การเดินเท้าวันอัรบะอีน (ประเพณี)
การเดินเท้าวันอัรบะอีน (ภาษาอาหรับ: مسيرة الأربعين) หรือ การเดินขบวนในวันอัรบะอีน ถือเป็นหนึ่งในประเพณีของชีอะฮ์ ที่จัดขึ้นในวันที่ 20 ศอฟัร (อัรบะอีน ฮุซัยนี) การเดินทางเท้า เริ่มต้นจากสถานที่ต่างๆของอิรัก มุ่งหน้าไปยังเมืองกัรบะลา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการซิยาเราะฮ์วันอัรบะอีน ส่วนมากของบรรดาซาอิร(ผู้แสวงบุญ) ได้เริ่มต้นการเดินทางจากเส้นทางเมืองนะญัฟ มายังเมืองกัรบะลา ในระหว่างทางเดินขบวน ตามจุดต่างๆมีเมากิบ(สถานที่ให้บริการอาหารและน้ำกับบรรดาซาอิร)
ในสมัยการปกครองของซัดดาม ฮุสเซน พิธีกรรมนี้ได้ถูกจำกัดเป็นอย่างมาก แต่หลังจากการล่มสลายของพรรคบาชของอิรัก ในปี 2003 ค.ศ. พิธีกรรมนี้ได้ถูกฟื้นฟูอีกครั้ง และในทุกปี นอกจากบรรดาชีอะฮ์ชาวอิรักแล้ว ยังมีชาวชีอะฮ์จากประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะอิหร่านก็เข้าร่วมในการเดินขบวนในวันอัรบะอีนด้วยเช่นกัน ตามรายงานต่างๆ นอกเหนือจากชาวชีอะฮ์ ก็ยังมีชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ชาวคริสเตียน ชาวอีซะดียอน(ยาซีดีส) และมุสลิมนิกายอื่นๆ เข้าร่วมในการเดินเท้าวันอัรบะอีนด้วยเช่นกัน
ในหลายปีที่ผ่านมา มีผู้เข้าหลายสิบล้านคนในการเดินขบวนนี้ โดยถือว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดประจำปีในการรวมตัวของมวลชนของโลก เกี่ยวกับจำนวนของผู้เข้าร่วมในการเดินขบวนนี้ ตามสถิติระบุว่า อยู่ในระหว่าง 10 ล้าน ถึง 20 ล้าน คน ด้วยกัน
คำสั่งให้ทำการซิยาเราะฮ์อัรบะอีน
ตามแหล่งข้อมูลทางฮะดีษ รายงานจากอิมามฮะซัน อัสกะรี (อ.) กล่าวว่า การซิยาเราะฮ์อัรบะอีน เป็นหนึ่งในสัญลักษณะของมุอ์มิน (1) นักวิชาการบางคน เชื่อว่า ฮะดีษนี้ เป็นเหตุผลหนึ่งสำหรับการรำลึกถึงวันอัรบะอีน (1)
นอกจากนี้ ยังมีบทซิยาเราะฮ์สำหรับวันอัรบะอีนซึ่งได้รายงานจากอิมามศอดิก (อ.) (2) เชคฏูซี ในหนังสือตะฮ์ซีบุลอะฮ์กาม (3) และมิศบาฮุลมุตะฮัจญิด (4) และเชคอับบาส กุมมี ได้รายงานบทซิยาเราะฮ์นี้ไว้ในหนังสือมะฟาติฮุลญินาน ในบทที่ 3 หลังจากบทซิยาเราะฮ์อาชูรอที่ไม่ถูกรู้จัก ภายใต้หัวข้อ ซิยาเราะฮ์อัรบะอีน (5)
ประวัติความเป็นมา
นักวิจัยบางคนกล่าวว่า การเดินขบวนในวันอัรบะอีน ได้การปฏิบัติสืบกันต่อมาตั้งแต่ยุคสมัยของบรรดาอิมาม (อ.)ในหมู่ชีอะฮ์ ซัยยิด มุฮัมมัดอะลี กอฎี ฏอบาฏอบาอี ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการค้นหากรณีแรกของอัรบะอีนซัยยิดุชชุฮะดาอ์ ถือว่า การซิยาเราะฮ์อิมามฮุเซน (อ.) ในวันอัรบะอีน เป็นซุนนะฮ์และเป็นการกระทำอย่างสม่ำเสมอของชีอะฮ์ทั้งหลายในยุคสมัยของบรรดาอิมาม ซึ่งอยู่ในการปกครองบะนีอุมัยยะฮ์และบะนีอับบาซียะฮ์ (6)
