ชะฟาอะฮ์
ชะฟาอะฮ์ (ภาษาอาหรับ : الشفاعة ) เป็นหนึ่งในความเชื่อทั่วไปของบรรดามุสลิม ซึ่งหมายถึง การแสวงหาสื่อกลางต่อพระเจ้า เพื่อที่จะให้การอภัยแก่ผู้อื่น แน่นอนว่า บรรดานักวิชาการมุสลิมมีความเห็นที่แตกต่างกันในความหมายของคำว่า ชะฟาอะฮ์ และขอบเขตของมัน บรรดาอิมามียะฮ์ มุรญิอะฮ์ และอัชอะรีย์ เชื่อว่า การชะฟาอะฮ์นั้น รวมถึงผู้กระทำบาปใหญ่ด้วย แน่นอนว่า ตามทัศนะของบรรดาอิมามียะฮ์ เฉพาะกับบรรดาบุคคลที่พระผู้เป็นเจ้าทรงพึงพอพระทัยในศาสนาของพวกเขาเท่านั้นที่จะได้รับการชะฟาอะฮ์ ในทางตรงกันข้าม กลุ่มต่างๆ เช่น มุอ์ตะซิละฮ์ และ ซัยดียะฮ์ ต่างเชื่อว่า การชะฟาอะฮ์ หมายถึง ผลรางวัลที่มากมายและการได้รับผลประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน และยังเฉพาะกับบรรดาผู้ที่กลับใจและผู้เชื่อฟังเท่านั้น
นักวิชาการมุสลิมทั้งหลาย มีความเห็นตรงกันว่า ศาสดามุฮํัมมัด (ศ็อลฯ) เป็นหนึ่งในผู้ให้การชะฟาอะฮ์ บรรดาอิมามียะฮ์ ถือว่า บรรดาอิมาม ผู้บริสุทธิ์ รวมเป็นผู้ให้การชะฟาอะฮ์ อีกด้วย บรรดานักวิชาการมุสลิมนอกจากนี้ ยังได้ยกหลักฐานจากริวายะฮ์ต่างๆในแหล่งข้อมูลของชีอะฮ์และอะฮ์ลุซซุนนะฮ์ รายงานว่า บรรดาศาสดา นักวิชาการศาสนา ปวงชะฮีด มวลผู้ศรัทธา และผู้ที่ท่องจำอัลกุรอาน เป็นผู้ให้การชะฟาอะฮ์ พวกวะฮ์ฮาบี บางคนถือว่า การให้ชะฟาอะฮ์ของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ ) เฉพาะในช่วงการมีชีิวิตอยู่ของเขาเพียงเท่านั้น ทัศนะนี้ได้ถูกต่อต้านโดยลบรรดานักวิชาการมุสลิมคนอิื่นๆ
บรรดานักวิชาการมุสลิม มีความเห็นตรงกันว่า การชะฟาอะฮ์ของผู้ให้ชะฟาอะฮ์ ไม่รวมถึง ผู้ปฏิเสธและมุชริก นอกจากนี้ มีบางริวายะฮ์ของบรรดาอิมามของชีอะฮ์ กล่าวกันว่า ผู้ทีไม่ให้ความสำคัญในนมาซ ผู้ที่พูดเกินจริงในเรื่องราวทางศาสนา และกษัตริย์ผู้กดขี่ จะถูกกีดกันจากชะฟาอะฮ์ของบรรดาผู้ให้ชะฟาอะฮ์
คำว่า ชะฟาอะฮ์ ถูกในอัลกุรอาน ประมาณ 30 ครั้ง บางโองการ กล่าวว่า ชะฟาอะฮ์เฉพาะสำหรับพระเจ้าเท่านั้น และจากโองการอื่นๆ พระองค์ยังประทานชะฟาอะฮ์ให้แก่ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และบุคคลอื่นๆ ด้วย ผลงานต่างๆ ได้รับการประพันธ์ภายใต้หัวข้อ ชะฟาอะฮ์ หนังสือ "อัชชะฟาอะฮ์ ฟิลกิตาบ วัซซุนนะฮ์ เขียนโดย ญะอ์ฟัร ซุบฮานี และหนังสือ อัชชะฟาอะฮ์ เขียนโดย ซัยยิดกะมาล ฮัยดะรี ล้วนเป็ยผลงานเหล่านี้ เช่นกัน
