จงถามฉันก่อนที่ฉันจะจากไป

จาก wikishia

จงถามฉันก่อนที่ฉันจะจากไป เป็นประโยคที่อิมามอะลี (อ.) กล่าวถึงความรอบรู้ทางวิชาการของเขา

ตามแหล่งข้อมูลของชีอะฮ์ และซุนนีย์ รายงานว่า อิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวประโยคนี้ หลายครั้งด้วยกัน เช่น ในคุฏบะฮ์หนึ่งที่เขาแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ต่อซะอ์ด บิน อะบีวักกอศ ที่ถามอิมามอะลี (อ)ว่า จำนวนของเส้นผมและเครานั้นมีเท่าไหร่ โดยอิมามอะลี ตอบว่า แต่ขณะที่เจ้านั้นไม่มีเส้นผมอยู่บนศีรษะสักเส้นเลย นอกจากว่า รากโคนของมันยังเป็นสถานที่พำนักของชัยฏอน มารร้าย นอกจากนี้ อิมามอะลี (อ) ยังแจ้งข่าวเกี่ยวกับการเป็นชะฮีดของอิมามฮุเซน (อ) โดยอุมัร บิน ซะอ์ด บุตรชายของซะอ์ด อีกด้วย

จงถามฉันก่อนที่ฉันจะจากไป ถือเป็นความประเสริฐประการหนึ่งของอิมามอะลี (อ.) และยังเป็นเหตุผลที่บ่งบอกถึงความสูงส่งของเขาที่มีต่อบรรดาอัศฮาบของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)

การแนะนำโดยสังเขป

‎سلوني قبل أن تفقدوني(จงถามฉันก่อนที่ฉันจะจากไป) เป็นประโยคของอิมามอะลี (อ.) [2] บนพื้นฐานของริวายะฮ์หนึ่ง บันทึกในหนังสือ ยานาบีอุลมะวัดดะฮ์ รายงานว่า อะลี บิน อะบีฏอลิบ ได้กล่าวประโยคนี้หลายครั้ง [3] รวมทั้งหลังจากที่ประชาชนให้สัตยาบันกับเขา ในฐานะเคาะลีฟะฮ์ ในการเทศนาธรรมต่อชาวเมืองกูฟะฮ์ [4] และในระหว่างการสู้รบที่ศิฟฟีนและนะฮ์รอวาน ในหมู่สาวกของเขา [5]‎

แก่นของประโยคนี้ ซึ่งมีวลี จงถามฉันก่อนที่ฉันจะจากไป [6] จงถามฉันจากสิ่งที่พวกท่านมีความต้องการ (7)จงถามฉันก่อนที่จะไม่ถามฉัน(9)‎

ฮะดีษบ่งบอกถึงความรู้อันมากมายของอิมามอะลี (อ.) ‎

ในหนังสืออธิบายนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ระบุว่า ประโยค จงถามฉันก่อนที่ฉันจะจากไป บ่งบอกว่า อิมามอะลี (อ) มีความรอบรู้ในทุกเรื่อง [10] นอกจากนี้ ตามคำกล่าวของมุลลา ศอลิฮ์ มาซันดะรอนี นักวิชาการชีอะฮ์ (เสียชีวิตในปี ‎‎1081 ฮ.ศ.) ถือว่า นักวิชาการอะฮ์ลิซซุนนะฮ์บางคน เชื่อว่า วลีนี้ เป็นข้อพิสูจน์ถึงความรู้อันมากมายของอิมามอะลี ‎‎(อ.)[11]‎

อิมามบากิร (อ.) รายงานในความหมายของ จงถามฉันก่อนที่ฉันจะจากไป ระบุว่า ไม่มีผู้ใดมีความรู้ เว้นแต่เขาจะได้เรียนรู้จากอะลี (อ.) ประชาชนสามารถไปทุกที่ที่พวกเขานั้นมีความต้องการ ฉันสาบานต่อพระเจ้าว่า ไม่มีความรู้ที่แท้จริง ยกเว้นที่นี่ ในริวายะฮ์ยังรายงานต่อว่า อิมามบากิร (อ.) ได้ชี้มือไปที่บ้านของตน[12] อัลลามะฮ์ มัจญ์ลิซี ‎กล่าวว่า อิมามบากิร (อ.) หมายถึงบ้านของเขา บ้านแห่งวะฮีย์และการเป็นนบี[13] ]‎