กล่าวได้ว่า หลังจากยุคของเชคอันศอรีย์ ซุนนะฮ์นี้ได้ถูกลืมเลือน และมุฮัดดิษ นูรี เป็นผู้ฟื้นฟูอีกครั้ง (6) ผู้เขียนหนังสืออะดะบุฏฏ็อฟ ได้รายงานเกี่ยวกับพิธีอัรบะอีนในกัรบะลา การรวมตัวในพิธีกรรมนี้ เมื่อได้เปรียบเทียบกับการรวมตัวของชาวมุสลิมในมักกะฮ์และการเข้าร่วมในฮัยอัตของการไว้อาลัย ซึ่งมีการอ่านมัรเซียะฮ์เป็นภาษาตุรกี อาหรับ ฟารซีย์และอุรดู อะดะบุฏฏ็อฟ ได้จัดพิมพ์ในปี 1388 ฮ.ศ./1967 ค.ศ.และผู้เขียนคาดคะเนว่า จำนวนผู้เข้าร่วมในการเดินขบวนอัรบะอีน มากกว่า 1 ล้านคน (8)
การถูกห้ามไม่ให้การเดินขบวนในยุคสมัยซัดดาม
ในการเดินทางวันอัรบะอีน ปี 1393 สุริยคติ ได้มีการนมาซแบบญะมาอะฮ์ ตลอดทาง 30 กิโลเมตร ในระหว่างทางเมืองนะญัฟถึงเมืองกัรบะลาและมีผู้เข้าร่วมหลายพันคน (9) ในช่วงปลายศตวรรษที่ 14 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช พรรคบาธของอิรักได้สั่งห้ามการจัดพิธีการเดินขบวนในวันอัรบะอีนและบางครั้งได้มีการกระทำอย่างรุนแรงกับผู้เข้าร่วมในการเดินขบวน ปัญหาทำให้พิธีกรรมนี้มีความสำคัญน้อยลง อยาตุลลอฮ์ ซัยยิดมุฮัมมัด ศ็อดร์ ในช่วงหนึ่ง เขาได้ประกาศว่า การเดินเท้าไปยังกัรบะลา เป็นวาญิบ (10)
อินติฟาเฎาะฮ์ อัรบะอีน
ในช่วงปี 1398 ฮ.ศ.(ตรงกับ 1977 ค.ศ.) พรรคบาธของอิรักได้สั่งห้ามการจัดพิธีกรรมทางศาสนาการตั้งเมากิบและการเดินเท้าไปยังเมืองกัรบะลา (11) แต่ทว่า ประชาชนชาวเมืองนะญัฟ ได้จัดพิธีการเดินเท้าวันอัรบะอีน (12) ไปยังกัรบะลา การเคลื่อนไหวนี้ได้เกิดการปะทะกับระบอบซัดดาม และมีประชาชนจำนวนหนึ่งถูกสังหารและบางส่วนถูกจับกุมตัว (13) ซัยยิดมุฮัมมัดบากิร อัลฮะกีม ได้ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตจากการประท้วงอินติฟาเฎาะฮ์นี้ (14) และนักวิชาการบางคน เช่น อัลลามะฮ์ อัสกะรี และซัยยิดมุฮัมมัดฮุเซน ฟัฎลุลลอฮ์ ซึ่งได้หนีออกจากอิรัก ก็ถูกตัดสินโทษประหารชีวิตด้วยเช่นกัน (15)
การเพิ่มขึ้นของผู้แสวงบุญอัรบะอีน
อยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี :
ปรากฏการณ์ที่ไม่เสมือนผู้ใดและไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และการเดินเเท้า...จนถึงกัรบะลา การเคลื่อนไหวนี้ เป็นการเคลื่อนไหวแห่งความรักและความศรัทธา เราได้มองจากมุมไกลถึงการเคลื่อนไหวนี้ และอิจฉาเป็นอย่างยิ่งสำหรับบุคคลที่ได้รับโอกาสในการเคลื่อนไหวนี้ (16)
