ซัยยิด อะบุล-กอซิม มูซาวี คูอีย์

จาก wikishia

ซัยยิด อะบุลกอซิม มูซาวี คูอีย์ (1278-1371 สุริยคติ) เป็นหนึ่งมัรญิอ์ตักลีดของชีอะฮ์ และเป็นนักริญาล และเป็นผู้เขียนหนังสือชุด 23 เล่มของมุอ์ญัม ริญาล อัล-ฮะดีษ และยังเป็นผู้เขียนหนังสือตัฟซีรของอัล-บะยาน ฟีย์ ตัฟซีริลกุรอาน มีรซา นาอีนี และ มุฮักกิก อิสฟะฮานี เป็นสองครูที่โดดเด่นที่สุดของเขาในด้านนิติศาสตร์และหลักนิติศาสตร์ การเริ่มต้นความเป็นมัรญิอ์ของซัยยิดคูอีย์ หลังจากการเสียชีวิตของซัยยิดฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์ บุรูญิรดีย์ และการเสียชีวิตของซัยยิดฮะกีม ฏอบาฏอบาอีย์ ทำให้ซัยยิดคูอีย์ ถูกรู้จักในฐานะมัรญิอ์ตักลีดของชีอะฮ์ในประเทศอิรัก ซัยยิดคูอีย์ เขาได้ใช้เวลาตลอดเจ็ดสิบปีในการอบรมสั่งสอน หลักสูตรบทเรียนคอริจญ์ฟิกฮ์หนึ่งรอบอย่างสมบูรณ์ หลักสูตรบทเรียนคอริจญ์อุศุลุลฟิกฮ์ หกรอบ และหลักสูตรระยะสั้นการตัฟซีรอัลกุรอาน บรรดาผู้รู้ดังเช่น มุฮัมมัด อิซฮาก ฟัยยาฎ ซัยยิด มูฮัมมัด บากิร อัศศ็อดร์ มีรซา ญะวาด ตับริซี ซัยยิด อะลี ซิสตานี เชคฮุเซน วะฮิด โครอซานี, ซัยยิด มูซา ชุบัยรี ซันญานี ซัยยิด มูซา อัศศ็อดร์ และซัยยิด อับดุลกะรีม มูซาวี อัรเดบิลี ท้้งหมดเหล่านี้ล้วนคือสานุศิษย์ของซัยยิดคูอีย์ทั้งสิ้น

อายะตุลลอฮ์ คูอีย์ มีความคิดเห็นในด้านนิติศาสตร์และหลักการของนิติศาสตร์(ฟิกฮ์และอุศุลุลฟิกฮ์) เป็นที่‎น่าสนใจ ซึ่งบางครั้งก็มีความแตกต่างกับความคิดเห็นของบรรดานักนิติศาสตร์ผู้ที่มีชื่อเสียง บางแหล่งข้อมูล ‎รายงานว่า คำฟัตวาที่แตกต่างของเขาถึง 300 กรณีด้วยกัน ความคิดเห็นที่แตกต่างกันบางส่วนของเขาเกี่ยวกับนิติศาสตร์และหลักการของนิติศาสตร์ คือ การต่อต้านการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ปฏิเสธศรัทธาในการปฏิบัติฟุรุอุดดีน ‎การไม่ยอมรับลักษณะสัมพัทธ์ของต้นเดือนจันทรคติและการต่อต้านความน่าเชื่อถือของคำฟัตวาและฉันทามติ คูอีย์ในช่วงการเป็นมัรญิอ์ของตน ได้ใช้มาตรการในการเผยแพร่ศาสนา การส่งเสริมชีอะฮ์และการช่วยเหลือผู้ขัดสน ‎รวมถึงการสร้างห้องสมุด โรงเรียน มัสยิด ฮุซัยนียะฮ์ และโรงพยาบาลในอิหร่าน อิรัก มาเลเซีย อังกฤษอเมริกา ‎และอินเดีย เป็นต้น

ใน ช่วงทศวรรษที่ 1340 สุริยคติ คูอีย์ มีจุดยืนและแถลงการณ์ต่อต้านรัฐบาลปาห์ลาวี การประท้วงเหตุการณ์ฟัยซีเยะห์ ในปี 1342 ก็เป็นหนึ่งในนั้น หลังจากการเริ่มการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านในปี 1357 และการพบปะกันของฟะระฮ์ ดีบอ ภรรยาของมุฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี และความสงสัยที่เกิดขึ้น ภายหลังการพบปะกันครั้งนี้ เขาได้สนับสนุนการปฏิวัติในกรณีต่างๆ เช่น การลงประชามติ เรื่องการสถาปนารัฐอิสลาม สาธารณรัฐอิหร่านและการทำสงครามของอิรักกับอิหร่านและการสนับสนุนการปฏิวัติอิสามและสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน เขาอยู่ ภายใต้แรงกดดันของรัฐบาลของซัดดัม ฮุสเซนในช่วงอินติฟะเฎาะฮ์ชะอ์บานียะฮ์ของชาวชีอะฮ์ในอิรักและการแต่งตั้งสภาผู้นำเพื่อบริหารจัดการพื้นที่ที่ชาวชีอะห์ปกครอง และเขาถูกกักบริเวณในบ้าน จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต

