ซะวีลกุรบา

จาก wikishia

ซะวีลกุรบา หมายถึง เครือญาติสนิทของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ซึ่งในอัลกุรอาน ได้กล่าวว่า การให้ความรักต่อพวกเขา เป็นรางวัลสำหรับการเผยแผ่ภารกิจทางศาสนาของศาสดา และตามริวายะฮ์ ทั้งชีอะฮ์และซุนนี อะลี บิน อะบีฏอลิบ ฟาฏิมะฮ์ อิมามฮะซัน และอิมามฮุเซน คือ ตัวอย่างอันเด่นชัดของซะวีลกุรบา

ความหมาย

ซะวีลกุรบา มีความหมายว่า เครือญาติสนิท คำว่า อัลกุรบา ในอัลกุรอาน ถูกใช้คู่กับคำว่า ซี (1) ซะวี (2)อุลี(3) และในโองการ

(4)قُلْ لا أَسْئَلُکمْ عَلَیهِ أَجْراً إِلاَّ الْمَوَدَّةَ فِی الْقُرْبی

ไม่มีการเพิ่มคำเหล่านี้แต่อย่างใด

ซะมัคชะรี นักตัฟซีรและอักษรศาสตร์ชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ กล่าวว่า ความหมายของอัลกุรบาในโองการนี้ คือ อะฮ์ลุลกุรบา (5)

อัลกุรบา ในอัลกุรอาน หมายถึง เครือญาติสนิทที่ใกล้ชิด (6) กุรบ์ ในภาษา มีความหมายว่า การใกล้ชิดทางสายสัมพันธ์ เวลาและสถานที่ (7) ตามฮะดีษต่างๆ รายงานว่า อัลกุรบา ในโองการมะวัดดะฮ์ หมายถึง บรรดาอะฮ์ลุลบัยต์และในโองการคุมส์(8) และโองการฟีอ์ (9)หมายถึง บรรดาคนยากจนของอะฮ์ลุลบัยต์ (เครือญาติของศาสดา (ศ็อล)

ตัวอย่าง

ตามทัศนะของชีอะฮ์ ความหมายของซีลกุรบาในโองการ

(10)قُلْ لا أَسْئَلُکمْ عَلَیهِ أَجْراً إِلاَّ الْمَوَدَّةَ فِی الْقُرْبی

คือ อิมาม ผู้บริสุทธิ์ (อ.) (11) รวมถึง ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ด้วย (12) และเช่นเดียวกัน ยังมีริวายะฮ์ต่างๆจากแหล่งอ้างอิงตัฟซีรและริวาอีของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ รายงานว่า อิมามอะลี (อ.) ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) อิมามฮะซัน (อ.) และอิมามฮุเซน (อ.) คือ ตัวอย่างของอัลกุรบา (13)

ตามคำกล่าวของนักตัฟซีรอะฮ์ลิซซุนนะฮ์บางคน ระบุว่า โองการนี้ได้กล่าวถึงชาวกุเรช อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงสั่งให้ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) บอกว่าพวกกุเรชว่า หากพวกเขาไม่มีความศรัทธา และเนื่องจากความเป็นญาติกับศาสดา ก็อย่าได้เป็นปฏิปักษ์กับเขา (14) และเช่นเดียวกัน มีรายงานว่า โองการนี้ได้กล่าวถึงชาวอันศอร ซึ่ง ซัลมา บิน เซด นัจญาร มารดาของอับดุลมุฏฏอลิบ และอาหญิงของท่านหญิงอามินะฮ์ มารดาของศาสดา เป็นญาติกับเขา และพวกเขาได้มอบทรัพย์สินให้กับศาสดา แต่โองการนี้ถูกประทานลงมา และศาสดาได้ปฏิเสธทรัพย์สินของพวกเขา

หลักการปฏิบัติ

หลักการปฏิบัติบางประการเกี่ยวข้องกับซะวีลกุรบา :

ส่วนแบ่งของซะวีลกุรบาในคุมส์ : บรรดาฟะกีฮ์ของชีอะฮ์ ถือว่า ส่วนแบ่งของซะวีลกุรบา มาจากการใช้จ่ายทั้งหกประการของคุมส์ ที่ถูกกล่าวในโองการคุมส์นั้น เป็นของอิมาม ผู้บริสุทธิ์(16) ส่วนแบ่งของอัลลอฮ์ และส่วนแบ่งของศาสดา ถือเป็นส่วนแบ่งของอิมามด้วยเช่นกัน และบางครั้งในส่วนแบ่งของอิมาม เรียกว่า เป็นส่วนแบ่งของซะวีลกุรบา (17)

ส่วนแบ่งของซะวีลกุรบาในฟีอ์ ซะวีลกุรบา เป็นหนึ่งในผู้ที่มีสิทธิในการใช้จ่ายฟีอ์ (ทรัพย์สินที่ได้รับจากชาวมุสลิมโดยปราศจากสงคราม) (18)