ความรู้ในสิ่งเร้นลับ

จาก wikishia

ความรู้ในสิ่งเร้นลับ (ภาษาอาหรับ: علم الغيب )หมายถึง การมีความเข้าใจในสิ่งที่เร้นลับและสิ่งที่ไม่สามารถเข้าใจได้ด้วยประสาทสัมผัส บรรดานักศาสนศาสตร์ชีอะฮ์ ได้ให้ความสนใจในโองการอัลกุรอาน จะเห็นได้ว่า ความรู้ในสิ่งเร้นลับ มีสองประเภทด้วยกัน ประเภทแรก คือ ความรู้ในสิ่งเร้นลับแบบซาตีย์ (ที่เป็นแก่นแท้)และเป็นอิสระเกี่ยวกับสิ่งเร้นลับ ซึ่งหมายถึงความรู้ประเภทหนึ่งที่เกี่ยวกับสิ่งเร้นลับที่ไม่สามารถได้รับจากบุคคลอื่น ความรู้ในสิ่งเร้นลับประเภทนี้เฉพาะเจาะจงสำหรับพระเจ้า ความรู้ในสิ่งเร้นลับอีกประเภทหนึ่ง คือ ความรู้ที่พระเจ้าทรงประทานแก่ปวงบ่าวบางคนที่พระองค์ทรงเลือกสรร บรรดานักวิชาการอิมามียะฮ์เชื่อว่า ความรู้ของศาสดาทั้งหลายและบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.)ในสิ่งเร้นลับนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของความรู้เกี่ยวกับสิ่งเร้นลับ ซึ่งพวกเขาได้รับอนุญาตและการสอนจากพระเจ้า

นักวิชาการวะฮ์ฮาบีบางคนที่อ้างอิงโองการจากอัลกุรอาน เชื่อว่า ความรู้ในสิ่งเร้นลับเป็นของพระเจ้าเพียงเท่านั้น และการถือว่า ความรู้ในสิ่งเร้นลับมาจากสิ่งอื่นที่ไม่ใช่มาจากพระเจ้า เป็นสาเหตุของการหลงทางและการไม่ปฏิเสธศรัทธา พวกเขากล่าวหาชีอะฮ์ว่า เป็นพวกฆอลีย์ เนื่องจากการมีความเชื่อในความรู้ในสิ่งที่เร้นลับของบรรดาศาสดาและอิมามผู้บริสุทธิ์ ในทางกลับกัน นักวิชาการอิมามียะฮ์ที่อ้างถึงโองการอื่นๆ ได้กล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานความรู้ในสิ่งเร้นลับแก่ศาสดาทั้งหลายและปวงบ่าวบางคนที่พระองค์ทรงเลือกสรร

อิมามียะฮ์ เชื่อว่า ความรู้ในสิ่งเร้นลับของบรรดาอิมาม (อ.) นั้นมาจากพระเจ้า เช่นเดียวกับความรู้ของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) พวกเขาเชื่อว่า ความรู้แห่งพระเจ้า บางครั้งถูกถ่ายทอดไปยังบรรดาอิมามโดยผ่านศาสดา และบางครั้งพวกเขาก็ได้รับความรู้ในสิ่งที่เร้นลับโดย ผ่านมะลาอิกะฮ์(เทวทูต)หรือการอิลฮาม (การดลใจ) เกี่ยวกับความรู้ในสิ่งเร้นลับของบรรดาอิมาม (อ.) มีสองทัศนะด้วยกัน กล่าวคือ ทัศนะอย่างน้อยที่สุดและทัศนะอย่างมากที่สุด นักศาสนศาสตร์อิมามียะฮ์จำนวนหนึ่งได้จำกัดความรู้ในสิ่งเร้นลับของบรรดาอิมามไว้เฉพาะในบางกรณี และในทางกลับกัน อีกกลุ่มหนึ่งซึ่งโดยการอ้างอิงจากริวายะฮ์ต่างๆ มีความเห็นว่า ความรู้ของพวกเขาครอบคลุมทุกสิ่งที่เกิดขึ้นหรือที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ความหมายและสถานภาพ