นอกจากนี้ ในความต่อเนื่องของ จงถามฉันก่อนที่ฉันจากไป ยังมีวลีต่างๆ ที่บ่งบอกถึงความรู้อันกว้างขวางของอิมามอะลี (อ.) อาทิเช่น :‎

‎แท้จริงความรู้แรกและสุดท้ายอยู่กับฉัน ฉันได้ออกคำฟัตวาให้กับชาวคัมภีร์เตารอตตามเตารอต, สำหรับคนคัมภีร์ไบเบิลตามพระคัมภีร์, และสำหรับชาวอัลกุรอานตามคัมภีร์อัลกุรอาน (14)‎

‎ทำไมพวกท่านไม่ถาม ผู้ที่รอบรู้ในเรื่องมะนายาและบะลายา (ภัยพิบัติ) และนะซับ เชื้อสายวงศ์ตระกูลล่ะ?(15)‎

‎ฉันรู้จักเส้นทางแห่งสวรรค์ (ความรู้แห่งพระเจ้า) ดีกว่าเส้นทางแห่งโลก (16)‎

ฉันขอสาบานต่อพระเจ้า ฉันจะตอบทุกสิ่งที่พวกท่านขอ พวกท่านจงถามจากอัลกุรอาน ฉันขอสาบานต่อพระเจ้า ‎ฉันรอบรู้ทุกโองการของอัลกุรอาน ไม่ว่าโองการเหล่านั้นจะถูกประทานลงมาในเวลากลางคืนหรือตอนกลางวัน ‎ถูกส่งลงมาบนพื้นราบหรือบนภูเขา (17)‎

‎ฉันขอสาบานต่อพระเจ้าว่า ฉันจะตอบทุกคำถามของพวกท่านที่เกี่ยวกับอดีต ปัจจุบัน และอนาคต” (18)‎

ความประเสริฐอันเฉพาะของอิมามอะลี (อ.)‎

อิบนุมัรดะวียะฮ์ อิสฟาฮานี นักรายงานฮะดีษของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ในศตวรรษที่ 4และที่ 5 กล่าวว่า วลีที่กล่าวว่า จงถามฉันก่อนที่ฉันจะจากไป บ่งบอกถึงความรอบรู้ของอิมามอะลี (อ.) เหนือเหล่าศอฮาบะฮ์คนอื่นๆ (19)อิบรอฮีม ‎บินมุฮัมมัด ญุวัยนี ชาฟิอีย์ ผู้รู้ชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ (เสียชีวิต 730 ฮ.ศ.) เขียนไว้ในหนังสือ ฟะรออิด อัซซิมฏ็อยน์ ถือว่า วลีนี้เป็นหนึ่งในความประเสริฐอันเฉพาะของอิมามอะลี (อ.) ที่ศัตรูและฝ่ายตรงข้ามไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากต้องยอมรับมัน(20) ตามทัศนะของซัยยิดอิบนุฏอวูซ แสดงให้เห็นว่า อิมามอะลี (อ.) กล่าววลีนี้ ในขณะที่อยู่กับประชาชนและเหล่าศัตรู ถือเป็นความท้าทายในทางวิชาการประเภทหนึ่ง [21 ] ขณะเดียวกัน ชัมซุดดีน ซะฮะบี ‎‎[22] และอิบนุตัยมียะฮ์[23] หนึ่งในนักวิชาการชาวซาลาฟี ได้กล่าวเพื่อโต้แย้งความประเสริฐนี้ว่า อะลี (อ.) ได้กล่าวถึงประโยคดังกล่าวต่อชาวเมืองกูฟะฮ์ที่เป็นคนโง่เขลา

