ดุอาอ์วันอะรอฟะฮ์ของอิมามฮุเซน

จาก wikishia

ดุอาอ์วันอะรอฟะฮ์ของอิมามฮุเซน (อ.) เป็นดุอาอ์ที่อิมามฮุเซน(อ.) อ่านในวันอะรอฟะฮ์ (9 ซุลฮิจญะฮ์ ) ในทุ่งอะรอฟะฮ์ กล่าวกันว่า บทดุอาอ์นี้ไม่เกี่ยวข้องกับฮัจญ์ครั้งสุดท้ายของอิมามฮุเซน (อ.) เพราะว่า อิมาม ไม่ได้หยุดพักที่อะราฟะฮ์ระหว่างการเดินทางประกอบพิธีฮัจย์ ซึ่งเป็นช่วงก่อนเหตุการณ์กัรบะลา

บรรดาชีอะฮ์จะอ่านดุอาอ์บทนี้ ในวันอะรอฟะฮ์ ณ ทุ่งอะรอฟะฮ์ และตามสถานที่อื่นๆ ของโลก บทดุอาอ์นี้ประกอบไปด้วยคำสอนทางด้านจิตวิญญาณและความศรัทธา เช่น การรู้จักพระเจ้า การอธิบายคุณลักษณะของพระองค์ การรำลึกถึงความโปรดปรานของพระองค์ การสรรเสริญและการขอบพระคุณพระองค์สำหรับสรรพสิ่งทั้งหลาย การวิงวอนต่อพระองค์ และการสารภาพบาปและการขออภัยโทษ

ตามเนื้อหาของบทดุอาอ์นี้ นักวิชาการชีอะฮ์ ได้พิจารณาว่า ดุอาอ์นี้มาจากอิมามฮุเซน (อ.) แน่นอนว่า มีข้อสงสัยในการถือว่า ส่วนสุดท้ายของดุอาอ์นี้เป็นของอิมามมฮุเซน (อ.)หรือไม่ ทั้งนี้ ดุอาอ์นี้ยังได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆอีกด้วย

สถานภาพและความสำคัญ

ดุอาอ์วันอะรอฟะฮ์ของอิมามฮุเซน (อ.) เป็นหนึ่งในบทดุอาอ์ที่บรรดาชีอะฮ์จะอ่านในวันอะรอฟะฮ์ ณ ทุ่งอะรอฟะฮ์และตามพื้นที่ต่างๆทั่วโลก ในอิหร่าน พิธีนี้จะมีการจัดเป็นกลุ่มในมัสยิด และศาสนสถานอื่นๆ

ในแหล่งที่มา ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับปีแห่งการอ่านบทดุอาอ์อะรอฟะฮ์ อย่างไรก็ตาม กล่าวกันว่า ดุอาอ์นี้ไม่เกี่ยวข้องกับพิธีฮัจญ์ครั้งสุดท้ายของอิมามฮุเซน (อ.) เพราะว่า เขาไม่ได้หยุดพักที่ทุ่งอะรอฟะฮ์ ระหว่างการเดินทางประกอบพิธีฮัจญ์ ก่อนเกิดเหตุการณ์กัรบะลา กล่าวกันอีกว่า อิมามฮุเซนได้เดินทางประกอบพิธีฮัจญ์ถึง 25 ครั้งด้วยกัน และในแต่ละครั้ง เขาจะบทดุอาอ์ใหม่ในวันอารอฟะฮ์ [1] อิมามฮุเซน (อ.) ได้เดินทางไปยังเมืองมักกะฮ์ ในเดือนซุลฮิจญะฮ์ ปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 60 และในระหว่างพิธีฮัจญ์ เขาได้รับรู้ถึงแผนการสมรู้ร่วมคิดของพวกสายลับของยะซิด บิน มูอาวียะฮ์ ดังนั้น เขาจึงเปลี่ยนจากฮัจญ์เป็นอุมเราะฮ์ (หมายเหตุ 1) จากนั้น จึงทำการฏอวาฟและซะแอจากศอฟาและมัรวะฮ์ แล้วเดินทางไปยังเมืองกูฟะฮ์[2]‎

บิชร์และบะชีร บุตรชายของฆอลิบ อะซะดี เล่าว่า ในช่วงชั่วโมงสุดท้ายของวันอะรอฟะฮ์ อิมามฮุเซน (อ.) ได้ออกมาจากกระโจมพร้อมกับครอบครัวของเขา ลูกๆ และบรรดาชีอะฮ์ และด้วยความนอบน้อมถ่อมตัวอย่างสูงสุด ‎เขายืนอยู่ทางด้านซ้ายของภูเขา หันหน้าไปทางกะอ์บะฮ์และอ่านดุอาอ์บทนี้ [3]‎

