คำสั่งญิฮาด

จาก wikishia

คำสั่งญิฮาด หรือ คำฟัตวาการญิฮาด (ภาษาอาหรับ : حكم الجهاد ) หมายถึง คำสั่งของผู้ปกครองตามหลักศาสนบัญญัติ ให้ทำการญิฮาดต่อศัตรูและกำหนดลักษณะที่พิเศษของมัน การออกคำสั่งญิฮาดในยุคฆ็อยบะฮ์ แสดงให้เห็นถึงการมีอิทธิพลและอำนาจของคำฟัตวาของบรรดามัรญิอ์ชีอะฮ์ และถือเป็นเหตุผลในการรักษาศาสนาและความมั่นคงของสังคมอิสลามให้พ้นจากเหล่าผู้รุกราน ตามหลักนิติศาสตร์อิสลาม ด้วยการออกคำสั่งญิฮาด ทำให้มุสลิมทุกคนที่มีความสามารถในการปกป้องตัวเอง จะต้องทำญิฮาดต่อศัตรู คำสั่งนี้ออกโดยมุจญ์ตะฮิด ผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน เมื่อมีการบุกรุกดินแดนอิสลาม รู้สึกถึงภัยอันตรายเกี่ยวกับศาสนา และศักดิ์ศรีและความเป็นอิสรภาพของบรรดามุสลิม

บรรดานักนิติศาสตร์ชีอะฮ์ ได้ออกคำฟัตวาการญิฮาดในช่วงเวลาต่างๆ ของประวัติศาสตร์ ในปี 1241 ถึง 1243 ฮ.ศ. บรรดานักวิชาการชีอะฮ์ เช่น ญะอ์ฟัร กาชิฟุลฆิฏออ์ ซัยยิดอะลี เฏาะบาเฏาะบาอีย์ มีรซา กุมมี มุลลา อะห์มัด นะรอกี และซัยยิด มุฮัมมัด มุญาฮิด ได้ออกคำฟัตวาการญิฮาดต่อกองกำลังรัสเซีย เพื่อสนับสนุนการปกครองราชวงศ์กอญาร และปกป้องประชาชนชาวมุสลิมของอิหร่าน บางคนถือว่า คำฟัตวานี้เป็นคำสั่งแรกของการญิฮาดในประวัติศาสตร์นิติศาสตร์อิมามียะฮ์

ในอิรัก เช่นกัน ด้วยการออกคำฟัตวาการญิฮาด โดยมุฮัมมัด ตะกี ชิีรอซี ในปี 1337 ฮ.ศ. การลุกขึ้นของการปฏิวัติครั้งที่ 10 เพื่อต่อต้านลัทธิล่าอาณานิคมและกองกำลังอังกฤษได้ก่อตัวขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่เขตชุมชนชาวชีอะฮ์ อับดุลกะรีม ซันญานี หนึ่งในนักนิติศาสตร์ชีอะฮ์ในศตวรรษที่ 14 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช ได้ออกคำฟัตวาการญิฮาดในการต่อต้านอิสราเอลในปี 1327 สุริยคติอิหร่าน -1948 ค.ศ. และในปี 2014 ค.ศ. ซัยยิดอะลี ซีสตานีได้ออกคำสั่งญิฮาดให้ต่อสู้กับการรุกคืบของกลุ่มไอซิสในอิรัก

หนังสือ ริซาอิล วะฟัตวาเยญิฮาดี เขียนโดย มุฮัมมัด ฮะซัน ราญาบี ได้เลืิอกริซาละฮ์ 95 มาตรา ซึ่งมีการเผยแพร่โดยบรรดานักนิติศาสตร์ ระหว่างปี 1200 ถึง 1338 ฮ.ศ.

