นมาซอายาต
นมาซอายาต ( ภาษาอาหรับ : صلاة الآيات ) เป็นหนึ่งในนมาซที่เป็นวาญิบ ที่ต้องปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ทางธรรมชาติบางอย่าง เช่น แผ่นดินไหว สุริยุปราคา และจันทรุปราคา นอกจากนี้ ยังมีปรากฏการณ์อื่น ๆ ที่ทำให้การนมาซนี้เป็นวาญิบ เช่น ลมสีแดงและสีเหลือง หากทำให้ผู้คนส่วนใหญ่เกิดความหวาดกลัว
นมาซอายาต มี 2 เราะกะอะฮ์ และแต่ละเราะกะอะฮ์มี 5 รุกูอ์ และสามารถอ่านได้สองวิธี :
วิธีแรก: ก่อนแต่ละรุกูอ์ จะอ่านซูเราะฮ์อัล-ฟาติฮะฮ์ และซูเราะฮ์อื่น ๆ ที่สมบูรณ์หนึ่งซูเราะฮ์ วิธีที่สอง: แบ่งซูเราะฮ์หนึ่งออกเป็นห้าส่วน และก่อนแต่ละรุกูอ์ จะอ่านหนึ่งส่วนจากห้าส่วนนั้น ในกรณีนี้ ในแต่ละเราะกะอะฮ์ จะอ่านซูเราะฮ์อัล-ฟาติฮะฮ์ก่อนรุกูอ์แรกเท่านั้น และก่อนรุกูอ์อื่น ๆ จะอ่านเพียงส่วนหนึ่งจากห้าส่วนของซูเราะฮ์นั้น
หากนมาซอายาต ไม่ได้เกิดจากสุริยุปราคาหรือจันทรุปราคา สามารถอ่านได้ทุกเวลาโดยมีเนียต(เจตนา) ว่า เป็นการกระทำในเวลา แต่หากนมาซอายาตเกิดจากสุริยุปราคาหรือจันทรุปราคา จะต้องกระทำในช่วงเวลาที่เกิดปรากฏการณ์นั้น หากไม่ได้กระทำในช่วงเวลาดังกล่าว ต้องทำชดใช้ (กอฎอ) ในภายหลัง
คำจำกัดความและการตั้งชื่อ
การนมาซอายาต คือ การนมาซที่ต้องกระทำเมื่อเกิดเหตุการณ์ทางธรรมชาติ เช่น สุริยุปราคาหรือจันทรุปราคา แผ่นดินไหว [๑] หรือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติใดๆ ที่ทำให้ผู้คนหวาดกลัวมากขึ้น[๒] เช่น ลมเหลืองและลมแดง [๓] อายาต คือ พหูพจน์ของ อายะฮ์ หรือ อายัต ซึ่งหมายถึง สัญญาณหรือสัญลักษณ์ [๔] และในริวายะฮ์หนึ่ง รายงานว่า สุริยุปราคาและจันทรุปราคา ถือเป็นหนึ่งในสัญญาณของพระเจ้า [๕]
ภูมิหลัง
การนมาซอายาต กลายเป็นวาญิบสำหรับชาวมุสลิม ในปีที่สิบแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช ตามแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ในปีนี้ เมื่ออิบรอฮีม บุตรชายของศาสนทูตของพระเจ้า เสียชีวิต จึงเกิดสุริยุปราคาขึ้น ประชาชนกลุ่มหนึ่งจึงเชื่อมโยงสุริยุปราคาเข้ากับการเสียชีวิตของอิบรอฮีม แต่ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลศฯ) ถือว่า ทั้งสองสิ่งนี้เป็นสัญญาณของพระเจ้าที่เกิดขึ้นตามพระบัญชาของพระองค์ ไม่ใช่กับความตายหรือการมีชีวิตของผู้ใด [๑๐] จากนั้น เขาจึงสั่งให้นมาซอายาต เมื่อเกิดสุริยุปราคาขึ้น และเขาเองก็ทำนมาซอายาตร่วมกับชาวมุสลิม [๑๑]
วิธีนมาซ
วิธีการกระทำนมาซอายาต มี 2 เราะกะอะฮ์ และแต่ละเราะกะอะฮ์ มี 5 รุกูอ โดยสามารถกระทำได้ดด้วยสองวิธี ดังนี้ (๑๒) :
