โองการมะวัดดะฮ์

จาก wikishia
โองการมะวัดดะฮ์บนดอริห์อิมามฮุเซน (อ.)

โองการมะวัดดะฮ์ (ภาษาอาหรับ:آية المودة) เป็นส่วนหนึ่งของโองการที่ 23 ซูเราะฮ์อัชชูรอ ที่กล่าวถึงรางวัลตอบแทนในการเผยแพร่ของศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) คือ การขอให้มีความรักต่อ บรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(อ.) บรรดานักตัฟซีร ได้กล่าวว่า โองการนี้ บ่งบอกถึงความสูงส่งของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ ฉะนั้น จากรายงานต่างๆจากบรรดานักตัฟซีรทั้งสายชีอะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ถือว่า โองการมะวัดดะฮ์ ถูกประทานลงมา หลังจากการอพยพของ ศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) ไปยังมะดีนะฮ์ ในขณะที่ศาสดากำลังประสบกับวิกฤติทางการเงินอย่างรุนแรง โดย ชาวอันศอร ได้ขอร้องให้ศาสดาใช้จ่ายทรัพย์สินของพวกเขา ในกรณีที่มีความจำเป็น บรรดานักวิชาการ ชีอะฮ์ และชาว อะฮ์ลิซซุนนะฮ์ บางคน ยังได้ยกหลักฐานจากริวายัตที่กล่าวถึงความหมายของคำว่า อัล-กุรบา ในโองการนี้ หมายถึง บรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ของศาสดา ได้แก่ อิมามอะลี (อ.) ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(ซ.) และบรรดาอิมาม ที่สืบเชื้อสายมาจากบุคคลทั้งสอง อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี ได้กล่าวว่า ปรัชญาของคำสั่งเสียของศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ)ในการแสดงความรักต่อบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(อ.) คือ การย้อนกลับของประชาชนยังพวกเขา เพื่อที่จะทำความเข้าใจถึงความหมายและการอรรถาธิบาย อัลกุรอาน และศาสนา

ตัวบทของโองการและคำแปล

  قُلْ لَا أَسْأَلُكُمْ عَلَيْهِ أَجْرًا إِلَّا الْمَوَدَّةَ فِي الْقُرْبَىٰ
  จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ว่า ฉันไม่ได้ขอรางวัลตอบแทนใดๆจากพวกเจ้า เพื่อการนี้ เว้นแต่การให้ความรักต่อเครือญาติที่ใกล้ชิดเท่านั้น

สถานภาพของโองการ

โองการมะวัดดะฮ์ ถือเป็นโองการที่ชาว ชีอะฮ์ ต่างเชื่อว่ากล่าวถึงความประเสริฐของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(อ.) และโองการนี้ ถูกประทานลงในสถานะที่พิเศษยิ่งและยังแสดงให้ถึงความจำเป็นในการให้ความรักต่อพวกเขา(1) และเช่นกัน บางคนถือว่าโองการนี้เป็นหนึ่งในโองการที่แสดงถึงความเป็นอิมามัต(สภาวะของความเป็นผู้นำ)ของอิมามอะลี(อ.) อีกด้วย

ความหมาย

คำว่า มะวัดดะฮ์ หมายถึง การให้ความรัก(3) รอฆิบ อิสฟาฮานี กล่าวว่า มะวัดดะฮ์ คือ การมีความรักที่เข้มข้นและการอยู่ร่วมกับผู้ที่ให้ความรัก(4) ส่วนคำว่า กุรบา หมายถึง ญาติสนิทที่ใกล้ชิดกัน(5)

สาเหตุของการประทานลงมา

บรรดานักตัฟซีรชีอะฮ์ และ อะฮ์ลิซซุนนะฮ์ (7) รายงานจาก อิบนุอับบาส ว่า หลังจากที่ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)ได้ อพยพไปยังมะดีนะฮ์ และรากฐานของ อิสลาม มีความแข็งแกร่งแล้ว ขณะที่ศาสดาประสบกับวิกฤตทางการเงินอย่างรุนแรง ชาวอันศอร จำนวนหนึ่งได้เข้ามาหาศาสดาและขอร้องให้ศาสดาใช้จ่ายทรัพย์สินของพวกเขา โดยที่ไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น แล้วโองการมะวัดดะฮ์ จึงถูกประทานลงมา โดยที่รางวัลตอบแทนในการเผยแพร่ศาสนาของศาสดา คือ การแสดงการมีความรักต่อบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ เพียงเท่านั้น