ด้วยการล่มสลายของพรรคบาธของอิรัก ในปี 2003 ค.ศ. พิธีการเดินขบวนในวันอัรบะอีนได้รับการฟื้นฟูขึ้นอีกครั้งในอิรัก และหลังจากนั้น ในทุกปี จะมีผู้คนที่เข้าร่วมมากกว่าปีที่ผ่านมา (17) ในช่วงเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวนี้ ประชาชนจำนวนสองจนถึงสามล้านคนเข้าร่วม แต่หลายปีต่อมา จำนวนของผู้แสวงบุญที่เข้าร่วมในการเดินขบวนมีมากกว่าสิบล้านคน (18) จนกระทั่งถือได้ว่า การเดินขบวนนี้ เป็นหนึ่งในการเดินขบวนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดหรือการรวมตัวทางศาสนาของโลกที่ใหญ่ที่สุด (19)
ในปี 2016 ค.ศ. สำนักงานผู้ดูแลฮะรอมท่านอับบาส (อ.) ได้แถลงการณ์ว่า ในช่วงสิบสามก่อนถึงวันอัรบะอีน (หมายถึง จากวันที่ 7 ศอฟัร ถึง 20 ศอฟัร) มีบรรดาซาอิรมากกว่าสิบเอ็ดล้านสองแสนคนเดินทางมายังเมืองกัรบะลา (20) ในปี 2018 ค.ศ. สำนักงานผู้ดูแลฮะรอมท่านอิมามฮุเซน (อ.) ได้แถลงการณ์ว่า ในช่วงสิบวันก่อนถึงวันอัรบะอีน (หมายถึง วันที่ 10 ถึง 20 ศอฟัร) มีบรรดาซาอิร มากกว่า สิบเอ็ดล้านแปดแสนห้าหมื่นคน เดินทางผ่านประตูหลักของเมืองกัรบะลามายังเมืองนี้แล้ว ขณะที่ผู้ที่เดินทางเข้ามายังเมืองกัรบะลา โดยที่ไม่ได้ผ่านเส้นทางหลักหรือด้วยเหตุผลใดก็ตามที่เข้ามายังเมือง (ระยะห่าง ระหว่างฮะรอมประมาณ 3 กิโลเมตร) พวกเหล่านี้ไม่ได้ถูกนับคำนวณแต่อย่างใด (21)
เกี่ยวกับจำนวนของผู้แสวงบุญ มีการรายงานผ่านเว็บไซต์และแหล่งข่าวอื่นๆที่มากกว่านี้ บางรายงานระบุว่า มีผู้เข้าร่วม 15 ล้านคนที่เป็นผู้แสวงบุญชาวชีอะฮ์ในการเดินขบวนนี้ (22) ในปี 1401/1444 ฮ.ศ. หลังจากเหตุการณ์แพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า ถือเป็นปีแรกที่ไม่มีข้อจำกัดโคโรน่า โดยสำนักข่าวต่างๆ รายงานว่า มีจำนวนผู้แสวงบุญมากกว่า 21 ล้านคน ด้วยกัน (23)
ผู้ที่ไม่ใช่คนพื้นเมืองเข้าร่วมในการเดินขบวน
กระทรวงมหาดไทยของอิรักได้เปิดเผยสถิติในปี 1392/2013 ค.ศ.ว่า อย่างน้อยที่สุด มีผู้แสวงบุญชาวต่างชาติ ถึง หนึ่งล้านสามแสนคน เดินทางไปยังประเทศอิรัก เพื่อเข้าร่วมในการเดินขบวนวันอัรบะอีน (24) ตามสถิติของรัฐบาลอิรัก ระบุว่า ในปี 1398/2018 ค.ศ. มีจำนวนชาวต่างชาติมากกว่าหนึ่งล้าน แปดแสนคน เข้าร่วมในการเดินขบวนวันอัรบะอีนที่ประเทศอิรัก (25)ในปี 1401/2023 สถิติจำนวนผู้แสวงบุญที่ไม่ใช่ชาวอิรัก มีถึง ห้าล้านคน (26) ซึ่งในจำนวนเหล่านี้ จำนวน สามล้านห้าแสนคนเป็นชาวอิหร่าน (27)
เส้นทางเดินและระยะทาง
