ซูเราะฮ์อัลอินซาน

จาก wikishia

ซูเราะฮ์อัลอินซาน หรือ ซูเราะฮ์ฮัลอะตา หรือ ซูเราะฮ์อัลดะฮ์ร์ เป็นซูเราะฮ์ที่ 76 ของอัลกุรอาน อยู่ในญุซที่ 29 เป็นซูเราะฮ์มะดะนีย์

ซูเราะฮ์อัลอินซาน ได้กล่าวถึง การสร้างและการชี้นำของมนุษย์ คุณลักษณะของอับรอร(ผู้ทีกระทำคุณงามความดี) และนิอ์มัต(ความโปรดปราน)ต่างๆของอัลลอฮ์ที่ทรงประทานแก่พวกเขาและเช่นเดียวกัน ประเด็นที่เกี่ยวกับความสำคัญของอัลกุรอานและความประสงค์ของพระเจ้า

ตามทัศนะของบรรดานักตัฟซีรชีอะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนะฮ์บางคน มีความคิดเห็นว่า โองการที่แปดของซูเราะฮ์นี้ เป็นที่รู้จักกันว่า โองการอิฏอาม ที่ถูกประทานให้กับอิมามอะลี (อ.)ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ.) อิมามฮะซันและอิมามฮุเซน (อ.) รวมทั้งผู้รับใช้ของพวกเขา คือ ฟิฎเฎาะฮ์

พวกเขาได้รักษาการบนบานต่ออัลลอฮ์ด้วยการถือศีลอดเป็นเวลาสามวันติดต่อกัน แม้ว่าพวกเขาจะหิวกระหาย แต่พวกเขายังได้มอบอาหารให้แก่ คนยากจน เด็กกำพร้าและเชลยศึก

หนึ่งในมรรคผลของการอ่านซูเราะฮ์นี้ ก็คือ การอยู่ร่วมกับศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)ในวันอาคิเราะฮ์

คำแนะนำ

การตั้งชื่อ

ซูเราะฮ์นี้ ถูกรู้จักด้วยชื่อว่า ซูเราะฮ์อัลอินซาน ฮัลอะตา และอัดดะฮ์ริ (1) สาเหตุการตั้งชื่อเหล่านี้ เนื่องจากทั้งสามได้รับมาจากโองการแรก (2) และยังเรียกซูเราะฮ์นี้ ซูเราะฮ์อัลอับรอร(ผู้ที่กระทำความดี)อีกด้วยเช่นกัน เพราะว่า คำนี้ถูกกล่าวไว้ในโองการที่ห้า และมากกว่าครึ่งของซูเราะฮ์นี้ได้อธิบายถึงสภาพของบุคคลเหล่านี้ (3

สถานที่และการจัดอันดับของการประทานลงมา

ในการจัดอันดับซูเราะฮ์อัลอินซาน ซูเราะฮ์นี้ เป็นซูเราะฮ์ที่ 79 ที่ประทานลงมาให้แก่ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) แต่ในการจัดอันดับในปัจจุบัน ซูเราะฮ์อยู่ในซูเราะฮ์ที่ 77 (4) และอยู่ในญุซอ์ที่ 29 (5)

มีทัศนะที่แตกต่างกันว่า ซูเราะฮ์เป็นซูเราะฮ์มักกียะฮ์ หรือซูเราะฮ์มะดะนียะฮ์ ตามคำกล่าวของนาศิร มะการิม ชีรอซี หนึ่งในนักตัฟซีรร่วมสมัยของชีอะฮ์ ระบุว่า เป็นที่ยอมรับว่า ทั้งหมดของซูเราะฮ์หรืออย่างน้อยที่สุด โองการต่างๆที่เกี่ยวกับอับรอร และการประพฤติในการกระทำที่ดีงาม ได้ถูกลงมาในเมืองมะดีนะฮ์ (6) กุรเฏาะบี นักตัฟซีรชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ในศตวรรษที่ 7 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช ให้ความคิดเห็นว่า ในทัศนะที่เป็นที่รู้จักกันของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ถือว่า ซูเราะฮ์นี้ เป็นซูเราะฮ์มะดะนียะฮ์ (7) แม้ว่านักตัฟซีรบางคนของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ จะกล่าวว่า ซูเราะฮ์นี้ เป็นซูเราะฮ์มักกียะฮ์ก็ตาม (8) และบางคนกล่าวว่า โองการแรกๆของซูเราะฮ์เป็นซูเราะฮ์มักกียะฮ์และโองการที่แปดจนถึงโองการสุดท้ายเป็นซูเราะฮ์มะดะนียะฮ์ (9)