ความเชื่อทั่วไปของบรรดามุสลิม
บรรดามุสลิมทุกคนต่างๆเห็นด้วยกับการพิสูจน์หลักชะฟาอะฮ์ [1] อัลลามะฮ์ มัจญ์ลิซี ใน หนังสือ ฮักกุลยะกีน เขียนว่า ความเชื่อในหลักการนี้ เป็นหนึ่งในความเชื่อที่จำเป็นของศาสนา (2) อิบนุ ตัยมียะฮ์ เชื่อว่า หลักชะฟาอะฮ์เป็นความเชื่อที่ได้รับการยอมรับจากบรรดามุสลิมทุกคนและเขามีความเห็นว่า มีริวายะฮ์ต่างๆที่กล่าวถึงเรื่องนี้ เป็นมุตะวาติร และมีรายงานในหนังศอฮิห์และฮะดีษที่น่าเชื่อถือ (3) มีริวายะฮ์จากเชคศอดูก รายงานจากอิมามศอดิก (อ.) กล่าวว่า หากผู้ใดปฏิเสธชะฟาอะฮ์ ถือว่าเขานั้นไม่เป็นชีอะฮ์ [4]
แน่นอนว่า มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในความหมายและผลกระทบของชะฟาอะฮ์ระหว่างสำนักคิดและบรรดานักวิชาการมุสลิม [5] ในทัศนะของอิมามียะฮ์ อัชอารี และมุรญิอะฮ์ กล่าวคือ ชะฟาอะฮ์ หมายถึง การขจัดภัยอันตรายและการลงโทษและการของผู้กระทำความผิดบาป (6) บางคน เช่น มุตะซิละฮ์ ให้ความหมายของคำว่า ชะฟาอะฮ์ หมายถึง ผลรางวัลเป็นจำนวนมากและการได้รับผลประโยชน์สำหรับผู้ที่เชื่อฟังและผู้ที่กลับใจ (7)
กล่าวกันว่า คำว่า ชะฟาอะฮ์ ด้วยคำที่มีรากศัพท์เดียวกัน ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอาน ประมาณ 30 ครั้ง[8] นอกจากนี้ ในแหล่งข้อมูลของชีอะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนะฮ์[10] ยังมีริวายะฮ์ต่างๆที่รายงานจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และ บรรดาอิมามชีอะฮ์ ในประเด็น ชะฟาอะฮ์ นอกจากนี้ ประเด็นนี้ ยังมีการถกเถียงของบรรดานักเทววิทยาและนักตัฟซีรชาวมุสลิม[11] อีกทั้ง ความศรัทธาต่อชะฟาอะฮ์ ยังพบเห็นว่า มีอยู่ในศาสนายิวและศาสนาคริสต์อีกด้วย
คำนิยาม
ชะฟาอะฮ์ หมายถึง การพยายามในการขจัดการลงโทษและการบทลงโทษจากผู้หนึ่งผู้ใดที่สมควรได้รับการลงโทษและบทลงโทษ[13] หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การแสวงหาสื่อกลาง และการไกล่เกลี่ยประเภทหนึ่ง ในการอภัยโทษและอภัยความผิดบาป[14]
ความแตกต่างระหว่างความหมายทางศาสนาและทางสังคมของชะฟาอะฮ์