ความสำคัญและสถานภาพ

คำสั่งญิฮาด หมายถึง เป็นคำสั่งของผู้ปกครองตามหลักศาสนบัญญัติสำหรับการญิฮาด (การต่อสู้)กับศัตรูและการกำหนดลักษณะพิเศษของญิฮาด(1) การออกคำสั่งญิฮาดในยุคแห่งการฆ็อยบะฮ์ แสดงให้เห็นถึงการมีอิทธิพลและอำนาจของคำฟัตวาของบรรดามัรญิอ์ชีอะฮ์และการให้ความสำคัญในการรักษาชีวิตและทรัพย์สินของบรรดามุสลิมและความเป็นอิสรภาพในดินแดนของพวกเขาจากการเผชิญหน้ากับเหล่าศัตรู (2) เป็นที่ทราบกันดีว่า คำฟัตวาเช่นนี้ก็เหมือนกับการญิฮาดการป้องกันตัวเองในยุคแห่งการฆ็อยบะฮ์ คือ เป็นสาเหตุสำหรับการรักษาศาสนาและความมั่นคงของสังคมอิสลามให้พ้นจากเหล่าผู้รุกราน[3]

บรรดานักนิติศาสตร์ชีอะฮ์ กล่าวไว้ในหลายกรณี ขณะที่มีการบุกรุกดินแดนอิสลามหรือการรู้สึกถึงภัยอันตรายต่อศาสนา เกียรติ ศักดิ์ศรี และความเป็นอิสรภาพของบรรดามุสลิม โดยการออกคำฟัตวาญิฮาดของประชาชนในการป้องกันและการยืนหยัดต่อสู้กับศัตรู (4) ตัวอย่างเช่น การออกคำฟัตวาการญิฮาดของมุฮัมมัดตะกี ชีรอซีย์ ในปี 1337 ฮ.ศ.จากการลุกขึ้นต่อสู้ด้วยอาวุธของการปฏิวัติที่ 10 ในการต่อต้านลัทธิล่าอาณานิคมและกองทัพอังกฤษทั่วทั้งอิรัก โดยเฉพาะในพิื้นที่เขตชุมชนชาวชีอะฮ์ [5]

บรรดานักนิติศาสตร์ชีอะฮ์ ไม่ถือว่า การญิฮาดในการป้องกัน มีเงื่อนไขในการเข้าร่วมของอิมามหรือจะต้องได้รับอนุญาตของอิมาม (อ.) หรือตัวแทนพิเศษของเขา (6)

อย่างไรก็ตาม ตามทัศนะของญะอ์ฟัร กาชิฟุลฆิฏออ์ มัรญิอ์ตักลีดชีอะฮ์ ในศตวรรษที่ 13 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช ระบุว่า การญิฮาดในการป้องกัน ต้องมีผู้บัญชาการและการจัดตั้งเป็นกลุ่ม ในช่วงยุคสมัยแห่งการฆ็อยบะฮ์ กุบรอ โดยจะต้องได้รับอนุญาตจากมุจญ์ตะฮิดที่มีคุณสมบัติครบถ้วน[7] ฮุเซนอะลี มุนตะซารี ไม่ถือว่า เงื่อนไขดังกล่าว เป็นเงื่อนไขที่ชอบธรรมจากการฮิญาดในการป้องกัน แต่ทว่า เป็นคำสั่งของวะลียุลฟะกีฮ์ ที่เป็นเงื่อนไขสำหรับการเกิดขึ้นของการญิฮาดในการป้องกัน ตามคำกล่าวของเขา ระบุว่า การญิฮาดในการป้องกัน โดยปราศจากเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น ถือเป็นวาญิบสำหรับมุสลิมทุกคน [8]

คำฟัตวาที่มีชื่อเสียงของการญิฮาด

ตัวอย่างคำฟัตวาที่สำคัญที่สุดที่ออกโดยบรรดานักนิติศาสตร์และมัรญิอ์ตักลีดชีอะฮ์ในช่วงเวลาประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความจำเป็นในการญิฮาด มีรายละเอียดดังนี้:

