การลุกขึ้นต่อสู้ของอิมามฮุเซน

จาก wikishia

การลุกขึ้นต่อสู้ของอิมามฮุเซน (อ.) ถือเป็นการเคลื่อนไหวในการประท้วงของอิมามฮุเซน (อ.) เพื่อต่อต้านการปกครองของยะซีด บิน มูอาวิยะฮ์ ซึ่งนำไปสู่การถูกทำชะฮาดัตของเขาและเหล่าสาวกของเขา ในวันที่ 10 มุฮัรรอม ปี 61ฮ.ศ. และครอบครัวของเขาถูกจับตัวเป็นเชลยศึก การเคลื่อนไหวนี้ เริ่มต้นจากการที่อิมามฮุเซนปฏิเสธที่จะให้สัตยาบันกับผู่ปกครองเมืองมะดีนะฮ์ในฐานะตัวแทนของยะซีด และเดินทางออกจากเมืองมะดีนะฮ์ในเดือนรอญับ ปีที่ 60 ฮ.ศ. และจบลงด้วยการส่งตัวบรรดาเชลยศึกกลับไปยังเมืองมะดีนะฮ์ การลุกขึ้นต่อสู้ของอิมามฮุเซน (อ.) นำไปสู่การลุกขึ้นต่อสู้กับระบอบการปกครองของบะนีอุมัยยะฮ์และมีบทบาทในการล่มสลายของระบอบการปกครองนี้ ในทุกๆ ปี ชาวชีอะฮ์ จะจัดพิธีต่างๆ ในวันครบรอบของเหตุการณ์นี้ การแพร่กระจายของพิธีกรรมการไว้อาลัย การก่อตัวของวรรณกรรมอาชูรอ การก่อสร้างอาคารและสถานที่สำคัญทางศาสนา การผลิตผลงานด้านศิลปะ และการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางจิตวิญญาณแห่งการต่อสู้กับการปกครองที่ฉ้อฉล เป็นผลพวงของเหตุการณ์นี้ที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรมของชีอะฮ์ เป้าหมายหลักของการลุกขึ้นต่อสู้ของอิมามฮุเซน (อ.) ตามที่ระบุไว้ในคำสั่งเสียของเขาต่อมุฮัมมัด บิน ฮะนะฟียะฮ์ คือ การนำสังคมอิสลามกลับสู่แนวทางที่ถูกต้องและการต่อสู้กับการบิดเบือน อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งรัฐบาล การถูกทำชะฮาดัต (การพลีชีพ) การรักษาชีวิต และการละเว้นจากการให้สัตยาบันกับยะซีด เป็นอีกเป้าหมายอื่นๆของเขา หลังจากการเขียนหนังสือ ชะฮีด ญาวีด และการกล่าวถึงการจัดตั้งรัฐบาล เป็นเป้าหมายหลักของอิมามฮุเซน (อ.) และการวิพากษ์วิจารณ์โดยนักเขียนชาวชีอะฮ์ การอภิปรายเป้าหมายของการลุกขึ้นต่อสู้ของอิมามฮุเซน (อ.) ได้เข้าสู่การศึกษาเกี่ยวกับการค้นคว้าในประเด็นอาชูรอ และทฤษฎีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเด็นนี้ ซึ่งถือว่า การแสวงหาการพลีชีพสละและการจัดตั้งรัฐบาล เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของพวกเขา

เหตุการณ์อาชูรอ

เหตุการณ์กัรบาลา หมายถึง เหตุการณ์ในการต่อสู้ของอิมามฮุเซน (อ.) และเหล่าสาวกกับกองทัพของเมืองกูฟะฮ์ ในมุฮัรรอม ปีที่ 61 ฮ.ศ.เหตุการณ์นี้ เกิดขึ้นหลังจากอิมามฮุเซน (อ.) ไม่ให้คำสัตยาบันกับยะซีด บิน มุอาวิยะฮ์ นำไปสู่การถูกทำชะฮาดัตของอิมามฮุเซน (อ.) และเหล่าสาวก ตลอดจน การถูกจับเป็นเชลยศึกของครอบครัวของเขา ในเดือนรอญับ ปีที่ 60 ฮ.ศ. อิมามฮุเซน (อ.) ได้เดินทางออกจากเมืองมะดีนะฮ์พร้อมกับครอบครัวของเขาและบะนีฮาชิมกลุ่มหนึ่ง เพราะว่า เขาไม่ให้คำสัตยาบันกับผู้ปกครองเมืองมะดีนะฮ์ และไปยังมักกะฮ์[1] และพำนักอยู่ในเมืองมักกะฮ์ประมาณสี่เดือน ในช่วงเวลานี้ จดหมายเชิญของชาวเมืองกูฟะฮ์ส่งถึงยังเขา[2]ด้วยเหตุนี้ เขาจึงออกเดินทางไปเมืองกูฟะฮ์ในวันที่ 8 เดือนซุลฮิจญะฮ์[3] ก่อนที่ไปถึงเมืองกูฟะฮ์ เขาได้รับข่าวเกี่ยวกับการผิดสัญญาของชาวกูฟะฮ์[4] และหลังจากเขาเผชิญหน้ากับกองทัพทหารของฮุร อิบนุ ยาซิด ริยาฮี เขาจึงเดินทางไปยังกัรบะลาอ์ และที่นั่น เขาได้เผชิญหน้ากับกองทัพหนึ่งซึ่งอุบัยดิลลาฮ์ บิน ซิยาด ได้ส่งกองทัพยังเขา [5] กองทัพทั้งสองได้ต่อสู้กันในวันที่ 10 ของเดือนมุฮัรรอม หลังจากที่อิมามฮุเซนและเหล่าสาวกของเขาถูกทำชะฮาดัต บรรดาครอบครัวของเขาก็ถูกจับตัวเป็นเชลยศึก[6]

ปัจจัยของการลุกขึ้นต่อสู้

นักวิจัยประวัติศาสตร์บางคน ถือว่า ความเบี่ยงเบนของสังคมอิสลามจากความเชื่อทางศาสนาและศีลธรรมของศาสนาอิสลาม เป็นปัจจัยหลักของการลุกขึ้นต่อสู้ของอิมามฮุเซน (อ.) [7] เนื่องจากในช่วงสมัยราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ค่านิยมของยุคญาฮิลียะฮ์และชนเผ่าเข้ามามีอำนาจ [8] และความแตกต่างของชนเผ่าโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความแตกต่างระหว่างเผ่าบะนีฮาชิม และ บะนีอุมัยยะฮ์ [9] ได้กลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง นอกจากนี้ การที่มุอาวียะฮ์แนะนำยะซีดในฐานะเป็นคอลีฟะฮ์ (กาหลิบ) และการยืนกรานของยะซีดในการเอาคำสัตยาบันจากอิมามฮุเซน (อ.) ก็เป็นอีกสาเหตุและมูลเหตุอื่นๆ ของการลุกขึ้นต่อสู้ครั้งนี้ อิมามฮุเซน (อ.) ไม่ถือว่า ยะซีดคู่ควรกับตำแหน่งคอลีฟะฮ์ และถือว่า การแนะนำตัวเขาเป็นกาหลิบที่ขัดแย้งต่อสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างอิมามฮะซันกับมุอาวียะฮ์ เนื่องจากระบุไว้ในสนธิสัญญาสันติภาพว่า มุอาวียะฮ์ไม่มีสิทธิ์แต่งตั้งผู้สืบทอดตำแหน่งสำหรับตัวเขาเอง[10]

เป้าหมายของการลุกขึ้นต่อสู้

ตามที่ มุฮัมมัด อิสฟันดิยารี นักค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ (เกิดในปี 1338 สุริยคติอิหร่าน) ในหนังสือ อาชูรอศึกษา ระบุว่า เป้าหมายหลักของการลุกขึ้นต่อสู้ของอิมามฮุเซน (อ.) และการการลุกขึ้นต่อสู้ในวันอาชูรอ คือ การเรียกร้องสิทธิ การกำชับในความดีและห้ามปรามในการกระทำความชั่วร้าย การฟื้นฟูซุนนะฮ์และทำลายบิดอะฮ์ [11] นอกจากนี้ อยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ถือว่า เป้าหมายของอิมามฮุเซน (อ.) คือ การทำให้สังคมอิสลามกลับคืนสู่แนวทางที่ถูกต้องและการต่อสู้กับความเบี่ยงเบนที่ใหญ่หลวง [12] ตามความเชื่อของเขา ระบุว่า มีการสับสนกันระหว่างเป้าหมายกับผลลัพท์ เพราะว่า ผลลัพธ์ของเป้าหมายนี้ คือ การจัดตั้งรัฐบาลหรือการถูกทำชะฮาดัต ในขณะที่บางคนถือว่า เป้าหมายทั้งสองนั้น เป็นเป้าหมายของอิมามฮุเซน (อ.) ทั้งสิ้น [13]

