คำฟัตวาห้ามการดูหมิ่นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์

จาก wikishia

คำฟัตวาห้ามการดูหมิ่นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ หมายถึง อยาตุลลอฮ์ ซัยยิดอะลี คอเมเนอี ในฐานะเป็นผู้นำสูงสุดทางจิตวิญญาณของสาธารณรัฐอิสลาม ได้มีคำฟัตวาว่า เป็นที่ต้องห้ามในการดูหมิ่นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ซึ่งเกี่ยวกับการดูหมิ่นสัญลักษณ์ของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์และเหล่าภริยาของศาสดาของอิสลาม (ศ็อลฯ)

คำฟัตวานี้ เพื่อแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ต่อการดูหมิ่นของยาซิร อัลฮะบีบ นักการศาสนาชีอะฮ์ชาวคูเวต ที่มีต่อท่านหญิงอาอิชะฮ์ ภรรยาของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และการเรียกร้องให้มีคำฟัตวาจากกลุ่มนักการศาสนาชีอะฮ์ในประเทศซาอุดีอาระเบีย

คำฟัตวาห้ามการดูหมิ่นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ได้ส่งผลสะท้อนอย่างมากมายตามสื่อต่างๆของประเทศชาติอาหรับ นอกจากนี้ บุคคลสำคัญทางศาสนาของชีอะฮ์และซุนนีบางคน ยังได้ประเมินว่า การมีคำฟัตวานี้นั้นสอดคล้องกับเอกภาพของชาวมุสลิม

บทนำต่างๆ

คำฟัตวาห้ามการดูหมิ่นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ เกิดขึ้นหลังจากการดูหมิ่นของยาซีร อัล-ฮาบีบ นักการศาสนาชีอะฮ์ ชาวคูเวต ที่มีต่อท่านหญิงอาอิชะฮ์ ภรรยาของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) โดยฮาบีบเคยพูดจาต่อต้านท่านหญิงอาอิชะฮ์ และท่านอุมัร บินค็อฏฏอบโอมาร์ หลายครั้งซึ่งทั้งสองมีสถานภาพพิเศษในหมู่ชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ (1)

ในปี 2010 ค.ศ. เขาได้จัดงานเฉลิมฉลองในกรุงลอนดอน เนื่องในโอกาสครบรอบการเสียชีวิตของท่านหญิงอาอิชะฮ์ ภรรยาของศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) และกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นต่อท่านหญิง [2] งานเฉลิมฉลองนี้ มีการเผยแพร่ผ่านสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมของฮาบีบ ชื่อ ฟาดัก[3] ในวันครบรอบการเสียชีวิตของคอลีฟะฮ์ที่สอง ก็มีการเฉลิมฉลองด้วยเช่นกัน. รายการนี้ออกอากาศบนเครือข่ายดาวเทียมของเขาอีกด้วย[4]

การเผยแพร่ถ้อยคำของอัล-ฮาบีบได้กระตุ้นให้เกิดความโกรธแค้นและการประท้วงของชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์และก่อให้เกิดปฏิกิริยาในโลกอิสลามโดยเฉพาะประเทศชาวซุนนีและก่อให้เกิดปัญหามากมายแก่ชาวชีอะฮ์ในคูเวตและซาอุดีอาระเบีย(5) อับดุลอะซีซ อาลิชชัยค์ มุฟตีซาอุฯ แสดงปฏิกิริยาตอบโต้ถ้อยคำของอัลฮาบีบ โดยประกาศให้ยุติการเผยแพร่แนวทางชีอะฮ์ในอาหรับและ ประเทศอิสลามและคำพูดของอัล-ฮาบีบ ถือเป็นความโปรดปรานจากพระเจ้าเพื่อให้ความรู้แจ้งภายในที่แท้จริงของชาวชีอะฮ์ได้ [6]

หลังจากเหตุการณ์เหล่านี้ นักวิชาการชีอะฮ์แห่งซาอุดีอาระเบียได้ขอให้อยาตุลลอฮ์ ซัยยิด อะลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ประกาศทัศนะทางนิติศาสตร์ของเขาเกี่ยวกับ "การดูหมิ่นท่านหญิงอาอิชะฮ์อย่างเปิดเผย และการใช้ถ้อยคำที่เสื่อมเสียและการดูหมิ่นท่านหญิง(7]

เนื้อหาของคำฟัตวา

อยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ได้ตอบคำถามปัญหาศาสนาของบรรดานักวิชาการชีอะฮ์ชาวซาอุดีอาระเบียในเมืองอัลอะฮ์ซา ที่เกี่ยวกับการดูหมิ่นท่านหญิงอาอิชะฮ์ ภรรยาของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เมื่อวันที่ 4 เชาวาล 1431 ฮ.ศ. โดยมีคำฟัตวาดังนี้

