การโจมตีของอิหร่านต่ออิสราเอล

จาก wikishia

การโจมตีของอิหร่านต่ออิสราเอล หรือ ปฏิบัติการอัลวะอ์ด อัซซอดิก (ภาษาอาหรับ: الهجوم الإيراني على إسرائيل) (พันธสัญญาที่สัตย์จริง) เป็นปฏิบัติการทางทหารของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านที่มีต่ออิสราเอล เพื่อตอบโต้การโจมตีของระบอบไซออนิสต์เข้าใส่สถานกงสุลอิหร่านในกรุงดามัสกัส ในปฏิบัติการครั้งนี้ ขีปนาวุธจำนวนหนึ่งถูกยิงโดยตรงจากดินแดนอิหร่านโดยผ่านระบบป้องกันภัยทางอากาศของอิสราเอลและโจมตียังเป้าหมายทางทหารในดินแดนที่ถูกยึดครองในปฏิบัติการดังกล่าวนี้

คำอธิบายการปฏิบัติการ

การปฏิบัติการภายใต้รหัสของ "ยารอซูลุลลอฮ์" ในช่วงดึกของวันที่ ‎‎13 และช่วงเช้าวันที่ 14 เมษายน 2024 (ตามเวลาท้องถิ่น) โดยการยิงขีปนาวุธและโดรนหลายสิบลูกจากอิหร่านไปยังอิสราเอล [1] นี่เป็นการเผชิญหน้าโดยตรงครั้งแรกระหว่าง อิหร่านและอิสราเอล [2] ] ตามข้อมูลของเจ้าหน้าที่ทหารอิสราเอล ‎ระบุว่า โดรน 185 ลำ ขีปนาวุธพื้นสู่พื้น 110 ลูก และขีปนาวุธร่อน 36 ลูก ถูกยิงใส่อิสราเอล ส่วนใหญ่มาจากอิหร่าน ‎และอีกสองสามลูกจากอิรักและเยเมน [3] การโจมตีฐานทัพอากาศเนวาติม เป็นหนึ่งในเป้าหมายของการปฏิบัติการด้วยขีปนาวุธและโดรนของอิหร่านเพื่อเป็นการตอบโต้ต่อการโจมตีของไซออนิสต์(4)

ตามรายงานของ ยูโรนิวส์ ระบุว่า ในปฏิบัติการครั้งนี้ มีกลุ่มอัลฮูษีของเยเมน กองกำลังติดอาวุธของอิรัก และกลุ่มฮิซบุลเลาะห์ของเลบานอน ร่วมปฏิบัติการด้วยและให้การช่วยเหลือต่ออิหร่าน ขณะที่ พื้นที่ทางตอนเหนือ ใต้ และตะวันออกของดินแดนที่ถูกยึดครอง และที่ราบสูงโกลานที่ถูกยึดครอง ก็ตกเป็นเป้าหมายด้วยเช่นกัน(5)

ปฏิบัติการครั้งนี้ ถูกเรียกว่า เป็นการโจมตีด้วยโดรนที่ใหญ่ที่สุดในโลก การโจมตีด้วยขีปนาวุธครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของอิหร่าน[6] และการโจมตีในลักษณะนี้ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน[7]

ตามแหล่งข่าว บางประเทศเช่น อเมริกา อังกฤษ[8] และจอร์แดน[9] ได้ช่วยเหลืออิสราเอลในการสกัดกั้นขีปนาวุธและโดรนของอิหร่าน อย่างไรก็ตาม ตามรายงาน ระบุว่า มีขีปนาวุธจำนวนหนึ่งได้โจมตีฐานทัพอากาศรามอนและเนวาติมในแผ่นดินของปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครอง(10)


ด้วยเหตุใดอิหร่านจึงโจมตีอิสราเอล?

ปฏิบัติการครั้งนี้ ดำเนินการเพื่อเป็นการตอบโต้การโจมตีของอิสราเอลต่อสถานกงสุลสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านในกรุงดามัสกัส ประเทศซีเรีย เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2024 [11] จากการโจมตีเข้าใส่อาคารกงสุลอิหร่านโดยอิสราเอล ทำให้นายทหารทั้งเจ็ดนาย ของกองทัพพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม รวมทั้ง นายพลมูฮัมหมัด เรซา ซาเฮดี ผู้บัญชาการอาวุโสของกองกำลังกุดส์ ‎ถูกสังหารเสียชีวิต [12] ตัวแทนของอิหร่านประจำสหประชาชาติ ถือว่า ปฏิบัติการทางทหารของอิหร่านตรงตามมาตรา 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ [หมายเหตุ 1] และการป้องกันโดยชอบธรรม[13]

