นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์
นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์(ภาษาอาหรับ : نهج البلاغة ) เป็นหนังสือที่ซัยยิด รอฎีย์ ได้เก็บรวบรวมคุฏบะฮ์ต่างๆ (บทเทศนาธรรม) ริซาละฮ์(สาส์นและจดหมาย) และสุนทโรวาทของอิมามอะลี (อ.) ไว้เป็นจำนวนหนึ่ง
นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ถือเป็นสารานุกรมทางด้านวัฒนธรรมอิสลามและเป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลที่สำคัญที่สุดในการรู้จักศาสนาอิสลามและคุณค่าของศาสนา
นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ มีวาทะศิลป์และวาทศาสตร์ และนี่คือ เหตุผลของการมีพลังดึงดูดและความเป็นอมตะของหนังสือเล่มนี้
ความครอบคลุมและความหลากหลายในเนื้อหาของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ถือเป็นคุณลักษณะพิเศษประการหนึ่ง โดยเนื้อหาของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ถูกแบ่งออกเป็นสามส่วน: คุฏบะฮ์ ริซาละฮ์ และสุนทรโรวาท ในคุฏบะฮ์ มีการกล่าวถึงในประเด็นต่างๆ เช่น การรู้จักพระเจ้า ประเด็นทางจริยธรรม การรู้จักโลก การเกิดขึ้นของโลก ธรรมชาติของมนุษย์ ประชาชาติทั้งหลาย และระบอบการปกครองของผู้มีคุณธรรมและผู้กดขี่ และในสาส์นต่างๆกล่าวถึงประเด็นทางด้านธรรมาภิบาล และวิธีการที่บรรดาเจ้าหน้ามีปฏิสัมพันธ์กับประชาชน เป็นต้น
นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ รวมถึงภาษาเปอร์เซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส อินเดีย อิตาลี ตุรกี ทาจิก และอูรดู และยังมีการเขียนคำอธิบาย (ชะเราะห์) ต่างๆมากมายที่เกี่ยวกับนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ซึ่งรวมถึง ชะเราะห์นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เขียนโดย อิบนุ อะบีลฮะดีด ชะเราะห์นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ โดย อิบนุ มัยษัม บะห์รอนี ถือเป็นคำอธิบายในภาษาอาหรับที่สำคัญมากที่สุด และ พะยอเมเอมอม อะมีรุลมุอ์มินีน (อ.) เขียนโดย นาศิร มะการิม ชีรอซี เป็นคำอธิบายในภาษาเปอร์เซีย นอกจากนี้ นักค้นคว้าบางคนได้พยายามเก็บรวบรวมสุนทรพจน์อื่นๆ ของอิมามอะลี (อ.) จากหนังสือเล่มต่างๆ ที่ไม่ได้รวมอยู่ในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ซึ่งมีการจัดพิมพ์โดยใช้ชื่อว่า มุสตัดรอก ในความพยายามเหล่านี้ สามารถที่จะกล่าวถึงหนังสือ นะฮ์ญุสซะอาดะฮ์ ฟีย์ มุสตัดรอกิ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เขียนโดย มุฮัมมัดบากิร มะห์มูดี
นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เป็นหนึ่งในหนังสือที่มีการเขียนต้นฉบับถึงหลายร้อยฉบับ ก่อนเกิดอุตสาหกรรมการพิมพ์ ต้นฉบับที่เก่าแก่ที่สุด คือ ต้นฉบับของปี ๔๖๙ ฮ.ศ. ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้ในห้องสมุดของอายะตุลลอฮ์ มัรอะชี นะญะฟี หลังจากอุตสาหกรรมการพิมพ์ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ได้รับการจัดพิมพ์หลายร้อยครั้งในประเทศอิหร่าน อียิปต์ เลบานอน ซีเรีย และกาตาร์ พร้อมทั้งคำอธิบายและคำแปลในภาษาต่างๆ
ด้วยการสถาปนาสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน และความช่วยเหลือจากสื่อและวัฒนธรรม นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ จึงถูกเปิดเผยในด้านวัฒนธรรมทั่วไป การก่อตั้งสถาบันที่มีนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เป็นแกนหลัก และมูลนิธินะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ได้ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและวิจัยเฉพาะทางเกี่ยวกับนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ นอกเหนือจากนี้ มีการจัดทำซอฟต์แวร์เฉพาะทางของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ภายใต้ชื่อ ดอนิชนอเมฮ์ อะละวี (สารานุกรมอิมามอะลี)และดอนิชนอเมฮ์ ญอมิอ์ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์(สารานุกรมนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์) อีกด้วย
แหล่งข้อมูลของซัยยิดรอฎีย์ ในการเก็บรวบรวมนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ จากหนังสือต่างๆมากมายของชาวอะฮ์ลุสซุนนะฮ์ เช่น อัลบะยาน วัตตับยีน เขียนโดยญะฮิซ อัลมะฆอซี เขียนโดยซะอีด บิน ยะห์ยา อุมะวี อัลญะมัล เขียนโดยวากิดี และตารีค เฏาะบะรี ขณะที่นักค้นคว้าบางคนมีความเชื่อว่า การที่ซัยยิดรอฎีย์ได้อ้างอิงแหล่งข้อมูลของชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์และการไม่ได้กล่าวถึงสายรายงานของสุนทรพจน์ของอิมามอะลีในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ทำให้หนังสือเล่มนี้ต้องประสบกับปัญหาต่างๆนานา ด้วยเหตุผลนี้ บรรดานักค้นคว้าหลายคนจึงได้รวบรวมสายรายงานด้านริวายะฮ์ของหนังสือเล่มนี้ จากแหล่งข้อมูลดั้งเดิมในรูปแบบของหลักฐานและเอกสารของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เพื่อพิสูจน์ถึงความถูกต้องของหนังสือเล่มนี้
ชาวซุนนี บางคนเกิดความสงสัยเกี่ยวกับผู้เรียบเรียงผลงานชิ้นนี้ และเกี่ยวกับความถูกต้องของการให้ความสัมพันธ์ของริวายะฮ์ต่างๆไปยังอิมามอะลี (อ.) ขณะที่ นักค้นคว้าบางคนได้บอกว่า การมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผู้เรียบเรียงผลงานนี้ บ่งชี้ว่าเขาไม่ได้อ้างอิงหนังสือต้นฉบับของหนังสือนี้ เพราะว่า มีการกล่าวถึงชื่อของผู้เรียบเรียง กล่าวคือ ซัยยิดรอฎีย์ หลายครั้งในเนื้อหาของหนังสือ ดังที่อิบนุ อะบีลฮะดีด หนึ่งในนักวิชาการชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ ถือว่า การเกิดข้อสงสัยในเนื้อหาของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ว่า เป็นสุนทรพจน์ของอิมามอะลี (อ.) เป็นการปฏิบัติตามอารมณ์และมีความอคติอย่างไร้เหตุผล
ความสำคัญของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์
นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เป็นหนังสือที่ประกอบไปด้วยคุฏบะฮ์ จดหมาย และสุนทโรวาท ของอิมามอะลี (อ.) ในยุคสมัยการเป็นเคาะลีฟะฮ์ของเขา (๑) ถือว่า เป็นสารานุกรมทางด้านวัฒนธรรมอิสลาม หลังจากอัลกุรอาน และฮะดีษนะบี และยังเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญมากที่สุดในการรู้จักอิสลามและคุณค่าทางศาสนา (๒) นอกจากนี้ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ยังได้รับการแนะนำให้เป็นหนึ่งในหนังสือที่สำคัญมากที่สุดสำหรับบรรดาชีอะฮ์ในการท่องจำ หลังจากอัลกุรอาน [๓] ริฎอ อุสตาดี ได้เขียนบทบรรณานุกรมของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ โดยนำเสนอหนังสือ 370 เล่มที่เกี่ยวกับนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ซึ่งได้รับการจัดพิมพ์จนถึงปี ๑๓๕๙ สุริยคติอิหร่าน (๔)
ซัยยิดมุห์ซิน อะมีน เขียนในหนังสืออะอ์ยานุชชีอะฮ์ว่า นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ได้รับการแนะนำให้เป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวอาหรับและอิสลาม (๕) ตามรายงานต่างๆ ระบุว่า หลังจากอัลกุรอาน นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ซึ่งมีต้นฉบับและคำอธิบายที่มากที่สุดในวัฒนธรรมอิสลาม และส่วนมากของวรรณกรรมเปอร์เซียและอาหรับ หลังจากอัลกุรอานก็ได้รับอิทธิพลมาจากนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ทั้งสิ้น (๖) นอกจากนี้ มุฮัดดิษ กุมมี กล่าวไว้ในหนังสือ มุสตัดรอกุลวะซาอิล ว่า ส่วนมากของบรรดานักวิชาการก่อนหน้านี้ พวกเขาต้องการอนุญาตให้ลูกศิษย์ทั้งหลายของพวกเขามีการรายงานนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ขณะที่นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ในฐานะเป็นอะคุลกุรอาน (น้องชายของอัลกุรอาน) (๗)
ผู้รวบรวม
ซัยยิดรอฎีย์ (๓๕๙ -๔๐๖ ฮ.ศ.) ได้เก็บรวบรวมนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ในปี ๔๐๐ ฮ.ศ. [๘] ซัยยิดรอฎีย์ สืบเชื้อสายมาจากอาลิอะบีฏอลิบ [๙] และเป็นหนึ่งในบรรดานักนิติศาสตร์ นักศาสนศาสตร์ นักตัฟซีร และนักวรรณคดีชาวชีอะฮ์ (๑๐)
การตั้งชื่อ
'ซัยยิดรอฎีย์ ถือว่า แรงจูงใจที่สำคัญที่สุดของเขาในการเก็บรวบรวมนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ คือ การตอบสนองต่อคำร้องขอของบรรดามิตรสหายของเขา สำหรับการรวบรวมสุนทรพจน์ที่มีวาทะศิลป์และวาทศาสตร์ของอิมามอะลี (อ.) (๑๑) เขาได้เก็บรวบรวมส่วนหนึ่งของสุนทรพจน์และสาส์นต่างๆของอิมามอะลี (อ.) ซึ่งถือว่า มีวาทะศิลป์และวาทศาสตร์ (๑๒) ด้วยเหตุผลนี้ เขาจึงตั้งชื่อผลงานชิ้นนี้ว่า นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ (หมายถึง แนวทางแห่งวาทศาสตร์ที่ชัดเจน) [๑๓] ซึ่งมุฮัมมัด อับดุฮ์ นักวิชาการชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์คนหนึ่ง กล่าวว่า เป็นคำอธิบายที่ดีที่สุดสำหรับหนังสือเล่มนี้ [๑๔]
คุณค่าทางวรรณกรรม
การมีวาทะศิลป์และวาทศาสตร์ของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ถือเป็นเหตุผลที่สำคัญมากที่สุดประการหนึ่ง และยังทำให้หนังสือเล่มนี้มีพลังดึงดูดและมีความเป็นอมตะ [๑๕] สุนทรพจน์ของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ จัดอยู่ในลำดับที่ต่ำกว่าพระวจนะของพระผู้ทรงสร้าง และเหนือกว่าคำพูดของมนุษย์ในฐานะผู้ถูกสร้าง [๑๖] เกี่ยวกับความสำคัญและคุณค่าทางวรรณกรรมและวาทศาสตร์ของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ มีรายงานคำพูดต่างๆของบรรดานักวิชาการภาษาอาหรับ [๑๗] รวมถึง :
อิบนุ อะบีลฮะดีด นักวิชาการชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ในศตวรรษที่ ๗ และเป็นผู้อธิบายนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ถือว่า บรรทัดหนึ่งของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ดีกว่าคำพูดของ อิบนุ นะบาตะฮ์ ถึง ๑,๐๐๐ บรรทัด (นักเทศนาธรรมที่มีชื่อเสียงของศตวรรษที่ ๔ ฮ.ศ.) ด้วยกัน [๑๘ ]
จอร์จ จอรด็าก นักเขียนชาวคริสเตียน เชื่อว่า นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ อยู่ในระดับที่สูงสุดของวาทศาสตร์ หลังจากอัลกุรอาน (๑๙)
เชค นาศีฟ อัลยาซิญี นักวรรณคดีและนักกวีชาวเลบานอน ผู้ท่องจำอัลกุรอานและนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เขาได้สั่งให้ศึกษาวาทศิลป์และวาทศาสตร์ของภาษาอาหรับ (๒๐)
มุห์ยิดดีน อับดุลฮะมีด หนึ่งในนักวิชาการด้านภาษาอาหรับได้ให้แนะนำว่า นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เป็นแหล่งกำเนิดของวาทศาสตร์และวาทะศิลป์ของภาษาอาหรับ เขาเชื่อว่า สุนทนพจน์ของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เป็นสุนทรพจน์ที่มีวาทะศิลป์อย่างมากที่สุด หลังจากพระวจนะของพระเจ้าและศาสนทูตของพระองค์ [๒๑]
ผู้อธิบายบางส่วนของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ได้ถือว่า อิมามอะลี (อ.) เป็นผู้ริเริ่มศิลปะแห่งการสร้างอุปมาอุปมัย (วิธีการที่คล้ายคลึงกับการเขียนนวนิยาย) ซึ่งผู้พูดมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาหรือการวิพากษ์วิจารณ์ ด้วยการสร้างให้เป็นเรื่องสั้น (๒๒) พวกเขาเชื่อว่า อิมามอะลี (อ.) ในฮิกมะฮ์ที่ ๒๘๙ ของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ได้ใช้วิธีการนี้ ดังที่อิมามอะลี (อ.) ได้กำหนดคุณสมบัติที่พิเศษสำหรับพี่น้องทางศาสนาของเขา ในขณะที่บุคคลนั้นไม่มีอยู่จริง และอิมามอะลีได้สร้างตัวละครสมมุติขึ้นมา เพื่อนำเสนอเป็นแบบอย่างในการแนะนำมนุษย์ที่มีคุณธรรมอันสูงส่ง (๒๓)
พลังดึงดูดของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สำหรับผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม
เนื่องจากการมีวาทะศิลป์และวาทศาสตร์ของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ จึงมีพลังดึงดุด ไม่เพียงแต่สำหรับชาวชีอะฮ์เท่านั้น แต่ยังสำหรับผู้ที่ไม่ใช่ชาวชีอะฮ์และไม่ใช่ชาวมุสลิมอีกด้วย [๒๔] ดังที่ จอร์จ ซัมอาน จอรด็าก ได้เขียนในหนังสือ เราะวาอิอุ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เกี่ยวกับการตรวจสอบด้านวรรณกรรมและฮิกมะฮ์ต่างๆของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ (๒๕) นอกจากนี้ ผู้ที่ไม่ใช่ชาวมุสลิมบางคน ก็เข้ารับอิสลามด้วยการอ่านนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ [๒๖] ดังเช่น นักปรัชญาชาวสหรัฐฯ มุฮัมมัด เลเกนเฮาเซน เขาเข้ารับอิสลามและเป็นชีอะฮ์ ด้วยการอ่านนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ [๒๗]
