การสมรสระหว่างอิมามอะลี (อ.)กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.)

จาก wikishia

การสมรสระหว่างอิมามอะลี (อ.)กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) หมายถึง การแต่งงานของท่านอิมามอะลี (อ.) กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) บุตรีของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)

ตามรายงานจากแหล่งข้อมูลทางฮะดีษ กล่าวว่า ก่อนที่อิมามอะลี (อ.) จะไปสู่ขอท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ได้มีหลายบุคคลไปสู่ขอท่านหญิง แต่ศาสดามุฮัมมัด ได้ตอบกับพวกเขาว่า การแต่งงานของฟาฏิมะฮ์นั้นเป็นอำนาจของอัลลอฮ์ (ซ.บ.)

ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เป็นผู้อ่านอักด์นิกะฮ์ให้กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.)และอิมามอะลี (อ.)

ตามทัศนะที่เป็นที่รู้จักกัน รายงานว่า มะฮัร (สินสมรส) ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ มีดังนี้ 500 ดิรฮัม (เท่ากับ1500 กรัมเงิน) ซึ่งถูกเรียกว่า สินสอดที่เป็นซุนนะฮ์

ตามริวายะฮ์ทั้งหลาย กล่าวว่า อิมามอะลี (อ.) ได้ขายชุดเกราะของเขาและนำเงินไปให้กับศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแต่งงานของเขากับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) นอกจากนี้ ในคืนการแต่งงานของอิมามอะลี (อ.)กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ยังมีการจัดเลี้ยงอาหารในเมืองมะดีนะฮ์อีกด้วย ตามรายงานทางประวัติศาสตร์และริวายะฮ์ กล่าวว่า การแต่งงานของอิมามอะลี (ซ.)กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) เกิดขึ้นในปีที่ 2 หรือปีที่ 3 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช แต่ทว่ามีความเห็นที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับวันและเดือนของมัน

ดั่งที่ในหนังสือมะนากิบอาลิอะบีฏอลิบ (เขียนในศตวรรษที่ 6 ฮ.ศ) ระบุว่า การอ่านอักด์นิกะฮ์ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ เกิดขึ้นในวันที่ 1 ของเดือนซุลฮิจญะฮ์ และการจัดพิธีสมรสในวันที่ 6 ของเดือนซุลฮิจญะฮ์ ปีที่ 2 ฮิจเราะฮ์ศักราช แต่ทว่าในปฏิทินสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน บันทึกไว้ว่า วันที่ 1 ซุลฮิจญะฮ์ ตรงกับวันคล้ายวันสมรสของอิมามอะลี (อ.)กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) จึงถูกตั้งชื่อให้เป็นวันแห่งการแต่งงานประจำชาติ

การสู่ขอท่านหญิงฟาฏิมะฮ์

ตามพื้นฐานของแหล่งข้อมูล รายงานว่า เหล่าศอฮาบะฮ์หลายคน เช่น อะบูบักร บิน อะบีกุฮาฟะฮ์ และอุมัร บินค็อฏฏ็อบ ได้เข้ามาสู่ขอท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ก่อนหน้าท่านอะลี (อ.) แต่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้ให้คำตอบกับพวกเขาว่า การแต่งงานฟาฏิมะฮ์นั้น เป็นพระประสงค์ของอัลลอฮ์ (1)

มีริวายะฮ์หนึ่ง รายงานจากหนังสือ อะมาลี ของเชคฏูซีย์ ระบุว่า อิมามอะลี (อ.) ได้เข้ามาสู่ขอท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ท่านศาสดาได้ตอบว่า ตามความคิดเห็นของฟาฏิมะฮ์เลย ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.)ได้นิ่งเงียบ ซึ่งท่านศาสดาจึงถือว่า การนิ่งเงียบของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ คือ การพึงพอใจของนาง(2)

หลังจากเหตุการณ์นี้ ญิบรออีลได้ลงมายังท่านศาสดา แล้วท่านศาสดาก็ได้ขอร้องให้ญิบรออีนทำการแต่งงานท่านหญิงฟาฏิมะฮ์กับท่านอะลี เพราะว่า อัลลอฮ์ทรงพอพระทัยที่ฟาฏิมะฮ์สำหรับอะลี และอะลีสำหรับฟาฏิมะฮ์ (3) หลังจากท่านอะลีได้แต่งงานกับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ พวกมุฮาญิรีนบางคนได้ฟ้องร้องท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) โดยท่านศาสดาได้ตอบกับเขาว่า การแต่งงานของอะลีกับฟาฏิมะฮ์นั้น เป็นพระบัญชาของอัลลอฮ์ (4)