อัล-กุรบา คือ ผู้ใด

ทัศนะของชีอะฮ์ บรรดานักวิชาการชีอะฮ์ ได้ยกหลักฐานจาก ริวายัต โดยเชื่อว่า ความหมายของ อัล-กุรบา ในโองการมะวัดดะฮ์ คือ บรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) ได้แก่ อิมามอะลี ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ และ บรรดา อิมาม ทั้ง 11 คน ที่สืบเชื้อสายมาจากบุคคลทั้งสอง จากการอธิบายนี้ ความหมายของ อัลมะวัดดะฮ์ ฟีลกุรบา จึงหมายถึง การแสดงความรักต่อบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์แห่งศาสดา(8) ฟัฏล์ บิน ฮะซัน ฏอบัรซี ได้กล่าวว่า มีริวายะฮ์ต่างๆที่เป็นมุตะวาติรทั้งจากสายชีอะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ รายงานว่า มีความจำเป็นที่จะต้องให้ความรักต่อบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) และยังมีการยืนยันในการอธิบายนี้(9) และยังมีริวายัตอีกเป็นจำนวนมากที่ได้กล่าวรายงานจาก บรรดาอิมาม ผู้บริสุทธิ์ เกี่ยวกับการอธิบายโองการนี้

  • หลังจากการเป็น ชะฮีด (การพลีชีพ)ของอิมามอะลี(อ.) อิมามฮะซัน (อ.) ได้ขึ้นกล่าวเทศนาธรรมให้กับประชาชน ในระหว่างนั้น เขากล่าวว่า ฉันมาจากอะฮ์ลุลบัยต์ อัลลอฮ์ได้กำหนดให้เป็นข้อบังคับในการมีความรักต่อพวกเขาของบรรดามุสลิมทุกคน ในขณะที่พระองค์ทรงตรัสว่า จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า ฉันไม่ขอรางวัลตอบแทนใดๆจากพวกเจ้า เว้นแต่การมีความรักต่อญาติสนิท(ของฉัน) เท่านั้น(10)
  • ได้มีผู้ถาม อิมามซัจญาด(อ.) เกี่ยวกับโองการมะวัดดะฮ์ โดยอิมาม(อ.) กล่าวว่า ความหมายของโองการนี้ คือ ความเป็นเครือญาติสนิทของเรา อะฮ์ลุลบัยต์นั้นมาจากมุฮัมมัด(ศ็อลฯ) (11)
  • รายงานจาก อิมามบากิร(อ.) กล่าวว่า อัล-กุรบา ในโองการนี้ หมายถึง บรรดาอิมาม(อ.)(12)

ทัศนะของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์

บรรดานักวิชาการ อะฮ์ลิซซุนนะฮ์ มีความเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับผู้ใด คือ อัล-กุรบา ฮากิม ฮัสกานี นักรายงานฮะดีษชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ในศตวรรษที่ห้าแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช ได้เขียนในหนังสือ ชะวาฮิดุตตันซีลของเขาว่า มีริวายะฮ์ที่รายงานถึงความหมายของ อัล-กุรบา 7 ริวายะฮ์ด้วยกัน โดยอธิบายว่า ความหมายของอัล-กุรบา หมายถึง อิมามอะลี ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อิมามฮะซัน และ อิมามฮุเซน (13) ตามคำกล่าวของซะมัคชะรี ได้อธิบายว่า คำว่า อัล-กุรบา หมายถึง ความเป็นเครือญาติที่ใกล้ชิด ไม่ใช่ความหมายว่า เป็นญาติ(14) ด้วยเหตุนี้เอง อัลลอฮ์(ซ.บ.) จึงมีบัญชาให้ศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) บอกกับ ชาวกุเรช ว่า หากว่าพวกเจ้าไม่มีศรัทธา แต่อย่างน้อยที่สุด เนื่องจากพวกเจ้านั้นมีความเป็นเครือญาติที่ใกล้ชิดกับศาสดา ก็อย่าได้เป็นศัตรูกับเขาเลย(15) อาลูซีย์ นักตัฟซีรของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ได้กล่าวว่า มีความจำเป็นที่จะต้องแสดงความรักต่อบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ รวมทั้งบรรดาญาติทั้งหมดของ ศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) และรวมถึงลูกหลานของ อับดุลมุฏฏ็อลลิบ ทั้งหมดอีกด้วย(16) ตามคำกล่าวของอาลูซีย์ที่ได้รายงานว่า บรรดานักตัฟซีรชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ได้ให้อีกทัศนะหนึ่งที่บ่งบอกว่า อัล-กุรบา นั้นหมายถึง ท่านหญิงอามินะฮ์ มารดาของศาสดา (17) หรือความหมายของการแสดงความรักต่อญาติใกล้ชิด คือ การแสดงความรักต่อบรรดาญาติสนิทของชาวมุสลิม ซึ่งหมายถึง การเชื่อมความสัมพันธ์ทางเครือญาติ(18)

