ตะอับบุด
ตะอับบุด ( ภาษาอาหรับ : تَعَبُّد ) เป็นคำศัพท์วิชาการทางศาสนา หมายถึง การยอมจำนนอย่างบริสุทธิ์ใจของผู้ศรัทธาที่มีต่อพระบัญชาของพระเจ้า โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ที่แท้จริงของพระบัญชานั้น การกระทำอิบาดะฮ์ต่างๆล้วนมาจากตะอับบุดทั้งสิ้น และยังเป็นการทดสอบประเภทหนึ่งจากพระองค์ เพื่อต้องการแยกแยะผู้ศรัทธาที่แท้จริงออกจากผู้ที่ไม่แท้จริง แน่นอนว่า บรรดานักวิชาการมุสลิมต่างเชื่อว่า ความไม่กระจ่างชัดในเหตุผลของหลักอะฮ์กาม ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีเหตุผลของหลักอะฮ์กาม ด้วยเหตุผลนี้เอง เชคศอดูกจึงได้พยายามอธิบายถึงปรัชญาของหลักอะฮ์กามในหนังสือ อิละลุชชะรอยิอ์ของเขา
ตะอับบุดในหลักอะฮ์กามชัรอีย์ ถือเป็นสิ่งที่ยอมรับในทุกสำนักคิดของอิสลาม และไม่สามารถที่จะกล่าวถึงศาสนาได้ หากว่าไม่มีตะอับบุด ประเด็นนี้จึงมีความสำคัญในการวินิจฉัยหลักฟิกฮ์ และยังถือว่าเป็นหนึ่งในหลักการนี้อีกด้วย การมีความสัมพันธ์กันระหว่างความมีเหตุผล (ตะอักกุล) กับตะอับบุด เป็นหนึ่งในหัวข้อที่สำคัญในการอภิปรายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับศาสนา ขณะที่บรรดานักค้นคว้าวิจัยของอิสลาม กล่าวว่า ตะอับบุด ไม่สามารถที่จะหมายถึง การปราศจากความมีเหตุผล เพราะว่า ประเด็นหลักของศาสนา จะเข้าใจได้ต้องอาศัยพื้นฐานของความมีเหตุผล
ตามความเชื่อของปัญญาชนบางคน ระบุว่า ตะอับบุดในขั้นตอนของความคิดกับความมีเหตุผล และในขั้นตอนของการกระทำกับเสรีภาพนั้นมีความขัดแย้งกัน นักค้นคว้าวิจัยบางคนกล่าวว่า คำพูดนี้ มีความขัดแย้งกัน เพราะว่าในอีกด้านหนึ่ง ไม่มีการปฏิเสธความสัมพันธ์กันระหว่างศาสนาและตะอับบุด และในอีกด้านหนึ่ง เขาก็พยายามที่จะอธิบายด้วยการนำเสนอความหมายของศาสนา ซึ่งไม่ใช่เป็นตะอับบุด นอกเหนือจากนี้ พวกเขายังกล่าวด้วยว่า การยอมรับตะอับบุดในคำพูดของบรรดาศาสดา เหมือนกับการย้อนกลับของผู้ไม่รู้ไปยังผู้รู้ ซึ่งจากทัศนะทางสติปัญญา ไม่ถือว่า มีปัญหาแต่อย่างใด
หนังสือ ตะอับบุด วะ อักลอนียัต เป็นหนังสือที่เขียนโดยมุฮัมมัด ญะอ์ฟะรี ในหัวข้อเรื่อง ตะอับบุด
ความสำคัญของตะอับบุดในการอภิปรายของอิสลาม