จำนวนโองการและคุณสมบัติอื่นๆ

ซูเราะฮ์อัลอินซาน มีทั้งหมด 31 โองการ มี 243 คำ และมี 1089 อักษร ซูเราะฮ์นี้ เป็นหนึ่งในซูเราะฮ์มุฟัศศอลาต (ซูเราะฮ์ที่มีโองการน้อย)และเป็นซูเราะฮ์ที่มีขนาดเล็ก(10) ซูเราะฮ์นี้ รวมทั้งโองการและซูเราะฮ์ต่างๆที่ถูกสลักไว้บนเฎาะรีฮ์ใหม่ของท่านอับบาส (11)

สาระสำคัญ

ในตัฟซีรนะมูเนะฮ์ ได้แบ่งสาระสำคัญของซูเราะฮ์อัลอินซาน เป็นห้าหัวข้อหลัก ดังนี้

หัวข้อแรก : การสร้างมนุษย์ การสร้างเขาจากอสุจิ และการชี้นำและการมีเจตจำนงที่เป็นอิสระของมนุษย์

หัวข้อที่สอง : ผลรางวัลของอับรอรและผู้ที่กระทำความดี(ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นของอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.)

หัวข้อที่สาม : คุณลักษณะของบุคคลที่กระทำความดีที่ควรค่าต่อการได้รับรางวัลจากพระเจ้า

หัวข้อที่สี่ : ความสำคัญของอัลกุรอาน วิธีการปฏิบัติตามอัลกุรอานและการสร้างตัวตนของมนุษย์

หัวข้อที่ห้า : การมีอำนาจจากการปกครองตามความประสงค์ของพระเจ้า

 เนื้อหาของซูเราะฮ์อัลอินซาน (13)

‎ประเด็นที่เกี่ยวกับตัฟซีร

คุณลักษณะของผู้ที่กระทำความดี

‎ในซูเราะฮ์อันอินซาน (โองการที่ 7-11) มีการอธิบายถึงคุณลักษณะทั้งห้าประการของผู้ที่กระทำความดี (อับรอร): ‎ ‎1.พวกเขาเป็นผู้ที่รักษาคำมั่นสัญญา 2.พวกเขามีความหวาดกลัวในวันที่จะถูกลงโทษ 3.แม้ว่าพวกเขาต้องการอาหาร แต่พวกเขาก็มอบให้กับคนยากจน เด็กกำพร้า และเชลยศึก 4.พวกเขากระทำเช่นนี้เพียงเพื่อให้พระเจ้าทรงพึงพอพระทัย และไม่คาดหวังรางวัลใดๆหรือการขอบคุณจากใคร 5.ในวันที่มืดมนและเลวร้าย (เช่น วันกิยามะฮ์) ‎พวกเขามีความยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้าของพวกเขา (14)‎