ความรู้ในสิ่งเร้นลับ หมายถึง การมีความเข้าใจในสิ่งที่เร้นลับและสิ่งที่ไม่สามารถเข้าใจได้ด้วยประสาทสัมผัส [1] คำว่า สิ่งเร้นลับ (ฆ็อยบ์) หมายถึง สิ่งที่ถูกปกปิดและซ่อนเร้นจากประสาทสัมผัสภายนอก ตรงกันข้ามกับสัญชาตญาณ ซึ่งหมายถึง สิ่งที่ประสาทสัมผัสสามารถรับรู้ได้ [2] ส่วน ฆ็อยบ์ ทางวิชาการ หมายถึง สิ่งที่ความรู้ไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยวิธีการปกติ [3] อิมามียะฮ์ได้ยกหลักฐานจากบางโองการและริวายะฮ์ต่างๆ เชื่อว่า ไม่เพียงแต่ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เท่านั้น แต่ยังรวมถึงบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) และบรรดาศาสดาบางคนอีกด้วย โดยได้รับอนุญาตและความโปรดปรานพิเศษจากพระเจ้าให้มีความรู้ในสิ่งเร้นลับ(4) การมีความเชื่อเช่นนี้ ทำให้วะฮ์ฮาบีย์บางคนถือว่า ชีอะฮ์เป็นผู้ที่พูดเกินจริง (ฆอลีย์) [5] ประเด็นความรู้ในสิ่งเร้นลับ ประเภท ขอบเขต และคุณภาพ เป็นหนึ่งในประเด็นที่นักศาสนศาสตร์สนทนากันในอดีต [6]และในปัจจุบัน (ในศตวรรษที่ 15 ฮิจเราะฮ์ศักราช) เพื่อตอบสนองต่อคำกล่าวใส่ร้ายที่ไม่ยุติธรรมโดยพวกวะฮ์ฮาบีย์และการเข้าใจที่ไม่ถูกต้องของพวกเขาในประเด็นนี้ จึงได้รับการศึกษาและมีการตรวจสอบโดยบรรดานักศาสนศาสตร์อิมามียะฮ์ [7]

ประเภทของความรู้ในสิ่งเร้นลับ

ความรู้ในสิ่งเร้นลับ เนื่องจากเป็นความรู้ของผู้รู้ จึงถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ความรู้ในสิ่งเร้นลับแบบซาตีย์ (ด้วยแก่นแท้)และเป็นอิสระ [8] หมายถึง การมีความเข้าใจในสิ่งเร้นลับที่ไม่สามารถได้รับมาจากบุคคลอื่น (9) ความรู้ในสิ่งเร้นลับประเภทนี้ไม่มีขีดจำกัดและเฉพาะเจาะจงสำหรับพระเจ้าเท่านั้น และกล่าวว่ากันว่า ไม่มีใครแบ่งปันความรู้นี้กับพระองค์อีก[10] เชคมุฟีด เขียนในหนังสือ อะวาอิลุลมะกอลาต ว่า พวกฆอลีย์และมุเฟาวะเฎาะฮ์ บางคน ถือว่า ประเภทของความเข้าใจในสิ่งเร้นลับ เป็นสิทธิของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) [11] เขาถือว่า ทัศนะนี้ ไม่ถูกต้อง [12]

ความรู้ในสิ่งเร้นลับที่เกี่ยวข้องหรือขึ้นอยู่กับ: [13] เป็นความเข้าใจในสิ่งเร้นลับประเภทหนึ่งที่พระเจ้าทรงประทานแก่ปวงบ่าวบางคนของพระองค์[14]บรรดานักวิชาการอิมามียะฮ์ทุกคน เชื่อว่า ความเข้าใจในสิ่งเร้นลับของบรรดาศาสดาและบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์(อ.) เป็นประเภทนี้ ซึ่งเกิดขึ้นจากการได้รับอนุญาตและการสอนของพระเจ้า และพวกเขาได้รับความรู้ในสิ่งเร้นลับประเภทนี้จากพระองค์ [15]

การตั้งคำถามเกี่ยวกับความรู้ในสิ่งเร้นลับของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และคำตอบของบรรดาชีอะฮ์

พวกวะฮ์ฮาบีย์บางคน ถือว่า ความรู้ในสิ่งเร้นลับ เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะของพระผู้เป็นเจ้า และได้ปฏิเสธความรู้ในสิ่งเร้นลับของบรรดาศาสดาและแม้แต่ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) [16] อับดุลอะซีซ บิน บาซ มุฟตีย์วะฮ์ฮาบีย์จากซาอุดีอาระเบีย ได้ถือว่า การถือว่าความรู้ในสิ่งเร้นลับมาจากสิ่งอื่นที่ไม่ใช่มาจากพระเจ้า เป็นสาเหตุของการหลงทางและการปฏิเสธในพระองค์[17]สำหรับทัศนะนี้ พวกเขาได้อ้างถึงสองกลุ่มของโองการอัลกุรอานเกี่ยวกับความรู้ในสิ่งเร้นลับ

