ชะฮาดัตท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.)
ชะฮาดัตท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) (การเป็นชะฮีดของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) (ภาษาอาหรับ : شهادة السيدة فاطمة (ع) ) เป็นหนึ่งในความเชื่อที่โดดเด่นและยืนยาวในบรรดาชีอะฮ์ ซึ่งบนพื้นฐานนี้ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) บุตรสาวของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ไม่ได้เสียชีวิตโดยธรรมชาติ แต่การเป็นชะฮีดของท่าน อันเนื่องจากผลของการบาดเจ็บที่เกิดจากเศาะฮาบะฮ์ของศาสดาบางคน ขณะที่ชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ เชื่อว่า การเสียชีวิตของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) เกิดจากความโศกเศร้าจากการเสียชีวิตของศาสนทูตของพระเจ้า (ศ็อลฯ) แต่ชาวชีอะฮ์ถือว่า อุมัร บิน ค็อฏฏ็อบ คือ ปัจจัยหลักของการเป็นชะฮีดของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) และในช่วงสัปดาห์ฟาฏิมียะฮ์ พวกเขาได้จัดงานไว้อาลัยให้กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.)
บรรดาชีอะฮ์ได้ยกหลักฐานอ้างอิงในหลายกรณีที่เกี่ยวกับการเป็นชะฮีดของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) รวมทั้ง ริวายะฮ์จากอิมามกาซิม (อ.) รายงานว่า ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) รู้จักในนาม ศิดดีเกาะฮ์ นอกจากนี้ มุฮัมมัด บิน ญะรีร เฏาะบะรี นักศาสนศาสตร์ของอิมามียะฮ์ในศตวรรษที่สามแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช เขียนในหนังสือ ดะลาอิลุลอิมามะฮ์ ว่า มีริวายะฮ์จากอิมามศอดิก (อ.) รายงานว่า สาเหตุของการเป็นชะฮีดของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ถือเป็นการถูกทำแท้งบุตรของเธอ เนื่องจากการถูกทุบตี
แหล่งข้อมูลของชีอะฮ์และอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ ได้กล่าวถึงรายละเอียดของเหตุการณ์ต่างๆที่นำไปสู่การเป็นชะฮีดของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) รวมถึงการโจมตีบ้านของท่านหญิงและอิมามอะลี (อ.) การถูกทำแท้งของทารกในครรภ์ (ท่านมุห์ซิน) รวมถึงการตบและทุบตีนาง แหล่งข้อมูลที่เก่าแก่ที่สุดของชีอะฮ์ เป็นหลักฐานอ้างอิงในกรณีนี้ คือ หนังสือ ซุลัยม์ บิน กัยส์ ฮิลาลีย์ ซึ่งเขียนขึ้นในศตวรรษแรกของฮิจเราะฮ์ศักราช บรรดาชีอะฮ์ ยังถือว่า การเป็นชะฮีดของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) มีหลักฐานยืนยันจากริวายะฮ์ต่างๆในแหล่งข้อมูลของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ เช่นกัน หนังสือ อัลฮุญูม อะละ บัยติ ฟาฎิมะฮ์ (การโจมตีบ้านของฟาฏิมะฮ์) มีริวายะฮ์ต่างๆที่มีผู้รายงานถึง ๘๔ คน ในแหล่งข้อมูลของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์
การมีความเชื่อในการเป็นชะฮีดของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ต้องเผชิญกับข้อสงสัยต่างๆและยังได้รับคำตอบแก่ข้อสงสัยเหล่านี้ เช่น คำตอบของคำถามที่ว่า บ้านทั้งหลายในเมืองมะดีนะฮ์ไม่มีประตูในสมัยนั้น ซัยยิดญะอ์ฟัร มุรตะฎอ อามิลี (เสียชีวิตในปี ๑๔๔๑ ฮ.ศ.) นักประวัติศาสตร์ชีอะฮ์ ได้ยกหลักฐานอ้างอิงด้วยริวายะฮ์ต่างๆที่บ่งบอกว่า การมีประตูของบ้านทั้งหลายในเมืองมะดีนะฮ์ ถือเป็นเรื่องปกติ นอกจากนี้ สำหรับการตอบคำถามที่ว่า หากท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ถูกโจมตี แล้วทำไมอิมามอะลี (อ.) และบุคคลอื่นๆ จึงนิ่งเงียบและไม่ปกป้องนาง นอกเหนือจากการระบุว่า ท่านอะลี (อ.) ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาสดามุฮัมมัด ( ศ็อลฯ) และเพื่อปกป้องผลประโยชน์ชาวมุสลิม จึงได้รับคำสั่งให้มีความอดทนและนิ่งเงียบ กล่าวกันว่า ตามรายงานในหนังสือ ซุลัยม์ หลังจากการกระทำของอุมัร บิน ค็อฏฏ็อบ ท่านอะลี (อ.) ได้โจมตีเขาและกระแทกเขาล้มลงกับพื้น แต่อุมัรได้ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นและพวกเขาได้รีบรุดไปมัดตัวท่านอะลี บรรดานักเขียนชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ ถือว่า กรณีต่างๆเกี่ยวกับการมีความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างอิมามอะลี (อ.) และท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) กับเหล่าเคาะลีฟะฮ์ทั้งสาม เพื่อเป็นหลักฐานในการปฏิเสธการเป็นชะฮีดของท่านหญิง แต่ตามทัศนะของบรรดานักเขียนชาวชีอะฮ์ กล่าวไว้ว่า การปรึกษาหารือระหว่างเคาะลีฟะฮ์กับท่านอะลี (อ.) ไม่ใช่เป็นเหตุผลที่บ่งบอกถึงความร่วมมือและความเห็นอกเห็นใจของท่านอะลีกับพวกเขาเหล่านั้น เพราะว่า การชี้แนะเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ของศาสนา เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักวิชาการทุกคน นอกจากนี้ เคาะลีฟะฮ์ยังได้แยกตัวออกจากท่านอะลี (อ.) และปรึกษาหารือเขาในกรณีที่จำเป็น ไม่ใช่ว่าเขาเป็นที่ปรึกษาของพวกเหล่านั้น นอกจากนี้ ชาวชีอะฮ์ยังได้กล่าวถึงการแต่งงานของท่านหญิงอุมมุน กุลษูม บุตรสาวของอิมามอะลี กับอุมัร บิน ค็อฏฏ็อบ ว่า การแต่งงานนี้เป็นการถูกบังคับ และไม่สามารถเป็นสัญญาณของความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างอิมามอะลี (อ.) และเหล่าเคาะลีฟะฮ์ได้
ความสำคัญของปัญหา
ความหมายของชะฮาดัตของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) (มรณสักขี) คือ การเสียชีวิตของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ บุตรสาวของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ซึ่งไม่ได้เกิดจากการเสียชีวิตโดยธรรมชาติ แต่เป็นผลมาจากการบาดเจ็บที่เกิดจากเศาะฮาบะฮ์บางคนของศาสดา (ศ็อลฯ) ปัญหาการเป็นชะฮีดหรือการเสียชีวิตโดยธรรมชาติของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) เป็นหนึ่งในประเด็นที่มีความขัดแย้งระหว่างชีอะฮ์และอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ [๑] ชาวชีอะฮ์ แม้จะมีความแตกต่างบางประการในการรายงานเหตุการณ์หลังจากการสิ้นชีวิตของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) มักจะเชื่อว่า ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ.) ถูกทำชะฮาดัต และเหตุการณ์นี้ ถือว่า มีสาเหตุมาจากการทุบถูกตีที่สีข้างของนางและการแท้งบุตร ในทางตรงกันข้าม อะฮ์ลิสซุนนะฮ์ เชื่อว่า ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์เสียชีวิตโดยธรรมชาติ เนื่องมาจากความเจ็บป่วยและไม่สบายใจ ภายหลังจากการเสียชีวิตของศาสนทูตของพระเจ้า (ศ็อลฯ) [๒]
ในทุกๆ ปี บรรดาชีอะฮ์จะจัดงานไว้อาลัยให้กับการเป็นชะฮีดของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ.) ในวันต่างๆที่เรียกว่า ช่วงสัปดาห์แห่งฟาฏิมียะฮ์ [๓] ในโอกาสนี้ ตรงกับวันที่สามของเดือนญะมาดุษษานี ซึ่งตามคำกล่าวที่เป็นที่รู้จัก คือ วันแห่งการเป็นชะฮีดของ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ [๔] เป็นวันหยุดราชการในประเทศอิหร่าน (๕) และมีการจัดคณะการไว้อาลัย ตามท้องถนน [๖] เนื่องจากบรรดาชีอะฮ์ ถือว่า อุมัร บิน ค็อฏฏ็อบ เป็นปัจจัยหลักของการเป็นชะฮีดของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ในการมัจญ์ลิซรำลึกการไว้อาลัยหลายครั้ง มีการพูดประณามเขา [๗] และบางคนก็ทำการสาปแช่งเขา ประเด็นนี้ เป็นหนึ่งในประเด็นที่ไม่ลงรอยกันระหว่างชีอะฮ์และอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ [๘] ปัญหาการเป็นชะฮีดของท่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ทำให้ชีอะฮ์บางคนต้องเฉลิมฉลองวันที่เก้าเดือนเราะบีอุลเอาวัล ซึ่งตามคำรายงาน ถือเป็นวันที่อุมัร บิน ค็อฏฏอบถูกสังหารเสียชีวิต ถูกเรียกว่า วันอีดอัซซะฮ์รอ มีการแสดงความรื่นเริงด้วยเช่นกัน (๙)
ประวัติความเป็นมา
ข้อพิพาทเกี่ยวกับประเด็นการเป็นชะฮีดหรือการเสียชีวิตโดยธรรมชาติของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ.) ถือเป็นข้อพิพาทที่ยาวนาน ตามการรายงานที่นักวิจัยบางคนกล่าวไว้ในหนังสือ อัตตะห์รีช เขียนโดย ฎ็อรรอร บิน อัมร์ ซึ่งเขาอาศัยอยู่ในศตวรรษที่ ๒ ฮ.ศ. เขียนว่า บรรดาชีอะฮ์ เชื่อว่า ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) เสียชีวิตเนื่องจากการทุบตีโดย อุมัร บิน ค็อฏฏ็อบ [๑๐] นอกจากนี้ อับดุลลอฮ์ บิน ยะซิด ฟาซารี นักศาสนศาสตร์แห่งศตวรรษที่ 2 ในหนังสือกิตาบอัรเราะดูด ได้กล่าวถึงความเชื่อของบรรดาชีอะฮ์ที่ว่า ท่านฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ได้รับอันตรายจากเศาะฮาบะฮ์บางคนและทารกในครรภ์ของนางถูกทำแท้ง [๑๑] จากคำกล่าวของมุฮัมมัดฮุเซน กาชิฟุลฆิฏออ์ (เสียชีวิตในปี ๑๓๗๓ ฮ.ศ.) ระบุว่า บรรดากวีชาวชีอะฮ์แห่งศตวรรษที่ ๒ และ ๓ ตามจันทรคติอิสลาม เช่น กุมัยด์ อะซะดี ซัยยิดฮิมยารี ดะอ์บิล คุซาอี ได้แต่งบทกวีที่เกี่ยวกับการกดขี่ที่เกิดขึ้นกับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (๑๒) อับดุลกะรีม ชะฮ์ริสตานี (เสียชีวิตในปี ๕๔๘ ฮ.