การไม่กล่าวถึงเนียะอ์มัตของฮูรุลอัยน์ในซูเราะฮ์นี้

อาลูซี หนึ่งในนักตัฟซีรชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ เชื่อว่า เนื่องจากซูเราะฮ์นี้ถูกประทานเกี่ยวกับความประเสริฐและความสูงส่งของสมาชิกทั้งห้าคนในครอบครัวของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ซึ่งรวมทั้งท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ)อยู้ด้วย ‎และไม่มีการกล่าวถึงสตรีชาวสวรรค์(ฮูรุลอัยน์) แต่อย่างใด เพราะเป็นการให้เกียรติแก่ท่านหญิง [15] อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี ยังชี้แจงด้วยว่า ในซูเราะฮ์อัลอินซาน ไม่มีการกล่าวถึงชื่อของฮูรุลอัยน์ โดยถือว่าไม่ได้เป็นหนึ่งในเนียะอ์มัตที่สำคัญที่สุดของสวรรค์ ด้วยเหตุนี้เอง จึงสามารถกล่าวได้ว่า ในหมู่ผู้ที่กระทำความดี (อับรอร ) ยังรวมบรรดาสตรี อยู่ในโองการนี้ด้วย[16]‎

โองการต่างๆที่เป็นที่รู้จัก

โองการอิฏอาม

«وَيُطْعِمُونَ الطَّعَامَ عَلَىٰ حُبِّهِ مِسْكِينًا وَيَتِيمًا وَأَسِيرًا»

และพวกเขาได้ให้อาหารด้วยความรักแก่ผู้ยากจน เด็กกำพร้า และเชลยศึก (โองการที่ 8)‎

อายะฮ์ที่แปดของซูเราะฮ์อัลอินซาน (รวมทั้งโองการก่อนหน้าและหลังจากนี้) ซึ่งเป็นที่รู้จักว่า โองการอิฏอาม [17] ‎อยาตุลลอฮ์ มะการิม ชีรอซี นักวิชาการชาวชีอะฮ์ เห็นพ้องว่า โองการนี้ร่วมกับโองการอื่นๆ (สิบแปดโองการจากซูเราะฮ์นี้หรือทั้งหมดของมัน) ได้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับการถือศีลอดสามวันของอิมามอะลี (อ.) ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) อิมามฮะซันและอิมามฮุเซน (อ.)และฟิฎเฎาะฮ์ (18) มีรายงานระบุว่า บุคคลเหล่านี้ ถึงแม้ว่าพวกเขาจะหิวโหย แต่พวกเขาก็ได้อาหารที่จัดเตรียมเพื่อละศีลอดแก่ คนยากจน เด็กกำพร้าและเชลยศึก [19] มีริวายะฮ์อย่างมากมายที่กล่าวถึงสาเหตุที่มาของโองการนี้ [20] อยาตุลลอฮ์ มะการิม ชีรอซี ยังชี้ถึงริวายะฮ์ของอิบนุอับบาสที่กล่าวถึงความสูงส่งและความประเสริฐของอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) จากผู้รายงานชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ทั้ง 34 คน ซึ่งอัลลามะฮ์ อะมีนี เขียนไว้ในหนังสืออัลเฆาะดีร [21] ริวายะฮ์นี้ ซึ่งเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ แต่ทว่า อยู่ในระดับขั้นมุตะวาติรอีกด้วย (22)‎

โองการ ชะรอบัน ฏอฮูรอ

«وَسَقَاهُمْ رَبُّهُمْ شَرَابًا طَهُورًا» 

‎ “และพระผู้อภิบาลของพวกเขาทรงประทานเครื่องดื่มอันบริสุทธิ์แก่พวกเขา” (โองการที่ 21)‎

อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี เขียนในตัฟซีรอัลมีซานว่า ชะรอบัน ฏอฮูรอ หมายถึง เครื่องดื่มซึ่งไร้ความสกปรกและสิ่งเจือปนทุกชนิด รวมทั้ง ความสกปรกจากการเพิกเฉย การกีดกันและการออกห่างจากการให้ความสนใจต่อพระเจ้า และโดยการดื่มเครื่องดื่มพิเศษนี้ เพราะไม่มีม่านปิดกั้นใดระหว่างพวกเขากับพระเจ้าของพวกเขาและพวกเขาก็สมควรได้รับการสรรเสริญจากพระองค์

อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี ยังคงเชื่อว่าในโองการนี้ พระเจ้าทรงตัดสื่อกลางออก และถือว่า การทำให้ชาวสวรรค์ได้ดื่มเครื่องดื่มแห่งสวรรค์จากพระองค์โดยตรง และถือว่า นี่เป็นความโปรดปรานอันประเสริฐยิ่งสำหรับชาวสวรรค์ [23]‎