แหล่งที่มาของดุอาอ์

กัฟอะมี ได้บันทึกดุอานี้ไว้ในหนังสือ อัลบะละดุลอะมีน และซัยยิดอิบนุ ฏอวูซ ในหนังสือมิศบาฮุซซาอิร และหลังจากนั้น อัลลามะฮ์ มัจญ์ลิซี ในหนังสือ บิฮารุลอันวาร และเชคอับบาส กุมมี ในหนังสือ มะฟาติฮุลญินาน และ อยาตุลลอฮ์ คูอี ถือว่า ผู้รายงานดุอาอ์อะรอฟะฮ์ คือ บิชร์ บิน ฆอลิบ อะซะดี เป็นหนึ่งในสาวกของอิมามฮุเซน (อ.) และอิมามซัจญาด (อ.) และบาชีร บิน ฆอลิบ เป็นเพียงผู้รายงานเพียงคนเดียวของอิมามฮุเซน (อ.)[4]‎

แม้ว่า นักวิชาการบางคนจะไม่แน่ใจเกี่ยวกับความถูกต้องของบทดุอาอ์นี้ แต่พวกเขากล่าวว่า เนื้อหาของบทดุอานี้มีความยิ่งใหญ่อย่างมากและสอดคล้องกับหลักการที่ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานยืนยัน เพราะว่า นอกจากบรรดาศาสดาและอิมามผู้บริสุทธิ์ทั้งหลายแล้วไม่มีผู้ใดที่จะสามารถอธิบายดุอาอ์นี้ได้ (5)‎

หลักฐานส่วนสุดท้าย

ตามรายงานของกัฟอะมี กล่าวว่า ดุอาอ์อะรอฟะฮ์ จะสิ้นสุดด้วยประโยคที่ว่า ลาชะรีกะ ละกะ ละกัลมุลก์ วะละกัลฮัมด์ วะ อันตะ อะลี กุลลิชัยอิน เกาะดีร ยาร็อบบิ ยาร็อบบิ ยาร็อบ

แต่จากรายงานของซัยยิดอิบนุ ฏอวูซ ในหนังสือ อิกบาลอัลอะมาล ด้วยกับประโยคนี้ อิลาฮี อะนัลฟะกีร ฟีย์ ฆินายะ ฟะกัยฟะ ลา อะกูนะ ฟะกีร็อน ฟีย์ ฟักรีย์ และสิ้นสุดด้วยประโยคที่ว่า อัมกัยฟะ ตะฆีบุ วะ อันตัรรอกีบุลฮาฎิร อินนะกะ อะละ กุลลิชัยอิน เกาะดีร อัลฮัมดุลิลาฮิ วะฮ์ดะฮ์ [6] แน่นอนว่า ซัยยิดอิบนุ ฏอวูซ ไม่ได้กล่าวถึงส่วนสุดท้ายนี้ในหนังสือ มิศบะฮ์ซาอิร [ต้องการแหล่งที่มา] อัลลามะฮ์ มัจญ์ลิซี ยังเกิดข้อกังขาในส่วนนี้ของดุอาอ์ว่า มาจากอิมามฮุเซน (อ.) หรือไม่ โดยเขาถือว่า ประโยคนี้ ไม่เหมาะสมกับดุอาอ์ของบรรดาอิมาม ผู้บริสุทธิ์ (อ.) มัจญ์ลิซี กล่าวว่า เป็นไปได้ว่า ส่วนนี้ไม่ได้อยู่ในบางหนังสือ แต่ซัยยิดอิบนุ ฏอวูซ คิดว่า เป็นส่วนหนึ่งของดุอาอ์อะรอฟะฮ์ จึงนำมาใส่ไว้ในช่วงท้ายของดุอาอ์ หรือตามฉบับดั้งเดิมของหนังสืออิกบาลอัลอะมาล ไม่ได้มีกล่าวมากนัก และหลังจากนั้น บางสานุศิษย์ที่เป็นซูฟีของเขาได้เพิ่มมันเข้าไปในหนังสือเล่มนี้ด้วย และคาดคะเนประการที่สอง ถือว่า เหมาะสมกว่า [7] แน่นอนว่า มุฮัมมัด มุฮัมะดี เรย์ชะฮ์รี ถือว่า ตัวบทของดุอาอ์อะรอฟะฮ์ สอดคล้องกับตัวบทดุอาอ์อื่นๆของบรราดาอิมาม ผู้บริสุทธิ์ เช่น มุนาญาตชะอ์บานียะฮ์ เป็นต้น [8]

