การให้แหวน

จาก wikishia

การให้แหวน (ภาษาอาหรับ: التصدق بالخاتم) หมายถึง เหตุการณ์การให้แหวนของอิมามอะลี (อ.) กับคนยากจนในสภาพที่เขากำลังกระทำการรุกูอ์ (โค้ง) ในนมาซ เหตุการณ์นี้ ได้มีคำรายงานไว้ในตำราทางริวายะฮ์ทั้งของชีอะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ และตามคำกล่าวของบรรดานักตัฟซีร ระบุว่า โองการวิลายะฮ์ถูกประทานลงเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ การให้แหวนของอิมามอะลี ถือเป็นหนึ่งในความประเสริฐของอิมามอะลี (อ.)

ด้วยการยืนยันในหลักฐานจากการให้แหวนของอิมามอะลี (อ.) บรรดานักนิติศาสตร์ของชีอะฮ์ ได้กล่าวในประเด็นนี้ว่า การเคลื่อนไหวเพียงบางส่วนของร่างกายไม่ได้ทำให้นมาซเป็นโมฆะ ขณะที่บางคนได้ตั้งคำถามว่า การได้ยินเสียงผู้อื่นในเวลานมาซ ไม่เหมาะสมกับสภาพทางจิตวิญญาณของอิมามอะลี (อ.)ในขณะที่กำลังทำนมาซ

คำตอบก็คือ ทั้งการนมาซของอิมามอะลี (อ.)และการบริจาคทานของเขา เพื่ออัลลอฮ์ ด้วยเหตุนี้เอง ทั้งสองการกระทำจึงไม่มีความขัดแย้งกัน

เหตุการณ์

ตามรายงานของบางริวายะฮ์ กล่าวว่า ในวันหนึ่งได้มีชายคนยากจนผู้หนึ่งเข้ามาในมัสยิด และร้องขอความช่วยเหลือ แต่ไม่มีผู้ใดให้สิ่งใดแก่เขาเลย ชายผู้นี้จึงยกมือขึ้นสู่ท้องฟ้าและกล่าวว่า โอ้พระผู้เป็นเจ้า จงเป็นพยานเถิดว่า ฉันขอความช่วยเหลือในมัสยิดของศาสนทูตของพระองค์ แต่ไม่มีผู้ใดให้สิ่งใดแก่ฉันเลย ในขณะเดียวกันนั้น อิมามอะลี ซึ่งกำลังอยู่ในสภาพของการรุกูอ์(โค้ง)ระหว่างการนมาซ เขาได้ชี้นิ้วขวาของเขาไปยังชายผู้นั้น แล้วคนยากจนผู้นั้นก็เข้ามาใกล้เขาและได้ถอดแหวนออกจากมือของเขา (1) เชคมุฟีด รายงานว่า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในวันที่ 24 เดือนซุลฮิจญะฮ์ (2) อีกริวายะฮ์หนึ่ง รายงานว่า ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้ส่งอิมามอะลีไปยังเยเมน ในเวลาที่เขากลับมายังเมืองมักกะฮ์ เขาก็ได้ให้แหวนแก่คนยากจนในสภาพที่กำลังทำรุกูอ์ของนมาซ (3) ฟัยฎ์ กาชานีย์ (เสียชีวิต 1091 ฮ.ศ.) คาดว่า การประทานของโองการ หลังจากการให้แหวนอันที่สอง (4)

ขณะที่ยังมีบรรดานักกวีได้แต่งบทกวีเกี่ยวกับการให้แหวนครั้งนี้ของอิมามอะลี (อ.)

มุฮัมมัดฮุเซน ชะฮ์ริยอร นักกวีชาวอิหร่านได้แต่งบทกวีเกี่ยวกับการให้แหวนของอิมามอะลี (5)

ฮัซซาน บิน ษาบิต กวีเอกชาวอาหรับในศตวรรษที่ 1 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช เขาก็ได้แต่งบทกวีเกี่ยวกับการให้แหวนของอิมามอะลีด้วยเช่นกัน (6)

การประทานลงมาของโองการวิลายัต

บรรดานักตัฟซีร กล่าวว่า สาเหตุการประทานของโองการ

إِنّما وَلیکُمُ اللهُ و رَسولُهُ والّذینَ ءَامَنوا الَّذینَ یقِیمُونَ الصَّلوةَ و یؤتُونَ الزَّکوة و هُم راکِعونَ

"อันที่จริง ผู้ปกครองของพวกเจ้า คือ อัลลอฮ์และศาสนทูตของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธา ซึ่งได้ดำรงนมาซและจ่ายซะกาต(ทาน)ในขณะที่โค้ง(รุกูอ์)" (7)

ซึ่งโองการนี้ เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นโองการวิลายัต ถูกประทานลงมาในเหตุการณ์การให้แหวนของอิมามอะลี (อ.) (8)

กอฎีย์ อะฎุดุดดีน อีญี นักเทววิทยาชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ กล่าวว่า บรรดานักตัฟซีรมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า โองการนี้ถูกประทานให้กับอิมามอะลี (อ.) (9)

แม้ว่า บางตำราตัฟซีรของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ กล่าวว่า โองการวิลายัตถูกประทานให้กับบุคคลอื่นก็ตาม (10)

ส่วนมากของบรรดาอัศฮาบ เช่น อิบนุอับบาส (11) อัมมาร (12) อะบูซัร(13) อะนัส บินมาลิก(14) อะบูรอฟิอ์ มะดีนีย์ (15) และมิกดาด (16)ทั้งหมดได้กล่าวว่า โองการวิลายัตถูกประทานลงมาให้กับอิมามอะลี (อ.)หลังจากเหตุการณ์การให้แหวนของเขา เหตุการณ์การให้แหวนของอิมามอะลี (อ.) มีการบันทึกไว้ในตำราทางริวายะฮ์และตัฟซีรทั้งชีอะฮ์และซุนนีย์ (17)

คุณลักษณะของแหวน

อิมามศอดิก (อ.) กล่าวว่า น้ำหนักของแหวนที่อิมามอะลีได้ให้แก่คนยากจน ขนาด 4 มิษกอล และน้ำหนักของหัวแหวน 5 มิษกอลและเป็นแหวนทับทิมสีแดง ซึ่งราคาของมันเท่ากับภาษีของเมืองชาม (ซีเรีย) (เท่ากับ 300 ตัวอูฐที่บรรทุกเหรียญเงิน และ 4 ตัวอูฐที่บรรทุกทองคำ)

แหวนนี้ เป็นของมัรวาน บินฏูก ซึ่งเขาถูกอิมามอะลี (อ.) สังหารในสงคราม และอิมามอะลี (อ.) ได้นำแหวนดังกล่าวมาให้แก่ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินที่ยึดได้จากสงคราม แล้วศาสดาก็ได้มอบแหวนนี้ เป็นของขวัญให้แก่อิมามอะลี (อ.) (18) (หมายเหตุ 1)

เกี่ยวกับคุณค่าของแหวนที่อิมามอะลี (อ.)ได้ให้บริจาคทาน มีริวายะฮ์หนึ่ง รายงานไว้ในหนังสือตัฟซีรมัจมะอุลบะยาน กล่าวว่า ชนิดของแหวน เป็นแหวนเงิน (20)

การใช้ประโยชน์ทางนิติศาสตร์

บรรดานักนิติศาสตร์บางคนของชีอะฮ์ได้ใช้เป็นหลักฐานพิสูจน์ถึงการบริจาคแหวนของอิมามอะลี (อ.)ในสภาพที่กำลังรุกุอ์นั้น ไม่ได้ทำให้นมาซเป็นโมฆะ โดยถือว่า เป็นการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น (22) บางคนยังได้ให้เหตุผลสำหรับการพิสูจน์เนียต ซึ่งเป็นการกระทำด้วยหัวใจและไม่จำเป็นที่จะต้องกล่าวเป็นภาษาพูด (23) นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาว่าโองการ กล่าวถึงการบริจาคด้วยชื่อของซะกาต พวกเขาจึงได้ข้อสรุปจากเรื่องนี้ว่า ซะกาตรวมถึงการบริจาคทางกุศลที่เป็นมุสตะฮับ [24] บางคน กล่าวว่า การให้ความสนใจกับคนจนและการรับฟังเสียงของเขาในการนมาซนั้นไม่เข้ากับสภาพด้านจิตวิญญาณของอิมามอะลี(อ.) ในขณะที่กำลังทำนมาซ ในคำตอบ สามารถกล่าวได้ว่า ทั้งการนมาซของอิมามอะลี (อ.) และการบริจาคของเขา เพื่อพระผู้เป็นเจ้าทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้เอง จึงไม่มีข้อโต้แย้งใดๆที่จะได้ยินเสียงของคนยากจนในขณะที่กำลังทำนมาซและบริจาคให้เขา เพื่อแสวงหาความพอพระทัยของพระเจ้า เช่นเดียวกับที่ศาสดามุฮัมมัด (ศ็ํอลฯ) เมื่อเขาได้ยินเสียงเด็กร้องไห้ขณะนมาซ เขาได้ทำนมาซให้เสร็จโดยเร็วกว่าปกติ เพื่อที่มารดาของเด็กจะได้ไปหาเด็กน้อยนั้น [25] อัลลามะฮ์ มัจญ์ลิซี กล่าวว่า การให้ความสนใจกับอิบาดัตอื่นในการนมาซ ไม่ถือเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับความสมบูรณ์แบบการนมาซและการเข้าร่วมของหัวใจอยู่ในนั้น [26] นักรหัสยบางคน ยังให้ความชอบธรรมกับการกระทำของอิมามอะลี (อ.) ด้วยประเด็นที่ว่า จิตวิญญาณที่เข้มแข็งสามารถปฏิบัติภารกิจมากกว่าหนึ่งอย่างพร้อมกันได้อย่างสมบูรณ์และด้วยความสนใจอย่างเต็มที่ ในขณะการนมาซ เขาไม่ได้ละทิ้งสถานะของการนมาซเและยังให้ความสนใจอย่างเต็มที่ต่อพระผู้เป็นเจ้าอีก [ต้องการแหล่งที่มา]


เชิงอรรถ

บรรณานุกรม