นมาซมัยยิต
นมาซมัยยิต (ภาษาอาหรับ: صلاة الميت) หรือ ละหมาดญะนาซะฮ์ เป็นนมาซที่เป็นวาญิบ ก่อนที่จะทำการฝังศพชาวมุสลิมคนหนึ่งคนใด นมาซมัยยิต มี 5 ตักบีร ด้วยกัน หลังจากที่กล่าวตักบีรที่หนึ่ง ให้กล่าวคำปฏิญาณชะฮาดะตัยน์ และหลังจากตักบีรที่สองให้กล่าวศอลาวาต และหลังจากตักบีรที่สาม ให้ทำการขอการอภัยโทษให้กับบรรดาผู้ศรัทธาและชาวมุสลิมทั้งหลาย และหลังจากตักบีรที่สี่ ให้ทำการขอการอภัยโทษให้กับมัยยิต ผู้ซึ่งกำลังนมาซให้เขาและตักบีรที่ห้า เป็นอันเสร็จสิ้นของนมาซ
นมาซมัยยิตนั้น มีความแตกต่างกับนมาซอื่นๆ ซึ่งไม่มีการอ่านซูเราะฮ์อัล-ฟาติฮะฮ์ รุกูอ์ ซูญูด ตะชะฮ์ฮุด และการกล่าวสลาม ทั้งยังไม่มีเงื่อนไขที่ว่า จะต้องมีความสะอาด อีกด้วย ด้วยเหตุนีั้เอง นมาซนี้ จึงสามารถที่กระทำได้โดยปราศวุฎูอ์และฆุซุล ซึ่งแน่นอนว่า การรักษาเงื่อนไขต่างๆของนมาซที่เป็นวาญิบ ถือว่า การกระทำที่ดีอย่างมาก
นมาซมัยยิต สามารถที่จะกระทำได้ในรูปแบบเป็นหมู่คณะหรือเป็นการส่วนตัว แต่ในแบบหมู่คณะ มะอ์มูม จะต้องกล่าวตักบีรและอ่านดุอาอ์ด้วย
นมาซมัยยิตสำหรับชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์นั้น มี 4 ตักบีรและสิ้นสุดด้วยการกล่าวสลาม
การให้คำนิยาม
นมาซมัยยิต หมายถึง การขอดุอาอ์และการกล่าวตักบีรที่เป็นวาญิบที่ชาวมุสลิมจะต้องกระทำหลังจากที่ให้ทำฆุซุล ห่อผ้ากะฝั่นและก่อนที่จะฝังศพของชาวมุสลิม ตามหลักการทางนิติศาสตร์ระบุว่า นมาซมัยยิต ไม่มีบางเงื่อนไขของนมาซวาญิบ เช่น การทำความสะอาด (1)เป็นต้น และเช่นเดียวกัน นมาซมัยยิต ไม่มีการกล่าวสลาม(2)
นมาซมัยยิต ไม่ใช่นมาซ
ชะฮีดษานี กล่าวว่า ตามทัศนะของบรรดาฟะกีฮ์ ให้ความคิดเห็นว่า นมาซมัยยิต ไม่ถือว่าเป็นนมาซ แต่ถือว่าเป็นประเภทหนึ่งของดุอาอ์สำหรับมัยยิต เพราะว่า นมาซที่ปราศจากรุกูอ์ และซูญูด ไม่ถือว่าเป็นนมาซ และการทำความสะอาด ถือว่า เป็นเงื่อนไขสำหรับทุกนมาซ แต่นมาซมัยยิตนั้น ไม่มีเงื่อนไขใดๆเหล่านี้เลย (3) ในหนังสือฟิกฮุรริฎอ ได้มีริวายะฮ์หนึ่ง รายงานจากอิมามริฎอ (อ.) กล่าวว่า นมาซมัยยิต ไม่ใช่นมาซ และมีเพียงการกล่าวตักบีรเท่านั้น เพราะว่า นมาซ คือ การกระทำที่จะต้องมีรุกูอ์และซูญูด (4)
วิธีการนมาซมัยยิต
สำหรับการนมาซมัยยิต จะต้องนำร่างของมัยยิตหันหน้าไปทางทิศกิบละฮ์ โดยสภาพที่ศีรษะของมัยยิตอยู่ข้างขวามือและเท้าของมัยยิตอยู่ข้างซ้ายมือของผู้ที่นมาซ (5) ผู้นมาซจะต้องยืน หันหน้าไปทางกิบละฮ์ (6) ระหว่างผู้นมาซกับมัยยิต (ผู้ตาย) จะต้องไม่ห่างกันจนเกินไป (7) ผู้นมาซจะต้องยืนตรงในนมาซ (8)