การใช้ชีวิต

‎ ซัยยิด อะบุลกอซิม มูซาวี คูอีย์ ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 15 รอญับ 1317 ฮ.ศ. ซึ่งตรงกับ28 ออบอน 1278 ในเมืองคุย ของอาเซอร์ไบจานตะวันตก [1]บิดาของเขา คือ ซัยยิดอะลี อักบัร คูอีย์ เป็นหนึ่งในสานุศิษย์ของอับดุลลอฮ์ มามะกอนี ที่อพยพจากอิหร่านไปยังนะญัฟในปี 1328 ฮ.ศ. เนื่องจากเขาไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญที่ผิดกฎหมาย[2] (3) คูอีย์ ‎เสียชีวิตในเมืองกูฟะฮ์ เมื่อวันที่ 8 เดือนศอฟัร 1413 ฮ.ศ. ตรงกับวันที่ 17 สิงหาคม1371 สิริอายุได้ 96 ปี (อายุ 93 ปีตามวันที่สุริยคติ) เนื่องจากโรคหัวใจ และถูกฝังไว้ข้างมัสยิดอัลค็อฎรออ์ ใน ณ ลานฮะรอมของอิมามอะลี [4]‎

ภรรยาและบุตร

คุอีย์ แต่งงานถึงสองครั้ง เขามีลูกชายสามคนและลูกสาวสามคนจากภรรยาคนแรกของเขา และลูกชายสี่คนและลูกสาวสองคนจากภรรยาคนที่สองของเขา (5)ในบรรดาลูกบางคนของเขา มีดังนี้:‎

ซัยยิดญะมาลุดดีน คูอีย์ ลูกชายคนโตของคูอีย์ ซึ่งเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตของเขาในกิจการของการเป็นมัรญิอ์ของบิดาของเขา ผลงานบางส่วนของเขา มีดังนี้ ชัรฮ์กิฟายะตุลอุศูล บะฮ์ษ์ ฟิลฟัลซะฟะฮ์ วะ อิลมุลกะลาม เตาฎีฮุลมุรอด ฟีย์ ชัรฮ์ ตัจญ์รีด อัลอิอ์ติกอด ชัรฮ์ ดีวาน มุตะนับบี และดีวานบทกวีเป็นภาษาฟารซี (6)‎

ซัยยิดมุฮัมมัดตะกี คูอีย์ เป็นเลขาธิการของมูลนิธิอิมามคูอีย์ หลังจากก่อตั้งมูลนิธิการกุศล ในปี 1368 หลังจากเหตุการณ์อินติฟาเฎาะฮ์ ชะอ์บานียะฮื ในปี 1369 เขาเป็นสมาชิกของคณะกรรมการที่ได้รับเลือกของบิดาให้บริหารจัดการพื้นที่ที่ได้รับการปลดปล่อย อย่างไรก็ตาม หลังจากการปราบปรามการลุกขึ้นต่อสู้และการสังหารหมู่ชาวชีอะฮ์ เขาถูกกักบริเวณภายในบ้านพร้อมกับบิดาของเขา และในที่สุด เขาก็เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เมื่อวันที่ ‎‎30 ทีร 1373 บางคนคิดว่า เหตุการณ์นี้เป็นผลมาจากการวางแผนของรัฐบาลซัดดัม (7) นอกเหนือจากการเขียนตักรีรฟิกฮ์(หลักสูตรนิติศาสตร์)ของบิดาแล้ว หนังสือ อัลอิลติซามาต อัตตะบะอียะฮ์ ฟิลอุกูด ถือเป็นผลงานของเขาอีกด้วย [8]‎

ไม่มีข้อมูลโดยละเอียดที่เกี่ยวกับลูกสาวของคูอีย์ แต่ลูกเขยของเขาบางคน ได้แก่ ซัยยิดนัศรุลลอฮ์ มุซตัมบิฏ , ซัยยิดมุรตะฎอ ฮิกะมี,ซัยยิดญะลาลุดดีน ฟะกีฮ์ อีมานี, ญะอ์ฟัร ฆะระวี นาอีนี และ ซัยยิดมะฮ์มูด มีลานี [9]‎

การใช้ชีวิตทางวิชาการ

เมื่ออายุได้ 13 ปี อะบุลกอซิมพร้อมน้องชายของเขา อับดุลลอฮ์ คูอีย์ ได้เดินทางมายังเมืองนะญัฟ [10]เขาใช้เวลาหกปีในการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับสูงของสถาบันศาสนา จากนั้นเขาเข้าร่วมในบทเรียนของอาจารย์ในสาขาต่างๆ รวมถึง นิติศาสตร์และอุซุล เป็นเวลา 14 ปี ในบรรดาสิ่งเหล่านี้ ตามที่เขาเขียนไว้ในอัตชีวประวัติของเขา เขาได้รับประโยชน์ทางวิชาการจาก มุฮัมมัด ฮุเซน นาอีนีและมุฮัมมัดฮุเซน ฆะระวี อิสฟาฮานี อย่างมากที่สุด [11]‎ อาจารย์และการอนุญาตของการเป็นมุจญ์ตะฮิด

ซัยยิดอะบุลกอซิม คูอีย์ นอกเหนือจาก คำกล่าวของเขา เขาได้รับประโยชน์ทางวิชาการจาก มุฮัมมัดฮุเซน นาอีนี ‎และ มุฮัมมัดฮุเซน อิสฟาฮานี อย่างมากที่สุด และได้เรียนรู้วิชาอุซุลุลฟิกฮ์อย่างสมบูรณ์และเขาเรียนหนังสือนิติศาสตร์บางเล่มจากพวกเขา อาจารย์คนอื่นๆ เช่น เชคอัชชะรีอะฮ์ (เสียชีวิตในปี 1338 ฮ.ศ.), มะฮ์ดี มาซันดะรอนี (เสียชีวิตในปี 1342 ฮ.ศ.) และออกอ ซิยออ์ อิรอกี [12]ก็มีการกล่าวถึงด้วยเช่นกัน