ศ.) นักวิชาการที่มีชื่อเสียงชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ กล่าวว่า อิบรอฮีม บิน ซัยยาร หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ นัซซอม มุอ์ติซิลี (เสียชีวิตในปี ๒๒๑ ฮ.ศ.) เชื่อว่า ทารกที่อยู่ในครรภ์ลของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ถูกทำให้แท้งเนื่องจากการได้รับบาดเจ็บจากการทุบตีของอุมัร (๑๓) ชะฮ์ริสตานี ยังกล่าวว่า ความเชื่อนี้และความเชื่ออื่นๆ บางประการของนัซซอม มุอ์ตะซิลีทำให้เขาออกห่างจากผู้ที่อยู่ในระดับเดียวกับเขา (๑๔) กอฎี อับดุลญับบาร มุตะซิลี (เสียชีวิต ๔๑๕ ฮ.ศ.) ในหนังสือ ตัษบีต ดะลาอิลอันนะบูวะฮ์ กล่าวถึงความเชื่อของบรรดาชีอะฮ์ ที่ว่าท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ได้รับบาดเจ็บและทารกในครรภ์ของนางถูกทำให้แท้ง บรรดานักวิชาการชีอะฮ์ร่วมสมัยบางคนในอียิปต์ กนุงแบกแดด และบางพื้นที่ของเมืองชาม (ซีเรีย) ได้กล่าวถึงการจัดพิธีไว้อาลัยและร้องไห้ให้กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์และมุห์ซิน บุตรชายของนาง [๑๕ ] ในหนังสือของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ เขียนว่า บุคคลที่เชื่อในการเป็นชะฮีดของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ถูกเรียกว่า รอฟีฎี [๑๖]
รากฐานของข้อพิพาท
รากฐานของข้อพิพาท ในประเด็นการเป็นชะฮีดของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) คือ การเสียชีวิตของท่านหญิงเกิดขึ้นไม่นานนัก หลังจากการสิ้นชีพของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และท่ามกลางความขัดแย้งเรื่องผู้สืบทอดตำแหน่งของศาสดา (ศ็อลฯ) หลังจากที่กลุ่มผู้มุฮาญิรจำนวนหนึ่งและชาวอันศอร ได้ให้สัตยาบัน (บัยอะฮ์) กับอะบูบักร ณ. ซะกีฟะฮ์ บะนีซาอิดะฮ์ กลุ่มเศาะฮาบะฮ์ จำนวนหนึ่ง ก็ปฏิเสธที่จะให้สัตยาบันกับอะบูบักร โดยพิจารณาจากคำสั่งเสียของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ในการเป็นเคาะลีฟะฮ์และเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งของท่านอะลี บิน อะบีฏอลิบ พวกเขาจึงไม่ให้สัตยาบันกับอะบูบักร ด้วยเหตุนี้ ตามคำสั่งของอบู บักร์ อุมัร บิน ค็อฏฏ็อบพร้อมด้วยผู้คนจำนวนหนึ่งได้ไปที่บ้านของท่านอะลี สำหรับการเอาคำสัตยาบันจากเขา และอุมัรได้ข่มขู่ว่า จะจุดไฟเผาบ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ พร้อมกับผู้อาศัยอยู่ในนั้น หากว่าท่านอะลีไม่ยอมให้คำสัตยาบัน (๑๗) ในช่วงเวลานี้ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ได้ประท้วงการยึดสวนฟะดัก โดยตัวแทนของอะบูบักร ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) จึงได้พบกับเขาและเรียกร้องให้คืนสวนฟะดัก [๑๘] และหลังจากที่อะบูบักร ในฐานะเคาะลีฟะฮ์ของชาวมุสลิม ปฏิเสธที่จะคืนสวนฟะดักให้ท่านหญิง นางได้กล่าวเทศนาประท้วงในมัสญิดมะดีนะฮ์ [๑๙]
แหล่งข้อมูลของชีอะฮ์เกือบจะเป็นเอกฉันท์ รายงานว่า มุห์ซิน ทารกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ห์ถูกทำให้แท้ง เนื่องจากการโจมตีบ้านของนาง [๒๐] และตามแหล่งข้อมูลของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์บางแห่ง รายงานว่า เขาถือกำเนิดแล้วเและเสียชีวิตตั้งแต่ยังเป็นทารก [๒๑] อย่างไรก็ตาม อิบนุ อะบีลฮะดีด มุอ์ตะซิลี (เสียชีวิต ๖๕๖ ฮ.ศ.) ผู้อธิบายนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ในการเสวนาวิชาการกับ อะบูญะอ์ฟัร นะกีบ อาจารย์ของเขา ได้กล่าวถึงการแท้งของมุห์ซิน ในเหตุการณ์การเอาคำสัตยาบันจากท่านอะลี (อ.) นอกจากนี้ ความเชื่อนี้ เป็นของอิบรอฮีม บิน ซัยยาร หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ นัซซอม มุอ์ตะซิลี (เสียชีวิต ฮ.ศ. ๒๒๑) (๒๓)
ตามรายงานจำนวนมาก ระบุว่า ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ถูกฝังในตอนกลางคืน [๒๔] ยูซุฟ ฆ็อรวีย์ นักประวัติศาสตร์สมัยศตวรรษที่ 15 กล่าวว่า การฝังศพตอนกลางคืนนี้ เป็นไปตามความประสงค์ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ ซึ่งท่านหญิงรังเกียจที่จะบุคคลที่กดขี่นาง เข้าร่วมงานศพของนาง
แหล่งที่มาและเหตุผลของบรรดาชีอะฮ์ในการพิสูจน์การเป็นชะฮีด
