ข้ามไปเนื้อหา

ซิยาเราะฮ์

จาก wikishia

ซิยาเราะฮ์ (ภาษาอาหรับ : الزيارة) หมายถึง การไปเยี่ยมหลุมศพของบรรดาศาสดา อิมามทั้งหลาย ลูกหลานของพวกเขา และมวลผู้ศรัทธา ซิยาเราะฮ์ ถือเป็น การกระทำอะมั้ลที่ดีประการหนึ่งของอิสลาม และชาวมุสลิมก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาโดยตลอดช่วงประวัติศาสตร์ การกระทำนี้ มีสถานภาพที่พิเศษในหมู่ชาวชีอะฮ์ เนื่องจากพวกเขาถือว่า การกระทำนี้เป็นสัญลักษณ์ของชีอะฮ์ ทุกปี ชาวชีอะฮ์จำนวนมากเดินทางมาจากส่วนต่างๆ ของโลกเพื่อไปเยี่ยมหลุมศพของบรรดาอิมาม (อ.) และลูกหลานของพวกเขาบางคน ตัวอย่างเช่น ตามรายงานจากสำนักงานอัสตาน กุดส์ ราซาวี มีผู้คน ๒๘ ล้านคนจากเมืองต่างๆ ในอิหร่านและประเทศอื่นๆ เดินทางไปยังเมืองมัชฮัดในทุกปี เพื่อไปเยี่ยมสุสานของอิมามริฎอ(อ.) นอกจากนี้ ตามข้อมูลของศูนย์สถิติของฮะร็อมท่านอับบาส (อ.) จำนวนผู้มาซิยาเราะฮ์ที่ไปยังฮะร็อม ในพิธีการเดินเท้าวันอัรบะอีนในปี ๑๔๐๒ สุริยคติอิหร่าน คาดว่า มีมากกว่า ๒๒ ล้านคน

อิบนุ ตัยมียะฮ์และวะฮ์ฮาบีย์ ต่างจากนิกายมุสลิมอื่นๆ ที่ถือว่า การไปเยี่ยมหลุมศพของบรรดาศาสดาและผู้นำทางศาสนา เพื่อขอชะฟาอะฮ์และการตอบรับดุอาอ์ เป็นอุตริกรรมและการกระทำของพวกตั้งภาคี ในทางกลับกัน บรรดานักวิชาการชีอะฮ์และนักวิชาการอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ส่วนใหญ่ไม่ยอมรับทัศนะนี้ และโดยอ้างอิงถึงซุนนะฮ์ของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และบรรดาอิมาม ผู้บริสุทธิ์ (อ.) ซีเราะฮ์ของเศาะฮาบะฮ์และตาบิอีน อิจญ์มาอ์(ฉันทามติ) และวิถีชีวิตของชาวมุสลิม ถือว่า ซิยาเราะฮ์ เป็นสิ่งที่ถูกต้องตามหลักศาสนบัญญัติและมีความประเสริฐอย่างยิ่ง

บรรดานักวิชาการมุสลิมได้เขียนผลงานเกี่ยวกับความชอบธรรมของซิยาเราะฮ์ ความประเสริฐและการตอบรับดุอาอ์ในอิสลาม ตลอดจนการหักล้างทัศนะของอิบนุ ตัยมียะฮ์เกี่ยวกับซิยาเราะฮ์ หนังสือ ชิฟาอุซซะกอม ฟี ซิยาเราะติ ค็อยริลอะนาม ผลงานของ ตะกียุดดีน ซุบกี และ ตุฮ์ฟะตุซซุวาร อิลา ก็อบรินนะบี อัลมุคตาร เขียนโดย อิบนุ ฮะญัร ฮัยตะมี เป็นผลงานบางส่วนจากหนังสือเหล่านี้ หนังสือ อัลมะซาร ฟี กัยฟียะติ ซิยารอตินนะบี วัลอะอิมมะฮ์ อัลอัฏฮาร ผลงานประพันธ์ของชะฮีดเอาวัล เป็นผลงานบางส่วนที่เขียนเกี่ยวกับความประเสริฐและการตอบรับดุอาอ์ในการไปซิยาเราะฮ์หลุมศพของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และบรรดาอิมามของชีอะฮ์ (อ.) และมารยาทในการไปซิยาเราะฮ์หลุมศพของพวกเขา