เนื้อหาของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์
มุฮัมมัด อับดุฮ์ นักวิชาการชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ ในหนังสือเล่มนี้ บางครั้ง มนุษย์ได้มองเห็นตัวเองอยู่ในขอบเขตอันสูงส่งของความหมาย ของวลีที่สวยงามและดีที่สุด และบางครั้งเขาก็อยู่ในสนามรบ ดังที่บางครั้งเราเห็นสติปัญญาอันเจิดจรัสในคำกล่าวนี้ ที่จะพยายามนำมนุษย์ออกจากความมืดมนสู่มะลากูต (ฟากฟ้า)และวางเขาลงในโลกแห่งกุดส์ (ความศักดิ์สิทธิ์) และบางครั้ง มนุษย์มองเห็นตัวเองอยู่ท่ามกลางผู้บริหารจัดการทั้งหลาย ซึ่งอะลี (อ.) ได้ชี้นำในประเด็นทางการเมือง การชี้แนะ และวิธีการที่ชาญฉลาด
อับดุฮ์ ชะเราะห์นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สำนักพิมพ์อัลอิสติกอมะฮ์ หน้า ๑๐
นาศิร มะกอริม ชีรอซี มัรญิอ์ตักลีด ผู้อธิบายนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ คนหนึ่ง ถือว่า ความครอบคลุมและความหลากหลายของเนื้อหาของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เป็นหนึ่งในความพิเศษของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เนื้อหาที่มีการกล่าวสุนทรพจน์ที่ไพเราะ มีการคิดคำนวณ และความแม่นยำในประเด็นต่างๆ และบางครั้งก็มีความขัดแย้งกัน [๒๘] ตามที่อิบนุ อะบีลฮะดีด กล่าวไว้ว่า อิมามอะลี (อ.) ในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะ บางครั้งก็เป็นดั่งนักรบที่มีชื่อเสียง เช่น บาสฏ็อม บิน กัยส์ และ อุตัยบะฮ์ บิน ฮาริษ (วีรบุรุษชาวอาหรับผู้มีชื่อเสียงทั้งสองคน) และบางครั้งก็เทศนาธรรมเหมือนเป็นพระภิกษุและนักพรต เช่น อีซา บิน มัรยัม (อ.) และโยฮันนา เป็นต้น (๒๙)
รูปภาพต้นฉบับชะเราะห์ของอิบนุ อะบีลฮะดีด เกี่ยวกับนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ฮ์ ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์มะลิก ในกรุงเตหะราน (30)
อับบาส มะห์มูด อักก็อด หนึ่งในนักวรรณคดีชาวอียิปต์ ได้แนะนำว่า นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เป็นแหล่งกำเนิดของโองการเตาฮีดและฮิกมะฮ์ของพระเจ้า [๓๑] นักค้นคว้าบางคนกล่าวไว้ว่า การศึกษานะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ทำให้ผู้อ่านมีมุมมองที่ครอบคลุมของอิมามอะลี (อ.) เกี่ยวกับพระเจ้า มนุษย์ โลก จุดเริ่มต้น(มับดะอ์) และจุดสิ้นสุด (มะอาด) [๓๒] ในหนังสือเล่มนี้ ยังกล่าวถึงคุณลักษณะทางจริยธรรมที่จำเป็นสำหรับบุคลิกภาพของมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ [๓๓] ประเด็นที่เกี่ยวกับภารกิจของบรรดาศาสดา อิมามะฮ์ การปกครองและความเป็นผู้นำ สิทธิส่วนปัจเจกบุคคลและสังคม การอธิบายถึงความสวยงามของธรรมชาติ แรงจูงใจของพวกมุนาฟิก และผู้ปฏิเสธศรัทธา (กาฟิร) ตลอดจนบางเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้นของอิสลาม และการรู้จักพวกนากิษีน มาริกีน และกอซิฏีน ล้วนเป็นเนื้อหาอื่นๆ ของหนังสือเล่มนี้ทั้งสิ้น [๓๔] อับดุลลอฮ์ ญะวาดี อามุลี มัรญิอ์ตักลีดของชีอะฮ์ เชื่อว่า ซัยยิด รอฎีย์ ได้เลือกเนื้อหาของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ด้วยวิธีการที่ชาญฉลาด เพื่อที่ไม่เกิดความขัดแย้งกันระหว่างชีอะฮ์และซุนนี แต่ทว่า อะฮ์ลิสซุนนะฮ์ได้เขียนคำอธิบายที่มีแข็งแกร่งที่สุดอีกด้วย (๓๕)
เนื้อหาของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ถูกจัดเรียงเป็นสามส่วน: คุฏบะฮ์ ริซาละฮ์ (สาส์นและจดหมาย) และฮิกมะฮ์ต่างๆ :
คุฏบะฮ์
ส่วนแรกของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เป็นบทเทศนาธรรมของอิมามอะลีที่ถูกคัดสรรมาและมีบทเทศนาธรรม ๒๔๑ บท (๓๖) ซัยยิดญะอ์ฟัร ชะฮีดี หนึ่งในผู้อธิบายนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ถือว่า ส่วนนี้ เป็นสารานุกรมทางด้านวัฒนธรรมอิสลามและรวมถึงประเด็นต่างๆเช่น การรู้จักพระเจ้า การรู้จักโลก การเกิดขึ้นของโลก ธรรมชาติของมนุษย์ ประชาชาติทั้งหลาย และการปกครองของผู้มีธรรมาภิบาล และผู้กดขี่ข่มเหง (๓๗) ตามความเชื่อของเขา ระบุว่า จุดประสงค์หลักของอิมามอะลี (อ.) คือ การอธิบายถึงประเด็นทางธรรมชาติหรือประเด็นทางปรัชญาหรือทางประวัติศาสตร์ เป็นการอธิบายประเด็นที่สำคัญของอิสลามและการรู้จักพระเจ้า (๓๘) ซัยยิด รอฎีย์ ได้ตั้งชื่อคุฏบะฮ์ไว้เพียงสี่บทเท่านั้นในหมู่คุฏบะฮ์ทั้งหลาย กล่าวคือ : คุฏบะฮ์ อัชชักชะกียะฮ์ (หมายเลขที่ ๓) อัลฆ็อรรอ (หมายเลขที่ ๘๓) อัลอัชบาห์ (หมายเลขที่ ๙๑) และอัลกอซีอะฮ์ (หมายเลขที่ ๑๙๒) [๓๙]
คุฏบะฮ์ อัชชักชะกียะฮ์
คุฏบะฮ์ อัชชักชะกียะฮ์ เป็นหนึ่งในคุฏบะฮ์ที่มีการถกเถียงกันของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ [๔๐] ในบทเทศนาธรรมนี้ อิมามอะลี (อ.) ได้อธิบายถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอิมามะฮ์ การวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติงานของเหล่าเคาะลีฟะฮ์ก่อนหน้าเขา และถือว่า ตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของพวกเขานั้นไม่ถูกต้อง [๔๑] นอกจากนี้ ในคุฏบะฮ์นี้ ยังได้อธิบายถึงเรื่องราวการโน้มน้าวของประชาชนสำหรับการให้คำสัตยาบันกับอิมามและเหตุผลของการยอมรับการปกครองของเขาอีกด้วย (๔๒)
คุฏบะฮ์ อัลฆ็อรรอ อิมามอะลี (อ.) กล่าวในคุฏบะฮ์ อัลฆ็อรรอ ได้แนะนำให้มีความยำเกรงต่อพระเจ้า รู้จักถึงความโปรดปรานต่างๆของพระองค์ การทดสอบในโลกนี้ วันแห่งการฟื้นคืนชีพและความตาย [๔๓] ตรงตามรายงานของซัยยิดรอฎีย์ ระบุว่า การมีวาทศาสตร์ของคุฏบะฮ์นี้ หลังจากที่เมื่อประชาชนได้ยินก็รู้สึกสั่นสะท้านและน้ำตาก็ไหลออกมาจากดวงตาของพวกเขา [44]คุฏบะฮ์นี้ เนื่องจากมีการใช้เครื่องมือทางวรรณกรรม เช่น ญินาส ซัจอ์ อิสติอาเราะฮ์และกินายะฮ์ จึงได้รับการตั้งชื่อว่า อัลฆ็อรรอ [๔๕]