ตะอับบุด เป็นคำศัพท์ทางนิติศาสตร์และจริยธรรมอิสลาม ซึ่งหมายถึง การยอมจำนนของบรรดาผู้ศรัทธาที่มีต่อพระบัญชาของพระเจ้าอย่างบริสุทธิ์ใจ [๑] ตามคำศัพท์นี้ พวกเขาจะต้องปฏิบัติตามพระบัญชาดังกล่าว แม้ว่า พวกเขาจะไม่ทราบถึงเหตุผลและผลประโยชน์ที่แท้จริงของพระบัญชาของพระองค์ก็ตาม [๒] กล่าวกันว่า ชะรีอะฮ์และรากฐานหลักของศาสนา ไม่สามารถที่จะกล่าวถึงได้ หากไม่มีตะอับบุด (๓) ด้วยเหตุนี้เอง อับบุดและหลักเตาฮีด จึงไม่สามารถแยกออกจากกันได้ [๔] จิตวิญญาณของอิสลามและพื้นฐานของการเคร่งครัดต่อศาสนา คือ ตะอับบุดและการยอมจำนนต่อพระเจ้า [๕] และพวกเขาถือว่า ศาสนาที่ปราศจากตะอับบุด เป็นศาสนาที่ปราศจากความเป็นจริง [๖]
ในทุกสำนักคิดอิสลาม ตะอับบุด เป็นสิ่งที่ถูกยอมรับในหลักอะฮ์กามชัรอีย์ (๗) การทำลายขอบเขตของตะอับบุด จะนำไปสู่การทำลายล้างศาสนา (๘) ตะอับบุด จึงตั้งอยู่บนพื้นฐานของสองหลักการ การมีวิสัยทัศน์ (ความศรัทธาต่อวิทยปัญญาในพระบัญชาของพระเจ้า) และความรัก (ที่มีต่อมะอ์บูด) (๙) เหล่านักคิดที่มีความเชื่อในหลักเตาฮีด จะต้องมีตะอับบุด และถือว่า สติปัญญาอันสมบูรณ์ของพระเจ้านั้น มาก่อนความคิดของตนเอง (๑๐)
ปรัชญาของตะอับบุด
ความไม่กระจ่างชัดของเหตุผลในหลักอะฮ์กาม ไม่ได้หมายความว่า ในหลักอะฮ์กามไม่มีเหตุผล (๑๑) บนพื้นฐานของริวายะฮ์ รายงานจากอิมามริฎอ (อ.) กล่าวว่า พระเจ้าได้ร้องขอให้ปวงบ่าวของพระองค์ปฏิบัติตามพระบัญชาต่างๆของพระองค์ด้วยตะอับบุด เพราะว่า คำสั่งที่ต้องปฏิบัติและคำสั่งห้ามนั้น ทั้งมีข้อดีและข้อเสีย ซึ่งการกระทำและการละทิ้งมัน จะมีผลประโยชน์ที่เหมาะสมกับบ่าวทั้งหลายของพระองค์ และการมีชีวิตอยู่ของพวกเขาก็มีความสัมพันธ์กับคำสั่งเหล่านี้ด้วยตะอับบุด (๑๒) อย่างไรก็ตาม อิสลามก็เหมือนกับศาสนาแห่งฟากฟ้าอื่นๆ ซึ่งมีหลักปฏิบัติที่ปรัชญาของมันสำหรับมนุษย์นั้นยังไม่เป็นที่กระจ่างชัดนัก (๑๓) บรรดาผู้ศรัทธา จะยอมรับหลักปฏิบัติเหล่านี้ ด้วยตะอับบุด และจะปฏิบัติตามมันอีกด้วย (๑๔) การกระทำอิบาดะฮ์ต่างๆ ซึ่งปราศจากความเข้าใจในปรัชญาของหลักอะฮ์กาม ถือเป็นการทดสอบประเภทหนึ่งจากพระเจ้า เพื่อที่จะแยกแยะผู้ศรัทธาที่แท้จริงออกจากผู้ที่ไม่แท้จริง (๑๕)
เชคศอดูก ได้พยายามอธิบายปรัชญาถึงหลักอะฮ์กามในหนังสือ อิละลุชะรอยิอ์ (๑๖) อับบาสอะลี อะมีด ซันญานี ผู้เขียนหนังสือ นิติศาสตร์การเมือง กล่าวว่า คาดว่า เชคศอดูก (เสียชีวิต ฮ.