ซิบฮ์ ชัรอีย์

จาก wikishia

ซิบฮ์ ชัรอีย์ หมายถึง การเชือดสัตว์ตามหลักศาสนบัญญัติ และการบริโภคเนื้อสัตว์ที่เนื้อของมันเป็นฮะลาล ซึ่งมันได้ใช้ชีวิตอยู่บนบก (นอกจาก ตั๊กแตน และอูฐ ซึ่งจะใช้วิธีอื่นๆในการเชือดมัน ) หลังจากเชือดมันแล้วถือว่า เนื้อของมันเป็นฮะลาล และนอกจากนี้ สัตว์ที่เนื้อของมันเป็นฮะรอม หลังจากที่ได้เชือดมัน และตามคำฟัตวาของบรรดานักนิติศาสตร์ การใช้ประโยชน์จากชิ้นส่วนจากร่างกายของมันได้เท่านั้นและการใช้ประโยชน์ที่ไม่ใช่การบริโภค และไม่ใช่การนมาซ เป็นที่อนุญาต

เงื่อนไขของการเชือดตามหลัการชัรอีย์ในศาสนาอิสลาม มีดังต่อไปนี้ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชือด จะต้องเป็นสิ่งที่มาจากเหล็ก ผินหน้าสัตว์ที่จะทำการเชือดไปทางทิศกิบละฮ์ สัตว์จะต้องมีชีวิตก่อนที่จะเชือด ผู้เชือดจะต้องเป็นชาวมุสลิม จะต้องกล่าวพระนามของพระเจ้า ในขณะที่กำลังเชือดและตัดเส้นเลือดใต้ลำคอทั้งสี่ของสัตว์อย่างสมบูรณ์ ขณะที่ในศาสนายะฮูดีย์ก็มีเงื่อนไขสำหรับการเชือดสัตว์อีกด้วยเช่นกัน

มีกล่าวถึงมารยาทสำหรับการเชือดสัตว์ในศาสนาอิสลาม เพื่อที่จะทำให้สัตว์นั้นมีอาการเจ็บปวดที่น้อยที่สุด ในขณะเดียวกัน บางประเทศที่ไม่ใช่ประเทศมุสลิม ได้สั่งห้ามการเชือดสัตว์ด้วยวิธีการของอิสลาม แต่เนื่องจากการค้นคว้าวิจัย จะเห็นได้ว่า การเชือดสัตว์ตามศาสนบัญญัติของอิสลามนั้น ทำให้เนื้อสัตว์มีคุณภาพมากกว่าและยังสามารถเก็บไว้ได้นานอีกด้วย

ความหมายและสถานภาพ

ในหลักนิติศาสตร์อิสลาม การเชือดสัตว์ เป็นวิธีการตัซกียะฮ์วิธีหนึ่ง ซึ่งกระทำได้โดยการตัดเส้นเลือดทั้งสี่ที่คอของสัตว์ (1) สัตว์ที่เนื้อฮาลาลอาศัยอยู่บนบก (ยกเว้น อูฐ และตั๊กแตน)(หมายเหตุ 1) สัตว์ทะเลที่มีเลือดไหลพุ่ง ตัซกียะฮ์ด้วยการเชือดมัน (2) สัตว์ที่ถูกเชือดด้วยวิธีการเชือดทางศาสนาเรียกว่า มุซักกา ซึ่งตรงกันข้ามกับซากศพ (3) เรียกผู้ที่เชือดสัตว์ว่า ซาบิฮ์ และเรียกสัตว์ที่ถูกเชือดว่า ซะบีฮะห์ และมัซบูฮ์ (4)

อัลกุรอาน ห้ามการกินเนื้อสัตว์ที่ยังไม่ได้เชือดตามหลักศาสนบัญญัติ (5) (หมายเหตุ 2) ในหนังสือฟิกฮ์ ประเด็นการเชือดสัตว์ ถูกกล่าวในบท การล่าสัตว์และการเชือด (6)

เงื่อนไข

เงื่อนไขต่างๆที่ถูกกำหนดสำหรับการเชือดสัตว์ตามศาสนบัญญัติ ซึ่งมีดังต่อไปนี้ :

เส้นเลือดใหญ่ทั้งสี่เส้นที่คอของสัตว์ ควรถูกตัดออกจากลำคอ (7) ผู้เชือด จะต้องกล่าวพระนามของพระเจ้า เมื่อทำการเชือด ตามคำกล่าวของซอฮิบ ญะวาฮิร ระบุว่า บรรดาฟะกีฮ์ทุกคนถือว่า เงื่อนไขนี้ เป็นสิ่งที่จำเป็น (8)