คำฟัตวาของบรรดานักวิชาการชีอะฮ์ในการญิฮาดเพื่อต่อต้านอิสราเอล ด้วยการรุกรานของกองทัพรัสเซียในอิหร่านในช่วงปี 1241 ถึง 1243 ฮ.ศ. และการยึดครองดินแดนของอิหร่าน นักวิชาการชีอะฮ์บางคน เช่น ญะอ์ฟัร กาชิฟุลฆิฏออ์ ซัยยิดอะลี เฏาะบาเฏาะบาอีย์ มีรซา กุมมี มุลลา อะห์มัด นะรอกีและซัยยิดมุฮัมมัด มุญาฮิด ได้ออกคำฟัตวาการญิฮาด เพื่อสนับสนุนระบอบการปกครองราชวงศ์กอญาร และปกป้องประชาชน ชาวมุสลิมอิหร่าน เพื่อตอบโต้และป้องกันการรุกรานของกองกำลังรัสเซีย [9] คำฟัตวานี้พร้อมด้วยริซาละฮ์เกี่ยวกับหลักปฏิบัติการญิฮาด ซึ่งได้รับคำสั่งจากอับบาส มีรซา ราชโอรสและมงกุฎราชกุมาลของฟัตห์อะลี ชาฮ์ และได้รับการเรียบเรียงโดย มีรซา อีซา กออิมมะกอม ฟารอฮานี ในชุดสะสมชื่อ อะห์กามญิฮาด และอัสบาบอัรรอชาด [10] กล่าวกันว่า คำฟัตวานี้ถือเป็นคำสั่งแรกของการญิฮาดในประวัติศาสตร์ของชีอะฮ์ (11)

คำฟัตวาการญิฮาดของมุฮัมมัดตะกี ชีรอซีย์ เป็นหนึ่งในคำฟัตวาที่มีประสิทธิภาพอย่างมากที่สุด เพื่อต่อต้านการยึดครองและอิทธิพลของอังกฤษในอิรัก เมื่อวันที่ 20 รอบีอุลเอาวัล 1337 ฮ.ศ. (12) เนื้อหาของคำฟัตวา มีดังนี้ เพื่อเรียกร้องสิทธิให้ชาวอิรัก ถือเป็นวาญิบและวาญิบสำหรับพวกเขาในการตอบสนองความต้องการ การรักษาความสงบและความปลอดภัย ในกรณีที่อังกฤษปฏิเสธข้อเรียกร้องของพวกเขา อนุญาตให้ใช้อำนาจในการป้องกันได้ [13]

คำฟัตวาการญิฮาดต่ออิตาลีในการโจมตีลิเบีย ออคูนด์ คุรอซานี พร้อมด้วย ซัยยิดอิสมีอีล ศ็อดร์ เชคอับดุลลอฮ์ มาซันดะรอนี และเชค อัชชะรีอะฮ์ อิศฟาฮานี ได้ออกแถลงการณ์และเรียกร้องให้บรรดามุสลิมยืนหยัดเพื่อปกป้องประเทศอิสลาม [14] ข้อความของคำสั่งมีดังนี้: การโจมตีของรัสเซียต่ออิหร่านและอิตาลี ยังเมืองตริโปลีเป็นต้นเหตุให้อิสลามและอัลกุรอานถูกทำลาย ถือเป็นหน้าที่ของบรรดามุสลิมทุกคนจะต้องรวมตัวกันและขอให้รัฐบาลของตน ขจัดการรุกรานที่ผิดกฎหมายของรัสเซียและอิตาลีออกจากกัน และจนกว่าปัญหานี้ จะได้รับการแก้ไข ความสบายใจและความมั่นคง เป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับพวกเขาเอง และพวกเขายอมรับว่า การเคลื่อนไหวอิสลามนี้ เป็นการญิฮาดในแนวทางของอัลลอฮ์ เช่นเดียวกับพวกมุญาฮิดีนแห่งสงครามบัดร์และฮูนัยน์ (15)

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (1297-1293 สุริยคติอิหร่าน) ซัยยิดอับดุลฮุเซน มูซาวี ลารีย์ ออกคำสั่งต่างๆให้ นายพล อะชาอิร ก็อชกออี เศาละตุดเดาละฮ์และเน้นย้ำในการญิฮาดต่อต้านอังกฤษ ในข้อความของเขา ดังนี้ : ข้าพเจ้า ซึ่งเป็นมุจญ์ตะฮิดและผู้สืบทอดของศาสดาแห่งอิสลาม ขอออกคำฟัตวาเพื่อต่อสู้กับผู้นอกศาสนาชาวอังกฤษเหล่านี้ ถือเป็นข้อบังคับ(16)