ศ. ๓๘๑ ) เป็นผู้รายงานและเป็นฟะกีฮ์คนเดียวที่รวบรวมปรัชญาของหลักอะฮ์กาม (๑๗) อะมีด ซันญานี เชื่อว่า บรรดาฟะกีฮ์ของชีอะฮ์ เนื่องจากเหตุผลของความกลัวในการปฏิบัติตามหลักกิยาสในประเด็นทางด้านนิติศาสตร์และเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุผลความไม่อ่อนแอของการมีจิตวิญญาณในตะอับบุด ไม่ถือว่า ฮะดีษต่างๆที่ระบุในหนังสืออะลาลุชชะรอยิอ์ เป็นสิ่งที่เพียงพอ (๑๘) แต่ทว่า อะมีด ซันญานี ถือว่า วิสัยทัศน์นี้มีความขัดแย้งกันกับวิธีการของอัลกุรอาน เพราะว่า มีการอธิบายปรัชญา คุณประโยชน์และผลเสียของหลักอะฮ์กามบางประการในอัลกุรอานอีกด้วยเช่นกัน (๑๙) มุฮัมมัดตะกี ญะอ์ฟะรี นักปรัชญาและนักศาสนศาสตร์ชาวชีอะฮ์ เชื่อด้วยเช่นกันว่า อะฮ์กามในภาคอิบาดะฮ์ มีปรัญชาที่มั่นคงและอะฮ์กามที่ไม่ใช่ภาคอิบาดะฮ์ สามารถที่จะเข้าใจได้ด้วยสติปัญญา (๒๐) ขณะเดียวกัน บางคนเชื่อว่า คำสอนส่วนมากของอิสลาม จะต้องยอมรับในตะอับบุดและไม่สามารถเข้าใจในฮิกมะฮ์และปรัชญาของมันได้ (๒๑)
ตะอับบุดและความมีเหตุผล
บรรดานักวิชาการมุสลิม กล่าวว่า ตะอับบุด ซึ่งมีอยู่ในศาสนานั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความมีเหตุผล ดังเช่นที่ การตักลีดในหลักอะฮ์กามได้ขึ้นอยู่กับการค้นคว้าและความมีเหตุผล (๒๒) ด้วยเหตุนี้เอง ตะอับบุด จึงไม่ได้หมายถึง การไม่มีเหตุผล เพราะว่า ประเด็นหลักของศาสนา (ความศรัทธา) ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการให้เหตุผลและความมีเหตุผล (๒๓) มุฮัมมัดฮุเซน เฏาะบาเฏาะบาอี นักปรัชญาและนักตัฟซีรอัลกุรอาน กล่าวว่า ผู้ปฏิบัติตามของบางศาสนา ถือว่า ประเด็นที่ไม่เข้ากับสติปัญญามีอยู่ในศาสนาของตน และพวกเขาได้พยายามอ้างว่า บางประเด็นที่เกี่ยวกับตะอับบุด ด้วยการให้เหตุผล จะเป็นไปไม่ได้ในมุมมองทางสติปัญญา (๒๔) เฏาะบาเฏาะบาอี ถือว่า ความขัดแย้งกับการกระทำนี้ จะเป็นไปได้อย่างไร แต่ในอีกด้านหนึ่ง ความถูกต้องของศาสนากับสติปัญญาได้พิสูจน์ให้เห็นแล้ว แต่ในอีกด้านหนึ่ง ศาสนานี้จะทำให้สติปัญญา เกิดความผิดพลาดใช่หรือไม่ (๒๕) ประเด็นของความมีเหตุผลกับตะอับบุด เป็นประเด็นที่สำคัญซึ่งมีความสัมพันธ์ระหว่างสติปัญญาและวะฮ์ฮีย์ หรือความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับศาสนา (๒๖)ตามคำกล่าวของบรรดานักค้นคว้าวิจัย ระบุว่า ในสถานภาพของความเข้าใจ จะต้องมีเหตุผล แต่ในการกระทำ จะต้องมีตะอับบุด (๒๗) ด้วยเหตุนี้เอง กล่าวกันได้ว่า หลักความศรัทธา จะต้องยอมรับด้วยวิธีการของความมีเหตุผลและไม่ยอมรับด้วยตะอับบุด (๒๘) นักค้นคว้าวิจัยบางคน กล่าวว่า องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการเกิดขึ้นและความแตกต่างกันระหว่างมัซฮับทั้งสี่ของชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ กล่าวคือ ทัศนคติของพวกเขาในเหตุผลนิยมหรือตะอับบุด (๒๙)