ปรัชญาของการแสดงความรักต่อบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์

ซัยยิด มุฮัมมัด ฮุเซน ฏอบาฏอบาอี นักตัฟซีรชีอะฮ์ ได้อ้างอิงจากริวายัตต่างๆ เช่น ฮะดีษษะกอลัยน์ และ ฮะดีษซะฟีนะฮ์ บ่งบอกว่า มีความจำเป็นที่จะต้องแสดงความรักต่อบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ เพราะว่า พวกเขาคือ แหล่งที่มาทางความรู้ของประชาชน และด้วยเหตุนี้เอง การแสดงความรักต่อบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ จึงหมายถึง การคงอยู่และความต่อเนื่องของสภาวะการเป็นศาสนทูตของศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ)แม้ว่า การแสดงความรักต่อพวกเขา จะถือว่าเป็นรางวัลตอบแทนก็ตาม แต่ในความเป็นจริงแล้ว ส่งผลประโยชน์ให้กับตัวของมนุษย์เอง ไม่ใช่ส่งผลประโยชน์ให้กับ บรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(อ.) (19) ดังเช่นในโองการที่ 47 ซูเราะฮ์ซะบาอ์ ซึ่งศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ)ได้ร้องขอรางวัลตอบแทนในการเผยแพร่ศาสนา โดยส่งผลประโยชน์ให้กับชาวมุสลิม(20)

การแสดงความรักของชาวเผ่ากุเรชกับศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เนื่องจากความเป็นเครือญาติกัน ตามคำกล่าวของซะมัคชะรี คำว่า กุรบา หมายถึง ความเป็นเครือญาติใกล้ชิด ไม่ใช่เครือญาติทั่วไป [20] และด้วยเหตุนี้ อัลลอฮ์ (ซ.บ.)จึงทรงบัญชาให้ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ถามชาวเผ่ากุเรช หากพวกเขาไม่มีความศรัทธา อย่างน้อยที่สุด ก็เพราะว่า ความเป็นเครือญาติใกล้ชิด อย่าได้เป็นศัตรูกับศาสดา [21] ฏอบัรซี ยังถือว่า คำพูดนี้เป็นหนึ่งในคำพูดของอิบนุอับบาส ที่ว่าโองการนี้ หมายความว่า พวกท่านจงแสดงความรักต่อฉัน ด้วยเหตุผลที่ว่าความเป็นญาติใกล้ชิดกับฉัน และด้วยความเป็นเครือญาติกับฉัน พวกท่านต้องปกป้องฉัน ดังนั้น เนื่องจากชาวกุเรชทั้งหมดนั้นมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ด้วยเหตุนีัเอง ผู้ที่ถูกสื่อสารในโองการนี้ ก็คือ ประชาชนชาวเผ่ากุเรช (22)

ผลงานประพันธ์

มุอ์ฏิยาต อายะตุลมะวัดดะฮ์ เขียนโดย ซัยยิด มะห์มูด ฮาชิมี ชาฮ์รูดี โดยมุฮัมมัด ฮุเซน บะยาตี ได้แปลหนังสือเล่มนี้ เป็นภาษาฟาร์ซีโดยมีชื่อว่า บทเรียนจากโองการมะวัดดะฮ์ การแสดงความรักต่อบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ในทัศนะอัลกุรอานและซุนนะฮ์ เขียนโดย อะลี ฮุซัยนี มีลานี สำนักพิมพ์มัรกัส ฮะกอเยก อิสลาม ได้จัดพิมพ์ในปี 1389 (ปฏิทินอิหร่าน )หนังสือเล่มนี้ซึ่งมีทั้งหมด 248 หน้าด้วยกัน (23) ฟัรฏุมะฮับบะฮ์ ฟีย์ อายะตุลมะวัดดะฮ์ เขียนโดย ชะฮาบุดดีน คิฟาญี โดยอะลีรอดได้แปลหนังสือเล่มนี้เป็นภาษาเปอร์เซียโดยมีชื่อว่า การแสดงความรักต่ออะฮ์ลุลบัยต์ในกระจกแห่งวิวรณ์ งานแปลนี้ได้จัดพิมพ์ในปี1384 โดยความพยายามของสำนักพิมพ์เบฮ์นัชร์ มะวัดดะฮ์ อะฮ์ลุลบัยต์ เขียนโดย มุฮ้มมัด ฮะซัน ฮาญี ฮัยดะรี หนังสือเล่มนี้ได้จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ ออรอสเตห์ ในปี 1392 ซึ่งมีทั้งหมด 188 หน้า (24)