คำฟัตวาการญิฮาด เพื่อตอบโต้การโจมตีของพวกวะฮ์ฮาบีต่อสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ : ตามรายงานทางประวัติศาสตร์ คำฟัตวาของเชค ญะอ์ฟัร กาชิฟุลฆิฏออ์ ในการโจมตีของพวกวะฮ์ฮาบีในเมืองนะญัฟและกัรบะลาในปี 1217 ฮ.ศ. พร้อมทั้งการขับไล่พวกวะฮ์ฮาบีให้ออกไป โดยบรรดานักนิติศาสตร์และมุญาฮิดทั้งสองร้อยคน [17]

ริซาละฮ์และคำฟัตวาที่การญิฮาด เขียนโดยมุฮัมมัดฮะซัน ราญาบี

คำฟัตวาการญิฮาดต่อต้านอิสราเอล: บรรดานักนิติศาสตร์ เช่น มุฮัมมัดฮุเซน กาชิฟุลฆอฏออ์ [18] ซัยยิด ฮุเซน บุรูญิรดีย์ [19]และอิมามโคมัยนี [20] ได้ออกคำฟัตวาเกี่ยวกับคำฟัตวาในความจำเป็นจากการปกป้องประชาชนชาวปาเลสไตน์ อับดุลกะรีม ซันญานี หนึ่งในบรรดานักนิติศาสตร์แห่งศตวรรษที่ 14 ฮ.ศ. ได้ออกคำฟัตวาการญิฮาดต่อต้านอิสราเอล หลังจากประกาศการดำรงอยู่ของรัฐบาลอิสราเอลและสงครามระหว่างอิสราเอลและอาหรับในปี 1327 สุริยคติอิหร่าน/1948 ค.ศ. (21)

หลังจากนั้น ในปี 2014 ค.ศ. กลุ่มไอซิสได้เข้ายึดครองพื้นที่ทางตะวันตกและทางตอนเหนือของอิรัก และกำลังรุกคืบไปยังพื้นที่อื่นๆ ซัยยิดอะลี ซีสตานีได้ออกคำฟัตวาการญิฮาด [22] ให้กับพลเมืองชาวอิรักตอบโต้การรุกคืบของกลุ่มก่อการร้ายไอซิส โดยความสามารถในการพกพาอาวุธและการต่อสู้กับกลุ่มผู้ก่อการร้าย ถือเป็นวาญิบกิฟาอีย์เพือปกป้องประเทศ ประชาชาติ และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเข้าร่วมกับกองกำลังทหาร

ผลงานประพันธ์

หนังสือ ริซาละฮ์และฟัตวาญิฮาด รวมถึง: ริซาละฮ์และคำฟัตวาของบรรดานักวิชาการอิสลามในการญิฮาดต่อต้านอำนาจของนักล่าอาณานิคม มีริซาละฮ์และคำฟัตวา 95 มาตรา ที่ออกโดยบรรดานักนิติศาสตร์ ระหว่างปี 1200 ถึง 1338 ฮ.ศ. ผลงานนี้ถูกรวบรวมโดยมุฮัมมัดฮะซัน ราญาบี ในเล่มเดียวและดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงวัฒนธรรมและการชี้นำอิสลามในปี 1378 สุริยคติอิหร่าน [24]

ในยุคสมัยกอญาร และในช่วงระหว่างสงครามอิหร่านและรัสเซีย หนังสือหลายเล่มถูกจัดพิมพ์ในชื่อว่า ญิฮาดียะฮ์ ซึ่งประกอบด้วย คำฟัตวาการญิฮาดและการอธิบายความจำเป็นของการญิฮาดต่อต้านกองกำลังรัสเซีย (25) หนังสืออัลญิฮาด อัลอะบาซียะฮ์ โดยซัยยิดมุฮัมมัด มุญาฮิด และ หนังสือ ญามิอุชชัตตาต เขียนโดย มีรซา กุมมี รวมถึงการญิฮาดนี้ (26)