สถานภาพของซิยาเราะฮ์ในวัฒนธรรมอิสลาม

ซิยาเราะฮ์ เป็นคำศัพท์ทางศาสนา หมายถึง การไปเยี่ยมหลุมศพของผู้เสียชีวิต ผู้ศรัทธา ผู้ที่กระทำคุณงามความดี และโดยเฉพาะหลุมศพของบรรดาศาสดา บรรดาอิมาม และลูกหลานของพวกเขา ซึ่งมีพิธีกรรมที่เฉพาะ [๑] ตามที่ญะอ์ฟัร ซุบฮานีย์ กล่าวว่า การไปเยี่ยมหลุมศพของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) อะฮ์ลุลบัยต์ของเขา และหลุมศพของบรรดาผู้ศรัทธา เป็นหนึ่งในหลักการของวัฒนธรรมอิสลาม [๒]

บรรดานักวิชาการอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ เช่น อิบนุ ฎิยา มักกี (เสียชีวิตในปี ๘๕๔ ฮ.ศ.) เชากานี ชัมซุดดีน อัซซะฮาบีย์ (เสียชีวิตในปี ๗๔๘ ฮ.ศ.) และอับดุลเราะฮ์มาน อัลญะซีรี (นักนิติศาสตร์ชาวอียิปต์และนักวิชาการอัลอัซฮัร( เสียชีวิตในปี ๑๓๖๐ ฮ.ศ.) ถือว่า การไปเยี่ยมหลุมศพของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เป็นการกระทำที่มีความประเสริฐอย่างมาก [๓] และได้รายงานว่า เมื่อบรรดาผู้แสวงหาเสร็จสิ้นจากการประกอบพิธีฮัจญ์แล้ว พวกเขาจะไปเยี่ยมหลุมศพของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) [๔]

สถานภาพพิเศษของซิยาเราะฮ์ในหมู่บรรดาชีอะฮ์

ซิยาเราะฮ์ ถือเป็นสัญลักษณ์ของชีอะฮ์ ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งชีวิตและเอกลักษณ์ของชีอะฮ์ ตามริวายะฮ์ต่างๆจากบรรดาอิมาม ผู้บริสุทธิ์ (อ.) เกี่ยวกับผลรางวัลและความประเสริฐของซิยาเราะฮ์ ชาวชีอะฮ์ได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการเดินทางไปเยี่ยมหลุมศพและฮะร็อมของบรรดาอิมาม (อ.) และลูกหลานของพวกเขา [๕] ชาวชีอะฮ์จำนวนมากเดินทางมาจากส่วนต่างๆ ของโลกในทุกปีเพื่อไปเยี่ยมหลุมศพของบรรดาอิมาม (อ.) และลูกหลานของพวกเขา ตัวอย่างเช่น สำนักงานอัสตาน กุดส์ ราซาวี รายงานในเดือนมุรดอด ๑๓๙๗ สุริยคติอิหร่าน ว่า มีผู้คน ๒๘ ล้านคนเดินทางมาที่เมืองมัชฮัดจากเมืองต่างๆ ในอิหร่านและบางประเทศ เพื่อไปเยี่ยมสุสานของอิมามริฎอ (อ.) [๖] นอกจากนี้ ตามข้อมูลของศูนย์สถิติฮะร็อมของท่านอับบาส (อ.) คาดว่า จำนวนผู้มาซิยาเราะฮ์ที่ฮะร็อม ในพิธีการเดินทางวันอัรบะอีน ในปี 1402 ฮ.ศ. นั้นมีมากกว่า ๒๒ ล้านคน [๗]