บรรดาชีอะฮ์ ยกหลักฐานอ้างอิงจากริวายะฮ์ (คำรายงาน) ของอิมามกาซิม (อ.) ซึ่งเรียก ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ.) ว่า ศิดดีเกาะฮ์ ชะฮีดะฮ์ ถือว่า นางเป็นชะฮีด [๒๗] เฏาะบะรี เขียนในหนังสือ ดะลาอิลุลอิมามะฮ์ ว่า มีริวายะฮ์จากอิมามศอดิก (อ.) รายงานว่า เหตุผลการแท้งทารกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ เนื่องจากการได้รับบาดเจ็บจากการถูกทุบตี (๒๘) ริวายะฮ์นี้ รายงานว่า กุนฟุซ ทาสของอุมัร เป็นผู้ทำร้ายท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ตามคำสั่งของอุมัร (๒๙) มีริวายะฮ์อื่นๆในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ รายงานว่า อิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวถึงการรวมกลุ่มชนหนึ่งในการกดขี่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (๓๐)
มีรซา ญะวาด ตับรีซี มัรญิอ์ตักลีดชีอะฮ์ ถือว่า เหตุผลการพิสูจน์การเป็นชะฮีดของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ คือ คำพูดของอิมามอะลี (อ.) ในขณะฝังร่างของท่านหญิง (อ.) ริวายะฮ์จากอิมามกาซิม (อ.) ริวายะฮ์จากอิมามศอดิก (อ.) ในหนังสือ ดะลาอิลุลอิมามะฮ์ ความลับของหลุมศพของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) และคำสั่งเสียของท่านหญิงให้ฝังศพของนางในตอนกลางคืน (๓๑)
แหล่งที่มาของชีอะฮ์
หนังสือ อัลฮุญูม เขียนโดยอับดุซซะฮ์รอ มะฮ์ดี นักเขียนแห่งศตวรรษที่ 15 มีการรวบรวมคำรายงาน 260 ริวายะฮ์ และรายงานทางประวัติศาสตร์จากผู้รายงานและนักเขียนชาวชีอะฮ์มากกว่า 150 คน ซึ่งแต่ละรายงาน เป็นส่วนหนึ่งของเหตุผลในการเป็นชะฮีดของท่านหญิงฟาฎิมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ.) เช่น การโจมตีบ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ การถูกทำให้แท้งทารกในครรภ์ การตบใบหน้าและการตีนาง [๓๒] แหล่งข้อมูลที่เก่าแก่ที่สุดที่นักเขียนชีอะฮ์อ้าง คือ หนังสือซุลัยม์ บิน ก็อยส์ ซึ่งเขาเสียชีวิตในปี ๙๐ (๓๓) รายงานจากคำกล่าวของเชคฏูซีย์ (เสียชีวิต ๔๖๐ ฮ.ศ.) ในหนังสือของ ตัลคีศอัชชาฟีย์ เขียนว่า บรรดา ชีอะฮ์ไม่มีความแตกต่างกันในกรณีที่อุมัรได้เตะไปที่ท้องของท่านหญิง จนทำให้บุตรของนางแท้ง [๓๔] และริวายะฮ์เหล่านี้ของชีอะฮ์ในประเด็นนี้อยู่ในระดับมุสตะฟีฎ [๓๕]
การอ้างอิงของบรรดาชีอะฮ์จากแหล่งข้อมูลของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์
บรรดาชีอะฮ์ ได้ยกหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ ไม่ว่าจะเป็นตำราสายฮะดีษ หนังสือประวัติศาสตร์ แม้แต่หนังสือด้านนิติศาสตร์ สำหรับการพิสูจน์บางเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จนเป็นเหตุให้ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ.) เป็นชะฮีด ตัวอย่างเช่น หนังสือ อัลฮุญุม อะละ บัยติฟาฏิมะฮ์ ในสารบัญกล่าวถึง ผู้รายงาน 84 คน และรวบรวมรายงานจากตำราของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ เกี่ยวกับการโจมตีบ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (๓๖) รายชื่อแหล่งข้อมูลที่เก่าแก่ที่สุด คือ หนังสือ อัลมะฆอซี เขียนโดย มูซา บิน อะเกาะบะฮ์ (เสียชีวิต ๑๔๑ ฮ.ศ.) (๓๗)
ฮุเซน ฆ็อยบ์ ฆุลามี (ถือกำเนิด ๑๓๓๘ สุริยคติอิหร่าน) เขียนในหนังสือ อิห์รอกุ บัยติ ฟาฏิมะฮ์ ฟีลกุตุบอัลมุอ์ตะบะเราะฮ์ อินดะ อะฮ์ลิสซุนนะฮ์ ว่า มีริวายะฮ์มากกว่า 20 รายงานในหนังสือและผู้รายงานอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ (๓๘) ริวายะฮ์แรก จากหนังสือ อัลมุศ็อนนัฟ ของ อิบนุอะบีชัยบะฮ์ (เสียชีวิต ๒๓๕) (๓๙)และริวายะฮ์สุดท้าย ในหนังสือนี้ รายงานจากหนังสือ กันซุลอุมมาล เขียนโดย มุตตะกี อัลฮินดี (เสียชีวิต ๙๗๗ ฮ.ศ.) นอกจากนี้ ในหนังสือเป็นภาษาฟาร์ซี ชื่อว่า ชะฮอดัต มอดะรัม ซะฮ์รอ อัฟซอเนะฮ์ นีสต์ เขียนถึงเหตุการณ์การโจมตีบ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ จากหนังสืออะฮ์ลิสซุนนะฮ์ ๑๘ เล่มด้วยกัน (๔๑) แหล่งข้อมูลนี้ รายงานถึงเหตุการณ์ความพยายามสำหรับการเอาสัตยาบันจากอิมามอะลี(อ.) และการข่มขู่ในการจุดไฟเผาบ้านของเขา ในวันสัตยาบันด้วยคำกล่าวต่างๆจากบรรดาผู้รายงานอย่างมากมาย (๔๒)
บางคำถามเกี่ยวกับเหตุการณ์
นักเขียนและนักวิจัย จำนวนหนึ่งได้ตั้งคำถามและข้อสงสัยทางประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับความถูกต้องของริวายะฮ์ต่างๆในการเผาบ้านของอิมามอะลีและท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ เช่น ข้อสงสัยที่ว่า บ้านทั้งหลายในเมืองมะดีนะฮ์ ไม่มีประตู หรือการไม่ปกป้องท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ของอิมามอะลีและบุคคลอื่นๆ หรือประเด็นการแท้งทารกของท่านหญิง ได้มีการรวบรวมคำตอบของข้อสงสัยและคำถามต่างๆ จากบรรดานักประวัติศาสตร์และนักวิจัยทั้งหลาย เช่น ซัยยิดญะอ์ฟัร มุรตะฎอ อามิลี (เสียชีวิต ๑๔๔๑ ฮ.ศ.) (๔๓)
บ้านต่างๆในเมืองมะดีนะฮ์ ไม่มีประตูจริงหรือ?