ในขณะที่เชือด ควรหันหน้าสัตว์ไปทางกิบลัต (9) ตามคำฟัตวาของบรรดานักนิติศาสตร์ชีอะฮ์ ระบุว่า หากผู้ใดที่เชือดสัตว์ จะต้องรู้ว่าในประเด็นนี้ ขณะเดียวกัน หากตั้งใจเชือดสัตว์โดยไม่ได้หันหน้าไปทางกิบลัต ถือว่า การรับประทานเนื้อสัตว์นั้นเป็นที่ต้องห้าม (10) เครื่องมือในการเชือด ควรทำมาจากเหล็ก แน่นอนว่า ในกรณีที่มีความจำเป็นและกลัวที่จะสูญเสียสัตว์นั้น สามารถใช้หิน หรืออุปกรณ์มีคมอื่นๆ ในการเชือดได้ (11)

ผู้เชือด จะต้องเป็นมุสลิม (12) ตามคำกล่าวของชะฮีดษานี นักนิติศาสตร์ของชีอะฮ์ในศตวรรษที่ 10 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช ด้วยคำฟัตวาของบรรดานักนิติศาสตร์อิสลาม ผู้เชือดไม่สามารถเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา (กาฟิร) มุรตัด(คนตกศาสนา) และฆอลีย์(ผู้สุดโต่งในศาสนา) (13) แน่นอนว่า มีสองทัศนะเกี่ยวกับผู้เชือดชาวคัมภีร์ นักนิติศาสตร์ของชีอะฮ์ส่วนใหญ่ ถือว่า การเชือดของพวกเขาเป็นสิ่งที่ต้องห้ามและเป็นนะญิส (14) บรรดานักนิติศาสตร์ชีอะห์ ยังถือว่า การเชือดของพวกนะวาศิบ เป็นนะญิสและเป็นสิ่งที่ต้องห้าม (15) สัตว์นั้น จะต้องมีชีวิตอยู่ก่อนที่จะถูกเชือด นักนิติศาสตร์กลุ่มหนึ่ง กล่าวว่า สัตว์จะต้องขยับร่างกายหรือแขนและขา หลังการเชือด พื่อแสดงว่า มันยังมีชีวิตอยู่ก่อนการเชือด (16)

ตามคำฟัตวาของนักนิติศาสตร์ชาวมุสลิม ระบุว่า การเชือดสัตว์ด้วยอุปกรณ์ใหม่นั้นถูกต้อง แต่ต้องเอ่ยพระนามของพระเจ้าในระหว่างการเชือดและต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่น ๆ ของการเชือดด้วย เช่น การตัดเส้นเลือดทั้งสี่ (17) นอกจากนี้ เนื้อสัตว์ที่เราไม่รู้ว่าถูกเชือดตามหลักชัรอีย์ พวกเขากล่าวว่า เป็นฮาลาล หากซื้อมาจากมุสลิมหรือจากตลาดมุสลิม (18)

มารยาท

ในหนังสือหลักปฏิบัติ กล่าวถึงมารยาทในการเชือดสัตว์ ซึ่งมีดังนี้ :

สิ่งที่เป็นมุสตะฮับ ผู้เชือด ควรหันหน้าไปทางกิบลัต (19) เครื่องมือในการเชือด ควรมีคมและการเชือด ควรกระทำอย่างรวดเร็ว ก่อนการเชือด ควรวางน้ำไว้หน้าสัตว์ ค่อยๆ เตรียมสัตว์สำหรับการเชือด ในการเชือดแกะ ควรมัดขาทั้งสามข้างและขาอีกข้างหนึ่ง ควรปล่อยให้เป็นอิสระ ในการเชือดวัว ควรมัดขาทั้งสี่ของมัน และหางของมัน ควรปล่อยให้เป็นอิสระ หลังจากเชือดไก่แล้วก็ปล่อยให้มันตีปีกและสบัดขน (20)

สิ่งที่เป็นมักรูฮ์ การตัดไขสันหลัง ก่อนการเชือดสัตว์ การเชือดสัตว์ต่อหน้าสัตว์อื่น การเชือดสัตว์ที่เลี้ยงเอง การเชือดสัตว์ในเวลากลางคืน การเชือดสัตว์ ก่อนตะวันคล้อยในวันศุกร์ การวางมีดที่ด้านหลังคอแล้วดึงไปทางด้านหน้าเพื่อให้คอขาดจากด้านหลัง (21)