บทซิยาเราะฮ์

บทซิยาเราะฮ์ เป็นเนื้อหาที่อ่านเมื่อไปซิยาเราะฮ์ที่สุสานและหลุมศพของบรรดาอิมามของชีอะฮ์ (อ.) และประกอบด้วยการให้สลามและการให้เกียรติต่อเจ้าของหลุมศพเหล่านี้ [๘] แม้ว่า ผู้มาซิยาเราะฮ์ แต่ละคนสามารถพูดบางอย่างด้วยคำพูดของตนเองและในภาษาของตนเอง เพื่อแสดงความเคารพและขอตะวัซซุลผ่านหลุมศพเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำให้อ่านบทซิยาเราะฮ์เหล่านี้ ซึ่งมีสายรายงานส่งต่อย้อนกลับไปยังบรรดาอิมาม ผู้บริสุทธิ์ และเรียกว่า ซิยาเราะฮ์ มะอ์ษูเราะฮ์ (๙) บทซิยาเราะฮ์เหล่านี้ รวมถึงประเด็นทางหลักศรัทธาบางอย่าง เช่น หลักเตาฮีด ความเป็นศาสนทูต คุณลักษณะของพระผู้เป็นเจ้า และหัวข้อต่างๆ เช่น การรับรู้ถึงบรรดาอิมาม ผู้บริสุทธิ์และความประเสริฐและสถานภาพของพวกเขา ตะวัลลา และตะบัรรอ ชะฟาอะฮ์ และ ตะวัซซุล [๑๐]

ซิยาเราะฮ์ในระยะไกล

ซิยาเราะฮ์ในระยะไกล ถือเป็นประเภทหนึ่งของซิยาเราะฮ์ที่มีกล่าวในริวายะฮ์ต่างๆของชีอะฮ์ สำหรับบุคคลที่ไม่สามารถไปซิยาเราะฮ์ด้วยตนเองได้ [๑๑] ตัวอย่างเช่น มีริวายะฮ์ที่รายงานจากอิมามศอดิก (อ.) ได้กล่าวไว้ว่า : ใครก็ตามที่ไม่สามารถไปซิยาเราะฮ์ด้วยตนเองได้ ควรยืนบนที่สูงและทำนมาซสอง เราะกะอะฮ์ จากนั้นเขาจึงหันหน้าไปทางหลุมศพของเรา และกล่าวให้สลาม คำกล่าวสลามของเขา จะมาถึงพวกเรา [๑๒] ในริวายะฮ์อื่นๆ ได้มีการรายงานจากเขาว่า หากผู้ใดยืนอยู่ในที่โล่งและมองไปทางขวาและซ้าย จากนั้นให้เงยศีรษะขึ้นสู่ท้องฟ้าและมองไปทางหลุมศพของอิมามฮุเซน (อ.) และกล่าวว่า : ขอความสันติจงมีแด่ท่าน โอ้อะบาอับดิลลาฮ์ ขอความสันติจงมีแด่ท่าน และความเมตตาของอัลลอฮ์และสิริมงคลของพระองค์ ผลรางวัลของการไปซิยาเราะฮ์อิมามฮุเซน (อ.) จะถูกบันทึกไว้สำหรับเขา [๑๓]

