ตักรีรมะอ์ศูม

จาก wikishia

ตักรีรมะอ์ศูม หมายถึง การนิ่งเฉยของมะอ์ศูม ตรงกันข้ามกับคำพูดและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นต่อหน้ามะอ์ศูม ในขณะที่เขาอยู่ในสถานที่นั้นด้วย ซึ่งการที่มะอ์ศูมนิ่งเฉย แสดงให้เห็นว่า เขาไม่ได้คัดค้านคำพูดหรือการกระทำดังกล่าว โดยถือว่า ตักรีรมะอ์ศูม ทั้งคำพูดและการกระทำของมะอ์ศูม อยู่ในประเด็นหลักของซุนนะฮ์ และยังถือเป็นหนึ่งในสี่แหล่งอ้างอิงของการวินิจฉัยหลักปฏิบัติของอิสลาม และตามทัศนะของชีอะฮ์ ตักรีรมะอ์ศูม ยังรวมถึง ตักรีรของศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.)และบรรดาอิมามทั้งสิบสองคน ด้วยเช่นกัน

ตามคำกล่าวของพวกอุศูลียูน (พวกอนุรักษ์นิยม) ในกรณีที่ตักรีรมะอ์ศูม เป็นฮุจญัต (ข้อพิสูจน์ที่ถูกต้อง) นั่นก็คือ มะอ์ศูมมีความสนใจต่อการกระทำและคำพูด ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่เขาจะสามารถแสดงความคิดเห็นออกมา ด้วยเหตุผลของการเป็นฮัจญะฮ์ของตักรีร กล่าวคือ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่อิมามจะต้องต่อสู้กับสิ่งชั่วร้าย หรือหากการละทิ้งจากการกระทำนี้ จะเป็นการขัดแย้งกับอิศมะฮ์ (ความบริสุทธิ์ปราศจากบาป)

ความหมาย

ตักรีร มะอ์ศูม หมายถึง การนิ่งเงียบของมะอ์ศูม ซึ่งตรงกันข้ามกับคำพูดและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นต่อหน้ามะอ์ศูม (1) ในศาสตร์ทางด้านอุซูลุลฟิกฮ์ (หลักนิติศาสตร์ ) ตักรีร มะอ์ศูม โดยมีเงื่อนไขที่แสดงว่าเป็นการอนุญาตหรือมีความถูกต้องของคำพูดหรือพฤติกรรมที่แสดงออกมาหรือการกระทำ(2) ด้วยเหตุผลนี้ มะอ์ศูม จึงมีหน้าที่ในการปกป้องเพื่อไม่ให้ผู้ที่กระทำความผิดกระทำในสิ่งที่ชั่วร้ายและหากเขานิ่งเฉย ก็จะแสดงให้เห็นถึงแนวทางที่ถูกต้อง (3) ดั่งตัวอย่างเช่น ถ้าหากผู้หนึ่งผู้ใดกระทำวุฎูอ์ต่อหน้ามะอ์ศูมและมะอ์ศูมได้เห็นและไม่พูดอะไร ฉะนั้น การนิ่งเฉยของเขา เรียกว่า ตักรีรมะอ์ศูม ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การทำวุฎูอ์ของเขานั้นถูกต้อง (4) ตักรีร ทางหลักภาษา หมายถึง การรับทราบ การอนุมัติและการลงนามรับรอง(5)

สถานภาพ

ตักรีรมะอ์ศูม (อ.) เป็นประเด็นที่มีการพูดคุยกันในอิลมุลอุศูล(วิชาอุศูล) (6) เช่น คำพูดและพฤติกรรมของมะอ์ศูม จึงอยู่ในประเด็นหลักของซุนนะฮ์ (7) ซุนนะฮ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งอ้างอิของการวินิจฉัยหลักปฏิบัติทางศาสนา หลังจาก อัลกุรอาน สติปัญญา และอิจมาอ์(มติเอกฉันท์) (8)

ตักรีร ไม่ได้ถูกจำกัดเฉพาะเจาะจงกับชีอะฮ์เท่านั้น แต่อะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ก็ใช้เป็นหลักฐานในการวินิจฉัยหลักการปฏิบัติทางศาสนา ด้วยเช่นกัน (9) ชีอะฮ์ เชื่อว่า ตักรีรของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์และบรรดาอิมามทั้งสิบสองคนนั้น เป็นฮุจญะฮ์ (10) แต่ในมัสฮับอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ถือว่า ตักรีรของศาสนทูตของอัลลอฮ์ เป็นฮุจญะฮ์ (11) ขณะที่ยังมีนักวิชาการชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์บางคน ถือว่า ตักรีรของคอลีฟะฮ์ที่หนึ่งและที่สอง เป็นฮุจญะฮ์ และตามทัศนะของบางคน กล่าวว่า ตักรีรของบรรดาศอฮาบะฮ์ของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)ทั้งหมด ก็เป็นฮุจญะฮ์ (12)