อาจารย์คนอื่นๆ ของคูอีย์ ได้แก่ มุฮัมมัดญะวาด บะลาฆี ในวิชาเทววิทยา หลักศรัทธา และตัฟซีร, ซัยยิด อะบูตุรอบ ‎คอนซอรี ในวิชาริญาลและดิรอยะฮ์ ,ซัยยิดอะบุลกอซิม คอนซอรี (เสียชีวิต: 1380 ฮ.ศ.) ในสาขาวิชาคณิตศาสตร์, ‎ซัยยิดฮุเซน บอดกูเบอี ในสาขาวิชาปรัชญาและรหัสยะ เช่นเดียวกับซัยยิดอะลี กอฎี [13]‎

ซัยยิดอะบุลกอซิม ในระหว่างการศึกษาในสถาบันศาสนาเมืองนะญัฟ ได้ศึกษาร่วมกับ ซัยยิดมุฮัมมัดฮาดี มีลานี ‎‎(เสียชีวิตปี 1395 ฮ.ศ.), ซัยยิดมุฮัมมัดฮุเซน ฏอบาฏอบาอี (เสียชีวิตปี 1402 ฮ.ศ.), ซัยยิดศ็อดรุดดีน ญะซาอิรีย์, อะลีมุฮัมมัด บุรูญิรดี (เสียชีวิตปี 1395 ฮ.ศ.), ซัยยิดฮุเซน คอดิมีย์ และซัยยิดมุฮัมมัดฮุเซน ฮะมะดานี [14]‎

ในปี 1352 ฮ.ศ. คูอีย์ ได้รับอนุญาตสำหรับการเป็นมุจญ์ตะฮิด จากอาจารย์หลายคนของสถาบันศาสนาเมืองนะญัฟ ‎อาทิเช่น มุฮัมมัดฮุเซน นาอีนี ,มุฮัมมัดฮุเซน ฆะระวี อิสฟาฮานี, ออกอ ศิยอ อิรอกี, มุฮัมมัดฮุเซน บะลาฆี, มีรซา ‎อะลี ออกอ ชีรอซี และซัยยิดอะบุลฮะซัน อิสฟาฮานี (15)‎

การเป็นมัรญิอ์

จุดเริ่มต้นของการเป็นมัรญิอ์ของคูอีย์ ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่แหล่งข้อมูลส่วนมาก รายงานว่า จุดเริ่มต้นที่จริงจังของการเป็นมัรญิอ์ของเขา หลังจากการเสียชีวิตของบุรูญิรดีและได้เน้นย้ำว่า หลังจากการเสียชีวิตของซัยยิดมุฮ์ซิน ‎ฏอบาฏอบาอี ฮะกีม คูอีย์ได้รับการยอมรับว่าเป็นมัรญิอ์ผู้หนึ่ง โดยเฉพาะในอิรัก[16]และสถานภาพของการเป็นมัรญิอ์ ก็มีความสำคัญเช่นกัน ในหมู่ชาวชีอะฮ์ของอิหร่านอีกด้วย [17] คูอีย์ เป็นที่รู้จักว่าเป็นหนึ่งในมัรญิอ์ที่ทรงอิทธิพลที่สำคัญในหมู่ชาวชีอะฮ์ส่วนใหญ่ ทั้งชาวอาหรับและไม่ใช่ชาวอาหรับ [18]‎

‎14 มุจญ์ตะฮิด เมืองนะญัฟ เช่น ศ็อดรอ บอดกูเบห์อี,ซัยยิดมุฮัมมัดบากิร ศ็อดร์ ,ซัยยิดมุฮัมมัด รูฮานี ,มุจญ์ตะบา ‎ลันกะรอนี,มูซา ซันญานี,ยูซุฟ กัรบะลาอี,ซัยยิดยูซุฟ ฮะกีม และซัยยิดญะอ์ฟัร มัรอะชี ประกาศถึงความรู้มากกว่าผู้อื่น(อะอ์ลัม) ของคูอีย์ [19] ซัยยิดมูซา ศ็อดร์ ยังแนะนำสภาอิสลามสูงสุดของชาวชีอะฮ์เลบานอน ให้ว่า คูอีย์ ‎เป็นมัรญิอ์ อะอ์ลัม [20]‎

การสอนหนังสือ

การสอนหนังสือในมัสยิดอัลค็อฎรอ เมืองนะญัฟ

อะบุลกอซิม คูอีย์ ในระหว่างที่เขาศึกษาในสถาบันศาสนาเมืองนะญัฟ เขายังทำการสอนหนังสืออีกด้วยและตามแหล่งข้อมูลต่างๆ เขาได้สอนหนังสือทุกเล่มที่เขาเรียนรู้ [21]‎