โองการที่ศาสดา (ศ็อลฯ) ปฏิเสธความรู้ในสิ่งเร้นลับ (18) เหมือนดั่งโองการที่ว่า จงกล่าวเถิด ฉันไม่ได้พูดกับพวกเจ้าว่า ฉันมีขุมทรัพย์ของพระเจ้าและฉันนั้นไม่รู้สิ่งเร้นลับ [19]

โองการที่ความรู้ในสิ่งเร้นลับถูกกำหนดเฉพาะกับพระเจ้า(20) เช่น อายะฮ์ที่ว่า และ ณ พระองค์ คือ กุญแจทั้งหลายในสิ่งเร้นลับ ไม่มีผู้ใดรู้ นอกจากพระองค์ [21]

เพื่อที่จะปฏิเสธทัศนะนี้ จึงได้มีการกล่าวถึงโองการต่างๆ เช่น โองการที่44 และ179 ของซูเราะฮ์อาลิอิมรอนและโองการที่26 และ27 ของซูเราะฮ์ญิน โดยอาศัยพื้นฐานที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานความรู้ในสิ่งเร้นลับแก่ศาสดาบางคนและปวงบ่าวบางคนของพระองค์ที่ได้รับเลือกสรร [22]

นอกจากนี้ พวกเขายังกล่าวด้วยว่า เมื่อดูโองการต่างๆ ในอัลกุรอาน เป็นที่เข้าใจว่า อัลกุรอานได้กล่าวถึงความรู้ในสิ่งเร้นลับทั้งสองประเภท ได้แก่ ความรู้ในสิ่งเร้นลับแบบซาตีย์และเป็นอิสระ และความรู้ในสิ่งเร้นลับที่เกี่ยวข้องและพึ่งพา โองการที่ถือว่า ความรู้ในสิ่งเร้นลับเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะของพระเจ้า หมายถึง ความรู้แบบซาตีย์และเป็นอิสระ ซึ่งเป็นของพระองค์เพียงเท่านั้น และโองการที่ชี้ให้เห็นถึงการมีอยู่ของความรู้ในสิ่งเร้นลับในสิ่งอื่นที่ไม่ใช่พระเจ้า ก็คือ โองการที่กล่าวถึงความรู้ในสิ่งเร้นลับนั้นเกี่ยวข้องและมุสตะฟาด นั่นคือ ความรู้แบบเดียวกับที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานและเมื่อศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)ได้รับอนุญาตจากพระองค์และปวงบ่าวบางคนที่พระองค์ทรงเลือกสรร[23]

มุรตะฎอ มุเฏาะฮ์ฮะรี นักการศาสนาและนักปรัชญาชีอะฮ์ กล่าวว่า ความรู้ในสิ่งเร้นลับในแง่ของอัลกุรอาน หมายความว่า บางคนมีความรู้ในสิ่งเร้นลับด้วยตัวของเขาเองและปราศจากการเรียนรู้ ด้วยเหตุนี้เอง มีเพียงพระเจ้าเท่านั้นที่มีความรู้ในสิ่งเร้นลับ ขณะที่ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ) และปวงบ่าว ผู้ที่ได้รับเลือกสรร คือ ผู้ที่เรียนรู้สิ่งเร้นลับ ซึ่งความรู้นี้ได้รับจากพระเจ้า[24]

ความรู้ในสิ่งเร้นลับของบรรดาอิมาม (อ.)

ตามความเชื่อของอิมามียะฮ์ ความรู้ในสิ่งเร้นลับของบรรดาอิมาม (อ.) นั้นมาจากพระเจ้า เช่นเดียวกับความรู้ของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) [25] พวกเขาเชื่อว่า ความรู้แห่งพระเจ้า บางครั้งถูกถ่ายทอดไปยังบรรดาอิมามโดยผ่านศาสดา ด้วยวิธีนี้ ศาสดา (ศ็อลฯ) จึงได้รับความรู้นี้จากพระองค์ และเขาได้สอนให้กับอิมามอะลี (ศ็อลฯ) และอิมามอะลี (อ.) ได้ สอนอิมามฮะซัน และในทำนองเดียวกัน ทุกอิมามได้สอนให้กับอิมามคนต่อไป จนกระทั่งถึงอิมามคนสุดท้าย คือ อิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) (26) บางครั้งความรู้ของพระเจ้าไปถึงอิมาม (อ.) ด้วยวิธีการอื่น[27] ตัวอย่างเช่น จากบางริวายะฮ์ในแหล่งข้อมูลของชีอะฮ์ รายงานว่า ญิบรออีลเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ฟัง และท่านหญิงก็บันทึกไว้ใน มุศฮัฟ ฟาฏิมะฮ์ (28) นอกจากนี้ บางริวายะฮ์ รายงานว่า อิมามสามารถที่จะได้รับความรู้ในสิ่งเร้นลับโดยมะลาอิกะฮ์หรือการอิลฮาม (การดลใจ)[30]