บางคนได้ตั้งคำถามว่า บ้านต่างๆในเมืองมะดีนะฮ์ ในสมัยนั้น ไม่มีประตู (๔๔) และผลลัพท์ก็คือ ด้วยเหตุนี้เอง เหตุการณ์การเผาบ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ จึงไม่สามารถที่จะเป็นจริงได้ ในทางตรงกันข้าม ซัยยิดญะอ์ฟัร มุรตะฎอ อามิลี เขียนในหนังสือ มะอ์ซาตุซซะฮ์รอ กล่าวถึงแหล่งข้อมูลต่างๆรายงานว่า การมีประตูของบ้าน ถือเป็นเรื่องปกติ และบ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ก็มีประตูด้วยเช่นกัน (๔๕)
เหตุใดท่านอะลีและบุคคลอื่นๆ จึงไม่ปกป้อง?
หนึ่งในคำถามเกี่ยวกับเหตุการณ์การโจมตีบ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) และการเป็นชะฮีดของนาง คือ เหตุใดท่านอะลี (อ.) ซึ่งเป็นที่รู้จักในด้านความกล้าหาญของเขา และบรรดาเศาะฮาบะฮ์คนอื่นๆ ได้นิ่งเงียบเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวนี้ และไม่ได้ปกป้องท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ [๔๖] นอกจากอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ มุฮัมมัดฮุเซน กาชิฟุลฆิฏออ์ มัรญิอ์ตักลีดชีอะฮ์ในศตวรรษที่ ๑๔ ยังได้ตั้งคำถามเช่นนี้ด้วย (๔๗) คำตอบหลักของบรรดาชีอะฮ์ก็คือ ท่านอะลีได้รับคำสั่งจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ให้อดทน และสำหรับการรักษาผลประโยชน์ของอิสลาม จะต้องมีความอดทนและนิ่งเงียบ (๔๘)
ซัยยิดริฎอ อัลฮินดี ได้กล่าวบทกวีเกี่ยวกับความอดทนของท่านอะลี ซึ่งเป็นคำสั่งของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ว่า หากไม่มีคำสั่งให้ท่านมีความอดทนอดกลั้นและนิ่งเงียบละก็ หามิได้ จะไม่มีคำสั่งนี้ การปกครองและการเป็นเคาะลีฟะฮ์เหนือประชาชน ก็จะไม่เกิดกับอะบูบักร และอุมัรก็จะไม่ได้รับสืบทอดตำแหน่งต่อจากเขาอีกด้วย (๔๙)
ตามคำรายงานของซัลมาน อัลฟารซีย์ ในหนังสือซุลัยม์ (ซึ่ง ยูซุฟี ฆ็อรวีย์ ถือเป็นการรายงานที่แข็งแกร่งที่สุดและเก่าแก่ที่สุดของเหตุการณ์นี้) หลังจากที่อุมัรได้โจมตีท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ท่านอะลี (อ.) ได้โจมตีอุมัรและกระแทกเขาล้มลงกองกับพื้น ราวกับว่าท่านอะลีต้องการที่จะสังหารเขา แล้วท่านก็กล่าวกับเขาว่า ถ้าพันธสัญญาของศาสนทูตของพระเจ้าไม่ได้อยู่กับฉัน เจ้าก็คงจะรู้ว่าเจ้าไม่สามารถเข้าไปในบ้านของฉันได้ ในเวลานี้ อุมัรจึงขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น และผู้ร่วมทางของเขาก็รีบเข้ามา และแยกท่านอะลี (อ.) ออกจากอุมัร แล้วมัดตัวเขาไว้ (๕๐)
ความสงสัยในการแท้งของมุห์ซิน
นักเขียนอะฮ์ลิสซุนนะฮ์กลุ่มหนึ่งได้สงสัยเกี่ยวกับเหตุการณ์การแท้งท่านมุห์ซิน บิน อะลี (อ.) ในเหตุการณ์วันสัตยาบัน พวกเขาเชื่อว่า เขาถือกำเนิดก่อนวันนี้และเสียชีวิตตั้งแต่ยังเป็นทารก (๕๑) ส่วนบรรดาชีอะฮ์เชื่อว่า เขาถูกทำให้แท้งในเหตุการณ์การโจมตีบ้านของท่านอะลี เนื่องจากการได้รับบาดเจ็บของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (๕๒) ดังที่แหล่งข้อมูลอะฮ์ลิสซุนนะฮ์บางส่วน กล่าวถึงการแท้งบุตรหรือการแท้งของท่านมุห์ซิน อีกด้วย [๕๓] ผู้เขียนหนังสือ อัลมุห์ซิน อัลซับฏ์ เมาลูด อัม ซะเกาะเฏาะ ในบทที่สามของหนังสือนี้ ด้วยการศึกษาเชิงเปรียบเทียบจากตำราทางประวัติศาสตร์ ได้ผลสรุปว่า การแท้งมุห์ซิน บิน อะลี เกิดขึ้นในวันที่มีการโจมตีบ้านของท่านอะลี และเป็นผลมาจากผลกระทบและการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) (๕๔)
ไม่มีการกล่าวถึงการเผาบ้านในแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์
หนึ่งในคำถามและความคลุมเครือประการหนึ่งเกี่ยวกับการเป็นชะฮีดของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ.) คือ สิ่งที่กล่าวถึงในหนังสือประวัติศาสตร์และฮะดีษหลายเล่มของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ เป็นเพียงภัยคุกคามที่จะเผาบ้านเรือน และไม่ได้ระบุว่า สิ่งนี้เกิดขึ้นจริง [๕๕] อย่างไรก็ตาม บรรดานักวิจัยได้รวบรวมแหล่งข้อมูลต่างๆที่พิสูจน์ถึงเหตุการณ์การโจมตี บ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ เช่น หนังสือ อัลฮุญูม อะละบัยติฟาฏิมะฮ์ (๕๖) และหนังสือ อิห์รอกุบัยติฟาฏิมะฮ์ [๕๗] ในแหล่งข้อมูลเหล่านี้บางส่วน มีการกล่าวถึงอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการทุบตีท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.( และการเข้าไปในบ้านของนางและการทำให้นางแท้งบุตร (๕๘)
บรรดานักเขียนชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์กลุ่มหนึ่งสงสัยในความถูกต้องของคำรายงานทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ (๕๙) แต่ในบางกรณี ข้อสงสัยของนักเขียนเหล่านี้ไม่มีสายรายงาน ตัวอย่างเช่น อัลมุดัยฮิช นักเขียนซุนนี (วะฮ์ฮาบี) ได้เขียนหนังสือฟาฏิมะฮ์ บินติ อันนะบี เพื่อที่จะปฏิเสธเหตุการณ์ของการโจมตีและการแท้ง โดยรายงานจากหนังสือประวัติศาสตร์ยะอ์กูบี โดยอ้างว่า ผู้เขียนนั้นคือ รอฟีเฎาะฮ์ และ หนังสือของเขาไม่มีคุณค่าทางวิชาการแต่อย่างใด [๖๐] และเช่นกัน การรายงานของอิบนุ อับดุรร็อบบิฮ์ ในหนังสืออัลอักด์อัลฟะรีด โดยที่ไม่มีปัญหาทางสายรายงาน เป็นการรายงานของผู้ปฏิเสธ และบอกว่า เขาเป็นชีอะฮ์ และประเด็นนี้ จะต้องมีการตรวจสอบ (๖๑) นอกจากนี้ เขาถือว่า การรายงานของหนังสือ อัลอิมามะฮ์ วัซซิยาซะฮ์ เนื่องจากผู้เขียนไม่ใช่ อิบนุกุตัยบะฮ์ ดีนะวะรี จึงต้องถูกทิ้งไป (๖๒) อัลมุดัยฮิช ยังปฏิเสธคำพูดของอิมามอะลี ที่สัมพันธ์กับนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ (๖๓) อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ไม่ได้ปฏิเสธริวายะฮ์ต่างๆที่เกี่ยวกับภัยคุกคาม หลักการคุมคาม และการรวมตัวกันหน้าบ้านของท่านอะลี (อ.) และท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) (๖๔)
การใช้คำว่าการเสียชีวิตในแหล่งข้อมูลดั้งเดิม
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ต่อต้านการเป็นชะฮีดของท่านฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ.) กล่าวคือ ในแหล่งข้อมูลดั้งเดิมของชาวชีอะฮ์ การใช้คำว่า การเสียชีวิต ใช้สำหรับการเสียชีวิตของท่านหญิง ไม่ใช่คำว่า การเป็นชะฮีด บรรดานักเขียนชีอะฮ์กลุ่มหนึ่งตอบว่า ความหมายของการเสียชีวิตในภาษาอาหรับ เป็นความหมายทั่วไป ที่รวมทั้งการเสียชีวิตตามธรรมชาติและการเสียชีวิต เนื่องจากปัจจัยอื่นๆ เช่น การถูกผู้อื่นวางยาพิษ ตัวอย่างเช่น ในบทความ การเป็นชะฮีดหรือการเสียชีวิตของท่านหญิงซะฮ์รอ (ซ.) มีการกล่าวถึงการใช้คำพูดเหล่านี้บางส่วน ตัวอย่างเช่น บางแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ ได้ใช้การแสดงออกของการเสียชีวิตเพื่ออ้างถึงการเสียชีวิตของอุมัรและอุษมาน ในขณะที่ทั้งสองคนถูกสังหารเสียชีวิต (๖๕) ดังที่เฏาะบัรซีใช้การแสดงออกของการเสียชีวิตเพื่ออ้างถึงการเป็นชะฮีดของอิมามฮุเซน (อ. ) [๖๖]
ความสัมพันธ์ที่ดีของอิมามอะลี (อ.) กับเหล่าเคาะลีฟะฮ์
สาเหตุหนึ่งที่ชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ปฏิเสธการเป็นชะฮีดของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ.) ก็เนื่องมาจากความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างบรรดาเคาะลีฟะฮ์และอิมามอะลี (อ.) และครอบครัวของเขา ในหนังสือที่มีรายละเอียด ชื่อว่า ฟาฏิมะฮ์ บินต์ อันนะบี ผู้เขียนได้พยายามที่จะแสดงให้เห็นว่า เคาะลีฟะฮ์คนแรกและคนที่สองมีความรักอย่างมากมายต่อท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ.) [๖๗] แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ผู้เขียนได้กล่าวในบทสรุปว่าท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) หลังจากเหตุการณ์ฟะดัก ท่านหญิงได้ตัดความสัมพันธ์กับอะบู บักรและไม่ได้ให้คำสัตยาบันกับเขา [๖๘] มุฮัมมัด นาฟิอ์ หนึ่งในนักเขียนชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ได้เขียนหนังสือชื่อ รุฮะมาอ์ บัยนะฮุม และในนั้น เขาพยายามที่จะแสดงให้เห็นว่า เคาะลีฟะฮ์ทั้งสามคนมีความสัมพันธ์ที่ดีกับท่านอะลี (๖๙) นอกจากนี้ ในบทความหนึ่งในนิตยสาร นิดาเยอิสลาม ผู้เขียนได้รายงานหลายกรณีที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเหล่าเคาะลีฟะฮ์กับอิมามอะลี (อ.) และเช่นกัน ความสัมพันธ์ของภรรยาและบุตรสาวของพวกเขากับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) [๗๐] ซัยยิดมุรตะฎอ (เสียชีวิตในปี ๔๓๖ ฮ.