บรรดาผู้แสวงบุญชาวอิรัก ได้เดินทางออกจากเมืองของตนไปยังเมืองกัรบะลา แต่ทว่า ส่วนมากของผู้แสวงบุญชาวอิหร่าน และผู้แสวงบุญที่เดินทางมาจากประเทศอื่นๆ เข้าสู่อิรักโดยผ่านอิหร่าน โดยพวกเขาเลือกเส้นทางจากเมืองนะญัฟไปยังกัรบะลาในการเดินเท้า ระยะทางการเดินเท้าบนเส้นทางหลัก ประมาณ 80 กม. ซึ่งตามปกติจะใช้เวลาประมาณสองถึงสามวัน และมีเสาหลัก 1,452 ต้น ตั้งอยู่บนถนน ตั้งแต่เมืองนะญัฟไปจนถึงกัรบะลา [28] นอกจากนี้ ยังมีถนนอีกสายหนึ่งที่มาจากเมืองนะญัฟ ไปยัง กัรบะลา ซึ่งรู้จักกันในชื่อว่า ฏอรีกอัลอุละมาอ์ หรือ ฏอรีกอัลฟุรอต และผู้แสวงบุญบางคนที่เดินทางไปยังกัรบะลา โดยใช้เส้นทางนี้ ฏอรีกอัลอุละมาอ์ ผ่านสวนอินทผลัม อยู่ริมแม่น้ำยูเฟรติส ระยะทาง ประมาณ 89 กม. ในอดีตที่ผ่านมา บรรดานักวิชาการชาวเมืองนะญัฟได้ใช้เส้นทางนี้ในการเดินเท้าในช่วงวันอัรบะอีน สาเหตุหนึ่งที่พวกเขาใช้เส้นทางนี้ คือ ข้อห้ามที่ถูกกำหนดในระหว่างระบอบการปกครองรัฐบาลบาธของอิรัก สำหรับการเดินเท้าในวันอัรบะอีน และซิยาเราะฮ์เมืองกัรบะลา (29)
การเดินเท้าผ่านเมืองต่างๆของอิหร่าน
ผู้แสวงบุญบางคน เริ่มออกเดินทางจากเมืองต่างๆ ในอิหร่าน มะชายะฮ์ อัลอะฮ์วาซ เป็นชื่อของคาราวานที่เริ่มต้นเดินทางออกจากเมืองอะฮ์วาซ และมีผู้คนจากเมืองและหมู่บ้านต่าง ๆ เข้าร่วมตลอดทาง(30) จำนวนของผู้เข้าร่วมคาราวานนี้ ซึ่งเดินทางจากวันที่ 5 เดือนศอฟัร บางครั้งมีผู้คนมากกว่าสี่หมื่นคนด้วยกัน [31]
ผู้คนบางส่วนจากภูมิภาคอื่นๆ ของอิหร่าน เช่น บางเมืองของจังหวัดบูเชฮ์ร์ในอิหร่าน ก็เดินเท้าไปยังกัรบะลาเช่นกัน
มารยาทและขนบประเพณี
การเดินเท้าในวันอัรบาอีนในอิรัก มีความเกี่ยวข้องกับขนบประเพณี พิธีกรรม และมารยาทต่างๆที่สำคัญ ในจำนวนนี้ เช่น มีกลุ่ชนเผ่าเร่ร่อน ซึ่งอาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยูเฟรติส ได้อ่านบทกวีและให้การต้อนรับผู้แสวงบุญ
การอ่านบทกวีเป็นหมู่คณะ : หนึ่งในพิธีกรรมและมารยาทของชาวอิรักในการเดินทางไปยังกัรบะลาในวันอัรบาอีน คือ การอ่านบทกวีเป็นหมู่คณะ ในภาษาท้องถิ่น เรียกว่า ยัซละฮ์ หรือฮูซะฮ์ หมายถึงบทกวีพิเศษของกลุ่มชนเผ่าอาหรับทางตอนใต้ของประเทศอิรัก บทกวีเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญชาญชัย และใช้เพื่อเป็นแรงจูงใจในเจตนารมณ์ของบุรุษจากการปฏิบัติภารกิจที่ยิ่งใหญ่และยากลำบาก หลังจากที่มีการอ่านบทกวีเป็นหมู่คณะ ผู้คนจะเข้าร่วมอ่านซ้ำและมีการเดินรอบเป็นวงกลม (33)
จุดเริ่มต้นของพิธีกรรม: พิธีการไว้อาลัย เริ่มต้นขึ้น ห้าวัน ก่อนวันอัรบาอีน พร้อมด้วยกองคาราวานในการแสดงละครและการอ่านตะอ์ซียะฮ์ หลังจากนั้น จะมีการทำมะตั่ม และพิธีการหลัก จะเริ่มต้นขึ้นในสองชั่วโมงก่อนเที่ยงของวันอัรบะอีน โดยผู้แสวงบุญยืนอยู่ใกล้ทางเข้าฮะรอมของอิมามฮุเซน (อ.) และทำการมะตั่มและกล่าวมัรเซียะฮ์ และอ่านซ้ำหลายครั้ง และในท้ายสุด การมะตั่ม พวกเขาก็ยกมือขึ้นเพื่อกล่าวสลามและให้ความเคารพ(34)