นาศิร มะการิม ชีรอซี นักตัฟซีรชีอะฮ์ ได้แยกแยะความแตกต่างระหว่างความหมายทางศาสนาของชะฟาอะฮ์กับความหมายทางสังคมของมัน และมีความเห็นว่า ตามความหมายทางสังคม ผู้ให้ชะฟาอะฮ์จะใช้ สถานภาพ บุคลิกภาพ และการมีอิทธิพลของตน อีกทั้ง เปลี่ยนแปลงความคิดเห็นของผู้มีอำนาจเกี่ยวกับการลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชา โดยปราศจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตวิญญาณของผู้ได้รับชะฟาอะฮ์ แต่ทว่า ชะฟาอะฮ์ที่กล่าวถึงในอัลกุรอานและริวายะฮ์ต่างๆนั้น หมุนรอบแกนของการเปลี่ยนแปลงของบุคคลที่ได้รับชะฟาอะฮ์ นั่นคือ ในบุคคลที่ได้รับชะฟาอะฮ์นั้นมีสาเหตุที่มาจากสถานการณ์ที่ไม่เอื้ออำนวยและสมควรถูกลงโทษ และโดยการสื่อสารกับผู้ให้ชะฟาอะฮ์ เขาทำให้ตัวเองตกอยู่ในสถานการณ์ที่น่าพึงพอใจ ซึ่งสมควรได้รับการให้อภัย (15)
ชะฟาอะฮ์ หมายถึง การชี้นำและการเป็นผู้นำ
บางคน ถือว่า ชะฟาอะฮ์ หมายถึง การชี้นำและการเป็นผู้นำ และเชื่อว่า ลักษณะของชะฟาอะฮ์ของผู้ให้ชะฟาอะฮ์ในโลกนี้ คือ การชี้นำของพวกเขา ดังนั้น ผู้ที่ไม่ได้รับประโยชน์จากการชี้นำทางในโลกนี้ จะไม่ได้รับประโยชน์จากชะฟาอะฮ์ในโลกหน้า [16] บรรดานักวิชาการ เช่น มุรตะฎอ มุเฏาะฮะรี และญะอ์ฟัร ซุบฮานี ถือว่า ชะฟาอะฮ์ของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และบรรดาศาสดาคนอื่นๆ ที่มีต่อประชาชาติของพวกเขา ชะฟาอะฮ์ของอัลกุรอาน และแม้แต่ ชะฟาอะฮ์ของบรรดานักวิชาการ ล้วนเป็นผู้ที่ได้รับการอบรมสั่งสอนและการชี้นำจากพวกเขาทั้งสิ้น ถือเป็นประเภทเดียวกันอีกด้วย [17]
ความสัมพันธ์ระหว่างชะฟาอะฮ์ กับตะวัซซุลและการให้อภัย
ญะอ์ฟัร ซุบฮานี กล่าวว่า ตะวัซซุลมีหลายประเภท หนึ่งในนั้นคือการร้องขอชะฟาอะฮ์จากบุคคลที่พระเจ้าทรงอนุญาตให้ชะฟาอะฮ์ ด้วยเหตุนี้เอง ตะวัซซุล คือ การได้รับชะฟาอะฮ์ ถือเป็นการกระทำของผู้ที่มีความต้องการ ซึ่งบุคคลนี้ เขามีสถานะที่สูงส่ง ณ พระองค์ ส่วนชะฟาอะฮ์ หมายถึง การได้รับการอภัยโทษ ถือเป็นการกระทำของบุคคลมีความต้องการจากพระเจ้า (18) ในบทดุอาอ์ตะวัซซุล ซึ่งถือเป็นดุอาอ์ที่เป็นที่รู้จัก มีสองคำ ชะฟาอะฮ์ และตะวัซซุล ถูกรวมกัน และอยู่เคียงข้างการตะวัซซุลไปบยังมะอ์ศูมทั้งสิบสี่ท่าน และทำการขอชะฟาอะฮ์แต่ละบุคคล อีกด้วย[19]
มุรตะฎอ มุเฏาะฮารี กล่าวว่า ชะฟาอะฮ์ คือ การได้รับอภัยโทษจากพระเจ้า ขณะที่พระองค์ทรงเป็นแหล่งที่มาของความดีและความเมตตา เรียกว่า การให้อภัยโทษ และเมื่อใดก็ตามที่ให้ความสัมพันธ์กับความเมตตา เรียกมันว่า ชะฟาอะฮ์ (20]