ตะอับบุดและการวินิจฉัยหลักอะฮ์กาม ชัรอีย์
ตะอับบุด ตรงกันข้ามกับความมีเหตุผล เป็นหนึ่งในหลักการในการวินิจฉัยทางนิติศาสตร์ (๓๐) การกำหนดขอบเขตของความมีเหตุผลและตะอับบุด เป็นหนึ่งในประเด็นที่สำคัญในหลักอะฮ์กาม ชัรอีย์ (๓๑) ตามความเชื่อของฟะกีฮ์บางคน ถือว่า กรอบของตะอับบุด ในศาสนา เป็นการอิบาดะฮ์ ไม่รวมถึงการประกอบธุรกรรม (๓๒) ด้วยเหตุนี้เอง บรรดาฟะกีฮ์ ได้วินิจฉัยในภาคการประกอบธุรกรรม จะต้องมีกฏเกณฑ์ของหลักอะฮ์กามที่ได้รับมาจากริวายะฮ์ต่างๆ (๓๓) ตามคำกล่าวของอะมีด ซันญานี ระบุว่า ทางนิติศาสตร์ของชีอะฮ์ เห็นว่า ความขัดแย้งกันระหว่างตะอับบุดและความมีเหตุผล ได้รับการแก้ไขแล้ว เนื่องจากบรรดาฟะกีฮ์ของชีอะฮ์ ถือว่า ในขอบเขตของตะอับบุดนั้นมีความเฉพาะเจาะจงกับหลักอะฮ์กามที่เป็นลายลักษณ์อักษร กล่าวคือ หลักอะฮ์กามที่ได้รับมาจากเหตุผลของอัลกุรอานและริวายะฮ์ และขอบเขตของความมีเหตุผล มีความเฉพาะเจาะจงกับหลักอะฮ์กามที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษรและหลักอะฮ์กามในการปกครอง เป็นต้น (๓๔)
วิสัยทัศน์ของปัญญาชน
ความกังวลที่สำคัญที่สุดของเหล่าปัญญาชนที่เกี่ยวกับศาสนา คือ ความแตกต่างกันระหว่างความมีเหตุผลกับตะอับบุดในศาสนา (๓๕) กล่าววกันได้ว่า การต่อต้านตะอับบุด เป็นผลผลิตของยุคสมัยใหม่ (๓๖) มุศฏอฟา มะละกียอน เชื่อว่า ตะอับบุดในขั้นตอนของความคิด ตรงกันข้ามกับความมีเหตุผลและในขั้นตอนทางการกระทำ ซึ่งตรงกันข้ามกับเสรีภาพ (๓๗) อย่างไรก็ตาม มะละกียอน ถือว่า ตะอับบุด เป็นการให้การสนับสนุนต่อสติปัญญาและไม่มีปัญหาแต่อย่างใด (๓๘)
อับดุลกะรีม ซุรูช เชื่อว่า ในภาคส่วนของการอิบาดะฮ์ในนิติศาสตร์นั้นมีความลี้ลับและจะต้องยอมรับด้วยตะอับบุด แต่ทว่าในภาคส่วนของการประกอบธุรกรรม ปราศจากความลี้ลับใดๆทั้งสิ้น (๓๙) มุฮัมมัดมุจญ์ตะฮิด ชะบัสตะรี นอกเหนือจาก ในภาคส่วนการประกอบธุรกรรม จะถือว่า ในภาคส่วนการอิบาดะฮ์ไม่มีความลี้ลับเลย (๔๐) เขากล่าวว่า ส่วนมากของคำฟัตวาของบรรดาฟะกีฮ์ ในภาคการเมือง ไม่มีเหตุผลทางสติปัญญา และจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ผลประโยชน์ของชาวมุสลิมต้องถูกขจัดออกไป (๔๑)