บางริวายะฮ์ รายงานว่า อิมาม เป็นผู้สืบทอดความรู้ของบรรดาศาสดา [31]และคลังความรู้ของพระเจ้า [32 ] บรรดาชีอะฮ์ได้ยกหลักฐานจากบางริวายะฮ์ เช่น ฮะดีษ มะดีนะตุลอิลม์ (ฉันเป็นนครแห่งความรู้) ซึ่งศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)แนะนำตัวเองว่า เป็นนครแห่งความรู้และมีอิมามอะลี เป็นประตูของมัน [33]

เกี่ยวกับจำนวนของความรู้ในสิ่งเร้นลับของอิมาม (อ.) นักศาสนศาสตร์ชีอะฮ์บางคนเชื่อว่า ความรู้ของพวกเขาจำกัดอยู่เพียงบางกรณีเท่านั้น (34) เชคมุฟีด ไม่ได้ถือว่า ความรู้ในสิ่งเร้นลับของอิมาม เป็นหนึ่งในคุณลักษณะที่จำเป็นและเงื่อนไขของการเป็นอิมามะฮ์ของพวกเขา และกล่าวว่า บรรดาอิมาม (อ.) ตระหนักถึงมโนธรรมของมนุษย์บางคน และยังมีความรู้ในบางสิ่งที่มียังไม่เกิดขึ้น [35] บางคนอ้างถึงริวายะฮ์จำนวนหนึ่ง [36] เชื่อว่าความรู้ของบรรดาอิมาม ครอบคลุมทุกสิ่งที่เกิดขึ้นหรือจะเกิดขึ้นในโลก [37]

ความรู้ในสิ่งเร้นลับของบรรดาศาสดาอื่นๆ

โองการที่ 26 และ 27 จากซูเราะฮ์ญิน กล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานความรู้ในสิ่งเร้นลับแก่บรรดาศาสดา แต่ละคนของพระองค์ (38) นอกจากนี้ โองการอัลกุรอานจำนวนหนึ่ง กล่าวว่า ศาสดาบางคนได้มีความรู้ในสิ่งเร้นลับและมีการรายงานของมัน:

โองการที่ 81 จากซูเราะฮ์ฮูด กล่าวว่า ศาสดาลูฏ ได้รับแจ้งถึงเวลาของการลงโทษโดยบางเทวทูต ก่อนที่กลุ่มชนของเขา จะได้รับการลงโทษจากพระเจ้า [39] และนี่คือหนึ่งในความหมายของความรู้ในสิ่งเร้นลับ [40]

จากโองการที่ว่า และฉันจะบอกพวกเจ้าถึงสิ่งที่พวกเจ้าจะบริโภค และสิ่งที่พวกเจ้าสะสมไว้ในบ้านของพวกเจ้า (41) ศาสดาอีซามีความสามารถในการแจ้งให้ประชาชนรับทราบถึงความเร้นลับและการตระหนักถึงความลี้ลับ เป็นหนึ่งในปาฏิหาริย์และสัญญาณแห่งความชอบธรรมของเขาสำหรับกลุ่มชนของเขา [42]

ตรงตามโองการที่ 45 จากซูเราะฮ์อาลิอิมรอน พระผู้เป็นเจ้าได้แจ้งข่าวดีแก่ท่านหญิงมัรยัม (อ.) เกี่ยวกับการประสูติของศาสดาอีซา บุตรชายของนาง โดยผ่านเทวทูตของพระองค์และทำให้นางมีความเข้าใจในเรื่องนี้ [43]

โองการที่ว่า เหล่านั้น คือ ส่วนหนึ่งของเรื่องราวอันเร้นลับที่เราได้ประทานวะฮ์ยู (คำวิวรณ์) แก่เจ้า (มุฮัมมัด ) (44) เมื่อพระผู้เป็นเจ้าในอัลกุรอาน ทรงประทานวะฮ์ยูให้ศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) ได้รับรู้ถึงประวัติความเป็นมาของกลุ่มชนของนูฮ์ และแจ้งให้เขาและกลุ่มชนของเขาทราบถึงสภาพของพวกเขา เขากล่าวว่า นี่คือ เรื่องราวของสิ่งที่เร้นลับซึ่งพระองค์ทรงวะฮ์ยูให้เขา (45)