การซิยาเราะฮ์หลุมศพของบรรดาอิมามของชีอะฮ์ในทัศนะอะฮ์ลิสซุนนะฮ์

นักประวัติศาสตร์ได้รายงานกรณีต่างๆที่นักวิชาการอะฮ์ลิสซุนนะฮ์บางคนไปซิยาเราะฮ์หลุมศพของอิมามของชีอะบางคนด้วย [14] ตัวอย่างเช่น อิบนุ ฮิบบาน มุฮัดดิษชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ในศตวรรษที่สามและสี่ของปฏิทินจันทรคติ กล่าวว่า เขาไปซิยาเราะฮ์หลุมศพของอิมามริฎอ (อ.) ในเมืองมัชฮัดบ่อยครั้ง และเขาได้ทำการตะวัซซุลไปยังอิมาม กระทั่งปัญหาของเขาได้รับการคลี่คลายลง [๑๕] อิบนุ ฮะญัร อัสกอลานี ยังรายงานด้วยว่า อะบูบักร์ มุฮัมมัด อิบนุ คุซัยมะฮ์ นักนิติศาสตร์ของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ นักตัฟซีร และมุฮัดดิษในศตวรรษที่สามและสี่แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช และอะบู อะลี ษะเกาะฟี นักวิชาการแห่งเมืองนีชาบูร ได้ไปซิยาเราะฮ์หลุมศพของอิมามริฎอ พร้อมกับชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ จำนวนหนึ่ง [๑๖] ซัมอานี นักประวัติศาสตร์ มุฮัดดิษ และนักนิติศาสตร์ของมัซฮับชาฟิอีในศตวรรษที่หกแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช ยังได้ไปซิยาเราะฮ์หลุมศพของอิมามกาซิม (อ.) และขอตะวัซซุลจากเขา [๑๗] ชาฟิอี หนึ่งในนักนิติศาสตร์ของมัซฮับทั้งสี่ของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ ยังรายงานว่า หลุมศพของอิมามกาซิม (อ.) เป็น ยารักษาโรค อีกด้วย [๑๘]

เหตุผลสำหรับความชอบธรรมตามศาสนบัญญัติของซิยาเราะฮ์

บรรดานักวิชาการมุสลิมได้อ้างอิงเหตุผลต่อไปนี้ เพื่อพิสูจน์ถึงความชอบธรรมตามศาสนบัญญัติของซิยาเราะฮ์ :

ซุนนะฮ์ของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)

การซิยาเราะฮ์หลุมศพ เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักศาสนบัญญัติและเป็นเรื่องที่แพร่หลาย นับตั้งแต่ยุคสมัยเริ่มต้นของอิสลาม ตามที่ อิบนุชับบะฮ์ ได้เขียนไว้ในหนังสือ ตารีค อัลมะดีนะฮ์ อัลมุเนาวะเราะฮ์ ว่า เมื่อศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เดินทางกลับจากการพิชิตมักกะฮ์ไปยังเมืองมะดีนะฮ์ เขาได้ไปเยี่ยมหลุมศพของท่านหญิงอามีนะฮ์ มารดาของเขา และกล่าวว่า “นี่คือหลุมศพของมารดาของฉัน ฉันขอต่อพระเจ้าโปรดให้ฉันมาซิยาเราะฮ์นางและพระองค์ก็ทรงอนุญาตให้ฉันกระทำเช่นนั้นได้ [๑๙] นอกจากนี้ ยังมีการรายงานด้วยว่า เขาเคยไปเยี่ยมหลุมศพของบรรดาชะฮีดในสมรภูมิอุฮุด [๒๐] และหลุมศพของบรรดาผู้ศรัทธาในสุสานอัลบะกีอ์ [๒๑] ในแหล่งข้อมูลของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์บางแห่ง มีรายงานจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เกี่ยวกับความประเสริฐของซิยาเราะฮ์และคำแนะนำในซิยาเราะฮ์ ตัวอย่างเช่น มีรายงานจากศาสดา ว่า ผู้ใดไปเยี่ยมหลุมศพของฉันและการให้ชะฟาอะฮ์ของฉัน จะเป็นวาญิบสำหรับเขา (๒๒)