“การดูหมิ่นสัญลักษณ์ต่างๆของพี่น้องชาวซุนนี รวมถึงการกล่าวหาภรรยาของศาสดาแห่งอิสลาม เป็นสิ่งต้องห้าม กรณีนี้รวมถึงภรรยาทั้งหมดของศาสดาทุกคน และโดยเฉพาะศาสดามูฮัมหมัด ผู้ยิ่งใหญ่ (ศ็อลฯ) (8)

คำฟัตวาของ อยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี "การดูหมิ่นสัญลักษณ์ต่างๆของพี่น้องชาวซุนนี รวมถึง การกล่าวหาภรรยาของศาสดาแห่งอิสลาม เป็นสิ่งต้องห้าม กรณีนี้ รวมถึงภรรยาทั้งหมดของศาสดาทุกคน และโดยเฉพาะศาสดามูฮัมหมัด ผู้ยิ่งใหญ่ (ศ็อลฯ)"

วันที่บันทึกเอกสารสำคัญ หนังสือพิมพ์ เรซอลัต 30 กันยายน 2010 หน้า 3

ผลสะท้อนและปฏิกิริยาต่างๆ

คำฟัตวาที่เกี่ยวกับการดูหมิ่นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ด้วยการเกิดผลสะท้อนและปฏิกิริยาต่างๆในสื่อและในประเทศกลุ่มชาติอาหรับ ตัวอย่าง เช่น หนังสือพิมพ์ อันอัมบาอ์ และ อัรรอยุลอาม ที่ตีพิมพ์ในคูเวต, เว็บไซต์ มุฮีฏ, หนังสือพิมพ์ อัซซะฟีร และอัลอินติกอด ในเลบานอน, หนังสือพิมพ์ อัลวะฏอน และอักกาซ ในซาอุดีอาระเบีย หนังสือพิมพ์ อัลฮะยาต ที่ตีพิมพ์ในกรุงลอนดอน หนังสือพิมพ์ อัชชุรูก ของอียิปต์ เว็บไซต์สถานีวิทยุและโทรทัศน์ของประเทศนี้ และช่องสัญญาณดาวเทียมของอาหรับบางช่องได้รายงานเรื่องนี้ (9)

สถานีโทรทัศน์อัลญะซีเราะห์ในรายการ มาวะรออุลคอบัร พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญ ได้ตรวจสอบคำฟัตวานี้และบทบาทของฟัตวาในการแสดความเป็นเอกภาพและความใกล้ชิดในหมู่ผู้ปฏิบัติตามสำนักคิดต่างๆของอิสลาม[10]

บุคคลต่างๆ ในประเทศอาหรับก็ตอบสนองต่อคำฟัตวาที่ห้ามการดูหมิ่นสิ่งความศักดิ์สิทธิ์ของชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ด้วยเช่นกัน ในหมู่พวกเขา อะฮ์หมัด อัฏฏอยยิบ อธิบการบดีแห่งมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร ได้ประกาศในแถลงการณ์ว่า คำฟัตวานี้ออกมาในเวลาที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการแบ่งแยกและการปิดประตูแห่งการปลุกปั่น และเป็นการแสดงถึงความสนใจและความหลงใหลในความเป็นเอกภาพของชาวมุสลิม [11] บุคคลต่างๆทางศาสนาชาวเลบานอนก็สนับสนุนต่อคำฟัตวานี้ด้วยเช่นกัน โดยพวกเขาถือว่า คำฟัตวานี้ เพื่อทำให้แผนการสมรู้ร่วมคิดของเหล่าศัตรูถูกทำลายลง [12] ซัยยิดฮะซัน นัศรุลลอฮ์ เลขาธิการกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอน ถือว่า คำฟัตวานี้ เป็นสาเหตุของการปิดเส้นทางสำหรับผู้ที่ตั้งใจจะขัดขวางเอกภาพของประชาชาติอิสลาม (13)ในที่ประชุมสัมนาสมานฉันท์ครั้งที่สี่ ในศูนย์กลางอิสลาม กรุงลอนดอน ในคำแถลงการณ์สุดท้ายของเขาด้วยการสนับสนุนคำฟัตวาของอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ด้วยเช่นกัน (14)

ผู้แทนชาวซุนนีบางคนในรัฐสภาอิสลามแห่งอิหร่านออกแถลงการณ์ ถือว่า คำฟัตวานี้ เป็นแหล่งความภาคภูมิใจและเป็นกำลังใจสำหรับชาวซุนนีของประเทศ [15] นักวิชาการชาวซุนนีแห่งจังหวัดโกเลสทอน ยังได้ออกแถลงการณ์แยกต่างหากโดยประกาศว่า การออกคำฟัตวาของอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี สอดคล้องกับความคิดและการปฏิบัติของเขา ซึ่งได้ลบล้างการอนุญาตในการยุยงจากเหล่าศัตรู[16]