อายาตุลอะฮ์กาม

อายะฮ์ที่เจ็ดของซูเราะฮ์อัลอินซาน ถือเป็นส่วนหนึ่งของอายาตุลอะฮ์กาม [25] เกี่ยวกับโองการนี้ ซึ่งระบุว่าการรักษาคำสาบาน เป็นหนึ่งในคุณลักษณะของผู้ที่กระทำความดี [26] กล่าวได้ว่า เป็นที่อนุญาตและจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามคำสาบานเสียด้วยซ้ำ [27]‎

ความประเสริฐและคุณสมบัติ

ในริวายะฮ์ทั้งหลาย ได้กล่าวถึงผลรางวัลของการอ่านซูเราะฮ์อัลอินซาน คือ สวรรค์ และฮูรุลอัยน์ [28] และการร่วมอยู่กับศาสดามุฮัมมัด (ศ็อล) ในปรโลก [29] นอกจากนี้ อิมามริฎอ (อ.) ในนมาซศุบฮ์ของวันจันทร์และวันพฤหัสบดี โดยในรอกะอัตแรก อ่านซูเราะฮ์อัลฮัมด์และซูเราะฮ์อัลอินซาน และในรอกะอัตที่สอง หลังจากซูเราะฮ์อัลฮัมด์ อ่านซูเราะฮ์อัลฆอชิยะฮ์และท่านอิมามกล่าวว่า บุคคลใดก็ตามที่กระทำเช่นนี้ในสองวันดังกล่าว พระผู้เป็นเจ้าจะปกป้องเขาให้พ้นจากความชั่วร้าย [30]‎

สำหรับการอ่านซูเราะฮ์ มีรายงานเกี่ยวกับคุณสมบัติบางอย่างของซูเราะฮ์นี้ เช่น หากมีผู้หนึ่ง ผู้ใดอ่านซูเราะฮ์อัลอินซานอยู่เป็นประจำ หากวิญญาณของเขาอ่อนแอ เขาจะมีความเข้มแข็งทางจิตวิญญาณ [31] การอ่านซูเราะฮ์นี้มีประโยชน์ในการเสริมสร้างเส้นประสาทและหลีกเลี่ยงออกจากความวิตกกังวล [32]‎