ริวายะฮ์และวิถีชีวิตของบรรดาอิมาม ผู้บริสุทธิ์

ในแหล่งข้อมูลด้านริวายะฮ์ของชีอะฮ์ มีฮะดีษจำนวนมากมายเกี่ยวกับความประเสริฐและการตอบรับดุอาอ์ในการไปซิยาเราะฮ์หลุมศพของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) บรรดาอิมามของชีอะฮ์ (อ.) และหลุมศพของบรรดาผู้ศรัทธา กุลัยนีได้รวมบทหนึ่งในหนังสือ อัลกาฟีย์ของเขา ชื่อว่า บทเกี่ยวกับความประเสริฐของการซิยาเราะฮ์และผลรางวัลของพวกเขา และรวบรวมฮะดีษในเรื่องนี้ [๒๓] ฮุร อามิลี ยังได้เขียนไว้ในหนังสือ วะซาอิลุชชีอะฮ์ ที่มีชื่อว่า อับวาบุลมะซาร วะมา ยุนาซิบุฮู ให้กับริวายะฮ์ของซิยาเราะฮ์ [๒๔] และได้รวบรวมริวายะฮ์ต่างๆ ภายใต้บทนั้นเกี่ยวกับความประเสริฐและผลรางวัลของหลุมศพของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) บรรดาอิมามของชีอะฮ์ (อ.) และบรรดาศาสดาของพระเจ้า การซิยาเราะฮ์ไปยังหลุมศพของบุตรสาวของอิมาม เช่น ท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ (ซ.) และ ท่านอับดุลอะซีม ฮะซะนีย์ (อ.) การซิยาเราะฮ์ไปยังหลุมศพของบรรดาชะฮีดและบรรดาผู้ศรัทธา การซิยาเราะฮ์ของพี่น้องของผู้ศรัทธา ไม่ว่าจะมีสุขภาพดีหรือเจ็บป่วย เป็นต้น ใน 106 บทที่มีความแตกต่างกัน [๒๕]

ในแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ มีตัวอย่างกล่าวถึงวิถีชีวิตของบรรดาอิมามของชีอะฮ์ในการซิยาเราะฮ์หลุมศพด้วย อัลฮากิม นีชาบูรี ได้เขียนใน หนังสือ อัลมุสตัดเราะกุ อะลัศเศาะฮีฮัยน์ ว่า ริวายะฮ์นี้ รายงานจากท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ.) ท่านหญิงเคยไปซิยาเราะฮ์หลุมศพของท่านฮัมซะฮ์ อิบนุ อับดุลมุฏเฏาะลิบ ในทุกวันศุกร์ และทำนมาซ ณ ที่นั่นและร้องไห้ [๒๖] มีริวายะฮ์หนึ่งจากอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า อิมามฮุเซน (อ.) เคยไปซิยาเราะฮ?หลุมศพของอิมามฮะซัน (อ.) ในทุกคืนวันศุกร์ [๒๗] ในหนังสือ กามิลุซซิยารอต เขียนว่า มีริวายะฮ์จากอิมามริฎอ (อ.) กล่าวว่า อิมามซัจญาด (อ.) เคยไปซิยาเราะฮ์หลุมศพของอิมามอะลี (อ.) ยืนอยู่ข้างหลุมศพ ร้องไห้ และให้คำกล่าวสลาม [๒๘]

การกระทำของเศาะฮาบะฮ์และตาบิอีนและความเห็นพ้องของบรรดานักวิชาการ

ในศตวรรษที่แปดแห่งฮิจเราะฮ์ ซุบกี นักวิชาการชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ได้อ้างถึงหลายริวายะฮ์จากแหล่งข้อมูลต่างๆของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ ในหนังสือของเขามีชื่อว่า ชิฟาอุซซิกกอม [๒๙] ซึ่งเขียนว่าบรรดาเศาะฮาบะฮ์บางคนและตาบิอีน ได้เคยไปซิยาเราะฮ์หลุมศพของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และบรรดาผู้ศรัทธา และส่งคำกล่าวสลามไปยังผู้คนในหลุมศพ [๓๐]