คุฏบะฮ์อักด์นิกาฮ์

อิบนุ ชะฮ์ร์ ออชูบ (เสียชีวิต 588 ฮ.ศ.) เขียนในหนังสือมะนากิบ อาลิอะบีฏอลิบว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้ขึ้นไปบนมิมบัร ในขณะที่ทำการแต่งงานท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.)กับท่านอะลี (อ.) และได้คุฏบะฮ์อักด์นิกาฮ์ โดยกล่าวว่า อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงบัญชาให้ฉันเป็นคนอ่านอักด์ในการแต่งงานของฟาฏิมะฮ์กับอะลี และฉันก็ได้กระทำการงานนี้แล้ว (5)

ยังไม่มีการกล่าวถึงภรรยาคนอื่นของอิมามอะลี (อ.)เลย ตามรายงานจากริวายะฮ์หนึ่ง ซึ่งเชคฏูซีย์ได้บันทึกไว้ในหนังสืออะมาลีย์ของเขาว่า การแต่งงานของท่านอะลีกับภรรยาคนอื่น ในช่วงการมีชีวิตของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ถือเป็นสิ่งที่ต้องห้ามสำหรับท่านอะลี (6)

ระยะห่างระหว่างการอ่านอักด์นิกาฮ์และการจัดพิธีแต่งงาน

หนังสือบางเล่ม รายงานว่า หลังจากการอ่านอักด์นิกาฮ์ ท่านอะลี (อ.) ซึ่งมีความเขินอายที่จะบอกกับท่านศาสดาให้พาภรรยาของเขาไปที่บ้านของเขา และสำหรับท่านศาสดาก็ไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการเรื่องนี้ ก่อนที่ท่านอะลี (อ.) ‎จะร้องขอ นี่คือสาเหตุที่ทำให้เวลาผ่านไประยะหนึ่งอนับตั้งแต่การอ่านอักด์นิกาฮ์ และช่วงเวลานี้ยังนับเป็นเวลาหลายเดือนอีกด้วย [7] ในที่สุด ท่านอะกีล ได้ถามอะลี ผู้เป็นพี่ชายของเขา เกี่ยวกับเหตุผลดังกล่าวและหลังจากรับทราบถึงความเขินอายของท่านอะลี (อ.) เขาพร้อมกับอะลี จึงไปหาท่านศาสดา เพื่อที่จะบอกถึงเรื่องนี้ เมื่อท่านหญิงอุมมุอัยมันได้ยินเรื่องนี้ ก็ให้คำแนะนำว่า อย่าไปหาท่านศาสดา แต่ให้ไปหารือเรื่องนี้กับท่านหญิงอุมมุซะละมะฮ์ หลังจากท่านหญิงอุมมุซะละมะฮ์ได้รับทราบ นางพร้อมทั้งภรรยาคนอื่นๆของท่านศาสดาและพูดกับท่าน ‎หลังจากท่านศาสดารับทราบถึงเหตุผลว่า ทำไมอะลี (อ.) จึงไม่ร้องขอ ท่านศาสดาจึงเรียกเขาให้มาหาเขาและสัญญาว่า จะจัดพิธีแต่งงานและขอให้เขาเตรียมบ้านให้ฟาฏิมะฮ์ (ซ.)[8]‎

นักวิชาการบางคน ได้กล่าวถึงรายงานอื่นๆที่เกี่ยวกับวิธีการร้องขอของท่านอะลี (อ.) เพื่อให้พาท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ‎‎(ซ.)มายังบ้านของเขา [9]‎

วันที่ของการแต่งงาน

เกี่ยวกับวันที่ของการแต่งงานของท่านอะลี (อ.)กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ดังนี้ :‎