บรรดาผู้ให้ชะฟาอะฮ์
นักวิชาการมุสลิมทั้งหลายมีทัศนะเป็นเอกฉันท์ว่า ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เป็นหนึ่งในผู้ให้ชะฟาอะฮ์ (21) จากทัศนะของพวกเขา ความหมายของมะกอม มะห์มูด ในโองการ
وَمِنَ اللَّیْلِ فَتَهَجَّدْ بِهِ نَافِلَةً لَکَ عَسَیٰ أَنْ یَبْعَثَکَ رَبُّکَ مَقَامًا مَحْمُودً (22) หมายถึง มะกอมชะฟาอะฮ์ ซึ่งอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงสัญญากับศาสดา (23) เชคมุฟีด เขียนในหนังสือ อะวาอิลุลมะกอลาต ว่า บรรดาอิมามียะฮ์ มีทัศนะเป็นเอกฉันท์ว่า นอกจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) อิมามอะลี และบรรดาอิมาม ผู้บริสุทธิ์ (อ.) จะให้ชะฟาอะฮ์กับบรรดาชีอะฮ์ของพวกเขา (24) พวกเขาได้ยกหลักฐานจากริวายะฮ์ รายงานว่า อิมามอะลี (อ.) และบรรดาอิมามของชีอะฮ์ (อ.) เป็นผู้ให้ชะฟาอะฮ์ (25)
เนื่องจากโองการ
(26)لا یَمْلِکُونَ الشَّفاعَةَ إِلاَّ مَنِ اتَّخَذَ عِنْدَ الرَّحْمنِ عَهْداً ผู้ที่สามารถให้ชะฟาอะฮ์ ณ พระเจ้า คือ ผู้ที่ให้สัญญากับพระองค์ (27) บรรดานักตัฟซีรมีความเห็นที่แตกต่างกันในความหมายของคำว่า สัญญา (28) นักตัฟซีร เช่น เฏาะบัรซี ซัยยิด มุฮัมมัดฮุเซน เฏาะบาเฏาะบาอี มีความเห็นว่า ความหมายของสัญญา หมายถึง ความศรัทธาต่อพระเจ้า และการยอมรับบรรดาศาสดา (29) และบางคน หมายถึง การกระทำคุณงามความดี (30) และบางคน หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพ และอิสลาม (31) ขณะที่กลุ่มหนึ่งจากบรรดานักตัฟซีรชีอะฮ์ ได้ยกหลักฐานพิสูจน์ว่า มีบางริวายะฮ์ ให้ความหมายของสัญญา หมายถึง ตำแหน่งวิลายะฮ์ของอิมามอะลี (อ.) และบรรดาอิมาม ผู้บริสุทธิ์ (อ.) หลังจากเขา (32)
บางคนถือว่า มะลาอิกะฮ์เป็นผู้วิงวอน โดยอ้างถึงโองการที่ 26 ของซูเราะฮ์อันนัจญ์ม (34) ม่ีริวายะฮ์จากอิมามอะลี (อ.) รายงานในนะฮ์ญุลบะเฆาะฮ์ กล่าวว่า อัลกุรอานเป็นหนึ่งในผู้ให้ชะฟาอะฮ์ (35) บางริวายะฮ์ในแหล่งข้อมูลของชีอะฮ์ และอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ รายงานว่า บรรดาศาสดา บรรดานักวิชาการทางศาสนา บรรดาชะฮีด (ผู้พลีชีพ) บรรดาผู้ศรัทธา และบรรดาผู้ท่องจำอัลกุรอาน [38] ได้รับการแนะนำว่า เป็นผู้ให้ชะฟาอะฮ์ นอกเหนือจากนี้ จากพื้นฐานของบางริวายะฮ์ ที่อ้างถึงในแหล่งข้อมูลของชีอะฮ์ เพื่อนบ้านสามารถจะเป็นผู้ให้ชะฟาอะฮ์กับเพื่อนบ้านของเขาได้ และญาติสนิทก็สามารถจะเป็นผู้ให้ชะฟาอะฮ์กับเหล่าญาติของเขาได้[39] ในริวาะยะฮ์ต่างๆรายงานว่า การกลับเนื้อกลับตัว ยังถูกแนะนำว่า เป็นหนึ่งในผู้ให้ชะฟาอะฮ์ (40)
บรรดาผู้ได้รับชะฟาอะฮ์
ในกรณีที่ว่า ผู้ใดจะเป็นผู้มที่ได้รับชะฟาอะฮ์ มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในหมู่นักวิชาการมุสลิม(41) บรรดาอิมามียะฮ์ อ้างโองการที่ 28 ซูเราะฮ์อันอัมบิยาอ์ (42) และริวายะฮ์จากบรรดาอิมาม ผูบริสุทธิ์ (อ.) (43) โดยเชื่อว่า ชะฟาอะฮ์ เฉพาะกับบุคคลที่พระเจ้าทรงพึงพอพระทัยในศาสนาของเขา ไม่ว่าเขาจะเป็นผู้ที่กระทำบาปใหญ่หนือบาปเล็กก็ตาม [44] พวกเขายังถือว่า บรรดาผู้ที่กลับเนื้อกลับตัว(45) จะไม่ต้องการชะฟาอะฮ์แต่อย่างใด เนื่องจากมีบางริวายะฮ์จากบรรดาอิมาม ผู้บริสุทธิิ์ [46] อัชอะรีและมุรญิอะฮ์ ก็มีเชื่อเหมือนบรรดาอิมามียะฮ์ว่า ผู้ที่กระทำบาปใหญ่จากประชาชาติของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) จะได้รับชะฟาอะฮ์ [47] ในทางตรงกันข้าม มุอ์ตะซิละฮ์ เคาะวาริจญ์และซัยดียะฮ์มีความเห็นว่า ชะฟาอะฮ์ครอบคลุมเฉพาะสภาพของผู้ศรัทธาที่กลับใจจากบาปของพวกเขาเท่านั้น [48] และโดยการยึดมั่นในโองการจากอัลกุรอาน เช่น โองการที่ 48 ของ อัลบะเกาะเราะฮ์ และโองการที่ 18 ของ ซูเราะฮ์ฆอฟิิร ไม่ถือว่า ผู้ที่กระทำบาปใหญ่แล้วไม่ยอมกลับใจ เขาจะไม่ได้รับชะฟาอะฮ์จากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) [49]
บรรดาอิมามียะฮ์และนิกายอื่นของมุสลิม เห็นด้วยกับโองการต่างๆ เช่น โองการที่ 18 ของซูเราะฮ์ฆอฟิร [50] และริวายะฮ์จากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) [51] และบรรดาอิมามของชีอะฮ์ (อ.) [52] กล่าวว่า เหล่าพวกตั้งภาคี (มุชริก) และเหล่าผู้ปฏิเสธ จะไม่ได้รับชะฟาอะฮ์ แต่อย่างใด [53]มีริวายะฮ์รายงานจากอิมามศอดิก (อ.) รายงานจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กล่าวว่า ผู้ที่ไม่ให้ความสำคัญกับนมาซ เขาจะถูกต้องห้ามจากการได้รับชะฟาอะฮ์ [54] นอกเหนือจากนี้ บนพื้นฐานของริวายะฮ์ต่างๆของชีอะฮ์ พวกนาศิบีย์ กษัตริย์ผู้ฉ้อฉลและพวกฆุลาตในศาสนา จะไม่ได้รับชะฟาอะฮ์ด้วยเช่นกัน (55)