หลังจากการเสียชีวิตของมุฮัมมัดฮุเซน ฆะระวี นาอีนี และมุฮัมมัดฮุเซน ฆะระวี อิสฟาฮานี ห้องเรียนของซัยยิดอะบุลกอซิมและมุฮัมมัดอะลี กาซิมี โครอซานี ถือเป็นห้องเรียนที่สำคัญของเมืองนะญัฟ และบนพื้นฐานนี้ หลังจากการเสียชีวิตของกาซิมี โครอซานี ห้องเรียนของคูอีย์ เป็นห้องเรียนที่ถูกรู้จักมากในสถาบันศาสนาเมืองนะญัฟ ‎‎(22)ดังที่เคยเขียนไว้ในอัตชีวประวัติของเขา ในระหว่างการสอนอันยาวนาน เขาไม่เคยหยุดสอนนักเรียนเลย ‎ยกเว้นในวันที่เจ็บป่วยและมีการเดินทาง [23]เป็นเวลารวม 70 ปีแล้วที่เขาทำการสอนระดับกลางและระดับสูงในสถาบันศาสนาเมืองนะญัฟและตามแหล่งข้อมูล รายงานว่า เป็นเวลาเกือบห้าสิบปีที่เขาทำการสอนบทเรียนที่มีชื่อเสียงในสถาบันศาสนาเมืองนะญัฟ และนักเรียนจากอิหร่าน อินเดีย อัฟกานิสถาน ปากีสถานอิรัก เลบานอน ‎และ ประเทศอื่นๆ เข้าร่วมในชั้นเรียนของเขา [24]‎

คูอีย์ได้สอนบทเรียนในระดับสูงทางด้านนิติศาสตร์ครบสมบูรณ์ 1 จบและบทเรียนระดับสูงทางด้านอุศูล 6 จบ ‎ให้แก่นักเรียนของเขา นอกจากนี้ เขายังสอนตัฟซีรอัลกุรอาน ในช่วงเวลาสั้น ๆ อีกด้วย [25]‎

รูปแบบการสอน

คูอีย์ เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและชำนาญในการสอนประเด็นต่างๆทางวิชาการ เขาสามารถนับเนื้อหา แสดงออกได้อย่างฉะฉาน เป็นระบบ และปราศจากประเด็นนอกกรอบ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับประเด็นปรัชญา เขาใช้ประโยชน์จากริวายะฮ์อย่างมากมาย และให้ความสนใจเป็นพิเศษกับสายรายงานของฮะดีษ (26) บทเรียนของเขา เป็นบทสรุปของความคิดเห็นและพื้นฐานทางความรู้จากบทเรียนของ ออกอ ศิยอ อิรอกี, มุฮัมมัดฮุเซน ฆะระวี นาอีนี และมุฮัมมัดฮุเซน ฆะระวี อิสฟาฮานี และมีการอธิบายความคิดเห็นของเขาเองอีกด้วย [27]‎

ผลงานและตักรีร

ซัยยิดอะบุลกอซิม คูอีย์ ได้ประพันธ์ผลงานเกี่ยวกับวิชานิติศาสตร์ หลักการของนิติศาสตร์ ริญาล เทววิทยา และวิทยาการอัลกุรอาน ผลงานของเขา ได้รับการรวบรวมไว้ในชุดหนังสือห้าสิบเล่ม ที่มีชื่อว่า " เมาซูอะฮ์อัลอิมามอัลคูอีย์ (สารานุกรมของอิมามคูอีย์) [28]และได้การจัดทำในรูปแบบดิจิทัล โดย ศูนย์วิจัยคอมพิวเตอร์ อุลูมอิสลาม นูร ‎‎[29]‎

ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา ได้แก่ :‎

อัจญ์วะดุตตักรีรอต ‎มุอ์ญัมริญาลอัลฮะดีษ อัลบะยาน ฟีย์ ตัฟซีรอัลกุรอาน

บรรดาสานุศิษย์

อะบุลกอซิม คูอีย์ มีสานุศิษย์เป็นจำนวนมาก และบางแหล่งข้อมูลก็มีการรายงานเกี่ยวกับชื่อของสานุศิษย์ของเขามีมากกว่า 600 คน [30]มีสานุศิษย์จำนวนหนึ่งเข้าร่วมในคณะกรรมการของการออกคำฟัตวา (อิสติฟตาอ์)‎


‎สมาชิกคณะกรรมการของการออกคำฟัตวาชุดแรก ประกอบด้วย : [31] เชค ศ็อดรอ บาดคูเบอี , เชคมุจญ์ตะบา ลังกะรอนี,มีรซา ญะวาด ตับลีซี, มีรซา กาซิม ตับลีซี, เชคฮะบีบุลลอฮ์ อะรอกี, ซัยยิดญะอ์ฟัร มัรอะชีย์ ‎

สมาชิกคณะกรรมการของการออกคำฟัตวาชุดที่สอง ประกอบด้วย: [32] ซัยยิดอะลี ซิสตานี , ซัยยิดอะลี ฮุซัยนี เบเฮชตี,ซัยยิดมุรตะฎอ คัลคอลี,เชคมุฮัมมัดอิสฮาก ฟัยยาฎ,เชคอะลีอัศฆัร อะฮ์มะดี ชาห์รูดี ,เชคมุฮัมมัดญะอ์ฟัร นาอีนี ‎

สานุศิษย์คนอื่นๆ ของเขาได้แก่:‎ ‎ฮัจญ์ ออกอ ตะกี กุมมี ซัยยิดมุฮัมมัดบากิร ศ็อดร์ อะลี ฟัลซะฟี ตุนกาบุนี ซัยยิด มูซา ศ็อดร์ มุรตะฎอ บุรูญิรดี ‎อะบุลกอซิม กุรจี [33]‎ ‎ฮุเซน วะฮีด คุรอซานี ‎มุฮัมมัด อาศิฟ มุฮ์ซินี กันดะฮารี[34]‎ ‎ซัยยิด อะลี ฮาชิมี ชาห์รูดี ‎ซัยยิด ญะวาด อาลิอะลี ชาห์รูดี ‎มุฮัมมัดตะกี ญะอ์ฟะรี ‎ซัยยิดอับดุลกะรีม รอฎอวี คิชมีรี[35]‎ ‎ซัยยิด มุฮัมมัดฮุเซน ฟัฎลุลลอฮ์ ‎บากิร ชะรีฟ กูรอชี ซัยยิดมุฮัมมัดฮุเซน ฮุซัยนี เตห์รอนี ‎ บะชีรฮุเซน นะญะฟี ซัยยิดอับดุลกะรีม มูซาวี อัรดะบิลี ‎ฮุเซน รอสตี คาชานี