و اني لم اخرج اشرا و لا بطـرا و لا مفسدا و لا ظالما و انما خرجت لطلب الاصلاح في امة جدي (ص) اريد ان امر بالمعروف و انهي عن المنكر و اسير بسيرة جدي و ابي علي ابن ابي طالب (ع)

และแท้จริงฉันไม่ได้ลุกขึ้นต่อสู้อย่างผู้ละเมิด ผู้ชั่วร้าย ผู้สร้างความเสียหาย และผู้กดขี่ และอันที่จริง ฉันลุกขึ้นต่อสู้เพื่อต้องการที่จะปฏิรูปในประชาชาติของตาของฉัน ฉันต้องการที่จะกำชับด้วยความดีและห้ามปรามความชั่วร้าย และฉันต้องการดำเนินตามวิถีของบิดาของฉัน อะลี บิน อะบีฏอลิบ (อ.)[14]

อิสฟันดิยารี ได้เขียนว่า ประเด็นที่เกี่ยวกับเป้าหมายของอิมามฮุเซน (อ.) ถือเป็นประเด็นที่มีความจริงจัง จนกระทั่ง มีการเขียนหนังสือ ชะฮีด ญอวีด ขึ้นมา [15] โดยเขานั้นเชื่อว่า มีความสับสนกันระหว่างเป้าหมายกับแบบแผนของอิมามฮุเซน (อ.) ด้วยเหตุนี้เอง จากแบบแผนของอิมามฮุเซน นำไปสู่เป้าหมายของเขา ในฐานะที่เป็นเป้าหมายในระดับที่สอง และในประเด็นมี เจ็ดทัศนะ ด้วยกัน[16]

การปฏิเสธให้สัตยาบันและการรักษาชีวิต

ตามทัศนะนี้ ระบุว่า การเคลื่อนไหวของอิมามฮุเซน (อ.) เริ่มจากเมืองมะดีนะฮ์ มายังมักกะฮ์ และจากที่นั้น ไปยังเมืองกูฟะฮ์ โดยที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการลุกขึ้นต่อสู้ แต่ทว่า เพื่อการป้องกันและการต่อต้าน เพราะว่า เขาได้ปฏิเสธที่จะให้คำสัตยาบันกับยะซีด ด้วยเหตุนี้เอง เขาจึงถือว่า จะเกิดอันตรายกับชีวิตของเขา และเพื่อรักษาชีวิตของเขา เขา จะต้องเดินทางออกจากเมืองมะดีนะฮ์ หลังจากนั้น เขาก็ออกจากเมืองมักกะฮ์ (17) อะลี พะนาฮ์ อิชติฮาดีย์ (18) และ มุฮัมมัด ศิฮะตีย์ ซัรดุรูดี (19) คือ ผู้ที่ให้การสนับสนุนต่อทัศนะนี้

สิ่งที่จำเป็นในการยอมรับทัศนะนี้ คือ การไม่สร้างวีรกรรมและการลดบทบาททางบุคลิกภาพและสถานภาพของอิมามฮุเซน (20)