ชะฟาอะฮ์ ด้วยการได้รับอนุมัติจากพระเจ้า
บรรดานักวิชาการมุสลิม มีความเห็นตรงกันว่า ชะฟาอะฮ์ของบรรดาผู้ให้การชะฟาอะฮ์ และเช่นเดียวกันนี้ การยอมรับชะฟะอะฮ์สำหรับผู้ได้รับชะฟาอะฮ์ ทั้งหมดเหล่านี้ จะต้องได้รับอนุมัติจากพระเจ้า พวกเขาได้ยึดโองการต่างๆเหล่านี้ เช่น โองการที่ 255 ซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ [56] โองการที่ 3 ซูเราะฮ์ยูนุซ[57] โองการที่ 109 ซูเราะฮ์ฏอฮา [58] โองการที่ 26 ซูเราะฮ์อันนัมล์ [59] ซึ่งระบุไว้ว่า การเกิดชะฟาอะฮ์ จะต้องได้รับการอนุมัติจากพระองค์
บางคนอ้างถึงโองการ เช่น ( 60)(قُلْ لِلَّهِ الشَّفَاعَةُ جَمِیعًا จงกล่าวว่า การชะฟาอะฮ์ เป็นสิทธิ์แด่อัลลอฮ์อย่างสิ้นเชิง(61) และโองการ مَا لَکُمْ مِنْ دُونِهِ مِنْ وَلِیٍّ وَلَا شَفِیعٍ สำหรับพวกเจ้า ไม่มีผู้คุ้มครองหรือผู้ให้ชะฟาอะฮ์ใด นอกจากพระองค์ [62] การให้ชะฟาอะฮ์เฉพาะพระเจ้าเพียงเท่านั้น (63) ในคำตอบของพวกเขา กล่าวได้ว่า การชะฟาอะฮ์สำหรับพระองค์เพียงเท่านั้น แต่บรรดานักตัฟซีรมีทัศนะที่ตรงกันว่า ตามโองการที่ 79 ของซูเราะฮ์อัลอิสรออ์ และริวายะฮ์ต่างๆที่อธิบายมัน [64] พระผู้เป็นเจ้าทรงเรียกนี้ สถานภาพนี้ จากโองการว่า เป็นมะกอม มะห์มูด ซึ่งถูกประทานแก่ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) [65] เช่นกัน บางคนยังได้อ้างถึงโองการต่างๆ ที่กล่าวถึงการเกิดขึ้นและการยอมรับการชะฟาอะฮ์โดยได้รับอนุมัติจากพระเจ้า และพวกเขากล่าวว่า เป็นเรื่องจริงที่การชะฟาอะฮ์สำหรับพระองค์ แต่เนื่องจากโองการเหล่านี้ พระเจ้าจึงทรงอนุญาตให้ปวงบ่าวที่ใกล้ชิดของพระองค์บางคน [66]
การต่อต้านของลัทธิวะฮาบีในการแสวงหาการชะฟาอะฮ์จากคนตาย
อิบนุ ตัยมียะฮ์ และผู้ปฏิบัติตามเขา วะฮ์ฮาบีบางคน ถือว่า การแสวงหาการชะฟาอะฮ์ จากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และผู้ให้การชะฟาอะฮ์คนอื่น ๆ หลังจากการตาย หรือเมื่อพวกเขาไม่อยู่ และโดยทั่วไปแล้ว การแสวงหาการชะฟาอะฮ์จากผู้อื่นที่ไม่ใช่พระเจ้า ถือเป็นบิดอะฮ์ (อุบัติกรรม)และการเป็นการกระทำในการตั้งภาคี (67) อิบนุ ตัยมียะฮ์ กล่าวว่าภายหลังการเสียชีวิตของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ไม่มีเศาะฮาบะฮ์คนใดร้องขอการชะฟาอะฮ์จากเขา