ความคิดเห็นและทัศนะทางวิชาการ

ซัยยิดอะบุลกอซิม คูอีย์ มีความคิดเห็นและทัศนะที่สำคัญทางด้านนิติศาสตร์และหลักการนิติศาสตร์ ซึ่งบางครั้งก็มีความแตกต่างไปจากความคิดเห็นของบรรดานักนิติศาสตร์ที่เป็นที่รู้จักของชีอะฮ์ และมีบางรายงานบันทึกว่า เขามีคำฟัตวาถึง 300 มาตรา ซึ่งตรงกันข้ามกับฟัตวาของบรรดานักนิติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของชีอะฮ์ [36]บางส่วนของ‎กรณีเหล่านี้ รวมถึง:‎

การต่อต้านคนนอกศาสนาที่ต้องปฏิบัติตามหลักการปฏิบัติ: คูอีย์ เช่นเดียวกับยูซุฟ บาห์รอนีและตรงกันข้ามกับความคิดเห็นของนักวิชาการชีอะฮ์ทุกคนที่เชื่อว่า คนนอกศาสนายังมีต้องปฏิบัติตามหลักการปฏิบัติของศาสนานอกเหนือจากหลักการศรัทธาแล้ว [ 37] เขาเชื่อว่า คนนอกศาสนา ตราบที่เขายังไม่ยอมรับอิสลาม เขาไม่สามารถปฏิบัติตามหลักการปฏิบัติของศาสนาได้ [38]‎

‎ การไม่ยอมรับลักษณะสัมพัทธ์ของการเริ่มต้นเดือนตามจันทรคติ: ตามความคิดเห็นของคูอีย์ ซึ่งตรงกันข้ามกับความเห็นที่เป็นที่รู้จัก การเริ่มต้นเดือนตามจันทรคติ จะเหมือนกันสำหรับทุกคนและไม่ถือเป็นสิ่งที่มีความสัมพัทธ์กัน เพราะมาตรวัดของการเริ่มต้นเดือนตามจันทรคติ ในทัศนะของคูอีย์ คือ การที่ดวงจันทร์เคลื่อนออกจากวงโคจร ‎เป็นปรากฏการณ์แห่งการสร้างสรรและสัมพันธ์กับตำแหน่งของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก และไม่ขึ้นอยู่กับในส่วนต่างๆและภูมิภาคของโลก [39]‎

การคัดค้านความนิยม(ชุฮ์เราะฮ์) ของคำฟัตวาและฉันทามติ : ซัยยิดอะบุลกอซิม มีความคิดเห็นที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงเกี่ยวกับความนิยมของคำฟัตวา กับความคิดเห็นที่เป็นที่รู้จักของบรรดานักวิชาการชีอะฮ์ บรรดานักอุศูลของชีอะฮ์ส่วนใหญ่เชื่อว่า หากมีคำฟัตวา เป็นที่รู้จักในหมู่นักนิติศาสตร์ ริวายะฮ์ที่เชื่อถือได้ ซึ่งคัดค้านคำฟัตวานี้ จะถือว่าไม่มีความถูกต้อง อย่างไรก็ตาม คูอีย์กลับไม่เห็นด้วยกับหลักการนี้ และไม่ได้กล่าวถึง ชุฮ์เราะฮ์(ความนิยม)ในคำฟัตวา จากกรณีที่เกิดความขัดแย้งในหลักการนิติศาสตร์ และเขาเชื่อว่า ชุฮ์เราะฮ์ในทางปฏิบัติไม่ได้สามารถที่ชดเชยความอ่อนแอของสายรายงานของริวายะฮ์ ในทำนองเดียวกัน การไม่ใส่ใจของบรรดานักนิติศาสตร์ต่อฮะดีษที่ถูกต้อง จะไม่ทำให้ฮะดีษเป็นโมฆะ [40] นอกจากนี้ เขายังตั้งคำถามถึงความถูกต้องและข้อพิสูจน์ของฉันทามติ ไม่ว่าจะเป็นฉันทามติที่ได้รับจากริวายะฮ์ (มันกูล) หรือฉันทามติที่ได้รับจากบรรดานักนิติศาสตร์ (มุฮัศซ็อล) ‎ขณะเดียวกัน คูอีย์มีความระมัดระวังในการออกคำฟัตวา ทั้งยังต้องให้ความสนใจกับฉันทามติอีกด้วย [41]‎

คำฟัตวาที่ตรงข้ามกับมัชฮูร (ทัศนะที่เป็นที่รู้จักของบรรดานักนิติศาสตร์): การอนุญาตให้ผู้หญิงออกจากบ้านโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามี, การอนุญาตให้ผู้หญิงทำแท้งในกรณีที่เธอเสียชีวิตเอง, การอนุญาตให้แต่งงานถาวรของชายมุสลิมกับผู้หญิงที่เป็นชาวคัมภีร์โดยไม่มีเงื่อนไข การไม่มีเงื่อนไขในการญิฮาดเริ่มต้น ในช่วงสมัยการปรากฏกายของอิมาม ผู้บริสุทธิ์ การไม่เป็นเงื่อนไขในการเป็นมุจญ์ตะฮิด สำหรับผู้พิพากษาและยังมีความสะอาดของหนังสัตว์ที่นำเข้าจากประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม ซึ่งมีความสงสัยในการเชือดของมัน [42]‎