ตักรีร มะอ์ศูม(อ.) เป็นเนื้อหาของวิชาอุศูลุลฟิกฮ์(หลักนิติศาสตร์) (6)และเหมือนกับคำพูดและการกระทำของมะอ์ศูม ที่อยู่ในประเด็นหลักของซุนนะฮ์ (7) ซุนนะฮ์ เป็นหนึ่งที่แหล่งอ้างอิงหลักของการวินิจฉัยหลักปฏิบัติทางศาสนา เคียงข้างอัลกุรอาน สติปัญญา และอิจมาอ์(8)

ตักรีร มิได้จำกัดเฉพาะชีอะฮ์ แต่ชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ก็ใช้ในการวินิจฉัยหลักปฏบัติด้วยเช่นกัน (9) บรรดาชีอะฮ์ ถือว่า ตักรีรของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์และบรรดาอิมามทั้งสิบสองคน เป็นฮุจญะฮ์(ข้อพิสูจน์)(10) แต่ในมัสฮับอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ถือว่า เฉพาะตักรีรของศาสดาของอัลลอฮ์ เท่านั้นที่เป็นฮุจญะฮ์ (11)แต่บางทัศนะของพวกเขา ถือว่า ตักรีรของคอลีฟะฮ์ที่หนึ่งและที่สอง เป็นฮุจญะฮ์ และบางทัศนะเชื่อว่า ตักรีรของศอฮาบะฮ์ทั้งหมดก็เป็นฮุจญะฮ์ ด้วยเช่นกัน(12)

เหตุผลของความเป็นฮุจญะฮ์ของตักรีร มะอ์ศูม

สำหรับการพิสูจน์ความเป็นฮุจญะฮ์ของตักรีร มะอ์ศูม นั้นมีหลายเหตุผล ด้วยกัน

บางคนกล่าวว่า เนื่องจากบรรดามะอ์ศูม (อ.)นั้น มีสถานภาพอันสูงส่ง แสดงให้เห็นว่า พวกเขานั้นมีความระมัดระวังต่อศาสนาอย่างมาก ด้วยเหตุนี้เอง อย่าได้นิ่งเฉยในการเผชิญหน้ากับการกระทำหรือคำพูดใดก็ตามที่ไม่ได้มาจากศาสนา(13)

กลุ่มหนึ่ง ได้ให้เหตุผลว่า การกำชับให้กระทำความดีและการห้ามปรามการกระทำความชั่วร้าย ถือเป็นสิ่งที่วาญิบ(จำเป็น) และบรรดามะอ์ศูมนั้น ไม่เคยละทิ้งสิ่งที่เป็นวาญิบเลย ฉะนั้น การนิ่งเฉยของพวกเขา ในทางตรงกันข้ามกับการกระทำและคำพูด จึงบ่งบอกว่า การกระทำหรือคำพูดนั้นเป็นที่อนุญาตหรือมีความถูกต้อง (14)

ประเภทต่างๆของตักรีร

ในหนังสืออุศูลบางเล่ม เขียนว่า ตักรีร หมายถึง การนิ่งเฉยต่อการกระทำใดการกระทำหนึ่ง โดยถูกแบ่งออกเป็น สองประเภท ด้วยกัน กล่าวคือ ตักรีรในการกระทำ และตักรีรในคำพูด หรือคำตัดสิน (15) บางคน ถือว่า ตักรีรอะกีดะฮ์ รวมเข้ากับทั้งสองประเภท (16) หมายถึง ผู้ที่เขานั้นมีความเชื่อในประเด็นต่างๆ เช่น พระเจ้า มะอาด และประเด็นอื่นๆ โดยมะอ์ศูมได้นิ่งเฉยต่อความเชื่อเหล่านี้และไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้แต่อย่างใด(17)

เงื่อนไขของความเป็นฮุจญะฮ์ของตักรีร

บรรดาอุศูลียาน ถือว่า การนิ่งเฉยของมะอ์ศูม ซึ่งตรงกันข้ามกับการกระทำหรือคำพูดที่เกิดขึ้นจากเงื่อนไขเหล่านี้ ถือว่าเป็นฮุจญะฮ์ มะอ์ศูม จะต้องมีความเข้าใจและตระหนักถึงคำพูดและการกระทำที่อยู่เบื้องหน้าเขา(18)]

สำหรับมะอ์ศูม เป็นไปได้ว่า เขามีความสามารถที่จะแสดงความคิดเห็น ตัวอย่างเช่น ผู้ที่กระทำ ซึ่งอยู่เบื้องหน้ามะอ์ศูม จะไม่ออกไปจากสถานที่นั้นโดยทันที(19) จะไม่เป็นอุปสรรคใด หากมะอ์ศูมต้องการที่จะแสดงความคิดเห็น ตัวอย่างเช่น อิมามจะไม่ถูกบังคับให้นิ่งเฉย เนื่องด้วยความกลัวต่อชีวิตของเขา หรือบรรดาชีอะฮ์ของเขา (20) ก่อนการนิ่งเฉย มะอ์ศูมจะไม่ได้แสดงอากัปกิริยาด้วยการกระทำหรือคำพูดใดออกมาก็ตาม(21)