และไม่มีนักนิติศาสตร์ทั้งสี่มัซฮับ ออกคำฟัตวาเกี่ยวกับมุสตะฮับหรือวาญิบของการกระทำดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ การกระทำนี้ จึงเป็นการกระทำที่ไม่มีเหตุผลและขัดแย้งต่อแนวทางของศาสดา เศาะฮาบะฮ์และบรรดานักนิติศาสตร์ [68] อับดุลอะซีซ บินบาซ (มุฟตีย์วะฮ์ฮาบีชาวซาอุดีอาระเบีย) กล่าวคำตอบคำถามต่อคำฟัตวาใหม่ว่า การชะฟาอะฮ์ เป็นกรรมสิทธิ์ของพระเจ้า ศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) และบรรดาผู้ให้การชะฟาอะฮ์ ไม่สามารถที่จะมีสิทธิ์นี้ได้ หลังจากที่พวกเขาเสียชีวิต ดังนั้น การแสวงหาการชะฟาอะฮ์จากผู้ที่เสียชีวิต และไม่สามารถที่จะกระทำการงานใดก็ตาม ถือเป็นการทำชิริก (ตั้งภาคี) และไม่ได้รับอนญาต [69] ซัยยิด อะลี มีลานี นักเทววิทยาชีอะฮ์ อ้างถึงรายงานจากแหล่งข้อมูลของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ และกล่าวว่า บรรดาเศาะฮาบะฮ์ได้ขอการชะฟาอะฮ์จากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ในบางสถานการณ์ หลังจากการเสียชีวิตของเขา (70) บนพื้นฐานของริวายะฮ์ ในยุคสมัยการปกครองขของอุมัร บินค็อฏฏ็อบ ได้เกิดวิกฤติแห้งแล้ง และบิลาล บิน ฮาริษ หนึ่งในเศาะฮาบะฮ์ของศาสดาได้ไปเยี่ยมหลุมศพของเขาและขอตะวัซซุลต่อเขาเพื่อขอฝนจากพระเจ้าโดยทำให้ประชาชาติจะได้รอดพ้นจากความอดอยากแห้งแล้ง (71)
ญะอ์ฟัร ซุบฮานี เขียนในหนังสือลัทธิวะฮ์ฮาบี ความว่า การร้องขอชะฟาอะฮ์จากผู้ให้ชะฟาอะฮ์ที่ล่วงลับไปแล้วนั้น ไม่ได้มาจากซากศพที่อยู่ในหลุมฝังศพ แต่ทว่า มาจากจิตวิญญาณที่บริสุทธิ์และมีชีวิตอยู่ในโลกแห่งบัรซัค พร้อมทั้งร่างกายของบัรซัคและตามการเปิดเผยของอัลกุรอาน ยังมีชีวิตอยู่ [72]
การปฏิเสธชะฟาอะฮ์และคำตอบของมัน
นักวิชาการกลุ่มหนึ่งได้ปฏิเสธความชอบธรรมของชะฟาอะฮ์และมีการนำเหตุผลต่างๆมายืนยัน โดยบางส่วน มีรายละเอียดดังนี้ :
คำสอนเรื่องชะฟาอะฮ์ขัดแย้งต่อหลักความยุติธรรมและสอดคล้องกับระบบการกดขี่และความโง่เขลา และบนพื้นฐานนี้ ความเชื่อเช่นนี้ ถือเป็นการดูหมิ่นต่อพระเจ้า (73)แน่นอนว่า อยาตุลลอฮ์ มะการิม ชีรอซี กล่าวว่า การลงโทษผู้กระทำบาป คือ ความยุติธรรม และการยอมรับชะฟาอะฮ์ เป็นอีกประเภทหนึ่งของความการุณย์และความดี ซึ่งความดีเกิดจากฝ่ายหนึ่งที่มีการปูพื้นฐานที่เหมาะสมของบุคคลที่ได้รับการชะฟาอะฮ์ และอีกด้านหนึ่ง เนื่องจากการมีเกียรติ ศักดิ์ศรี ความเคารพ และการกระทำคุณงามความของผู้ให้ชะฟาอะฮ์ [74]