การสถาปนาระบอบการปกครอง

จากทัศนะนี้ แสดงให้เห็นว่า อิมามฮุเซน (อ.)ได้ลุกขึ้นต่อสู้เพื่อสถาปนาระบอบการปกครอง นิอ์มะตุลลอฮ์ ศอลิฮี นะญัฟอาบาดี (1302-1385 สุริยคติอิหร่าน) เขียนไว้ในหนังสือของเขา ชะฮีด ญอวีด ว่า เป้าหมายประการแรกของอิมามฮุเซน (อ.) ในการลุกขึ้นต่อสู้ คือ การสถาปนาระบอบการปกครอง [21] เขายังเชื่อว่า ซัยยิดมุรตะฎอ ซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดานักเทววิทยาของชีอะฮ์ ก็มีทัศนะเช่นเดียวกัน ตามคำกล่าวของซัยยิดมุรตะฎอ ระบุว่า หลังจากที่อิมามฮุเซน (อ.) ได้เห็นถึงการยืนกรานของชาวกูฟะฮ์ และศักยภาพของพวกเขา อีกทั้งความอ่อนแอของการปกครอง เขาจึงตอบรับคำเชิญของพวกเขา [22] เขายังเชื่อว่า มีเหตุผลต่างๆที่ทำให้อิมามฮุเซน (อ.) ได้รับชัยชนะ แต่ทว่า เหตุการณ์หลังจากนั้น เป็นเหตุการณ์ที่ตรงข้ามกับสิ่งที่คาดไว้ เมื่อเวลาที่ชาวกูฟะฮ์นั้นไม่รักษาสัญญา อิมามฮุเซน (อ.) จึงตัดสินใจกลับและยุติความขัดแย้ง เช่นเดียวกับอิมามฮะซัน (อ.)ได้กระทำ แต่การยุติสงครามไม่ได้รับการยอมรับจากเขา [23] กล่าวได้ว่า ทัศนะนี้ไม่เข้ากันกับการมีความรู้ในสิ่งที่เร้นลับของอิมาม เพราะว่า สิ่งที่จำเป็นก็คือ อิมามฮุเซน (อ.) ไม่รู้ว่าจะได้รับชัยชนะหรือไม่ แต่คำตอบ กล่าวได้ว่า อิมามฮุเซน (อ.) มีความรู้ในการได้รับชะฮีดและรู้ด้วยว่า จะไม่มีทางได้รับชัยชนะ แต่ทว่าเขาจะต้องกระทำเพราะว่า นี่เป็นหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดำเนินการตามความรู้ทั่วไป[24]

การเป็นชะฮีด

บางคนเชื่อว่า เป้าหมายของการลุกขึ้นต่อสู้ของอิมามฮุเซน (อ.) คือ การเป็นชะฮีด แน่นอนว่า มีการตีความที่แตกต่างกัน เกี่ยวกับประเด็นของการเป็นชะฮีด ดังนี้ :

การเป็นชะฮีดทางการเมือง: ตามทฤษฎีนี้ ระบุว่า การเป็นชะฮีดของอิมามฮุเซน (อ.)มุ่งเป้าไปที่การปฏิเสธความชอบธรรมในการปกครองของยะซีดและกอบกู้ศาสนาอิสลาม(27) และด้วยการดำเนินการนี้ เขาได้ทำให้ประชาชนต่อต้านระบอบการปกครอง [28] ตามคำกล่าวของมูฮัมหมัด อิสฟันดิยารี นี่เป็นทฤษฎีที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดและมีผู้สนับสนุนเป็นจำนวนมากมาย(29) อะลี ชะรีอะตี มีรซา ,คอลีล กุมเรอี ,มุรตะฎอ มุเฏาะฮ์ฮะรี ,ซัยยิดริฎอ ศ็อดร์ ,ญะลาลุดดีน ฟาร์ซี , ซัยยิดมุฮ์ซิน อะมีน , ฮาชิม มะอ์รูฟ อัล-ฮะซะนี, อยาตุลลอฮ์ ศอฟี ฆุลพัยกานี และมูฮัมหมัด ญะวาด มูฆ์นียะฮ์ ล้วนอยู่ในกลุ่มผู้ที่มีความเชื่อในทฤษฎีนี้ (30)

การเป็นชะฮีดเพื่อชำระล้างบาป : บางคนมีความเชื่อว่า อิมามฮุเซน (อ.) เป็นชะฮีด เพื่อที่จะทำให้ผู้ที่กระทำบาปต่างๆได้รับการอนุเคราะห์ และนำพวกเขาไปสู่ระดับต่างๆทางจิตวิญญาณ(31) เช่นเดียวกับในศาสนาคริสต์ ที่บางคนมีมุมมองเช่นนี้เกี่ยวกับการถูกสังหารพระเยซู (อ.) [32] ชารีฟ ฏอบาฏอบาอี, มุลลา มะฮ์ดี นะรอกี, มุลลา อับดุรเราะฮีม อิสฟาฮานี เป็นผู้ที่มีความเชื่อในทฤษฎีนี้ด้วย (33) นอกจากนี้ ทัศนะของบางคนมีความเชื่อว่า อิมามฮุเซน (อ.) ถูกสังหาร เพื่อให้มีการร้องไห้กับเขา และนี่เป็นสื่อที่จะชี้นำเขาไปสู่แนวทางที่ถูกต้อง[34]