อิบนุ ตัยมียะฮ์และพวกวะฮ์ฮาบี ผู้ต่อต้านซิยาเราะฮ์

รายงานจากมุฮัมมัด อับดุลฮัย ลักนะวี (เสียชีวิตในปี 1304 ฮ.ศ.) นักนิติศาสตร์ และมุฮัดดิษจากมัซฮับฮะนะฟีย์ ชาวอินเดีย ไม่เชื่อว่า นักนิติศาสตร์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์ทั้งสี่คนและบรรดานักวิชาการชาวมุสลิมไม่มีใครคิดว่า การไปซิยาเราะฮ์หลุมศพของบรรดาผู้ศรัทธา โดยเฉพาะหลุมศพของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) หรือการเดินทางไปเพื่อปฏิบัติเช่นนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ชอบธรรมตามหลักศาสนบัญญัติ [๓๑] ตามคำกล่าวของเขา ระบุว่า อิบนุ ตัยมียะฮ์ (๖๖๑ -๗๒๘ ฮ.ศ.) เป็นคนแรกที่คัดค้านหลักฉันทามติและตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความชอบธรรมของการไปซิยาเราะฮ์หลุมศพ [๓๒] ในทัศนะของเขา การให้คำสลามและการขอดุอาอ์ไปยังเจ้าของหลุมศพ เป็นสิ่งที่ชอบธรรม อย่างไรก็ตาม การขอความช่วยเหลือจากพวกเขา การใช้พวกเขาเป็นสื่อกลาง และการสาบานต่ออัลลอฮ์เพื่อขอความช่วยเหลือเป็นการกระทำที่ไม่ชอบธรรม [๓๓] เขามองว่า ซิยาเราะฮ์ประเภทนี้เป็นอุตริกรรมและเป็นการตั้งภาคี [๓๔]

ไม่กี่ศตวรรษ หลังจากอิบนุ ตัยมียะฮ์ ในศตวรรษที่สิบสองแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช พวกวะฮ์ฮาบีย์ได้คัดค้านความชอบธรรมตามศาสนบัญญัติของซิยาเราะฮ์อีกครั้ง และจนถึงทุกวันนี้ (ศตวรรษที่สิบห้า ฮ.ศ.) พวกเขายังคงถือว่า การปฏิบัตินี้ เป็นสิ่งที่ต้องห้ามและป้องกันไม่ให้ชาวมุสลิมกระทำเช่นนั้น[๓๕]

การวิจารณ์อิบนุ ตัยมียะฮ์และวะฮ์ฮาบีโดยบรรดานักวิชาการชาวมุสลิม

บรรดานักวิชาการอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ส่วนใหญ่ เช่น อัล-นะวะวี [๓๖] อิบนุ ฮะญัร อัล-อัสเกาะลานี [๓๗] อัล-เฆาะซาลี [๓๘] มุลลา อะลี กอรี ฮะนะฟีย์ [๓๙] ชัมซุดดีน อัซซะฮะบีย์ ชามส์ [๔๐] อัลญัศศ็อศ [๔๑] อิบนุ อาบีดิน นักนิติศาสตร์ฮะนะฟี [๔๒] ซัรกอนี นักนิติศาสตร์มาลิกี [๔๓] อิบนุ กุดามะฮ์ นักนิติศาสตร์ฮัมบะลี [๔๔] และคนอื่นๆ อีกหลายคน เชื่อว่า ฮะดีษของชัดดุรริญาล ซึ่งอิบนุ ตัยมียะฮ์ได้อ้างเพื่อใช้เป็นเหตุผลในการห้ามไปซิยาเราะฮ์หลุมศพ [๔๕] ในตำแหน่งของการห้ามซิยาเราะฮ์หลุมศพ โดยเฉพาะหลุมศพของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) แต่เป็นคำอธิบายเกี่ยวกับความประเสริฐของมัสญิดทั้งสามแห่ง มัสญิดอัลฮะรอม มัสญิดอันนะบี และมัสญิดอัลอักศอ