คุฏบะฮ์ อัลมุตตะกีน คุฏบะฮ์ อัลมุตตะกีน เป็นหนึ่งในคุฏบะฮ์ทางจิตวิญญาณและการอบรมสั่งสอนของนะฮ์ ญุลบะลาเฆาะฮ์ [๔๖] อิมามอะลี (อ.) กล่าวในคุฏบะฮ์นี้ ตามคำร้องขอของสหายคนหนึ่งของเขาชื่อว่า ฮัมมาม ในการอธิบายถึงคุณลักษณะของบรรดามุตตะกีน (๔๘) ฮัมมาม หลังจากที่เขาได้ยินคุฏบะฮ์นี้ เขาหมดสติและเสียชีวิตลง (๔๙)
ริซาละฮ์ (สาส์นและจดหมาย)
ส่วนของริซาละฮ์ของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ มี ๗๙ ส่วน ซึ่งประกอบด้วยสาส์น ๖๓ ฉบับ พินัยกรรม ๑๒ ฉบับ คำสั่งและระเบียบการ ๒ ฉบับ บทดุอาอ์ ๑ บทและสัญญา ๑ ฉบับ (๕๐) ในส่วนของระเบียบการของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ซึ่งผู้ฟัง คือ บรรดาเจ้าหน้าที่ทางราชการ ผู้บังคับบัญชา และเจ้าหน้าที่เก็บภาษีอากร ส่วนใหญ่เป็นประเด็นที่เกี่ยวกับด้านการปกครอง และวิธีการมีปฏิสัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่รัฐฯกับประชาชน (๕๑) ตามที่นักค้นคว้าบางคนระบุว่า สาส์นเหล่านี้ได้ชี้แจงถึงวิถีชีวิตทางการเมืองของอิมามอะลี (อ.) (๕๒) ซัยยิดญะอ์ฟัร ชะฮีดี เชื่อว่า แม้ว่าผู้ปกครองจะเขียนจดหมายเหล่านี้ถึงผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่ของรัฐฯก็ตาม ไม่ได้เป็นคำสั่งและเปรียบเสมือนเป็นดั่งบิดาที่มีเมตตาและมีความห่วงใย จึงได้เขียนจดหมายถึงบรรดาบุตรของตนเอง [๕๓]
จดหมายของอิมามอะลีถึงอิมามฮะซัน คำสั่งให้มาลิก อัชตัร ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการอียิปต์ จดหมายของอิมามอะลีถึงอุษมาน บิน ฮะนีฟ และจดหมายของอิมามอะลีถึงอัชอัษ ถือเป็นจดหมายที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์
สุนทโรวาท
ส่วนที่สามของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ คือ สุนทโรวาท มีทั้งหมด ๔๘๐ สุนทโรวาท (๕๔) ในส่วนนี้ มีสุนทรพจน์ที่มีวิทยปัญญาของอิมามอะลี (อ.) ที่ถูกเลือกสรรมา คำตักเตือน คำตอบสำหรับคำถามต่างๆและสุนทรพจน์ที่สั้นของเขา [๕๕] ซัยยิดรอฎีย์ ได้กล่าวถึงสุนทโรวาทของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ในบทที่มีชื่อว่า ฟัศล์ ฟีย์ เฆาะรออิบิ กะลามิฮ์ (หมายถึง บทเกี่ยวกับสุนทรพจน์ที่อัศจรรย์ของอิมาม) ซึ่งเขาเชื่อว่า เป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจและจะต้องมีการอธิบาย [๕๖] บทนี้จึงมีฮะดีษ ๙ บท บทแรกเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับการปรากฏตัวของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) (๕๗)
แหล่งข้อมูลของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์
แหล่งข้อมูลบางส่วนที่ซัยยิดรอฎีย์ ได้กล่าวถึงในการเก็บรวบรวมสุนทรพจน์ของอิมามอะลี (อ.)ได้แก่ : อัลบะยาน วัตตับยีน เขียนโดยญาฮิซ อัลมุกตะฎ็อบ เขียนโดยมุบัรรอด อัลมะฆอซี เขียนโดย ซะอีด บิน ยะห์ยา อุมะวี อัลญะมัล เขียนโดย วากิดี อัลมะกอมาต เขียนโดย อะบีญะอ์ฟัร อิสกาฟีย์ และตารีค อิบนุ ญะรีร เฏาะบะรี [๕๘] ในผลงานวิจัยบางชิ้น ระบุถึงจำนวนแหล่งข้อมูลที่กล่าวในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ได้เพิ่มขึ้นเป็น ๑๗ แหล่งข้อมูล [๕๙] นักค้นคว้าบางคนเชื่อว่า แหล่งข้อมูลจากการวิจัยของซัยยิดรอฎีย์ สำหรับการเก็บรวบรวมสุนทรพจน์ของอิมามอะลี (อ.) มีมากมายอย่างมาก เพราะว่า เขาได้ใช้ห้องสมุดใหญ่ทั้งสองแห่งของกรุงแบกแดดในการรวบรวมหนังสือเล่มนี้ (ห้องสมุด ๘๐,๐๐๐ เล่มของซัยยิดมุรตะฎอ น้องชายของเขา และห้องสมุดบัยตุลฮิกมะฮ์ ๑๐,๐๐๐ เล่ม สำหรับ อะบูนัศร์ ชาพูร หนึ่งในรัฐมนตรีของราชวงศ์อาลิบูเยฮ์) [๖๐]
นักวิชาการบางคน กล่าวยกย่องสิ่งที่ซัยยิดรอฎีย์ได้ดำเนินการเกี่ยวกับนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ทั้งยังมีการวิพากษ์วิจารณ์หนังสือเล่มนี้อีกด้วย (๖๑) มุฮัมมัดตะกี ชูชตะรี เขียนไว้ในหนังสือ กิตาบ บะฮ์ญุซเศาะบาเฆาะฮ์ ฟีย์ ชัรฮินะฮ์ญิลบะลาเฆาะฮ์ โดยเขาเชื่อว่า ซัยยิดรอฎีย์ได้พยายามที่จะเก็บรวบรวมสุนทรพจน์ที่มีวาทะศิลป์ของอิมามอะลี (อ.) และสำหรับการกระทำนี้ เขาได้ย้อนกลับไปยังหนังสือของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์เพียงเท่านั้น จึงได้เกิดปัญหาต่างๆ ดังต่อไปนี้ :
การกล่าวอ้างบางสุนทรพจน์ของอิมามอะลีว่า เป็นคำพูดที่ศัตรูของพวกเขาสร้างขึ้นมา การตัดออกของบางประโยคในลักษณะที่ในหลายกรณี ทำให้เกิดปัญหากับความประสงค์ของอิมาม การอ้างถึงบางคำพูดของอิมามอะลี (อ.) ซึ่งในริวายะฮ์ของชีอะฮ์ ถือว่า ไม่ถูกต้อง การอ้างถึงบางริวายะฮ์ของบรรดาอิมามไปยังอิมามอะลี (อ.) การรายงานบางคำพูดที่ได้ยินมาจากอิมามในความฝัน การรายงานเหตุการณ์ที่ไม่ถูกต้องที่เกี่ยวข้องกับสุนทรพจน์ของอิมามอะลี (อ.) [๖๒]
สายรายงานของคุฏบะฮ์ ริซาละฮ์ และฮิกมะฮ์
กิตาบ นะฮ์ญุสซะอาดะฮ์ ฟีย์ มุสตัดรอกิ นะฮ์ญิลบะลาเฆาะฮ์ เขียนโดย มุฮัมมัดบากิร มะห์มูดี ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวมสายรายงานของคุฏบะฮ์ ริซาละฮ์และฮิกมะฮ์ของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์
การไม่กล่าวถึงสายรายงานของสุนทรพจน์ของอิมามอะลีในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ถือเป็นความท้าทายประการหนึ่งของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ด้วยเหตุนี้เอง บางคนจึงถือว่า ริวายะฮ์ของหนังสือเล่มนี้ เป็นมุรซัล และเชื่อว่า ริวายะฮ์เหล่านี้ ไม่สามารถอ้างอิงได้ในประเด็นทางนิติศาสตร์ [๖๓] ในการอ้างเหตุผลถึงวิธีการของซัยยิดรอฎีย์ ที่จะไม่กล่าวถึงสายรายงานต่างๆ มีการกล่าวกันว่า แหล่งข้อมูลของสุนทรพจน์เหล่านี้ของอิมาม ถูกเป็นที่รู้จักในยุคสมัยของซัยยิด รอฎีย์ และด้วยเหตุผลนี้เอง เขาจึงถือว่า การกล่าวถึงแหล่งข้อมูลเป็นสิ่งที่ไม่มีความจำเป็น นอกเหนือจากนี้ เขาไม่ได้ตั้งใจที่จะเขียนหนังสือฮะดีษเกี่ยวกับประเด็นนิติศาสตร์หรือประวัติศาสตร์ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีการอ้างอิงสายรายงาน แต่ทว่า เขาต้องการที่จะเก็บรวบรวมสุนทรพจน์ที่สวยงามที่สุดของอิมามอะลี (อ.) เพื่อที่จะสอนวาทศาสตร์ให้แก่วิทยากร และการงานนี้ของเขา จึงไม่จำเป็นที่จะต้องกล่าวสายรายงานของฮะดีษ [๖๔] อย่างไรก็ตาม นักค้นคว้าจำนวนมาก ได้รวบรวมสายรายงานของริวายะฮ์ต่างๆและสุนทรพจน์ในหนังสือนี้จากแหล่งข้อมูลดั้งเดิม เพื่อที่จะพิสูจน์ถึงความถูกต้องของการอ้างอิงนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ไปยังอิมามอะลี (อ.) ในรูปแบบสายรายงานและหลักฐานของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ( ๖๕] สามารถที่จะกล่าวถึงผลงานเหล่านี้ ดังต่อไปนี้ :