ศ.) นักศาสนศาสตร์ชีอะฮ์ กล่าวว่า ข้อเท็จจริงที่ว่าอิมามอะลี (อ.) ได้ให้คำแนะนำแก่เหล่าเคาะลีฟะฮ์ไม่สามารถใช้เป็นความร่วมมือของเขากับพวกเขาได้ เพราะว่า คำแนะนำเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติของพระเจ้าและการปกป้องชาวมุสลิม เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักวิชาการทุกคน (๗๑) นอกจากนี้ ผู้เขียนหนังสือ สารานุกรมความสัมพันธ์ทางการเมืองของท่านอะลี (อ.) กับบรรดาเคาะลีฟะฮ์ หลังจากพิจารณาถึงกรณีการปรึกษาหารือของอิมามอะลี (อ.) จำนวน ๑๐๗ กรณีกับเคาะลีฟะฮ์ทั้งสามคน ได้ข้อสรุปว่าการปรึกษาหารือระหว่างเหล่าเคาะลีฟะฮ์กับอิมามอะลี (อ.) นั้นไม่ได้เป็นสัญญาณของความเห็นอกเห็นใจและการยอมรับพวกเขา เพราะว่า การปรึกษาหารือเหล่านี้ส่วนใหญ่กระทำในสภาพการปรึกษาหารือทางสาธารณะ ไม่ใช่เพราะว่าบรรดาเคาะลีฟะฮ์ได้แต่งตั้งท่านอะลี (อ.) เป็นรัฐมนตรีและที่ปรึกษาของพวกเขา แต่ทว่า เนื่องจากท่านอะลีประกอบอาชีพเกษตรกรรมและขุดบ่อน้ำ โดยแยกตัวออกจากทางการเมือง นอกจากนี้ หากในบางกรณี บรรดาเคาะลีฟะฮ์ได้ปรึกษาหารือกับอะลี (อ.) ก็ถือว่า เป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องการแก้ไขปมปัญหาต่างๆ [๗๒] การแต่งงานของท่านหญิงอุมมุน กุลษูม บุตรสาวของอิมามอะลีกับเคาะลีฟะฮ์คนที่สองเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ใช้พิสูจน์ในมิตรภาพและความรักของอุมัรที่มีต่ออะฮ์ลุลบัยต์ ซึ่งขัดแย้งกับการมีส่วนร่วมของเขาในการเป็นชะฮีดของท่านฟาฏิมะฮ์ (ซ.)[๗๓] ผู้เขียนบางคนปฏิเสธการเกิดขึ้นของการแต่งงานครั้งนี้ [๗๔] ซัยยิดมุรตะฎอ ถือว่า เป็นการบังคับและการพูดจาข่มขู่ [๗๕] ซึ่งในกรณีนี้ ไม่สามารถที่บ่งบอกถึงการมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างบุคคลทั้งสองคนได้ [๗๖] มีริวายะฮ์จากอิมามศอดิก (อ.)ได้ยืนยันถึงการบีบบังคับด้วยเช่นกัน ในการแต่งงานด้วยการใช้คำว่า การแย่งชิง [๗๗] [หมายเหตุที่ ๒]
การตั้งชื่อบุตรของอะฮ์ลุลบัยต์ด้วยชื่อบรรดาเคาะลีฟะฮ์
ชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์กลุ่มหนึ่งได้เน้นย้ำว่า เนื่องจากอิมามอะลี (อ.) ตั้งชื่อบุตรทั้งหลาย ของเขาด้วยชื่อของบรรดาเคาะลีฟะฮ์ ดังนั้น เขาจึงมีความรักต่อเคาะลีฟะฮ์ต่างๆ [๗๘] และนี่ถือว่าไม่สอดคล้องกับคำกล่าวประเด็นการเป็นชะฮีดของท่านหญิงซะฮ์รอ (ซ.) ประเด็นนี้มีการกล่าวถึงในหนังสือเล่มเล็กชื่อ อัสอะละฮ์ กอดัต ชะบาบ อัชชีอะฮ์ อิลัลฮัก (คำถามที่ชี้แนะเยาวชนชีอะฮ์ไปสู่ความจริง)[๗๙]
ซัยยิดชะฮ์ริสตานี (ถือกำเนิดในปี 1337 สุริยคติอิหร่าน) เขียนในหนังสือชื่อ อัตตัสมียาต บัยนุต ตะซามุฮ์อัลอะละวี วัตเตาซีฟอัลอุมะวี นำเสนอถึงการวิเคราะห์โดยละเอียดเกี่ยวกับการตั้งชื่อต่างๆ ในช่วงเริ่มต้นของอิสลาม จนกระทั่งหลายศตวรรษต่อมา และในขณะที่ระบุถึงประเด็นหลัก 29 ประการ สรุปว่า ชื่อประเภทนี้ไม่สามารถบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้คนได้ เนื่องจากการไม่ตั้งชื่อเหล่า ไม่สามารถเป็นสัญญาณของความเป็นปฏิปักษ์ได้ [๘๐] เพราะว่า ชื่อเหล่านี้เป็นเรื่องปกติก่อนและหลังการเป็นเคาะลีฟะฮ์ (๘๑) โดยหลักการแล้ว มีริวายะฮ์จากเคาะลีฟะฮ์คนที่สอง รายงานว่า อิมามอะลีถือว่า เขาเป็นคนโกหกและคนทรยศ (๘๒) หรืออะบูบักร มิใช่ชื่อของบุคคลพิเศษ แต่เป็นฉายานาม และไม่มีผู้ใดเลือกฉายานาม เป็นชื่อสำหรับบุตรหลานของตน (๘๓) อิบนุ ตัยมียะฮ์ ฮัรรอนี (เสียชีวิตในปี ๗๒๘ ฮ.ศ.) นักวิชาการชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ผู้มีชื่อเสียง เขาเชื่อเช่นกันว่า การตั้งชื่อใครสักคนด้วยชื่อของเขา ไม่ใช่เป็นข้อพิสูจน์ถึงความรักที่มีต่อเขา ดังที่ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และเศาะฮาบะฮ์ของเขาใช้ชื่อของพวกปฏิเสธ [๘๔] ซัยยิดอะลี ชะฮ์ริสตานี เขียนว่า มีสองบทความที่เกี่ยวกับการตั้งชื่อบุตรของบรรดาอิมาม (อ.) ด้วยชื่อของเคาะลีฟะฮ์ทั้งหลาย ฉบับหนึ่งเขียนโดยวาฮีด เบฮ์บะฮานี (เสียชีวิตในปี ๑๒๐๕ ฮ.ศ.) ) และอีกฉบับหนึ่งเขียนโดย ตันกาบุนี (เสียชีวิตในปี ๑๓๐๒ ฮ.ศ.) ผู้เขียนหนังสือ กิเศาะศ็อลอุลามาอ์ (๘๕)
หนังสือที่เกี่ยวกับประเด็นชะฮาดัตท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.)