ตัวบทซูเราะฮ์

بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَٰنِ الرَّحِيمِ
﴿هَلْ أَتَى عَلَى الْإِنْسَانِ حِينٌ مِنَ الدَّهْرِ لَمْ يَكُنْ شَيْئًا مَذْكُورًا ١ إِنَّا خَلَقْنَا الْإِنْسَانَ مِنْ نُطْفَةٍ أَمْشَاجٍ نَبْتَلِيهِ فَجَعَلْنَاهُ سَمِيعًا بَصِيرًا ٢ إِنَّا هَدَيْنَاهُ السَّبِيلَ إِمَّا شَاكِرًا وَإِمَّا كَفُورًا ٣ إِنَّا أَعْتَدْنَا لِلْكَافِرِينَ سَلَاسِلَ وَأَغْلَالًا وَسَعِيرًا ٤ إِنَّ الْأَبْرَارَ يَشْرَبُونَ مِنْ كَأْسٍ كَانَ مِزَاجُهَا كَافُورًا ٥ عَيْنًا يَشْرَبُ بِهَا عِبَادُ اللَّهِ يُفَجِّرُونَهَا تَفْجِيرًا ٦ يُوفُونَ بِالنَّذْرِ وَيَخَافُونَ يَوْمًا كَانَ شَرُّهُ مُسْتَطِيرًا ٧ وَيُطْعِمُونَ الطَّعَامَ عَلَى حُبِّهِ مِسْكِينًا وَيَتِيمًا وَأَسِيرًا ٨ إِنَّمَا نُطْعِمُكُمْ لِوَجْهِ اللَّهِ لَا نُرِيدُ مِنْكُمْ جَزَاءً وَلَا شُكُورًا ٩ إِنَّا نَخَافُ مِنْ رَبِّنَا يَوْمً ا عَبُوسًا قَمْطَرِيرًا ١٠ فَوَقَاهُمُ اللَّهُ شَرَّ ذَلِكَ الْيَوْمِ وَلَقَّاهُمْ نَضْرَةً وَسُرُورًا ١١ وَجَزَاهُمْ بِمَا صَبَرُوا جَنَّةً وَحَرِيرًا ١٢ مُتَّكِئِينَ فِيهَا عَلَى الْأَرَائِكِ لَا يَرَوْنَ فِيهَا شَمْسًا وَلَا زَمْهَرِيرًا ١٣ وَدَانِيَةً عَلَيْهِمْ ظِلَالُهَا وَذُلِّلَتْ قُطُوفُهَا تَذْلِيلًا ١٤ وَيُطَافُ عَلَيْهِمْ بِآنِيَةٍ مِنْ فِضَّةٍ   وَأَكْوَابٍ كَانَتْ قَوَارِيرَا ١٥ قَوَارِيرَ مِنْ فِضَّةٍ قَدَّرُوهَا تَقْدِيرًا ١٦ وَيُسْقَوْنَ فِيهَا كَأْسًا كَانَ مِزَاجُهَا زَنْجَبِيلًا ١٧ عَيْنًا فِيهَا تُسَمَّى سَلْسَبِيلًا ١٨ وَيَطُوفُ عَلَيْهِمْ وِلْدَانٌ مُخَلَّدُونَ إِذَا رَأَيْتَهُمْ حَسِبْتَهُمْ لُؤْلُؤًا مَنْثُورًا ١٩ وَإِذَا رَأَيْتَ ثَمَّ رَأَيْتَ نَعِيمًا وَمُلْكًا كَبِيرًا ٢٠ عَالِيَهُمْ ثِيَابُ سُنْدُسٍ خُضْرٌ وَإِسْتَبْرَقٌ وَحُلُّوا أَسَاوِرَ مِنْ فِضَّةٍ وَسَقَاهُمْ رَبُّهُمْ شَرَابًا طَهُورًا ٢١ إِنَّ هَذَا كَانَ لَكُمْ جَزَاءً وَكَانَ سَعْيُكُمْ مَشْكُورًا ٢٢ إِنَّا نَحْنُ نَزَّلْنَا عَلَيْكَ الْقُرْآنَ تَنْزِيلًا ٢٣ فَاصْبِرْ لِحُكْمِ رَبِّكَ وَلَا تُطِعْ مِنْهُمْ آثِمًا أَوْ كَفُورًا ٢٤ وَاذْكُرِ اسْمَ رَبِّكَ   بُكْرَةً وَأَصِيلًا ٢٥ وَمِنَ اللَّيْلِ فَاسْجُدْ لَهُ وَسَبِّحْهُ لَيْلًا طَوِيلًا ٢٦ إِنَّ هَؤُلَاءِ يُحِبُّونَ الْعَاجِلَةَ وَيَذَرُونَ وَرَاءَهُمْ يَوْمًا ثَقِيلًا ٢٧ نَحْنُ خَلَقْنَاهُمْ وَشَدَدْنَا أَسْرَهُمْ وَإِذَا شِئْنَا بَدَّلْنَا أَمْثَالَهُمْ تَبْدِيلًا ٢٨ إِنَّ هَذِهِ تَذْكِرَةٌ فَمَنْ شَاءَ اتَّخَذَ إِلَى رَبِّهِ سَبِيلًا ٢٩ وَمَا تَشَاءُونَ إِلَّا أَنْ يَشَاءَ اللَّهُ إِنَّ اللَّهَ كَانَ عَلِيمًا حَكِيمًا ٣٠ يُدْخِلُ مَنْ يَشَاءُ فِي رَحْمَتِهِ وَالظَّالِمِينَ أَعَدَّ لَهُمْ عَذَابًا أَلِيمًا ٣١﴾