ญะอ์ฟัร ซุบฮานี กล่าวว่า การไปซิยาเราะฮ์หลุมศพและการตะวัซซุลจากเจ้าของหลุมศพไม่ได้หมายความว่า หลุมศพนั้นตอบสนองความต้องการของผู้มาซิยาเราะฮ์หรือผู้ที่ขอตะวัซซุลโดยอิสระปราศจากการอนุญาตและความเมตตาของพระเจ้า จึงเกิดเป็นการตั้งภาคี แต่หมายความว่า เนื่องจากสถานภาพของพวกเขา ณ พระเจ้า พวกเขาจึงถูกจัดให้เป็นสื่อกลางระหว่างบ่าวกับพระองค์ เพื่อตอบสนองความต้องการของพวกเขา [๔๖]

มารยาทในการซิยาเราะฮ์

เชคอับบาส กุมมี ได้กล่าวถึงมารยาทบางประการในการซิยาเราะฮในหนังสือ มะฟาติฮุลญินาน ของเขา ซึ่งอ้างอิงตามริวายะฮ์โดยบรรดาอิมามของชีอะฮ์ (อ.) ซึ่ง มีดังต่อไปนี้ :

การฆุซล์ สำหรับการซิยาเราะฮ์ การสวมเสื้อผ้าที่สะอาดและเรียบร้อย การรำลึกถึงพระเจ้าด้วยวาจา

การทำวุฎูอ์และชำระร่างกายให้สะอาดบริสุทธิ์

การนมาซสำหรับซิยาเราะฮ์ การอ่านอัลกุรอานใกล้หลุมศพ การเตาบะฮ์และขออิสติฆฟารจากบาปต่างๆ การละทิ้งการพูดจาที่ไร้สาระ การพรมน้ำหอม ยกเว้นในระหว่างการซิยาเราะฮ์อิมามฮุเซน (อ.) [๔๗] การไม่เปล่งเสียงดังระหว่างซิยาเราะฮ์ [๔๘] [หมายเหตุ ๑]

ผลงานประพันธ์

ผลงานประพันธ์บางส่วนที่เกี่ยวกับซิยาเราะฮ์และความประเสริฐของการซิยาเราะฮ์ มีดังนี้ :

หนังสือ กามิลุซซิยารอต : ผลงานด้านริวายะฮ์ โดย อิบนุ กุละวัยฮ์ ซึ่งเขาได้รวบรวมริวายะฮ์จากบรรดาอิมาม ผู้บริสุทธิ์ (อ.) เกี่ยวกับความประเสริฐและผลรางวัล วิธีการและมารยาทในการไปซิยาเราะฮ์หลุมศพของพวกเขา [๕๐]

กิตาบ อัลมะซาร ฟีย์ กัยฟียะติ ซิยารอติน นะบี วัลอะอิมมะฮ์ อัลอัฏฮาร หรือที่รู้จักในชื่อ กิตาบ อัลมะซาร โดย ชะฮีดเอาวัล : หนังสือเล่มนี้มี ๒ บท [๕๑] บทแรกเกี่ยวกับซิยาเราะฮ์และประกอบด้วย ๘ บทและบทสรุปเกี่ยวกับมารยาทและความประเสริฐของการไปซิยาเราะฮ์บรรดาอิมาม ผู้บริสุทธิ์ (อ.) [๕๒]

ตุฮ์ฟะตุซซุวาร อิลา ก็อบรินนะบี อัลมุคตาร เขียนโดย อิบนุ ฮะญัร ฮัยตะมี นักวิชาการชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ (เสียชีวิตในปี ๙๗๔ ฮ.ศ.) หนังสือเล่มนี้เกี่ยวกับหัวข้อการไปซิยาเราะฮ์หลุมศพของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) มารยาทในการซิยาเราะฮ์และการกระทำที่ตามมา ประกอบด้วยบทนำและ ๔ บท [๕๓]

หนังสือ มารยาทในการซิยาเราะฮ์จากทัศนะของบรรดามะอ์ศูม (อ.): หนังสือได้รับการแปลภาษาฟาร์ซีย์โดยใช้ชื่อว่า บาบุลมะซาร จากหนังสือ วะซาอิลุชชีอะฮ์ โดย มุห์ซิน ดีเมะฮ์ และ อะบุลฟัฎล์ กาซิมี [๕๔]