การอ่านอักด์นิกาฮ์ ในวันที่ 1 เดือนซุลฮิจญะฮ์ และการแต่งงานในวันที่ 6 เดือนซุลฮิจญะฮ์ ในปีที่สองแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช [10] ในหนังสืออัลมิศบาฮ์ กัฟอะมีย์ (เขียนในศตวรรษที่ 9 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช)และวันที่ 1 เดือนซุลฮิจญะฮ์ ยังถูกกล่าวว่า เป็นวันแต่งงานของท่านอะลี (อ.) กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์อีกด้วย [11] ในปฏิทินของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ได้ตั้งชื่อวันนี้ เป็นวันแต่งงานแห่งชาติ

ช่วงปลายของเดือนศอฟัร ในปีที่สองแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช[12]‎

การอ่านอักด์ในเดือนรอญับและการแต่งงาน หลังจากการกลับมาของท่านอะลี (อ) จากสงครามบะดัร[13]‎

‎การอ่านอักด์ในเดือนรอมฎอน และการแต่งงานในเดือนซุลฮิจญะฮ์ ในปีที่สองแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช[14]‎

การแต่งงานในวันที่ 21 เดือนมุฮัรรอม ในปีที่สามของฮิจเราะฮ์[15]‎

‎การอ่านอักด์ เกิดขึ้นช่วงปลายของเดือนศอฟัร และการแต่งงานในเดือนซุลฮิจญะฮ์ ในปีที่สองของฮิจเราะฮ์ศักราช[16]‎

‎การอ่านอักด์และแต่งงานในเดือนรอบีอุลเอาวัล ปีที่สองของฮิจเราะฮ์[17]‎

มุฮัมมัดฮาดีย์ ยูซุฟี ฆ็อรวี (เกิดในปี 1327 สุริยคติ) นักวิจัยด้านประวัติศาสตร์ กล่าวว่า ระยะห่างของเวลาระหว่างการอ่านอักด์กับการแต่งงานของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์กับท่านอิมามอะลี (อ.) นั้นเป็นเวลาเกือบสิบเดือน เขายังคาดคะเนว่า การเร่งรีบในพิธีการอักด์ เพื่อที่จะทำให้เหล่าผู้มาสู่ขอท่านหญิง ได้รับความกระจ่างชัดในคำตอบ ‎นอกเหนือจากนี้ ความล่าช้าในการจัดพิธีแต่งงาน ก็เพื่อที่จะให้ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์มีร่างกายที่เติบโตและก้าวไปสู่ขั้นตอนของผู้หญิงคนอื่นๆ[18]‎

อายุของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ในเวลาที่แต่งงาน

มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับอายุของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ในเวลาที่แต่งงาน โดยซัยยิดมุฮ์ซิน อะมีน ‎‎(เสียชีวิตในปี 1371 ฮ.ศ.) นักเขียนชีวประวัติชาวชีอะฮ์ กล่าวว่า ความแตกต่างนี้เกี่ยวข้องกับความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับวันถือกำเนิดของท่านหญิงและวันแต่งงานของท่าน เนื่องจากตามความคิดเห็นที่เป็นที่รู้จัก ถือว่า ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ถือกำเนิดในปีที่ห้าแห่งการบิอ์ษัต และมีความแตกต่างในกรณีการแต่งงานของท่านหญิงในปีที่หนึ่ง ที่สอง และที่สามแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช และมีการกล่าวถึงอายุของท่านหญิงในเวลาที่แต่งงาน คือ เก้า สิบ หรือสิบเอ็ดปี [19] อย่างไรก็ตาม ในบางแหล่งข้อมูล รายงานว่า อายุของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.)ในเวลาที่แต่งงาน คือ 18 ‎ปี[20] และในบางแหล่งข้อมูล ระบุว่า คือ 15 ปี 5 เดือน[21]‎

นอกเหนือจากนี้ ในหนังสือ อัลอิสตีอาบ จากแหล่งข้อมูลผลงานประพันธ์ของเหล่าศอฮาบะฮ์ ในศตวรรษที่ 5แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช อายุของอิมามอะลี (อ.) ในเวลาที่แต่งงาน ถูกกล่าวว่า เขามีอายุ 21 ปี(22)‎