ตามพื้นฐานของฮะดีษบางบท อิมามบากิร (อ.) [24] และอิมามศอดิก (อ.) [25] ได้กล่าวไว้ในบางกรณีด้วยเช่นกันว่า ‎ประโยค จงถามฉันก่อนที่ฉันจะจากไป นอกจากนี้ ยังมีวลี จงถามฉันจากสิ่งที่พวกเจ้าต้องการ ก็รายงานจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ด้วยเช่นกัน [26] ขณะเดียวกัน นักวิชาการชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์บางคนรายงานว่า ไม่มีผู้ใดกล่าวประโยคนี้ นอกจากอิมามอะลี (อ.) [27] แน่นอนว่า ในแหล่งข้อมูลของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์บางแห่ง รายงานว่า ไม่มีศอฮาบะฮ์คนใดกล่าวคำพูดนี้ นอกจากอิมามอะลี (อ.)(28)‎

ผู้อ้างเท็จ

นักวิชาการมุสลิม รายงานว่า ผู้ที่อ้างว่า จงถามฉันก่อนที่ฉันจะจากไป ไม่สามารถตอบคำถามที่ถูกถามได้ ในหมู่พวกเขา เช่น กอตาดะฮ์ บินดิอามะฮ์ จากตาบิอีนและนักนิติศาสตร์ชาวบัศเราะฮ์ [29] และอิบนุเญาซี นักนิติศาสตร์มัสฮับฮัมบะลี ในศตวรรษที่ 6(30) ‎

นอกจากนี้ อัลลามะฮ์ อะมีนี ยังกล่าวถึงอีกห้ากรณีในหนังสืออัลเฆาะดีรของเขา ซึ่งอ้างว่า จงถามฉัน และได้รับความอับอาย [31] ตามที่อัลลามะฮ์ มัจญ์ลิซี และมุลลา ศอลิฮ์ มาซันดะรอนี ผู้ใดก็ตามที่กล่าวอ้างเช่นนี้ เขาจะไดรับความอับอาย นอกเหนือจากอิมามอะลี (อ.)[32]‎

ผู้รายงานฮะดีษและความถูกต้องของมัน

จงถามฉันก่อนที่ฉันจะจากไป มีการรายงานจากผู้รายงานมากมาย ในหมู่พวกเขา ได้แก่ อามิร บินวาษิละฮ์ [33] อับดุลลอฮ์ บินอับบาส [34] ซุลัยม์ บินก็อยซ์ ฮิลาลี [35] อัศบัฆ บินนุบาตะฮ์ [36] และอะบายะฮ์ บินริบอี (37) ‎ผู้ปกครองเมืองนีชาบูร ถือว่าสายรายงานที่รายงานจากอะบูฏุฟัยล์ อามิร บินวะษิละฮ์ มีความถูกต้อง [38]‎

ปฏิกิริยาของซะอัด บินอะบีวักก็อศ

ตามแหล่งข้อมูลบางแห่ง ระบุว่า หลังจากที่อิมามอะลี (อ.) กล่าวประโยคนี้ในการเทศนาธรรม ซะอัด บินอะบีวักก็อศ ลุกขึ้นถามเขาว่า มีผมบนศีรษะของฉันและเคราของฉัน กี่เส้น? อิมามอะลี (อ.)ได้ตอบคำถามของเขา โดยการสาบานว่า ศาสนทูตของพระผู้เป็นเจ้า (ศ็อลฯ) ได้แจ้งเขาว่า เจ้าจะถามคำถามเช่นนี้แก่ฉัน ไม่มีผมสักเส้นเดียวในศีรษะของเจ้าและเคราของเจ้า เว้นแต่จะมีซาตานอยู่ในนั้น นอกจากนี้ ยังมีแพะตัวหนึ่งอยู่ในบ้านของเจ้า (หมายถึงอุมัร บิยซะอัด) ซึ่งเขาจะสังหารฮุเซน บุตรชายของฉัน (39) บางคนรายงานเรื่องราวนี้ว่าเกี่ยวกับอะนัส บินซะนาน ซึ่งบินซะนาน หนึ่งในผู้สังหารอิมามฮุเซน (อ.)(40)‎