ความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสนทูต

จาก wikishia

ความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสนทูต (ภาษาอาหรับ: عصمة الأنبياء والمرسلين) หมายถึง บรรดาศาสนทูตมีความสะอาดบริสุทธิ์ปราศจากการทำความผิดบาปทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นความเลวร้ายหรือความไม่ดีก็ตาม ความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสนทูต ถือเป็นหลักการของทุกศาสนา แต่ทว่ามีความแตกต่างกันในมุมมองที่เกี่ยวกับประเภทและระดับขั้นของความบริสุทธิ์

นักวิชาการอิสลามทั้งหลาย มีทัศนะตรงกันเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสนทูตจากการตั้งภาคี การปฏิเสธและการไม่ผิดพลาดจากการได้รับและเผยแพร่วะฮีย์

แต่ทว่า มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในความผิดบาปอื่นๆและนอกจากนี้ ยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างในความบริสุทธิ์จากความผิดพลาดในกิจวัตรประจำวัน และตามความเชื่อของส่วนมาก ถือว่า บรรดาศาสนทูตมีความบริสุทธิ์จากสองสภาพด้วยกัน

ที่มาของความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสนทูต เนื่องจากความการุณย์ของพระผู้เป็นเจ้า หรือความรับรู้อันปราดเปรื่องของพวกเขาเหล่านั้น ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามและเชื่อฟังและการไม่กระทำความผิดบาปใดๆก็ตาม ซึ่ง อันดับแรก ไม่สามารถที่จะเรียนรู้ได้และอันดับที่สอง ไม่มีวันพ่ายแพ้ต่ออารมณ์ของตัวเอง

ความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสนทูต ไม่ได้ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอานอย่างเปิดเผย แต่ทว่าบรรดานักตัฟซีร ได้กล่าวถึง ความบริสุทธิ์ปราศจากบาป ในโองการที่ 36 ซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์ เกี่ยวกับการขับไล่นบีอาดัม และท่านหญิงฮะวา ออกจากสวนสวรรค์

นักเทววิทยาอิสลามทั้งหลาย ได้อ้างเหตุผลทางสติปัญญาสำหรับการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสนทูต และพวกเขาได้ยกหลักฐานจากโองการที่ 7 ซูเราะฮ์อัลฮัชร์

ผู้ที่ปฏิเสธความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสนทูต ได้อ้างโองการอัลกรุอานบางโองการ โดยตั้งคำถามเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสนทูตทั้งหมดหรือเฉพาะบางคน ในคำตอบกล่าวว่า โองการเหล่านี้มีความคลุมเคลือและจะต้องย้อนกลับไปยังโองการที่ชัดแจ้ง สำหรับการตีความและการอธิบาย นอกจากนี้ โองการเหล่านี้ยังไม่สอดคล้องกับบความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสนทูต เนื่องจากการกระทำความผิดของศาสนทูต เรียกว่า เป็นการตัรก์ เอาลา ซึ่งมีความแตกต่างกับความหมายโดยทั่วไปของความผิดและบาป

ความหมายเชิงภาษา

ความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสนทูต หมายถึง ความบริสุทธิ์ของพวกเขา จากการกระทำที่น่ารังเกียจและความชั่วร้ายใดๆก็ตาม [1] ความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสนทูต จึงถือเป็นคุณลักษณะภายในที่ทำให้พวกเขาแยกแยะการกระทำความผิดออกจากการกระทำที่ดีได้อย่างชัดเจน[2]

ในวัฒนธรรมอิสลาม คำต่างๆ เช่น ตันซีฮ์ [หมายเหตุ 1] เตาฟิก ศิดก์ และอะมานะฮ์ ยังถูกนำมาใช้เพื่อแสดงถึงความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสนทูต [3]


เชิงอรรถ

บรรณานุกรม