ผลต่างๆ

ตามทัศนะของบรรดานักนิติศาสตร์ชาวมุสลิม ระบุว่า หลังจากการเชือดสัตว์ที่เนื้อของมันฮาลาล การกินเนื้อสัตว์นั้นก็จะเป็นฮาลาล และส่วนอื่นๆของร่างกายของมันก็ถือว่าสะอาด แต่ หากมีการเชือดสัตว์ที่เนื้อของมันเป็นที่ต้องห้าม เฉพาะส่วนต่างๆ ของร่างกายเท่านั้นที่สะอาด และตามฟัตวาของนักนิติศาสตร์บางคน ระบุว่า หนังและผิวหนังของพวกมัน สามารถนำไปใช้ในสิ่งอื่นนอกเหนือจากการนมาซได้ (23)

ตามพื้นฐานจากบางส่วนของการวิจัย พิสูจน์ว่า การเชือดสัตว์ด้วยวิธีการทางศาสนามีผลเชิงบวกต่อคุณภาพของเนื้อสัตว์ เนื่องจากการไม่มีเลือดในสัตว์ที่ถูกเชือด จึงทำให้เนื้อนี้มีคุณภาพและความทนทานสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการเชือดสัตว์แบบอื่น (24) การเชือดสัตว์ในศาสนายิวและศาสนาคริสต์

ในศาสนายิว มีคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการเชือดสัตว์ รวมทั้งในทัลมุด ระบุว่า สัตว์นั้นจะต้องไม่หมดสติหรือไม่สามารถยืนได้ก่อนที่จะถูกเชือด (25) นอกจากนี้ การเชือดสัตว์ ควรกระทำโดยผู้ที่ได้รับการอบรมจากนักวิชาการชาวยิว (แรบไบ) ด้วยการเชือดที่แม่นยำและรวดเร็ว (26) วิธีการเชือดสัตว์ในศาสนายิว เรียกว่า เชชิตา (27) แต่ในศาสนาคริสต์ มีหลักการพิเศษ คือ ไม่มีการเชือดสัตว์ (28) การห้ามการเชือดสัตว์ตามหลักศาสนาในบางประเทศ

ในบางประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์ (29) เดนมาร์ก(30) และเบลเยียม (31) การเชือดสัตว์ตามหลักศาสนาอิสลาม และวิธีของชาวยิว เป็นสิ่งต้องห้าม เหตุผลของกฎหมายนี้ คือ เพื่อป้องกันความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานของสัตว์ในระหว่างการเชือด (32) แน่นอนว่า ปรัชญาของมารยาทของอิสลามบางอย่างในการเชือดสัตว์ เช่น ความคมของมีดและความเร็วของกระบวนการเชือดนั้นได้รับการพิจารณาว่า ลดความเจ็บปวดของสัตว์ (33) ในประเทศคริสเตียนบางประเทศ การดมยาสลบสัตว์ ก่อนการเชือดได้กลายเป็นกฎหมาย (34) ตามที่ทัศนะของบรรดานักนิติศาสตร์ชีอะฮ์กล่าวไว้ หากการดมยาสลบสัตว์ก่อนเชือด ไม่ทำให้สัตว์ตาย ก็ถือว่าไม่มีปัญหา (35)

หนังสือต่างๆ

เกี่ยวกับการเชือดสัตว์ตามหลักการศาสนบัญญัติ และหลักปฏิบัติที่เกี่ยวข้องมีหนังสือต่างๆมากมาย :

การตรวจสอบเชิงเปรียบเทียบในการเชือดสัตว์ตามหลักชัรอีย์ในอิสลาม หนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงทัศนะต่างๆของบรรดานักนิติศาสตร์ชีอะฮ์ อิมามียะฮ์ กับทัศนะของมัสฮับทั้งสี่ของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ (36)

การเชือดในอิสลาม ผลและหลักปฏิบัติเชิงเปรียบเทียบกับมัสฮับทั้งสี่ของอิสลาม เขียนโดย เบนยามิน ชีรคอนี เป็นภาษาฟาร์ซี จัดพิมพ์สมัชชาสมานฉันท์โลก หนังสือเล่มนี้ พิมพ์ในปี 1398 (ปฏิทินอิหร่าน) (37)

การวิจัยเชิงเปรียบเทียบเกี่ยวกับหลักนิติศาสตร์ของการเชือดสัตว์ เขียโดย มุฮัมมัด เราะฮ์มานี จัดพิมพ์โดย ศูนย์ศึกษาและวิจัยของผู้แทนผู้นำสูงสุดประจำกระทรวงญิฮาดแห่งการเกษตร หนังสือเล่มนี้ในปี 1377 (38)

หนังสือ วิธีการเชือดที่แตกต่างกันและผลกระทบต่อคุณภาพเนื้อสัตว์ เขียนโดย ซัยยิดซะอีด ฟะระฮีย์ ซึ่งได้รับการจัดพิมพ์เป็นภาษาเปอร์เซียในปี 1394 (39)