศาสดา และตกลงที่จะประนีประนอมกัน โดยมีการตกลงกันว่า ที่ดินครึ่งหนึ่งจะเป็นของพวกเขา ดังนั้น ฟะดักจึงตกเป็นของมุสลิมโดยไม่มีสงครามหรือกองทัพ (๒๖) ตามโองการ ฟัยอ์ [หมายเหตุ ๑] ทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่มีสงคราม เรียกว่า ฟัยอ์ และศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) มีอำนาจที่จะมอบให้กับผู้ใดก็ตามที่เขาเห็นว่า มีความเหมาะสม (๒๗) ตามแหล่งข้อมูลของชีอะฮ์ (๒๘) และอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ [๒๙] หลังจากการประทานโองการที่ ๒๖ ของซูเราะฮ์อัลอิสรออ์ [๓๐] ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้มอบฟะดักให้กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.)
ข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ของฟะดัก
หลังจากที่ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้วายชนม์ ก็มีข้อพิพาทเกิดขึ้นในเรื่องกรรมสิทธิ์ของฟะดัก ในเหตุการณ์นี้ อะบูบักร์ได้ยึดฟะดักไปจากท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) และยึดไว้เพื่อเป็นประโยชน์ของเคาะลีฟะฮ์ ข้อโต้แย้งของอะบูบักร์ คือ บรรดาศาสดาจะไม่ทิ้งมรดก และเขาอ้างว่า เคยได้ยินเรื่องนี้จากศาสดา (ศ็อลฯ) [๓๒]
ในบทเทศนาธรรมฟะดะกียะฮ์ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ) ได้กล่าวว่า ถ้อยคำของอะบูบักร์ ขัดแย้งกับอัลกุรอาน (๓๓) และนำอิมามอะลี (อ.) และท่านหญิงอุมมุ อัยมัน ไปเป็นพยานยืนยันว่า ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้มอบฟะดักแก่นาง ก่อนที่เขาจะเสียชีวิต (๓๔) อะบูบักร์ ยอมรับและเขียนลงในกระดาษแผ่นหนึ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใดบุกรุกฟะดัก เมื่อท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ออกจากที่ประชุม อุมัร บิน อัลค็อฏฏ็อบก็หยิบกระดาษและฉีกมันขาด (๓๕)
หลังจากความล้มเหลวในการเรียกร้องความยุติธรรมของอิมามอะลี (อ.) ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.)ได้ไปที่มัสญิดและกล่าวเทศนา ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อ บทเทศนาฟะดะกียะฮ์ (๓๖)
ฟะดัก ยังอยู่ในมือของเคาะลีฟะฮ์ในสมัยบะนีอุมัยยะฮ์และบะนีอับบาซียะฮ์ แน่นอนว่า เคาะลีฟะฮ์บางคน เช่น อุมัร อิบนุ อับดุลอะซีซ อุมัยยะฮ์ (๓๗) ซัฟฟาห์ (๓๘) และมะอ์มูน อับบาซีย์ [๓๙] ได้ส่งคืนให้กับลูกหลานของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ มุตะวักกิล อับบาซีย์ (ครองราชย์ : ๒๓๒ -๒๔๗ ฮ.ศ.) ออกคำสั่งให้คืนฟะดัก กลับสู่สถานะเดิม [๔๐] แต่ มุนตะศิร บุตรชายของเขาได้คืนมันให้กับพวกอะละวี (๔๑) แน่นอนว่า อุมัร อิบนุ อับดุลอะซีซ เชื่อว่า ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ไม่ได้มอบฟะดักให้กับบุตรสาวของเขา แต่ว่า มันอยู่ในความครอบครองของผู้ปกครองอิสลาม และท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ได้ใช้ประโยชน์จากมัน โดยได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองอิสลาม [๔๒]
ผลที่เหลืออยู่ของฟะดัก
ฟะดัก ตั้งอยู่ในเขตปกครองเฮลของซาอุดีอาระเบีย ในเขตพื้นที่นี้ มีการก่อตั้งเมืองที่ชื่อว่า อัลฮาอิฏ ขึ้น [๔๓] พื้นที่ฟะดัก เป็นที่รู้จักในชื่อว่า วาดีย์ฟาฏิมะฮ์ และสวนอินทผลัมของพื้นที่นี้ เรียกว่า สวนของฟาฏิมะฮ์ นอกจากนี้ ยังมีมัสญิดและบ่อน้ำ ในพื้นที่นี้ ซึ่งเรียกว่า มัสญิดฟาฏิมะฮ์ และ บ่อน้ำของฟาฏิมะฮ์ [๔๔] บ้านเรือนและหอคอยในพื้นที่นี้ กลายเป็นซากปรักหักพัง และต้นอินทผลัมส่วนใหญ่แห้งเหือดไปแล้ว [๔๕] ในปี ๑๓๘๗ สุริยคติอิหร่าน อักบัร ฮาเชมี ราฟซันจานี เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ได้เดินทางมาเยี่ยมชมที่นี่พร้อมกับคณะผู้ติดตาม [๔๖]
ผลงานประพันธ์
หนังสือที่เกี่ยวกับฟะดักบางเล่ม มีดังนี้ :
ฟะดัก วัลอะวาลี เอาอัลวาอิฏ อัซซับอะฮ์ ฟีล กิตาบ วัซซุนนะฮ์ วัตตารีค วัลอะดับ ประพันธ์โดย ซัยยิดมุฮัมมัดบากิร ฮุซัยนี ญะลาลี (ถือกำเนิดในปี๑๓๒๔ สุริยคติอิหร่าน) : หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของฟะดัก ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เหตุการณ์ฟะดัก และฮะดีษที่เกี่ยวข้องและการอภิปรายทางเทววิทยา [๔๗] หนังสือเล่มนี้ ยังได้รับเลือกให้เป็นหนังสือแห่งปีวิลายัตในปี ๑๓๘๕ [๔๘]
ฟะดัก อัซ กะซับ ทอ ตัครีบ ประพันธ์โดย ฆุลามฮุเซน มัจญ์ลิซี กูพานี : หนังสือเล่มนี้ ได้รับการจัดพิมพ์ในปี ๑๓๘๘ ใน ๒๙๐ หน้า [๔๙] นอกจากนี้ ยังมีรายงานเกี่ยวกับการเดินทางของ อักบัร ฮาเชมี รัฟซันจานี และคณะผู้ติดตามที่เดินทางเยือนมักกะฮ์ และการเยี่ยมชมฟะดักของพวกเขา [๕๐]