การดำเนินการทางการเมือง

การสนับสนุนการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน

ในกรณีที่เกี่ยวกับระบอบการปกครองในอิหร่านนั้น ซัยยิดอะบุลกอซิม คูอีย์ ก่อนที่จะเป็นมัรญิอ์ ได้ออกคำแถลงการณ์และประกาศประณามการกระทำของการปกครองปาห์ลาวี โดยเขาใช้นโยบายนิ่งเฉยในช่วงเวลาหนึ่งมากกว่าสิบปี และในช่วงก่อนชัยชนะของการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน เขาก็ให้การสนับสนุนอิมามโคมัยนีในเดือนบะห์มัน ปี 1357 สุริยคติ คูอีย์ยังให้การสนับสนุนต่อขบวนอินติฟาเฎาะฮ์ชะอ์บานียะฮ์ในการต่อต้านการปกครองในอิรัก จนเป็นเหตุทำให้เขาต้องถูกกักบริเวณภายในบ้าน (43)การดำเนินการทางสังคมและการเมืองบางประการ ของอายะตุลเลาะฮ์ คูอีย์ ได้แก่ :‎

การแสดงจุดยืนในการต่อต้านระบอบการปกครองปาห์ลาวี

ในเดือนเมฮ์ร์ 1341คูอีย์ ได้ส่งโทรเลขถึงมูฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี กษัตริย์ชาห์แห่งอิหร่าน โดยเขาคัดค้านร่างกฎหมายของรัฐและจังหวัด และถือสิ่งนี้ ขัดแย้งกับหลักศาสนบัญญัติของอิสลาม [44] นอกจากนี้ ในข้อความถึง ‎ซัยยิดมุฮัมมัด เบฮ์บะฮานี เขาเน้นย้ำว่า การปิดปากเสียงของประชาชาติด้วยกำลังบีบบังคับ ไม่นานนัก การโฆษณาชวนเชื่อเชิงทำลายล้างก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้และจะไม่แก้ไขเศรษฐกิจที่ล้มละลายและความไม่พอใจของประชาชน [45] เขายังแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อเหตุการณ์ ฟัยซีเยะห์ ในช่วงแรกของปี 1342 ได้ส่งโทรเลขถึงมูฮัมหมัด เรซา และกล่าวแสดงความเสียใจถึง ความเสื่อมถอยของผู้ปกครองรัฐอิสลามและนโยบายของผู้ปกครองของพวกเขา [46] หนึ่งเดือนต่อมา เพื่อตอบสนองต่อจดหมายจากกลุ่มนักวิชาการชาวอิหร่าน เขาได้ ประกาศถึงความไร้ความสามารถของผู้ปกครองที่ทุจริต เขาถือว่า หน้าที่ของนักการศาสนานั้นหนักหนาและความนิ่งเงียบ เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ [47] หลังจากการสังหารประชาชนในวันที่ 15 โครดาด 1342 สุริยคติอิหร่าน เรียกระบอบการปกครองของอิหร่านว่า เป็นการกดขี่ข่มเหง ซึ่งเขาให้การสนับสนุนอิหม่ามโคมัยนีหลังจากที่มีการจับกุมและข่าวลือเรื่องการพิจารณาคดีของอิหม่าม คือ ปฏิกิริยาทางการเมืองอื่นๆ บางส่วนของเขา [48]‎

การเนรเทศคูอีย์ ออกจากอิรักโดยรัฐบาลพรรคบาธ

ในระหว่างการขับไล่ชาวอิหร่านออกจากอิรัก ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1340 คูอีย์เป็นหนึ่งในนักวิชาการชีอะฮ์ไม่กี่คนที่ไม่ถูกไล่ออก อย่างไรก็ตาม การไล่บรรดาลูกศิษย์หลายคนของเขา ออกทำให้บทเรียนของเขาลดลง [49] ลูกศิษย์หลายคนได้มีส่วนร่วมในสถาบันศาสนาเมืองกุม โดยส่งเสริมแนวคิดด้านนิติศาสตร์และหลักนิติศาสตร์ของอาจารย์ของพวกเขาและสถาบันศาสนาเมืองกุมในยุคร่วมสมัยซึ่งก่อนหน้านี้ได้รับอิทธิพลจากวิธีการทางความรู้ของฮาอิรี ยัซดี และ บุรูญิรดี ทำให้รู้จักกับแนวทางด้านนิติศาสตร์และหลักการนิติศาสตร์ของคูอีย์ มีรซา นาอีนี มุฮักกิก อิศฟะฮานี และออกอ ฎิยาอ์ อิรอกี(50)