ผู้นมาซ หลังจากที่เนียตสำหรับนมาซมัยยิต จะต้องกล่าวตักบีรห้าครั้ง ซึ่งหลังจากทุกตักบีรทั้งสี่ จะมีดุอาอ์ที่เฉพาะและการกล่าวตักบีรที่ห้า เป็นอันเสร็จสมบูรณ์ของนมาซ (9) หลังจากกล่าวตักบีรที่หนึ่ง ให้กล่าวคำปฏิญาณชะฮาดะตัยน์ และหลังจากตักบีรที่สอง ให้กล่าวศอลาวาต และหลังจากตักบีรที่สาม ให้ขอการอภัยโทษให้กับบรรดาผู้ศรัทธาและชาวมุสลิมทั้งหลาย และหลังจากตักบีรที่สี่ ให้ทำการขออภัยโทษให้กับบุคคลที่ทำนมาซให้กับเขา(10)
คำกล่าวและดุอาอ์ หลังจากการกล่าวตักบีรทั้งสี่ ซึ่งมีดังต่อไปนี้
หลังจากเนียต ให้ตักบีร 1 ครั้ง แล้วกล่าวว่า
اَشْهَدُ اَنْ لا الهَ الَّا اللَّهُ وَ اَنَّ مُحَمَّداً رَسوُلُ اللَّهِ อัชฮะดุ อันลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮุ วะอันนะมุฮัมมะดัร เราะซูลุลลอฮ์
หลังจากตักบีรที่ 2 ให้กล่าวว่า
اَللَّهُمَّ صَلِّ عَلی مُحَمَّدٍ وَ آلِ مُحَمَّدٍ อัลลอฮุมมะศ็อลลิอะลา มุฮัมมะดิว วะอาลิมุฮัมมัด
หลังจากตักบีรครั้งที่ 3 ให้กล่าวว่า
اَللَّهُمَّ اْغفِرْ لِلْمُؤْمِنینَ وَ الْمُؤْمِناتِ อัลลอฮุมมัฆฟิร ลิล มุอ์มินีนะ วัลมุอ์มินาต
หลังจากตักบีรครั้งที่สี่ หากมัยยิตเป็นผู้ชายให้กล่าวว่า
اللَّهُمَّ اغْفِرْ لِهذَا المَیت อัลลอฮุมมัฆฟิรลิฮาซัลมัยยิต
ส่วนหากมัยยิตเป็นผู้หญิงให้กล่าวว่า
اللَّهُمَّ اغْفِرْ لِهذِهِ المَیتَةِ ทัศนะของฟะกีฮ์ของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์
นมาซมัยยิตในทัศนะของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ มี 4 ตักบีร การกล่าวตักบีรที่หนึ่งถือเป็นการเริ่มต้นนมาซ และหลังจากนั้นให้อ่านซูเราะฮ์อัล-ฟาติฮะฮ์ และหลังจากนั้นให้กล่าวตักบีรที่สอง และกล่าวศอลาวาต หลังจากกล่าวตักบีรที่สามให้ขอดุอาอ์ให้กับมัยยิต และด้วยการกล่าวตักบีรที่สี่ และการกล่าวสลาม นมาซเป็นอันเสร็จ (12) แน่นอนว่า มีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกันของนมาซนี้ในระหว่างชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ (13)
หลักการปฏิบัติ
หลักการปฏิบัติบางส่วนที่เกี่ยวกับนมาซมัยยัติ มีดังต่อไปนี้:
- นมาซมัยยิต เป็นวาญิบกิฟาอีย์ ด้วยเหตุนี้เอง หากผู้หนึ่งผู้ใดได้ทำนมาซนี้แล้ว สำหรับบุคคลอื่นเป็นอันตกหล่นไป (14)
- ศอฮิบญะวาฮิร กล่าวว่า ตามทัศนะของบรรดาฟะกีฮ์ ให้ความคิดเห็นว่า นมาซหลายครั้งให้กับมัยยิตคนเดียว ถือเป็นมักรูฮ์ (15) และตามคำฟัตวาอยาตุลลอฮ์ ซีสตานี ระบุว่า มักรูฮ์นี้ยังไม่เป็นที่ชัดเจนและหากว่ามัยยิตเป็นนักวิชาการและมีตักวา ถือว่า ไม่เป็นมักรูฮ์แต่อย่างใด (16)