วิธีที่แรก :ในวิธีนี้ ก่อนแต่ละรุกูอ จะอ่านซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์ และซูเราะฮ์อื่น ๆ อีกหนึ่งซูเราะฮ์ (๑๓) โดยมีขั้นตอนดังนี้: เริ่มด้วยการกล่าวตักบีเราะตุลอิห์ราม เพื่อเริ่มนมาซ หลังนั้นอ่านซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์ และตามด้วยซูเราะฮ์อื่น ๆ หนึ่งซูเราะฮ์ หลังจากนั้น กล่าวตักบีร แล้วลงรุกูอ์ หลังจากขึ้นจากรุกูอ์ ให้อ่านซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์ และซูเราะฮ์อื่น ๆ อีกครั้ง หลังจากนั้น กล่าวตักบีร แล้วรุกูอ์อีกครั้ง กระทำเช่นนี้จนครบ ๕ รุกูอ์ หลังจากนั้นให้ทำซุญูด ตามปกติ ในเราะกะอะฮ์ที่สอง ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับเราะกะอะฮ์แรก หลังจากซูญูดในเราะกะอะฮ์ที่สอง ให้อ่านตะชะฮ์ฮุด และกล่าวสลาม เพื่อสิ้นสุดการนมาซ (๑๔)
วิธีที่สอง : ในวิธีนี้ ในแต่ละเราะกะอะฮ์ จะอ่านซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์เพียงหนึ่งครั้ง และแบ่งซูเราะฮ์อื่นๆ ออกเป็นห้าส่วน โดยมีขั้นตอนดังนี้ :
เริ่มด้วยการกล่าวตักบีเราะตุลอิห์รอม เพื่อเริ่มนมาซ
อ่านซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์ และตามด้วยส่วนแรกของซูเราะฮ์อื่น ๆ ที่แบ่งไว้
กล่าวตักบีร แล้วโค้งรุกูอ์
หลังจากลุกขึ้นจากรุกูอ์ ให้อ่านส่วนที่สองของซูเราะฮ์อื่นๆ โดยที่ไม่ต้องอ่านซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์อีก
กล่าวตักบีร แล้วโค้งรุกูอ์อีกครั้ง
กระทำเช่นนี้จนครบ ๕ รุกูอ์ โดยอ่านส่วนที่เหลือของซูเราะฮ์อื่น ๆ ก่อนแต่ละรุกูอ์
หลังจากนั้นให้ทำซุญูด ตามปกติ
ในเราะกะอะฮ์ที่สอง ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับเราะกะอะฮ์แรก
หลังจากซุญูดในเราะกะอะฮ์ที่สอง ให้อ่านตะชะฮ์ฮุด และกล่าวสลาม เพื่อสิ้นสุดการนมาซ (๑๕)
ตามคำวินิจฉัยของนักนิติศาสตร์อิสลาม) สามารถใช้วิธีที่หนึ่ง ในเราะกะอะฮ์ที่หนึ่ง และวิธีที่สอง ในเราะกะอะฮ์ที่สอง ได้ตามความสะดวก(๑๖) (หมายเหตุ ๑)
การกระทำที่เป็นมุสตะฮับ
การกระทำที่เป็นมุสตะฮับบางประการสำหรับการนมาซอายาต มีดังนี้
การอ่านกุนูต ก่อนรุกูอ์ที่ ๒, ๔, ๖, ๘ และ ๑๐ (ในนมาซอายาตที่มี 10 รุกูอ์) [๑๗]
การกระทำที่เป็นมุสตะฮับในนมาซประจำวัน ก็เป็นมุสตะฮับในนมาซอายาตด้วยเช่นกัน แน่นอนว่าตาม ในนมาซอายาต ไม่มีการอะซานและการอิกอมะฮ์ แต่ให้กล่าวคำว่า อัศ-เศาะลาฮ์ สามครั้งแทน [๑๘]
การกล่าวตักบีร หลังจากลุกขึ้นจากทุกรุกูอ ยกเว้นรุกูอที่ ๕ ในแต่ละเราะกะอะฮ์ [๑๙]
การกระทำนมาซเป็นญะมาอะฮ์ [๒๐] การอ่านนมาซด้วยเสียงดังสำหรับผู้ชาย [๒๑]
การยืดเวลานมาซ จนกว่าสุริยุปราคาหรือจันทรุปราคา จะสิ้นสุด [๒๒]
การอ่านซูเราะฮ์ที่ยาว ในนมาซอายาต [๒๓] ถือเป็นการกระทำที่เป็นมุสตะฮับของนมาซอายาต (หมายเหตุ ๒)
เวลาของนมาซอายาตและการชดใช้
เวลาของนมาซอายาตที่เกี่ยวข้องกับสุริยุปราคา (กุซูฟ) และจันทรุปราคา (คุซูฟ) เริ่มตั้งแต่ช่วงที่เริ่มเกิดปรากฏการณ์จนถึงช่วงที่ปรากฏการณ์สิ้นสุดหรือจนถึงช่วงที่ดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์เริ่มปรากฏอีกครั้ง [๒๔] [๒๕] ตามคำกล่าวของผู้เขียนหนังสือ ญะวาฮิร ระบุว่า การรอจนกระทั่งดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์เริ่มปรากฏอีกครั้ง ถือเป็นอิฮ์ติยาฏ [๒๖] หากนมาซอายาตที่เกี่ยวข้องกับสุริยุปราคาหรือจันทรุปราคา ไม่ได้กระทำในช่วงเวลาดังกล่าว จำเป็นที่จะต้องชดใช้ (กอฎอ) ในภายหลัง [๒๗]