ช่วงเวลาแห่งความนิ่งเงียบ กว่าสิบปี

คูอีย์ ถอนตัวออกจากการเมือง หลังที่เขาได้รับตำแหน่งมัรญิอ์ [51] ช่วงเวลานี้ตรงกับช่วงหลายปีที่อิมามโคมัยนีปรากฏตัวในเมืองนะญัฟ [52] การที่เขานิ่งเงียบต่อเหตุการณ์การปฏิวัติอิสลามในอิหร่านในปี 1357 กระตุ้นให้เกิดการประท้วงในอิหร่าน (53) การปรากฏตัวของ ฟาราห์ ดีบา ภรรยาของ มูฮัมหมัดริซา ปาห์ลาวี ใน บัยต์ (สำนักงานมัรญิอ์) ของเขา เมื่อวันที่ 28 ออบอน 1357 ทำให้เกิดการประท้วงเหล่านี้ คูอีย์ ถือว่า การบันทึกที่ส่งถึงนักวิชาการบางคน เป็นการพบปะกันครั้งนี้ แบบกะทันหันและไม่พึงประสงค์

การพบปะของคูอีย์กับฟาราห์ ดีบอ

ลายมือของอยาตุลลอฮ์ คูอีย์ ในการปฏิเสธข้ออ้างจากการได้รับแหวนจากฟาราห์ ปาห์ลาวี: แต่ผมถูกถามหลายครั้งแล้วเกี่ยวกับประเด็นแหวน และคำตอบก็คือ มันเป็นการใส่ร้ายโดยบริสุทธิ์ใจและไม่มีพื้นฐาน และพระผู้เป็นเจ้าทรงประสงค์ ผู้ใส่ร้าย จะได้รับการลงโทษของพวกเขา ในวันแห่งการพิพากษา

ฟาราห์ ดีบอ ภริยาของมูฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี กษัตริย์แห่งอิหร่านในขณะนั้น เมื่อวันที่ 28 ออบอน 1357 สุริยคติอิหร่าน ตรงกับช่วงวันอีดเฆาะดีร ได้เข้าพบปะกับซัยยิดอะบุลกอซิม คูอีย์ (55)ในการพบปะครั้งนี้เกิดขึ้น ท่ามกลางสถานการณ์ที่การปฏิวัติอิสลามของชาวอิหร่านอยู่ในจุดสูงสุด และซัยยิดรูฮุลเลาะห์ มูซาวี โคมัยนี ถูกขับไล่ออกจากอิรัก (56) การพบปะกันระหว่างฟาราห์ ดีบอ กับคูอีย์ เป็นเหตุทำให้คูอีย์ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในแวดวงการปฏิวัติอิสลามของอิหร่าน [57]ด้วยเหตุนี้ มัรญิอ์ ผู้นี้ จึงส่งจดหมายบันทึกถึง ซัยยิด ศอดิก รูฮานี โดยเน้นย้ำถึงความฉับพลันและความไม่พึงประสงค์ของการพบปะครั้งนี้ ซึ่งระบุว่า ในการพบปะครั้งนี้ เราได้ประท้วงอย่างรุนแรงต่อเหตุการณ์ที่อัปยศและโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศอิหร่าน (58)ฮูเซน ฟิรดูซต์ ญาติสนิทของมูฮัมหมัด เรซา ‎ปาห์ลาวี กล่าวเกี่ยวกับการพบปะครั้งนี้ว่า อยาตุลลอฮ์ ซัยยิดอะบุลกอซิม คูอีย์ ได้ขอเข้าพบกับฟาราห์ ปาห์ลาวี โดยที่ไม่มีคำตอบ แต่ฟาราห์ ได้เดินทางไปยังบ้านพักของอยาตุลลอฮ์ คูอีย์ เป็นการส่วนตัวโดยสวมฮิญาบแบบอิสลาม ‎‎[59]‎

นอกจากนี้ ซัยยิดศอฮิบ คูอีย์ บุตรชายของอยาตุลลอฮ์คูอีย์ได้ตีพิมพ์จดหมายที่อ้างถึงบิดาของเขาในเดือนอะซัร ‎‎1402 ฮ.ศ. ซึ่งในส่วนหนึ่งของจดหมายนี้ ซัยยิดอะบุลกอซิม คูอีย์ ปฏิเสธการรับแหวนจาก ฟาราห์ ปาห์ลาวี วันที่ระบุในจดหมาย คือ 14 ญะมาดุษษานี 1402 ฮ.ศ. (20 ฟัรวัรดีน 1361 สุริยคติอิหร่าน) [60]‎

การเข้าร่วมกับการปฏิวัติอิสลามของอิหร่าน

คูอีย์ หลังจากที่พบปะกับฟาราห์ ดีบอ ท่ามกลางสถานการณ์ที่การต่อสู้ของชาวอิหร่านต่อระบอบการปกครองปาห์ลาวีทวีความรุนแรงมากขึ้น เขาจึงเข้าร่วมในการปฏิวัติอิสลามของอิหร่าน จากนั้นจึงสนับสนุนสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ในกรณีต่างๆ เขาได้ออกแถลงการณ์ก่อนชัยชนะของการปฏิวัติอิสลาม ส่งถึงบรรดามัรญิอ์ นักการศาสนา และประชาชนชาวอิหร่าน โดยเขาขอให้ประชาชนดำเนินชีวิตอย่างกล้าหาญ และโดยรักษามาตรฐานของหลักศาสนบัญญัติอิสลาม(61) หลังจากนั้น คูอีย์ได้เชิญชวนประชาชนไปลงคะแนนเสียงให้สาธารณรัฐอิสลาม ในการลงประชามติเพื่อกำหนดสาธารณรัฐอิสลาม โดยเขาเรียกร้องเหล่าลูกศิษย์ของเขามีส่วนร่วมในกิจการของการปฏิวัติอิสลามและในสงครามระหว่างอิรักและอิหร่าน แม้ว่าจะมีแรงกดดันจาก รัฐบาลซัดดัมให้การสนับสนุนอิรัก ‎เขาก็อนุญาตให้ใช้เงินทุนชารีอะฮ์ เพื่อจัดหาสิ่งของจำเป็นให้กับบรรดาทหารของอิหร่าน [62]‎