- นมาซมัยยิต สามารถกระทำในรูปแบบหมู่คณะ แต่ทว่า มะอ์มูม จะต้องกล่าวตักบีรและดุอาอ์ด้วยตัวของเขาเอง (17)
- นมาซมัยยิต เป็นวาญิบสำหรับมุสลิมที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป (18)
- ไม่อนุญาตให้นมาซมัยยิตให้กับกาฟิรและนาศิบีย์ (19)
- ในนมาซมัยยิต ไม่มีเงื่อนไขว่าต้องมีความสะอาดจากฮะดัษใหญ่และฮะดัษเล็ก (20) แต่การรักษาเงื่อนไขอื่นๆของนมาซวาญิบเป็นการกระทำที่ดีเป็นอย่างยิ่ง (21)
- นมาซมัยยิต จะต้องกระทำ ก่อนการฝังและหลังจากการฆุซุลและกะฝั่น (23)
- หากว่าศพชาวมุสลิมถูกนำไปฝังโดยปราศนมาซ จะต้องนมาซบนหลุมศพของเขา (24)
- สามารถที่จะกระทำนมาซเพียงครั้งเดียวให้กับมัยยิตได้หลายคนโดยพร้อมกัน (25)
- นมาซมัยยิตในมัสญิด ถือเป็นมักรูฮ์ (26) มัรญิอ์บางคน ได้ยกเว้นในมัสญิดอัลฮะรอม (27) และบางคนไม่ยอมรับข้อยกเว้นนี้ (28)
- นมาซมัยยิต สามารถกระทำด้วยการสวมรองเท้า แม้ว่าเป็นมุสตะฮับ หากกระทำโดยไม่สวมรองเท้า (29)
นมาซมัยยิตที่จารึกในหน้าประวัติศาสตร์
นมาซมัยยิตให้กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) และอิมามโคมัยนี (ร.ฮ.) ถือเป็นนมาซมัยยิตที่ต้องจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์อิสลาม
บรรดานักประวัติศาสตร์ กล่าวว่า อิมามอะลี (อ.) ได้อาบน้ำฆุซุลให้กับภรรยาของเขา ฟาฎิมะฮ์ ในยามกลางคืน และเขาได้กระทำนมาซมัยยิตให้นาง (31) ฏอบัรซีย์ กล่าวว่า อิมามฮะซัน, อิมามฮุเซน, มิกดาด, ซัลมาน อัลฟารซีย์, อะบูซัร ฆ็อฟฟารีย์ ,อัมมาร ยาซิร, อะกีล บินอะบีฏอลิบ, ซุบัยร์ บินอะวาม, บะร็อยดะฮ์ บินฮะซีบ อัซละมี และบะนีฮาชิม จำนวนหนึ่งได้เข้าร่วมในนมาซญะนาซะฮ์ให้กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.)
สาเหตุของการกระทำนี้ เนื่องจากท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ได้สั่งเสียอิมามอะลี (อ.) ว่า ให้แห่ศพและฝังนางในยามกลางคืน เพราะว่า นางนั้นไม่ต้องการให้เหล่าผู้ที่ทำร้ายนางได้เข้ามาร่วมในการฝังศพและนมาซให้กับนาง (33)
นมาซมัยยิตให้กับร่างศพของอิมามโคมัยนี ถือเป็นเหตุการณ์ที่มีผู้เข้าร่วมมากที่สุดจากนมาซมัยยิต นมาซนี้ เกิดขึ้นในเดือนคุรดอด ปี 1368 ด้วยการเป็นอิมามนำนมาซของอยาตุลลอฮ์ ฆุลพัยกานี และพิธีการแห่ศพของอิมามโคมัยนี เป็นพิธีการแห่ศพที่มีผู้เข้าร่วมมากที่ในหน้าประวัติศาสตร์ (34)