การต้อนรับผู้แสวงบุญ : กลุ่มชนเผ่าเร่ร่อน ที่อาศัยใกล้แม่น้ำยูเฟรติส จะตั้งกระโจมขนาดใหญ่ ในระหว่างทางบนเส้นทางเดินเท้า ซึ่งพวกเขา เรียกว่า เมากิบ หรือมุฎ็อยฟ์ และให้การต้อนรับผู้แสวงบุญและให้สถานที่พักผ่อนกับพวกเขา [35] สังคมทางศาสนาของอิรัก ได้มีการจัดตั้งเมากิบต่างๆอย่างมากมายและให้บริการแก่ผู้แสวงบุญในรูปแบบฟรี ซึ่งการบริหารจัดการเมากิบต่างๆโดยประชาชนและเป็นอิสระจากรัฐบาล[36]
ผู้ที่พลาดโอกาสในการเดินเท้าวันอัรบะอีน
สำหรับผู้ที่ไม่ได้รับโอกาสในการเข้าร่วมในการเดินเท้าในวันอัรบะอีน จะมีการจัดพิธีกรรมของวันนั้นในเมืองต่างๆ(37)ในพิธีการนี้ เป็นการจัดงานให้กับบรรดาบุคคลที่ไม่สามารถเข้าร่วมในการเดินเท้าวันอัรบะอีนที่ประเทศอิรักได้ จะมีการกำหนดเส้นทางที่เฉพาะให้กับพวกเขาในการเดินทางด้วยเช่นกัน (38) พิธีการนี้ จะยังมีการจัดขึ้นในประเทศอิรัก[39] ปากีสถาน[40] และอัฟกานิสถาน อีกด้วย[41]
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- อัลอัรบะอีน อัลฮุซัยนียะฮ์ เป็นหนังสือในภาษาเปอร์เซีย ได้รับการประพันธ์โดย มีรซา มุฮัมมัด อิรบาบ กุมมี (เสียชีวิตในปี 1341 ฮ.ศ.) ซึ่งเขียนขึ้นในปี 1328 ฮ.ศ. ผู้เขียนได้กล่าววิพากษ์วิจารณ์ถึงการไม่รักษาหลักการปฏิบัติในการจัดงานไว้อาลัยและการรายงานความบิดเบือนต่างๆ เช่น การแต่งงานของท่านกอซิม ในบางหนังสือมักตัล หลังจากนั้นก็อธิบายถึงสี่สิบฮะดีษที่เกี่ยวกับเดือนมุฮัรรอม เหตุการณ์อาชูรอ อิมามฮุเซน และบรรดาชะฮีดแห่งกัรบะลา (43)
- หนังสือทั้งหกเล่มที่เกี่ยวกับการเดินเท้าของวันอัรบะอีน ในทัศนะของท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม อยาตุลลอฮ์คาเมเนอี รวมทั้งสุนทรพจน์ของท่าน ซึ่งได้ชี้ให้เห็นถึงภารกิจหลัก 5 ประการของขบวนการการเดินเท้าในวันอัรบะอีนทั่วโลก ได้แก่ ความเป็นเอกภาพ การฟื้นฟูเหตุการณ์กัรบาลา การต่อสู้ของธรรมในการเผชิญหน้ากับอธรรม เหตุการณ์การเดินเท้าในวันอัรบะอีน และการสร้างต้นแบบ (44) แต่ละหัวข้อเหล่านี้ รวบรวมไว้ในเล่มเดียวโดย ซัยยิดมุฮัมมัด ศอดิกี อัรมาน และได้รับการจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ชะฮีดกาซิมี ในปี 1398 สุริยคติ(45)
- วัลลอฮ์ มุติมมะนูริฮ์ การสัมนาและการประชุมพิเศษของการประชุมนานาชาติ ลิกาอุลฮุเซน (อ.) ,เมืองกุม .สำนักพิมพ์ญัมกะรอน ,1395 สุริยคติ
* รายงานที่เกี่ยวกับขบวนการวันอัรบาอีน โดย ฆุลามอะลี ฮัดดาด อาดิล ,กรุงเตหะราน, สำนักพิมพ์ฟัรฮังก์อิสลาม, พิมพ์ครั้งที่ 3, 1397, สุริยคติ[46]