การถูกจับกุมในเหตุการณ์อินดิฟาเฎาะฮ์ ชะอ์บานียะฮ์ ที่ อิรัก

คูอีย์ มีการพบปะซัดดัม ฮุสเซน ภายหลังการปราบปรามอินดิฟาเฎาะฮ์ ชะอ์บานียะฮ์ ‎

อบุลกอซิม คูอีย์ ได้แต่งตั้งคณะผู้แทน 9 คน เพื่อจัดการบริหารพื้นที่ต่างๆภายใต้การควบคุมของชาวชีอะฮ์ ความล้มเหลวของอินดิฟาเฎาะฮ์ ชะอ์บานียะฮ์ ต้องเผชิญกับการกักตัวของคูอีย์ในบ้านพักของเขาและพบกับแรงกดดันอย่างกว้างขวางจากรัฐบาลอิรักในช่วงสมัยของซัดดัม (63) ซัยยิดอะบุลกอซิม ได้ถูกพรรคบาธ จับกุม และถูกส่งตัวไปยังกรุงแบกแดด เนื่องจากการสนับสนุนโดยตรงของเขาต่อ อินดิฟาเฎาะฮ์ ชะอ์บานียะฮ์ ของชาวอิรักในปี 1991 ‎และการแต่งตั้งสภาผู้นำ หลังจากถูกควบคุมตัวเป็นเวลาสองวัน เขาถูกบังคับให้พาตัวไปหาซัดดัม ฮุสเซนและซัดดัมก็พูดกับเขาด้วยถ้อยคำที่ดูหมิ่น [64]‎

การบริการทางศาสนาและสังคม

คูอีย์ ในระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งมัรญิอ์ เขาสั่งให้สร้างห้องสมุด โรงเรียน มัสยิด ฮุซัยนียะฮ์ หอพัก สถานีอนามัย โรงพยาบาลและมูลนิธิการกุศลและสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าด้วยทรัพย์สินที่เขามี ในประเทศต่างๆ รวมถึงอิหร่าน อิรัก มาเลเซีย อังกฤษ สหรัฐอเมริกาและอินเดีย ซึ่งศูนย์หลักของมูลนิธิการกุศลอยู่ในกรุงลอนดอน [65] ‎ศูนย์อิสลามบางแห่งภายใต้การดูแลของมูลนิธิการกุศลอัลคูอีย์ ได้แก่ :‎

มัรกัสอิมามอัลคูอีย์ ในลอนดอน ประกอบด้วยศูนย์อิสลาม โรงเรียนอิมามศอดิก (อ.) สำหรับเด็กผู้ชาย โรงเรียน อัซซะฮ์รอ(อ.)สำหรับเด็กผู้หญิง ห้องประชุม ห้องสมุดสาธารณะ และร้านหนังสือ มีนักเรียน 800 คนที่ศึกษาในโรงเรียนสองแห่งของมูลนิธินี้ ในศูนย์แห่งนี้ มีการจัดพิมพ์นิตยสารรายเดือน อัลนูร เป็นทั้งภาษาอาหรับและภาษาอังกฤษ [66]‎

ศูนย์อิสลามอิมามคูอีย์ในนครนิวยอร์ก : รวมถึงห้องประชุมที่จุผู้คนได้ถึงสามพันคน, ห้องสมุดที่มีหนังสือมากกว่าหมื่นเล่ม, โรงเรียนอนุบาล, โรงเรียนสำหรับเด็กชายและเด็กหญิง แต่ละแห่งจุได้ 150 คน, โรงเรียนอีหม่าน ‎โดยเฉพาะในการสอนภาษาอาหรับ อัลกุรอาน และการศึกษาอิสลามแก่เด็ก ห้องอาบน้ำศพ เป็นต้น [67]‎

มูลนิธิการกุศลอิมามคูอีย์ ในเมืองมอนทรีออล : สถาบันแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในปี 1989 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการทางด้านศาสนา วัฒนธรรม และสังคมแก่ชาวชีอะฮ์ในประเทศอิสลามและไม่ใช่อิสลาม

‎ ศูนย์วัฒนธรรมอิมามคูอีย์ในเมืองมุมไบ: มีพื้นที่ 100,000 ตารางเมตร ห่างจากมุมไบ ประมาณ 20 กิโลเมตร ‎ประกอบด้วยห้องประชุมขนาดใหญ่ มัสยิดที่จุผู้คนได้ 3,000 คน ห้องสมุดที่มีหนังสือ 50,000 เล่ม และห้องโถงที่จุได้ 700 คน โรงเรียนสอนศาสนาที่สามารถรองรับนักเรียนศาสนาได้ 1,000 คน โรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีนักเรียน 1,200 คน ตลอดจน ร้านขายยาและคลินิก [68]‎

ผลงานที่จัดพิมพ์เกี่ยวกับคูอีย์

ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง อยาตุลลอฮ์ กำกับโดย ซัยยิดมุศฏอฟา มูซาวีตะบาร และได้รับการสนับสนุนจากองค์กรศิลปะการสื่อ อูจญ์ สารคดีเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับชีวิต การศึกษา และชนิดของความสัมพันธ์ของอยาตุลลอฮ์คูอีย์กับ การปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่าน [69]‎