นะฮ์ญุสซะอาดะฮ์ ฟีย์ มุสตัดรอกิ นะฮ์ญิลบะลาเฆาะฮ์ ประพันธ์โดย มุฮัมมัดบากิร มะห์มูดี [๖๖]
มะดารอกุ นะฮ์ญิลบะลาเฆาะฮ์ วะ ดัฟอุชชชุบฮาต อันฮู ประพันธ์โดย ฮาดี กาชิฟุลฆิฏออ์ (๖๗)
มะศอดิร นะฮ์ญิลบะลาเฆาะฮ์ ฟีย์ มะดาริกิ นะฮ์ญิลบะลาเฆาะฮ์ ประพันธ์โดย ซัยยิดฮิบะตุดดีน ชะฮ์ริสตานี [๖๘] [หมายเหตุ ๑]
มะศอดิร นะฮ์ญิลบะลาเฆาะฮ์ ประพันธ์โดย อับดุลลอฮ์ นิอ์มะฮ์ (๗๐)
อิสนาด วะ มะดาร็อก นะฮ์ญิลบะลาเฆาะฮ์ [๗๑] และ รุวาต วะ มุฮัดดิษีน นะฮ์ญิลบะลาเฆาะฮ์ (๗๒)
บะห์ษี กูทอ พีรอมูน มะดาร็อก นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ประพันธ์โดย ริฎอ อุสตาดี (๗๓)
มะศอดิร นะฮ์ญิลบะลาเฆาะฮ์ วะ อะซานีดุฮู ประพันธ์โดย ซัยยิดอับดุซซะฮ์รอ อัลฮุซัยนี อัลเคาะฏีบ [๗๔]
คำแปลต่างๆ
นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ รวมถึงภาษาเปอร์เซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส ฮินดี อิตาลี ตุรกี อูรดู มาเลย์ แอลเบเนีย บอสเนีย คุชราต อัสซีเรีย อาร์เมเนีย สวาฮิลี เฮาซา ญี่ปุ่น จีน รัสเซีย, สเปน ( ๗๕) จำนวนการแปลนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ มีมากกว่า ๑๐๐ ครั้ง [๗๖] ซึ่งในจำนวนนี้ เราสามารถกล่าวถึงการแปลเป็นภาษาเปอร์เซียเกือบ ๔๐ ฉบับ [๗๗] การแปลเป็นภาษาอังกฤษประมาณ ๑๐ ฉบับ และการแปลในภาษาอูรดู ๑๓ ฉบับ (๗๘)
ญะอ์ฟัร ซุบฮานี มัรญิอ์ตักลีดของชีอะฮ์ กล่าวว่า ผลงานแปลจำนวนมากที่ได้มีการจัดพิมพ์เป็นภาษาเปอร์เซีย เนื่องจากผลงานแปลเหล่านี้ ไม่ได้ใส่ใจกับพจนานุกรม วรรณกรรม และหลักไวยากรณ์ของภาษาอาหรับมากพอ จึงไม่ใช่ผลงานแปลที่ถูกต้องและเป็นที่ยอมรับ และเป็นเพียงการตีความของผู้แปลเท่านั้นจากเนื้อหาของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เขาเชื่อว่า ผลงานแปลของมุลลา ศอลิห์ กัซวีนี ซึ่งเขียนเป็นภาษาเปอร์เซียโบราณ และผลงานแปลของซัยยิดญะอ์ฟัร ชะฮีดี เป็นหนึ่งในผลงานแปลที่น่าเชื่อถือและมีวาทศาสตร์ที่สุด [๗๙] ในบรรดาผลงานแปลของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ในภาษาเปอร์เซีย สามารถอ้างถึงผลงานของแปล เช่น ซัยยิดอะลีนะกี ฟัยฎุลอิสลาม [๘๐] อับดุลมุฮัมมัด อายะตี( ๘๑) มุฮัมมัดตะกี ญะอ์ฟะรี (๘๒) มุฮัมมัด ดัชตี [๘๓] มุฮัมมัดมะฮ์ดี ฟูลาดวันด์ [๘๔] และ ฮุเซน อันศอริยอน [๘๕]
ผลงานแปลนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ได้รับการจัดพิมพ์เป็นภาษาปุชโต ภายใต้ชื่อ สุนทรพจน์อัน ในปี 1962 ค.ศ. ผลงานแปลนี้มาพร้อมกับการบันทึกของ อะมีรฮัมซะฮ์คาน ชีนวะรี (๑๒๘๖-๑๓๗๒) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ ฮัมซะฮ์ บาบา ซึ่งโดยทั่วไปมีการถ่ายทอดผลงานแปลในภาษาอูรดูของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ โดย เราะอีซ อะฮ์มัด ญะฟะรี (๘๖)
ในบรรดาผลงานแปลภาษาอังกฤษ สามารถจะกล่าวถึงผลงานแปลของ ฏอฮิเราะฮ์ ศ็อฟฟาร ซาเดะฮ์ [๘๗]
ผลงานแปลในรูปแบบบทกวี
นักกวีหลายคนยังได้แปลนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ในรูปแบบของบทกวี เป็นภาษาต่างๆ [๘๘] ในบรรดานักกวีเหล่านี้ในภาษาเปอร์เซีย ได้แก่ มุฮัมมัดอะลี อันศอรี กุมมี มะฮ์ดี ชะฟีอี และ นาศิร บารีกานี ในภาษาซินดี คือ ฮาฟิซ มีรมุฮัมมัดฮะซัน อะลีคาน ฮัยดะรี และในภาษาตุรกี คือ ฮะซัน มุลลาอี (๘๙) นักกวีบางคนในเมืองบอมเบย์ ประเทศอินเดีย ได้เรียบเรียงนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เป็นภาษาอินเดีย ในรูปแบบของบทกวี (๙๐)
คำอธิบายต่างๆ
การเขียนคำอธิบายเกี่ยวกับนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เริ่มต้นขึ้นไม่กี่ปี หลังจากการเรียบเรียงและดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง [๙๑] ตามที่นักค้นคว้าบางคนกล่าวไว้ในประวัติศาสตร์อิสลาม หลังจาดอัลกุรอาน แทบไม่มีหนังสือใดที่มีคำอธิบายและมากเท่ากับนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ [๙๒] มีจำนวนมากของคำอธิบายเกี่ยวกับนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ทำให้ยากต่อการนับจำนวนทั้งหมด ด้วยเหตุนี้เอง ได้มีการเขียนบทความและวิทยานิพนธ์ต่างๆ เพื่อจุดประสงค์นี้ (๙๓) การเขียนคำอธิบายบางส่วนของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ มีดังนี้ :
คำอธิบายในภาษาอาหรับ
๑.ชัรฮุ นะฮ์ญิลบะลาเฆาะฮ์ ประพันธ์โดย อิบนุ อะบีลฮะดีด นักกวีและนักวรรณคดีของ สำนักคิดมุอ์ตะซิละฮ์ [๙๔] บางคนเชื่อว่าคำอธิบายของ อิบนุ อะบีลฮะดีด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในการเขียนคำอธิบายเกี่ยวกับนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ( ๙๕)
๒.ชัรฮุ นะฮ์ญิลบะลาเฆาะฮ์ เขียนโดย อิบนุ มัยษัม บะห์รอนี (เสียชีวิต: ๖๗๙ หรือ ๖๙๙ ฮ.ศ. (๙๖)
๓.มินฮาญุลบะรออะฮ์ ฟีย์ ชัรฮินะฮ์ญิลบะลาเฆาะฮ์ ประพันธ์โดย ฮะบีบุลลอฮ์ คูอีย์ (เสียชีวิต ๑๓๒๔ ฮ.ศ.) (๙๗)
๔.มินฮาญุลบะรออะฮ์ ฟีย์ ชัรฮินะฮ์ญิลบะลาเฆาะฮ์ ประพันธ์โดย กุฏบ์ รอวันดี (เสียชีวิต ๕๗๓ ฮ.ศ.) (๙๘)
๕.ฮะดาอิกุลฮะกออิก ฟีย์ ชัรฮินะฮ์ญิลบะลาเฆาะฮ์ ประพันธ์โดย กุฏบุดดีน กีดะรี ในปี ๕๗๖ ฮ.ศ. (๙๙)
คำอธิบายในภาษาฟาร์ซี
๑.คำแปลและคำอธิบายนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ประพันธ์โดย มุฮัมมัดตะกี ญะอ์ฟะรี (๑๐๐)
๒.คำแปลและคำอธิบายนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ประพันธ์โดย ซัยยิดอะลีนะกี ฟัยฎุลอิสลาม (๑๐๑)
๓.คำแปลและคำอธิบายนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ประพันธ์โดย มีรซา มุฮัมมัดบากิร เนาวาบ ลาฮีญี (๑๐๒)
๔.พะยอเมอิมอมอะมีรุลมุอ์มินีน (อ.) ประพันธ์โดย นาศิร มะการิม ชีรอซี (๑๐๓)
มุสตัดร็อกต่างๆ
นักวิชาการหลายคนพยายามเก็บรวบรวมสุนทรพจน์อื่นๆ ของอิมามอะลี (อ.) จากหนังสือเล่มต่างๆ ที่ไม่รวมอยู่ในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ และจัดพิมพ์หนังสือนี้ ภายใต้ชื่อ มุสตัดร็อก (๑๐๔) ขณะที่ซัยยิด รอฎีย์ ได้ละเว้นบางหน้าของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ไว้ด้วย เพื่อว่าในอนาคต จะพบสุนทรพจน์ใหม่ๆ ของอิมามอะลี (อ.) ที่จะเพิ่มเติมเข้าไปในนะฮ์ ญุลบะลาเฆาะฮ์ [๑๐๕] บางส่วนของมุสตัดร็อกเหล่านี้ ได้แก่ :
อัซยีล อะลา นะฮ์ญิลบะลาเฆาะฮ์ ประพันธ์โดย อับดุลลอฮ์ บิน อิสมาอีล ฮะละบี ในศตวรรษที่ห้าแห่งฮิจญ์เราะฮ์ศักราช (๑๐๖)
มุลฮะกุ นะญิลบะลาเฆาะฮ์ เขียนโดย อะห์มัด บิน ยะห์ยา บิน นาเกาะฮ์ ในปี ๗๒๙ ฮ.ศ. (๑๐๗)
มัสตัดเราะกุ นะญิลบะลาเฆาะฮ์ ประพันธ์โดย ฮาดี กาชิฟุลฆิฏออ์ (เสียชีวิต ๑๓๖๑ ฮ.ศ.) ซึ่งผลงานนี้ได้รับการจัดพิมพ์ในปี ๑๓๕๔ ฮ.ศ. (๑๐๘)
ตะมามุ นะฮ์ญิลบะลาเฆาะฮ์ ประพันธ์โดย ซัยยิด ศอดิก มูซะวี (๑๐๙)
นะญุสซะอาดะฮ์ ฟีย์ มุสตัดเราะกิ นะฮ์ญิลบะลาเฆาะฮ์ ประพันธ์โดย มุฮัมมัดบากิร มะห์มูดี (๑๑๐)
ความสำคัญของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ หลังจากการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน
แสตมป์เนื่องในหนึ่งพันปีของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ จัดแสดงในวันที่ ๒๕ เดือนเมฮ์ร ปี ๑๓๖๐ (สุริยคติอิหร่าน ) ในประเทศอิหร่าน ในแสตมป์นี้ ได้พิมพ์ส่วนหนึ่งของจดหมายของอิมามอะลี (อ.) ในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ (๑๑๑)
นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ในยุคสมัยสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ด้วยการช่วยเหลือจากสื่อและวัฒนธรรม ได้ปรากฏในวัฒนธรรมสาธารณะ (๑๑๒) ในลักษณะที่ว่า นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เป็นหนึ่งในตำราพร้อมกับอัลกุรอาน ที่สามารถพบเจอในส่วนมากของบ้านเรือนชาวอิหร่าน (๑๑๓) มุรตะฎอ มุเฎาะฮ์ฮะรี กล่าวไว้ว่า ในยุคสมัยของเขา มีการให้ความสนใจในหลักคำสอนของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์มากเพิ่มขึ้น ในขณะที่นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ในหลายศตวรรษที่ผ่านมา เป็นสิ่งแปลกในวัฒนธรรมอิสลามและชีอะฮ์ และหนังสือเล่มนี้ แม้แต่นักศึกษาสถาบันศาสนายังไม่มีสถานภาพใดๆ (๑๑๔)
หลังจากการจัดตั้งการปกครองของสาธารณรัฐอิสลามในอิหร่าน มีการจัดประชุมสัมมนาและการแข่งขันในระดับชาติและนานาชาติหลายครั้งเกี่ยวกับนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ มีการก่อตั้งสถาบันและศูนย์การศึกษาโดยมีนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เป็นแกนหลัก ในบางสาขาด้านมนุษยศาสตร์ มีการเพิ่มหลักสูตรชื่อว่า นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สำหรับการสอน (๑๑๕) นอกจากนี้ ในวิทยาลัยบางแห่ง ยังมีสาขาวิชาเฉพาะของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก (๑๑๖)
มีวารสารเชิงวิชาการ-การค้นคว้า เกี่ยวกับนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ 2 ฉบับ โดยมีชื่อว่า การค้นคว้าวิจัยนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ (๑๑๗) และการวิจัยนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ (๑๑๘) นอกจากนี้ มีบทความต่างๆที่เขียนเกี่ยวกับนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ และวิทยนิพนธ์เป็นจำนวนมากที่เขียนในประเด็นนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ (๑๑๙)ในสถาบันศาสนา บุคลากรทางความรู้ได้ทำการสอนบทเรียนนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ (๑๒๐) ฮุเซนอะลี มุนตะซิรี เชื่อว่า นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ จะต้องอยู่ในหลักสูตรของบทเรียนของสถาบันศาสนาและบรรดาคณาจารย์จะต้องทำการสอนและส่งเสริมบทเรียนจากนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ (๑๒๑)
ซอฟต์แวร์ต่างๆ
๑.สารานุกรมอะละวี หรือมันฮะญุนนูร ในซอฟต์แวร์นี้ มีหนังสือ ๑๑๐ ชื่อ ซึ่งมีมากกว่า ๒๘๐ เล่ม นอกจากนี้ ในซอฟต์แวร์นี้ ยังมีการอธิบายและการเพิ่มเติม ใน ๑๖๓ เล่ม เป็นภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับ ๒๖ คำแปลเป็นภาษาต่างๆ เช่น ภาษาเปอร์เซีย อังกฤษ และฝรั่งเศส ทั้งนี้ ซอฟต์แวร์นี้ ได้ผลิตโดย ศูนย์การค้นคว้าคอมพิวเตอร์อุลุมอิสลามนูร (๑๒๒)
๒.สารานุกรมญามิอ์นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ซอฟต์แวร์นี้ ได้รวมการอธิบาย คำแปลในสิบภาษาทั่วโลก และสามารถเข้าถึงหัวข้อต่างๆกว่าหนึ่งพันหัวข้อในรูปแบบของโครงสร้างแบบต้นไม้และสามารถที่จะแสดงแหล่งอ้างอิงของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ถือเป็นคุณสมบัติประการอื่นๆของซอฟต์แวร์นี้ จัดทำโดยศูนย์วิจัยคอมพิวเตอร์ของสถาบันศาสนาเมืองอิศฟะฮาน (๑๒๓)
มูลนิธินะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์
มูลนิธิ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ๑๓๕๓ สุริยคติอิหร่าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและวิจัยเฉพาะทางเกี่ยวกับนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ [๑๒๔] การจัดตั้งห้องสมุดเฉพาะสำหรับ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ โดยรวบรวมต้นฉบับ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งมีจัดประชุมทางวิชาการหลายครั้งเกี่ยวกับนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ และรวบรวมหลักสูตรการฝึกอบรมเกี่ยวกับนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ล้วนเป็นกิจกรรมต่างๆของสถาบันแห่งนี้[๑๒๕]
ความสงสัยในการอ้างอิงเนื้อหาของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์เป็นของอิมามอะลี (อ.)