การให้คำสัญญาว่า จะชะฟาอะฮ์กับประชาชน โดยทำให้เขาออกห่างจากการกระทำความผิดบาป และละเมิดข้อห้ามของพระเจ้า [75] มีการกล่าวกันว่า ปัญหานี้มีอยู่ในโองการที่พระเจ้าทรงประทานลงมาเกี่ยวกับการอภัยบาปด้วยเช่นกัน ในขณะที่ไม่มีผู้ใดสงสัยว่า โองการอภัยโทษ จะไม่ทำให้ผู้คนละเลยต่อการละเมิดข้อห้ามของพระเจ้า [76] นอกเหนือจากนี้ โองการชะฟาอะฮ์ ยังอยู่ภายใต้เงื่อนไขความประสงค์ของพระองค์ และไม่มีผู้ใดสามารถที่จะเชื่อมั่นว่า ชะฟาอะฮ์ของบรรดาผู้ให้ชะฟาอะฮ์ รวมถึงสภาพของตน ด้วยเหตุนี้ จะไม่เป็นการละเลยต่อการกระทำบาป แต่ทว่า ผลอย่างเดียวของสัญญาการชะฟาอะฮ์ กล่าวคือ ทำให้ประชาชนมีความหวังและปลดปล่อยพวกเขาออกจากความสิ้นหวังในความเมตตาของพระเจ้า[77]
ชะฟาอะฮ์ จำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงในความรู้และพระประสงค์ของพระเจ้า โดยระบุว่า ผู้ให้ชะฟาอะฮ์ เป็นเหตุที่ทำให้พระเจ้ากระทำบางสิ่งที่ขัดแย้งกับสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์และกำหนดไว้ในตอนแรก แต่การเปลี่ยนแปลงในความรู้ของพระเจ้าและจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงในแก่นแท้และเป็นไปไม่ได้ ด้วยเหตุนี้เอง ชะฟาอะฮ์จึงเป็นไปไม่ได้ด้วยเช่นกัน[78] พวกเขาตอบว่า การยอมรับชะฟาอะฮ์จากพระเจ้า ไม่ได้หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพระประสงค์ของพระองค์ หรือการเปลี่ยนแปลงความรู้ของพระองค์ แต่พระเจ้าทรงรู้ดีว่า ตัวอย่างเช่น บุคคลบางคนจะเข้าสู่สภาวะที่แตกต่างกันในอนาคต และความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนี้ ไม่ได้หมายถึงการเปลี่ยนแปลงในความรู้ ด้วยเหตุนี้เอง พระประสงค์ของพระเจ้าเกี่ยวกับสภาวะเหล่านั้น ซึ่งหมายความว่า บุคคลนั้น ณ จุดนั้น คราวเดียวกันตามเหตุผลและสถานการณ์ ย่อมมีสภาพหนึ่งสภาพใด ในเวลานั้น พระเจ้าจะทรงประสงค์เกี่ยวกับเขา และในเวลาอื่น ด้วยเหตุผลและเงื่อนไขอื่นๆ พระองค์ก็จะทรงมีเงื่อนไขอีกอย่างหนึ่ง และพระเจ้าจะทรงประสงค์อีกประการหนึ่งเกี่ยวกับเขาด้วย และเรื่องเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงในความรู้และพระประสงค์ของพระองค์ (79)