การวิพากษ์วิจารณ์ทัศนะของเหล่าปัญญาชน
ตามคำกล่าวของนักค้นคว้าวิจัยบางคน ระบุว่า เหล่าปัญญาชนต่างมีข้อสังสัยระหว่างศาสนากับยุคสมัยใหม่และความสงสัยนี้ทำให้พวกเขาเกิดความขัดแย้งกัน เพราะว่า พวกเขานั้นไม่ได้ปฏิเสธการมีความสัมพันธ์กันของศาสนากับตะอับบุด ในอีกด้านหนึ่ง พวกเขาได้พยายามนำเสนอการอธิบายว่า คำศัพท์ทางศาสนา ไม่ได้เป็นตะอับบุด (๔๒) มุฮัมมัดตะกี ญะอ์ฟะรี เชื่อว่า ปัญญาชนทั้งหลาย ถือว่า เหตุผลนี้ ที่บ่งบอกว่า ตะอับบุด ตรงกันข้ามกับความมีเหตุผล ทำให้ศาสนาและความมีเหตุผลเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกัน (๔๓)
ตามคำกล่าวของบรรดานักค้นคว้าวิจัย ระบุว่า การยอมรับในตะอับบุดและความเชื่อในความลี้ลับของศาสนาได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความมีเหตุผล เพราะว่า ในอีกด้านหนึ่ง ศาสนานั้นมีความสัมพันธ์กับโลกแห่งความลี้ลับ และบรรดาศาสนทูตได้นำสารของโลกแห่งความลี้ลับสำหรับความผาสุกของมนุษยชาติ และในอีกด้านหนึ่ง การยอมรับถ้อยคำของพวกเขาสำหรับการได้รับความผาสุก จะเป็นหลักที่ว่าด้วยเหตุผล กล่าวคือ การย้อนกลับของผู้ไม่รู้ไปยังผู้รู้ (๔๔) นักค้นคว้าวิจัยบางคน ถือว่า การนำเสนอการอธิบายที่ออกห่างจากตะอับบุด เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และพวกเขาได้กล่าวว่า ปัญญาชนทั้งหลายเมื่อต้องเผชิญกับคำสอนของศาสนา พวกเขาจึงประสบกับการตัดสินใจล่วงหน้า เพราะว่า ตำราทางศาสนาได้อธิบายว่า ไม่มีความลี้ลับและตะอับบุด แต่อย่างใด (๔๕) มุฮัมมัดตะกี มิศบาห์ ยัซดี เชื่อว่า กลุ่มปัญญาชนที่ถือว่า ประเด็นทางศาสนาเป็นตะอับบุด คือ จุดเริ่มต้นของการบิดเบือนในกลุ่มการเมืองบางกลุ่มที่อ้างสิทธิ์ของอิสลาม (๔๖)
ผลงานประพันธ์
ผลงานเหล่านี้ เป็นหนังสือที่ประพันธ์เกี่ยวกับประเด็นตะอับบุด :
ตะอับบุด วะ ตะอักกุล ดัร ฟิกฮ์ อิสลาม เขียนโดย มุฮัมมัดตะกี ญะอ์ฟะรี หนังสือนี้ได้รับการจัดพิมพ์ในปี ๑๓๗๓ สุริยคติอิหร่าน จัดทำโดยสมาพันธ์การจัดงานเทอดเกียรติรำลึกเชคอันศอรี เมืองกุม (๔๗)
ตะอับบุด วะ อักลอนียัต ประพันธ์โดย มุฮัมมัด ญะอ์ฟะรี หนังสือเล่มนี้ได้รับการจัดพิมพ์ในปี ๑๔๐๒ สุริยคติอิหร่าน มีทั้งหมด ๑๖๘ หน้า จัดพิมพ์โดย ศูนย์ความคิดเยาวชน (๔๘) ตะอับบุด คืออะไร มิติต่างของตะอับบุด และความสัมพันธ์ของตะอับบุดกับความมีเหตุผล เป็นหัวข้อของหนังสือนี้ (๔๙)