นมาซอายาตที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวและเหตุการณ์อื่น ๆ (ที่ไม่ใช่สุริยุปราคาหรือจันทรุปราคา) ไม่จำเป็นจะต้องชดใช้ [๒๘] และสามารถกระทำได้ทุกเวลาโดยมีเจตนา (เนียต) ว่า เป็นการกระทำในเวลา [๒๙]
การอาบน้ำฆุสล์ของสุริยุปราคา
ตามคำกล่าวของอัลลามะฮ์ ฮิลลี บรรดาฟะกีฮ์ของชีอะฮ์ เช่น ซัยยิด มุรตะฎอ ซัลลาร อัด-ดัยละมี และอะบูศอลาห์ อัล-ฮัลบี ถือว่า หากผู้ใดก็ตามไม่ได้กระทำนมาซอายาตที่เกี่ยวข้องกับสุริยุปราคาหรือจันทรุปราคาในช่วงเวลาที่กำหนด จำเป็นที่จะต้องกอฎอ และต้องอาบน้ำฆุสล์ ด้วย อย่างไรก็ตาม อัลลามะฮ์ ฮิลลี และฟะกีฮ์คนอื่น ๆ เช่น เชค อัลมูฟีด อิบนุ บุราจญ์ และอิบนุ อิดรีส อัลฮิลลี ถือว่า การอาบน้ำนี้ เป็นเพียงมุสตะฮับ ไม่ใช่เป็นวาญิบ ทั้งนี้ วาญิบหรือมุสตะฮับของการอาบน้ำนี้จะใช้เฉพาะกรณีที่สุริยุปราคาหรือจันทรุปราคาเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ และบุคคลนั้นไม่ได้กระทำนมาซอายาตในช่วงเวลาที่กำหนดโดยเจตนา [๓๐] ในริวายะฮ์ต่างๆ เรียกการอาบน้ำนี้ว่า ฆุสล์ของสุริยุปราคา [๓๑]
การให้ความสำคัญกับนมาซประจำ ในกรณีที่มีเวลาจำกัด
การกระทำนมาซอายาตที่เกี่ยวข้องกับสุริยุปราคาและจันทรุปราคา ถือเป็นวาญิบที่จะต้องปฏิบัติทันที [๓๒] อย่างไรก็ตาม หากนมาซอายาตเกิดขึ้นในช่วงเวลาของนมาซประจำวัน จำเป็นจะต้องกระทำนมาซประจำวันก่อน หากเวลาของนมาซประจำวันกำลังจะหมด ในกรณีที่เวลาของทั้งสองนมาซจำกัด จำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับนมาซประจำวันก่อนนมาซอายาต [๓๓]
หลักอะห์กามอื่นๆเกี่ยวข้อง
รุกูอ์ ในนมาซอายาต ถือเป็นรุกน์ของนมาซ หากเพิ่มหรือลดจำนวนรุกูอ์โดยเจตนาหรือโดยไม่ตั้งใจ นมาซ จะถือว่าเป็นโมฆะ [๓๔]
นมาซอายาต เป็นวาญิบเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่ ที่เกิดเหตุการณ์ทางธรรมชาติเท่านั้น [๓๕]
ตามความเห็นของนักนิติศาสตร์อิสลามบางคน ผู้หญิงที่มีประจำเดือน และผู้หญิงหลังคลอด ไม่จำเป็นที่จะต้องกระทำนมาซอายาต (๓๖) แน่นอนว่า ด้วยหลักอิห์ติยาฏ วาญิบ นางจะต้องกอฎอ หลังจากหมดประจำเดือนแล้ว [๓๗]
สุริยุปราคาและจันทรุปราคา จะทำให้นมาซอายาต เป็นวาญิบ เฉพาะกรณีที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หากปรากฏการณ์นั้นมองเห็นได้เฉพาะด้วยอุปกรณ์เท่านั้นหรือเกิดขึ้นเพียงชั่วครู่ นมาซอายาตจึงถือว่าไม่เป็นวาญิบ [๓๘]
แผ่นดินไหวเล็กน้อยหรือแผ่นดินไหวตามหลัง (อาฟเตอร์ช็อก) หากถือว่า เป็นแผ่นดินไหวอิสระ จะทำให้นมาซอายาต เป็นวาญิบ [๓๙] เช่นเดียวกับการสั่นไหวเล็กน้อยของพื้นดิน หากสามารถรู้สึกได้ [๔๐]
หากมีหลายนมาซอายาตในหลายเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นจากสาเหตุต่างกัน จำเป็นที่ต้องระบุเจตนา อย่างชัดเจนว่า กำลังกระทำนมาซอายาตสำหรับเหตุการณ์ใด ตามหลักอิห์ติยาฏ วาญิบ [๔๑]