ชาวซุนนีบางคนได้ตั้งข้อสงสัยถึง สองประการ เกี่ยวกับหนังสือของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ : 1. ไม่เป็นที่ชัดเจนว่า ซัยยิดรอฎีย์ เป็นผู้รวบรวมหนังสือเล่มนี้หรือ ซัยยิดมุรตะฎอ น้องชายของเขา 2. มีความเป็นไปได้ที่สุนทรพจน์เหล่านี้ไม่ได้มาจากอิมามอะลี (อ.) ขณะที่ ซัยยิดมุรตะฎอ หรือซัยยิดรอฎีย์ เป็นผู้สร้างถ้อยคำเหล่านี้ขึ้นมา [๑๒๖] อิบนุ ฮะญัร อัสเกาะลานี หนึ่งในนักวิชาการชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ ในศตวรรษที่ ๙ ถือว่า นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เป็น จากการประพันธ์ของซัยยิดมุรตะฎอ เขาเชื่อว่าถ้อยคำในหนังสือเล่มนี้ได้รับการกล่าวอ้างอย่างไม่ถูกต้องว่าเป็นของอิมามอะลี (อ.) [๑๒๗]
ในทางตรงกันข้าม บรรดานักวิชาการชีอะฮ์และนักวิชาการอะฮ์ลิสซุนนะฮ์หลายคน เชื่อว่า ผู้เรียบเรียงนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ คือ ซัยยิดรอฎีย์ และเขาได้รวบรวมหนังสือเล่มนี้จากสุนทรพจน์ของอิมามอะลี (อ.) (๑๒๘) นักค้นคว้าบางคน กล่าวว่า ความสงสัยในการรวบรวมผลงานนี้ เนื่องจากไม่ได้มีการอ้างอิงถึงหนังสือต้นฉบับ เพราะผู้เขียนผลงานนี้ ในหลายกรณีที่เขาได้อธิบายคำพูดที่ยากของอิมามอะลี โดยใช้สำนวนว่า รอฎีย์ได้กล่าวว่า ซึ่งแสดงว่า ผู้รวบรวมผลงานนี้ คือ ซัยยิด รอฎีย์ [๑๒๙] ตามที่บรรดานักค้นคว้าวิจัยกล่าวไว้ว่า มีการอนุญาตจากบรรดานักวิชาการให้อ้างอิงหนังสือเล่มนี้และสายรายงานจนถึงซัยยิด รอฎีย์ ถือเป็นระดับมุตะวาติร และการงานนี้ จะช่วยขจัดข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผู้ประพันธ์หนังสือเล่มนี้ [๑๓๐] นัจญาชี หนึ่งในนักริญาล และผู้อยู่ร่วมสมัยของซัยยิด รอฎีย์ ยังถือว่า หนังสือเล่มนี้เป็นของซัยยิด รอฎีย์ ด้วย เช่นกัน (๑๓๑)
อิบนุ อะบีล-ฮะดีด หนึ่งในนักวิชาการอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ ถือว่า ความสงสัยในการอ้างอิงเนื้อหาของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ไปยังอิมามอะลี (อ.) นั้น เป็นการปฏิบัติตามอำเภอใจ และความอคติแบบไร้เหตุผล (๑๓๒) การให้เหตุผลของอิบนุ อะบีลฮะดีด ในการปฏิเสธข้อกล่าวอ้างนี้ กล่าวคือ ในด้านหนึ่ง ส่วนหนึ่งของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์นั้น มาจากคำพูดของอิมามอะลี (อ.) อย่างแน่นอน เพราะมีรายงานต่างๆที่เป็นมุตะวาติร และได้พิสูจน์ถึงความถูกต้อง ในอีกด้านหนึ่ง ทุกรสนิยมที่ปลอดภัย เป็นตัวกำหนดความเป็นหนึ่งเดียวของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ [๑๓๓] อิบนุ ตัยมียะฮ์ ยังถือว่า นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เป็นคำพูดของอิมามอะลี (อ.) โดยอิงจากสิ่งที่เขาบอกกับ เศาะลาฮุดดีน ซะฟาดี ศิษย์ของเขา (๑๓๔) อัลลามะฮ์ บะห์รุลอุลุม หนึ่งในมัรญิอ์ตักลีดของชีอะฮ์ในศตวรรษที่สิบสองแห่งฮิจญ์เราะฮ์ศักราช ยังถือว่า ความเป็นไปได้ที่หนังสือเล่มนี้ จะเป็นของปลอมว่า เป็นหนึ่งในการใส่ร้ายที่ใหญ่ที่สุด (๑๓๕)
การรวบรวมสุนทรพจน์ของอิมามอะลี ก่อนหน้าซัยยิดรอฎีย์
ซัยยิดฮิบะตุดดีน ชะฮ์ริสตานี ได้ปฏิเสธความเท็จของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์และเชื่อว่า ซัยยิดรอฎีย์ ไม่ใช่บุคคลแรกที่รวบรวมบทเทศนาธรรมและสุนทรพจน์ของอิมามอะลี (อ.) แต่ทว่า มีบุคคลต่างๆก่อนหน้าเขา ที่พวกเขาได้ท่องจำบทเทศนาธรรมและสุนทรพจน์ของอิมามอะลี (อ.) ยะอ์กูบี นักประวัติศาสตร์แห่งศตวรรษที่สามแห่งฮิจญ์เราะฮ์ศักราช ได้รวบรวมบทเทศนาธรรมสี่ร้อยบท ซึ่งคงเหลืออยู่จากสุนทรพจน์ของอิมามอะลี (อ.) (๑๓๗) มัสอูดี ผู้เขียนหนังสือ มุรุญุซซะฮับ กล่าวว่า ประชาชนได้ท่องจำบทเทศนาธรรมของอิมาม ๔๘๐ บท (๑๓๘) อิบนุ ชุอ์บะฮ์ ฮัรรอนี ผู้ประพันธ์หนังสือ ตุฮัฟฟุลอุกูล เชื่อว่า หากมีการรวบรวมบทเทศนาธรรมของอิมามอะลี (อ.) เกี่ยวกับหลักเตาฮีด ปริมาณของมันเท่ากับหนังสือ ตุฮัฟฟุลอุกูล (๑๓๙)
นักค้นคว้าวิจัยบางคน กล่าวว่า ซัยด์ บิน วะฮับ คือ บุคคลแรกที่บันทึกบทเทศนาธรรมของอิมามอะลี (อ.) เขาเป็นหนึ่งในอัศฮาบของอิมามอะลี เป็นผู้ประพันธ์หนังสือ กิตาบอัลคุฎ็อบ และหนังสือนี้ของเขามีอยู่จนถึงศตวรรษที่ห้า (๑๔๐) คุฏ็อบอะมีรุลมุอ์มินีน ประพันธ์โดย มัสอะดะฮ์ บิน เศาะดะเกาะฮ์ คุฏ็อบอะลี เขียนโดย อิบรอฮีม บิน ฮะกัม ฟะซารี คุฏ็อบอะมีรุลมุอ์มินีน ประพันธ์โดย อับดุลอะซีม ฮะซะนี และคุฏ็อบ อะลี วะกุตุบิฮิ อิลา อุมมาลิฮ์ เขียนโดย อะลี บิน มุฮัมมัด มะดาอินี เป็นหนังสือชุดแรกที่รวบรวมบทเทศนาธรรมของอิมามอะลี (อ.) ซึ่งถูกเขียนขึ้นมาก่อนซัยยิด รอฎีย์ (๑๔๑)
การบันทึกและการพิมพ์นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์
ต้นฉบับบันทึกโดยลายมือของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เขียนโดย ฮุเซน บิน มุฮัมมัด ฮะซะนี ชีรอซี ในเดือนเราะบีอุลเอาวัล ปี ๖๙๓ ฮ.ศ. ณ. กรุงแบกแดด และเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์มะลิก ในกรุงเตหะราน (๑๔๒)
นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เป็นหนึ่งในหนังสือที่มีการเขียนด้วยลายมือหลายร้อยฉบับ ก่อนอุตสาหกรรมการพิมพ์ (๑๔๓) ตามการรายงานบางฉบับ มีเพียงในห้องสมุดส่วนตัวและสาธารณะของอิหร่านเท่านั้นที่มีสำเนาของ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ จำนวน ๓๐๐ ฉบับ ที่เป็นลายมือและลายเส้น [๑๔๔] ซัยยิดอับดุลอะซีซ เฏาะบาเฏาะบาอี ยัซดี นักเขียนบรรณานุกรมและผู้คัดลอกต้นฉบับชาวชีอะฮ์ ในการค้นคว้าวิจัยของเขาเกี่ยวกับลักษณะของ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ฉบับเก่า ๑๖๐ ฉบับ (เป็นของศตวรรษที่ห้าถึงที่สิบแห่งฮิจญ์เราะฮ์ศักราช (๑๔๕) ต่อไปนี้ เป็นหนึ่งในต้นฉบับที่สำคัญที่สุดของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ :
ต้นฉบับของปี ๔๖๙ ฮ.ศ. ซึ่งเขียนโดย ฮุเซน บิน ฮะซัน มุอัดดับ และเก็บรักษาไว้ในห้องสมุดของอายะตุลลอฮ์ มัรอะชี นะญะฟี
ต้นฉบับของปี ๔๘๕485 ฮ.ศ. บันทึกลายมือโดย อัดนาน บิน อิบรอฮีม ซึ่งเก็บไว้ในห้องสมุดของซัยยิดมุฮัมมัดอะลี เราฎอตี ในเมืองอิศฟะฮาน
ต้นฉบับของปี ๔๙๔ ฮ.ศ. บันทึกลายมือโดย ฟัฎลุลลอฮ์ บิน ฏอฮิร ฮุซัยนี ซึ่งจัดพิมพ์โดยห้องสมุดมัสญิดญามิอ์ กรุงเตหะรานในปี ๑๔๐๒ ฮ.ศ.