ซัยยิดมุฮัมมัด ฮุเซน ฮุซัยนี ฏอฮ์รอนี ในหนังสือของการรู้จักอัลลอฮ์และ ญะลาลุดดีน ฮุมาอี เชื่อว่า ส่วนสุดท้ายของดุอาอ์ให้ความสัมพันธ์ไปยังอิบนุ อะฏออุลลอฮ์ อิสกันดะรอนี นักรหัสยนิยม ในศตวรรษที่ 7 ถือว่า ส่วนนี้อยู่หนังสือ อัลฮิกัมอัลอะฏออียะฮ์ ฉบับดั้งเดิม [9] อยาตุลลอฮ์ ชุบัยรี ซันญานี ยังไม่ถือว่า ส่วนนี้เป็นส่วนหนึ่งของคำพูดของอิมามฮุเซน (อ.)(10) และเขียนว่า ส่วนนี้ไม่ได้มีอยู่ในฉบับดั้งเดิมของหนังสืออิกบาล และหลังจากนั้นถูกนำเพิ่มเติมเข้ามา (11)

อยาตุลลอฮ์ ญะวาดี ออมุลี ถือว่า ตัวบทส่วนนี้หากไม่ได้ออกจากผู้ที่ไม่บริสุทธิ์เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากความหมายของตัวบทนี้ และเขาเชื่อว่า ในการตรวจสอบแหล่งอ้างอิงของริวายะฮ์ เป็นประเด็น โดยมีความเชื่อมั่นว่า เป็นคำกล่าวที่มาจากอิมามผู้บริสุทธิ์ ซึ่งความเชื่อมั่นนี้ บางครั้งเกิดขึ้นจากแนวทางที่เชื่อถือได้ และหลักการ ความซื่อสัตย์ของผู้รายงาน บางครั้งเกิดจากความเข้าใจในเนื้อหาที่สูงส่ง และความมั่นคงของเนื้อหา และบางครั้งเกิดจากพยานและเหตุที่ติดกันและห่างกัน (12) อยาตุลลอฮ์ มะการิม ชีรอซี ถือว่า ข้อสงสัยนี้ของนักวิชาการบางคน ไม่มีเหตุผลที่ยอมรับได้ในกรณีที่ส่วนสุดท้ายนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุอาอ์อะรอฟะฮ์และเขายังเสริมว่า ส่วนนี้ก็เป็นสภาพของดุอาอ์อะรอฟะฮ์ด้วยเช่นกันและแสดงให้เห็นว่า ไม่พบว่ามีการเพิ่มเติมจากกลุ่มที่หันเหแต่อย่างใด (13)

เนื้อหาของดุอาอ์

ดุอาอ์อะรอฟะฮ์ ประกอบไปด้วยคำสอนที่มีความหมายอันลึกซึ้งและความศรัทธา ซึ่งบางส่วนของตัวบทมีดังต่อไปนี้ :

การรู้จักพระเจ้าและคุณลักษณะของพระองค์ การประกาศพันธสัญญากับพระเจ้า อีกครั้ง และการรู้จักบรรดาศาสนทูต การกระชับความสัมพันธ์กับพวกเขา การให้ความสนใจในประเด็นปรโลกและการเปิดเผยถึงความศรัทธาด้วยหัวใจ

วิถีแห่งการคิดในขอบเขตอันไกลโพ้นของโลกและการรำลึกถึงความโปรดปรานอันไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์ และการสรรเสริญและการขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับสิ่งเหล่านั้น

การวิงวอนต่อพระเจ้า และการสารภาพบาป การกลับใจ และการขออภัยโทษ และการหันออกจากคุณสมบัติที่ไม่ดีและการกระทำความดี

การยอมรับว่าความโปรดปรานของพระเจ้านั้นมีนับไม่ถ้วนและนับได้บางจำนวนบางส่วน และการยอมรับบาปและความผิดพลาด และการนับจำนวนเหล่านั้น [หมายเหตุ 3]

คำร้องขอความต้องการ เริ่มต้นด้วยการกล่าวอำนวยพรแด่มุฮัมมัดและครอบครัวของเขา หลังจากนั้น การขออภัยโทษ แสงสว่างนำทาง ความเมตตา สิริมงคล ความกว้างขวางของปัจจัยยังชีพและผลรางวัลในปรโลก ฯลฯ