สินสอดทองหมั้น

ในริวายะฮ์ต่างๆ รายงานว่า สินสอดของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) มีสิบสองเอากียะฮ์[23] 500 ดิรฮัม 480 ดิรฮัม ‎และเงิน 400 มิษก็อล[24] ตามคำกล่าวของอิบนุชะฮ์ร์ ออชูบ (488-588 ฮ.ศ.) ผู้รายงานฮะดีษของชีอะฮ์ ถือว่า ที่ถูกต้องกว่าก็คือ 500 ดิรฮัม (25) เขาถือว่า สาเหตุของความแตกต่างก็คือ มีริวายะฮ์ต่างๆ ที่รายงานว่า สินสอดของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) เป็นผ้าลินินที่ทอจากเยเมน หนังสัตว์ที่ยังไม่ได้ฟอกและพืชหอม และตามที่บางคนอื่น ๆ ‎กล่าวไว้ มีชุดเกราะและหนังแกะหรืออูฐที่ไม่ฟอก (26) 500 ดิรฮัมที่เป็นสินสอดของบรรดาภรรยาและบุตรสาวของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ถูกเรียกว่า มะฮัร อัซซะนะฮ์ (27) และเทียบเท่ากับเงินบริสุทธิ์ประมาณ 1,500 กรัม‎[28]‎

ตามรายงานจากเชคฏูซีย์ ในหนังสืออะมาลี ว่า อิมามอะลี (อ.) ได้ขายชุดเกราะของเขา ตามคำสั่งของท่านศาสดา ‎มุฮัมมัด(ศ็อลฯ) [29] ท่านศาสดา ยังได้มอบเงินบางส่วนให้กับบิลาล ฮะบะชี เพื่อซื้อน้ำหอมให้กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(30) จากนั้น ส่วนที่เหลือมอบให้กับอบูบักรพร้อมด้วยอัมมาร ยาซิร และเศาะฮาบะฮ์หลายคน เพื่อจัดเตรียมเครื่องใช้ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต และพวกเขาก็ซื้อสิ่งของที่จำเป็นภายใต้การดูแลของอบูบักรด้วย (31) ในบรรดากรณีต่างๆ ของสินสอดของท่านหญิงฟาฏิมะอ์ เป็นเสื้อผ้าที่ท่านหญิงได้มอบให้หญิงยากจนคนหนึ่งในคืนวันแต่งงานของท่านหญิงและท่านหญิงก็เพียงพอด้วยชุดเสื้อผ้าที่ใช้แล้ว (32)‎

วะลีมะฮ์และสถานที่อยู่อาศัย

บนพื้นฐานของริวายะฮ์หนึ่ง ที่เชคฏูซีย์บันทึกในหนังสือ อัลอะมาลีย์ว่า ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)และท่านอะลี ได้มอบวะลีมะฮ์แก่บรรดาเศาะฮาบะฮ์จำนวนมาก โดยท่านศาสดาเตรียมเนื้อและขนมปัง ส่วนท่านอะลีได้เตรียมอินทผาลัมและน้ำมัน หลังจากวะลีมะห์ ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้วางมือของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.)ไว้ในมือของท่านอะลี ‎‎(อ.) และท่านศาสดาได้ขอดุอาให้กับพวกเขาและกล่าวว่า: โอ้อะลี! ฟาฏิมะฮ์ คือ ภรรยาที่ดี และท่านศาสดากล่าวกับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ว่า “โอ้ฟาฏิมะฮ์! อะลี คือ สามีที่ดี จากนั้น ท่านศาสดาก็ส่งทั้งสองไปที่บ้านของพวกเขาและขอดุอาให้พวกเขามีเชื้อสายที่มีเกียรติด้วยเถิด[33]‎

ตามแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ บ้านของอิมามอะลี (อ.) และท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ถูกย้ายไปเป็นเพื่อนบ้านกับศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เพียงไม่กี่วันหลังจากการแต่งงานของพวกเขา เพราะมันเป็นเรื่องยากสำหรับท่านศาสดาที่จะต้องอยู่ห่างไกลจากฟาฏิมะฮ์ ในช่วงแรก ท่านศาสดาต้องการที่จะให้ทั้งสองคนอยู่ในบ้านของเขา แต่ฮาริษะฮ์ ‎บิน นุอ์มาน หนึ่งในเศาะฮาบะฮ์ ได้ออกจากบ้านของเธอ ซึ่งอยู่ในละแวกใกล้เคียงของท่านศาสดา เพื่อที่บ้านนั้น ‎จะได้เป็นบ้านของท่านอะลีและท่านหญิงฟาฏิมะฮ์[34]‎