ต้นฉบับหลายฉบับ ซึ่งเป็นของศตวรรษที่ ๕ ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้ในห้องสมุด ฮุเซนอะลี มะห์ฟูซ ห้องสมุด ซัยยิดฮิบะตุดดีน ชะฮ์ริสตานี ห้องสมุดมัดเรเซ ออลี เซพะฮ์ซอลอร ในกรุงเตหะราน และศูนย์ฟื้นฟูมรดกอิสลามในเมืองกุม (๑๔๖)
การพิมพ์
นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ได้รับการจัดพิมพ์หลายร้อยครั้งในอิหร่าน อียิปต์ เลบานอน ซีเรีย และกาตาร์ พร้อมด้วยการอธิบายและคำแปลต่างๆ [๑๔๗] ในผลงานวิจัยบางชิ้นรายงานว่า ฉบับที่เก่าแก่ที่สุดของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ได้รับการแนะนำ สำหรับปี ๑๒๔๗ ฮ.ศ. ซึ่งได้รับการจัดพิมพ์ในเมืองตับรีซ [๑๔๘] ในการจัดพิมพ์ที่สำคัญที่สุดของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สามารถจะกล่าวได้ดังต่อไปนี้ :
ฉบับพิมพ์ที่ อียิปต์ ในปี ๑๓๑๗ ฮ.ศ. พร้อมด้วยการค้นคว้าวิจัยและการอธิบายเพิ่มเติมโดย มุฮัมมัดฮะซัน นาอิล อัลมัรเศาะฟี มีสองเล่ม
ฉบับพิมพ์ที่ กรุงเบรุต พร้อมการอธิบายโดย มุฮัมมัด ในปี ๑๓๐๒ ฮ.ศ.
ฉบับพิมพ์ที่ เบรุต พร้อมการแก้ไขโดย ศุบฮี ศอลิห์ ในปี ๑๓๘๗ ฮ.ศ.
ฉบับพิมพ์ที่ เตหะรานพร้อมการแก้ไขและคำแปลโดย ซัยยิดอะลีนะกี ฟัยฎุลอิสลาม ในปี ๑๔๐๕ ฮ.ศ.
ฉบับพิมพ์โดยมูลนิธิ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ในกรุงเตหะราน พร้อมด้วยการแก้ไขโดย อะซีซุลลอฮ์ อัฏฏอรดี ในปี ๑๔๑๓ ฮ.ศ. [๑๔๙]
ผลงานประพันธ์
มีการประพันธ์หนังสือหลายเล่มที่เกี่ยวกับประเด็นนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ซึ่งสามารถที่จะกล่าวได้ดังต่อไปนี้ :
ซีรี ดัร นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ (การท่องไปในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์) หนังสือเล่มนี้ เป็นการถอดเนื้อหาจากชุดบทความของมุรตะฎอ มุเฏาะฮ์ฮะรี จัดพิมพ์ในช่วงปี ๑๓๕๑ และ ๑๓๕๒ สุริยคติอิหร่าน ในวารสาร ดัรซ์ฮออี อัซ อิสลาม (๑๕๐) การรู้จักพระเจ้า และสิ่งเหนือธรรมชาติ วิถีและการทำอิบาดะฮ์ การปกครองและความยุติธรรม อะฮ์ลุลบัยต์และเคาะลีฟะฮ์ โลกและการบูชาโลก ถือเป็นหัวข้อต่างๆของหนังสือนี้ (๑๕๑) ทั้งนี้ หนังสือนี้ยังได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ รวมทั้งภาษาอาหรับและภาษาอังกฤษอีกด้วย (๑๕๒)
การรู้จักคุณลักษณะของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ในหนังสือเล่มนี้มีหัวข้อต่างๆ เช่น ความจำเป้นในการย้อนกลับสู่นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ความครอบคลุมของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ คุณค่าของสายรายงานและหลักฐานของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เหตุผลความปลอดภัยและรากฐานของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ และพลังดึงดูดของมัน (๑๕๓) ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ คือ มุฮัมมัด ดัชตี จัดพิมพ์โดยสถาบันวัฒนธรรมการค้นคว้าวิจัยอะมีรุลมุอ์มินีน (อ.) (๑๕๔)
อะมีรุลมุอ์มินีน และ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงบุคลิกภาพของอิมามอะลี บุคลิกภาพของซัยยิด รอฎีย์ และบทเทศนาธรรมของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ และยังตอบข้อสงสัยต่างๆอีกด้วย นอกจากนี้ ในหนังสือนี้ยังกล่าวถึงรายนามผู้อรรถาธิบายและผู้แปลนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ (๑๕๕) ผู้ประพันธ์หนังสือนี้ คือ อะซีซุลลอฮ์ อัฏฏอรดี จัดพิมพ์ในปี ๑๓๗๙ สุริยคติอิหร่าน (๑๕๖)
การสำรวจในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เป็นการรวบรวมบทความโดยบรรดานักเขียนหลายคน เช่น มุฮัมมัดตะกี ญะอ์ฟะรี ฮะซัน ฮะซันซาเดะฮ์ อามุลี อับดุลลอฮ์ ญะวาดี อามุลี อะบุลกอซิม คัซอะลี เกี่ยวกับนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ จัดพิมพ์โดยมูลนิธินะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ มี ๓ เล่ม (๑๕๗) หนังสืออีกเล่มหนึ่งที่มีชื่อเดียวกัน ซึ่งเขียนโดย ซัยยิดญะลีล มุรตะซาวี ได้รับการจัดพิมพ์จำนวน ๒๒๔ หน้า โดยเน้นย้ำประเด็นคุณลักษณะพิเศษของการปกครองอิสลาม (๑๕๘)
การศึกษาในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ หนังสือเล่มนี้เขียนโดย ซัยยิดมุฮัมมัดมะฮ์ดี ญะอ์ฟะรี และจัดพิมพ์โดยกระทรวงวัฒนธรรมและการชี้นำอิสลามของอิหร่าน ในปี ๑๓๘๐ สุริยคติอิหร่าน (๑๕๙)