การตั้งชื่อปฏิบัติการว่า พันธสัญญาที่สัตย์จริง

ในแถลงการณ์ของกองทัพผู้พิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม เรียกปฏิบัติการดังกล่าวนี้ว่า พันธสัญญาที่สัตย์จริง และเรียกการปฏิบัติการนี้ว่า เป็นส่วนหนึ่งของการลงโทษต่ออิสราเอล ซึ่งดำเนินการโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาความมั่นคงแห่งชาติของอิหร่าน และอยู่ภายใต้การดูแลของกองบัญชาการของกองทัพ [14] นอกเหนือจากนี้ ยังได้รับการสนับสนุนจากกองทัพและกระทรวงกลาโหมของสาธารณรัฐอิสลามในปฏิบัติการครั้งนี้ [15] ก่อนหน้านี้ อยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านได้กล่าวถึงการลงโทษระบอบการปกครองอิสราเอล [16] และคำตอบที่น่าเสียใจของพวกเหล่านี้ [17]

ปฏิกิริยาต่างๆ

ในเวลาเดียวกันกับการปฏิบัติการของกองทัพผู้พิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม กลุ่มผู้คนในเมืองต่างๆ ของอิหร่าน เช่น ‎เตหะราน อิสฟาฮาน และเคอร์มาน[18] รวมถึงในเลบานอน[19] อิรัก[20] ออกมาตามท้องถนนและแสดงความยินดี นอกจากนี้ ในวันที่ 14 เมษายน ยังมีการชุมนุมของประชาชนในเมืองต่างๆ ของอิหร่าน [21] และในบางประเทศ [22] เพื่อสนับสนุนต่อการปฏิบัติการดังกล่าวนี้อีกด้วย

บรรดานักวิชาการและบุคคลสำคัญทางศาสนาและการเมือง ต่างตอบสนองต่อปฏิบัติการนี้ รวมถึงอยาตุลลอฮ์มะการิม ชีรอซี จากบรรดามัรญิอ์ตักลิด ซึ่งถือ การปฏิบัติการนี้ เป็นที่มาความสุขและความภาคภูมิใจสำหรับชาวมุสลิม [23] อยาตุลลอฮ์นูรี ฮะมะดานี ได้ส่งสาส์น โดยถือว่า การปฏิบัติการนี้มีความเหมาะสมและได้รับการสนับสนุนอีกด้วย [24] นอกจากนี้ ในหน้าสื่อสังคมออนไลน์ของอาห์มัด บิน ฮาหมัด อัล-คอลีลี แกรนด์มุฟตีแห่งราชอาณาจักรโอมาน บนโซเชียลเน็ตเวิร์ก X เขียนว่า การดำเนินการของชาวอิหร่านได้อธิบายว่า ทำให้มีความสุขจริงๆ(25)

สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และบางประเทศในยุโรปที่สนับสนุนอิสราเอลประณามการปฏิบัติการพันธสัญญาที่สัตย์จริง[26]

เลขาธิการสหประชาชาติได้เชิญรัสเซีย จีน อิหร่าน และอิสราเอลให้ใช้ความยับยั้งชั่งใจ[27]

ผลกระทบที่ตามมา

หลังจากการโจมตีด้วยโดรนและขีปนาวุธของอิหร่านต่ออิสราเอล ทางการอิสราเอลสัญญาว่า จะตอบโต้อย่างรุนแรงและน่าเสียใจ แต่คำสัญญานี้ไม่ได้รับการตอบรับจากอเมริกา ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนและพันธมิตรรายใหญ่ที่สุดของอิสราเอล ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐฯ สนทนาทางโทรศัพท์กับนายกรัฐมนตรีเนทันยาฮูของอิสราเอล เตือนเขา ไม่ให้ตอบโต้การโจมตีของอิหร่าน และประกาศว่า หากอิสราเอลตอบโต้ เขาไม่ควรคาดหวังการสนับสนุนจากอเมริกา[28]

ตัวแทนของอิสราเอลประจำสหประชาชาติ เรียกร้องให้คว่ำบาตรอิหร่านเพิ่มเติม และรวมถึงกองทัพพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามไว้ในรายชื่อเป็นองค์การก่อการร้าย (29)

ตามรายงานของ อัลจาซีร่า โดยอ้างจากหนังสือพิมพ์ เยดิออธ อาห์โรนอธ ของไซออนิสต์ ระบุว่า อิสราเอลได้จ่ายค่าใช้จ่ายในการสกัดกั้นโดรนและขีปนาวุธของอิหร่านในการปฏิบัติการครั้งนี้ ระหว่าง 1.08 ถึง 1.35 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่ อิหร่านได้ใช้ไปประมาณ 10% ของจำนวนเงินนี้เท่านั้น[30]‎

หมายเหตุ

1.ในกรณีของการโจมตีด้วยอาวุธต่อสมาชิกของสหประชาชาติ ตราบใดที่คณะมนตรีความมั่นคงดำเนินการที่จำเป็นเพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ บทบัญญัติของกฎบัตรนี้จะไม่กระทบต่อสิทธิโดยธรรมชาติของการป้องกันตนเอง ไม่ว่าจะเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม (กฎบัตรสหประชาชาติและธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หน้า 39 มาตรา 51)

เชิงอรรถ

บรรณานุกรม