มีการประพันธ์หนังสือต่างๆที่เกี่ยวกับชะฮาดัต (การเป็นชะฮีด) ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ซึ่งมีบางส่วนดังนี้ บัยตุลอะฮ์ซาน ฟีย์ มะศออิบ ซัยยิดะตุลนิซวาน (เขียนในปี ๑๓๓๐) โดย เชคอับบาส กุมมีย์ เป็นภาษาอาหรับ ซึ่งส่วนหนึ่งของหนังสือเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องชีวิตของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) หลังจากการวายชนม์ของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และการเป็นชะฮาดัตของท่านหญิง (๘๖) หนังสือนี้ยังไม่มีการแปลเป็นภาษาฟาร์ซี โดยใช้ชื่อว่า รันญ์ฮา วะฟัรยาดฮาเยฟาฏิเมะฮ์ (ซ.)
มะอ์ซาตุซซะฮ์รอ ชุบฮาต วะรุดุด ผลงานของซัยยิดญะอ์ฟัร มุรตะฎอ อามิลี (เสียชีวิต ๑๔๔๑ ฮ.ศ.) เป็นภาษาอาหรับ ผู้เขียนพยายามตอบคำถามที่เกี่ยวกับข้อสงสัยในเหตุการณ์ล่าสุดของชีวิตของท่านหญิงซะฮ์รอ (ซ.) และความคลุมเครือต่างๆ หนังสือนี้ยังได้รับการแปลเป็นภาษาฟาร์ซี โดยใช้ชื่อว่า รันญ์ฮาเย ฮัซรัต ซะฮ์รอ (ซ.) หนังสือ อัลฮุญูม เขียนโดย อับดุซซะฮ์รอ มะฮ์ดี ผู้เขียรในศตวรรษที่ ๑๕ มีการรวบรวม ๒๖๐ ริวายะฮ์และการรายงานทางประวัติศาสตร์ ที่มีมากกว่า ๑๕๐ ผู้รายงาน และนักเขียนเป็นชาวชีอะฮ์ ซึ่งแต่ละส่วนของหนังสือ จะกล่างถึงเหตุผลของการเป็นชะฮีดของท่านหญิงซะฮ์รอ (๘๗)
นอกจากนี้ บรรดานักเขียนชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ได้ประพันธ์หนังสือต่างๆที่เกี่ยวกับเป้าหมายที่ดีระหว่างความสัมพันธ์ของเหล่าเคาะลีฟะฮ์กับอะฮ์ลิสซุนนะฮ์และการปฏิเสธการเป็นชะฮีดของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ดังนี้ ฟาฏิมะตุซซะฮ์รอ บินติ เราะซูลิลลาฮ์ วะอุมมุลฮะซะนัยน์ เขียนโดย อับดุซซัตตาร อัชชัยค์ หนังสือนี้ เป็นหนึ่งในหนังสือชุดที่เกี่ยวกับการรู้จักบุคคลสำคัญชาวมุสลิม โดยเกี่ยวกับชีวประวัติของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ.) ผู้เขียนไม่ได้กล่าวถึงเหตุการณ์วันสัตยาบันและการเผาบ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ในหนังสือเล่มนี้ มีเพียงประเด็นเกี่ยวกับมรดกของศาสนทูต หมายถึง การขัดแย้งในเหตุการณ์ฟะดัก และบทสรุปของผู้เขียน คือ ไม่มีข้อขัดแย้งกันระหว่างท่านหญิงฟาฏิมะฮ์กับอะบูบักรเกี่ยวกับฟะดัก (๘๘) และแม้แต่เหตุผลที่ว่า ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ไม่พอใจต่อเคาะลีฟะฮ์คนแรกและเคาะลีฟะฮ์คนที่สอง ก็ไม่มีอยู่จริง และประเด็นที่ว่า ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ไม่ได้พูดคุยกับบุคคลทั้งสอง ถือเป็นการกุขึ้นมาของผู้รายงาน (๘๙) ด้วยข้ออ้างของผู้เขียน ระบุว่า เหตุการณ์นี้ถูกสร้างขึ้นมาและเป็นการสร้างโดยบรรดานักวิชาการชีอะฮ์ (๙๐)
บัยนุซซะฮ์รอ วัศศิดดีก ฮะกีเกาะฮ์ วะ ตะห์กีก เขียนโดย บัดรุลอุมรอนี จัดพิมพ์ในปี ๒๐๑๔ ค.ศ. และในประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างเคาะลีฟะฮ์คนแรกกับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (๙๑)
ดิฟาอัน อะนิลอาล วัลอัศฮาบ หนังสือเล่มไม่มีการระบุชื่อผู้เขียน และมากกว่า หนึ่งพันหน้า จัดพิมพ์โดย ญัมอียะตุลอาล วัลอัศฮาบ ในปี ๑๔๓๑ ณ ประเทศบะห์เรน (๙๒) หัวข้อของหนังสือเป็นคำตอบที่เกี่ยวกับข้อเสนอแนะและข้อสงสัยเกี่ยวกับความเชื่อของชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ และส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้เฉพาะกับเหตุการณ์การเป็นชะฮีดของท่านหญิงซะฮ์รอ (๙๓)