การเป็นชะฮีดเชิงรหัสยะ : บนพื้นฐานของทัศนะนี้ อิมามฮุเซน (อ.) ได้ลุกขึ้นต่อสู้ เพื่อที่จะได้สัมผัสถึงความโปรดปรานในการเป็นชะฮีด[35] และบุคคลอื่น ๆ (เหล่ามิตรสหายของเขา) ก็จะได้รับความโปรดปรานนี้ด้วยเช่นกัน [36] ในการตีความนี้ ไม่มีการพูดถึงการต่อสู้ แต่เป็นการตีความถึงการต่อต้านการเมืองจากการลุกขึ้นต่อสู้ของอิมามฮุเซน (อ.) [37]ซัยยิดอิบนุฏอวูซ ฟาฎิล ดัรบันดี ศอฟี อะลีชาห์ อุมาน ซามานี และนัยยิร ตับรีซี เป็นผู้ที่นำเสนอการตีความทางรหัสยะจากการลุกขึ้นต่อสู้ของอิมามฮุเซน (อ.)[38]

การเป็นชะฮีดตามพระบัญชา : บางคนถือว่า การลุกขึ้นต่อสู้ของอิมามฮุเซน (อ.) เป็นเรื่องลี้ลับ ซึ่งเขาได้รับพระบัญชาจากพระผู้เป็นเจ้าให้เป็นชะฮีด แต่เป้าหมายของมันยังไม่ชัดเจนสำหรับมนุษยชาติ และมีเพียงพระองค์เท่านั้นที่ทราบถึงเป้าหมายของมัน [39] ในการวิพากษ์วิจารณ์ของทฤษฎีการเป็นชะฮีด กล่าวได้ว่า ทฤษฎีนี้ไม่สอดคล้องกับรายงานทางประวัติศาสตร์ที่อิมามฮุเซน (อ.) ได้ปกป้องชีวิตของเขาและเขาไม่ต้องการให้มีการสังหารเขา[40]

การปกครองและการเป็นชะฮีด

บางคนเชื่อว่า เป้าหมายของอิมามฮุเซน (อ.) คือ การลุกขึ้นต่อสู้ ที่การผสมผสานระหว่างการปกครองและการเป็นชะฮีด ฉะนั้น ในทัศนะของกลุ่มนี้เชื่อว่า อิมามฮุเซน (อ.) ได้ลุกขึ้นต่อสู้เพื่อสถาปนาระบอบการปกครอง แต่เนื่องจากเขาไม่มีผู้ที่ช่วยเหลือและสิ้นหวังจากการช่วยเหลือ เขาจึงเปลี่ยนเป้าหมายเป็นการชะฮีด [41] บางคนยังเชื่อว่า เป้าหมายทางการเมือมีแผนการสี่ขั้นตอน ขั้นตอนแรก คือ ช่วงเวลาของการเดินทางจากเมืองมะดีนะฮ์ไปยังมักกะฮ์ ซึ่งมีลักษณะพิเศษ คือ การประท้วงการปกครองของยะซีด ขั้นตอนที่สอง คือ ตั้งแต่การตัดสินใจไปยังเมืองกูฟะฮ์ไปจนถึงการเผชิญหน้ากับกองทัพของฮูร ซึ่งตั้งใจที่จะยึดเมืองกูฟะฮ์และอิรัก ขั้นตอนที่สาม คือ เริ่มจากเวลาเผชิญหน้ากับกองทัพของฮูร จนถึงการเผชิญหน้ากับกองทัพของกูฟะฮ์ เมื่อเขาคิดจะหนีออกจากเงื้อมมือของอิบนุ ซิยาด และขั้นตอนที่สี่ คือ การเผชิญหน้ากับกองทัพของกูฟะฮ์ เมื่อเขาเลือกที่จะเป็นชะฮีด [42]