การลุกขึ้นต่อสู้ของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.)

จาก wikishia

การลุกขึ้นต่อสู้ของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) (กิยาม) หมายถึง การเคลื่อนไหวของอิมามที่ 12 ของชีอะฮ์ หลังจากการปรากฏกายของเขา เพื่อธำรงความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในโลกนี้

วันและเวลาของการลุกขึ้นต่อสู้ของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ)ยังไม่เป็นที่แน่นอน ซึ่งตามริวายะฮ์ทั้งหลาย รายงานว่า การลุกขึ้นต่อสู้ของเขา เริ่มต้นจากมัสยิดอัลฮะรอมในเมืองมักกะฮ์ และมีระยะเวลา 8 เดือน ด้วยกัน ซึ่งศูนย์กลางของเขาอยู่ในประเทศอิรัก และอิมามมะฮ์ดี ได้พิชิตชัยชนะเหนือกองทัพของซุฟยานีในภูมิภาคนี้

ในริวายะฮ์ต่างๆ รายงานว่า อิมามมะฮ์ดี จะมีผู้ช่วยเหลือที่พิเศษของเขา 313 คน ที่เข้าร่วมในการลุกขึ้นต่อสู้ครั้งนี้ แต่จำนวนผู้เข้าร่วมในการต่อสู้มีมากกว่าจำนวนนี้ และส่วนใหญ่เป็นเยาวชนคนหนุ่มสาว ศาสดาอีซา (อ.) จะเข้ามาช่วยเหลืออิมามมะฮ์ดีในการต่อสู้นี้ด้วยเช่นกัน

ตามริวายะฮ์ทั้งหลาย รายงานว่า ศาสดาบางคนและเอาลิยาอ์ของพระเจ้าบางคน ดั่งเช่น อัศฮาบุลกะฮ์ฟ์(ชาวถ้ำ) ยูชะอ์ บินนูน มุอ์มิน อาลิฟิรเอาน์ ซัลมาน อัลฟารซีย์ อะบูดะญานะฮ์ อันศอรีย์ และมาลิก อัชตาร จะกลับมายังโลกนี้อีกครั้ง(ร็อจอะฮ์) และพวกเขาทั้งหมดเหล่านี้จะเข้าร่วมในการลุกขึ้นต่อสู้ของอิมามมะฮ์ดี

บางคนได้อ้างริวายะฮ์ที่กล่าวว่า อาวุธของอิมามมะฮ์ดีในการลุกขึ้นต่อสู้ คือ ดาบ และเขาจะเอาชนะเหนือศัตรูด้วยปาฏิหาริย์ที่พระเจ้าทรงประทานไว้ในดาบเล่มนี้

อีกกลุ่มหนึ่งมีความเชื่อว่า อาวุธที่ล้ำสมัยจะไม่มีประสิทธิภาพ และด้วยวิธีการนี้ อิมามมะฮ์ดี จะได้รับชัยชนะด้วยดาบของเขา แต่บางคนมีความเชื่อว่า การใช้คำว่า ดาบในริวายะฮ์ บ่งบอกถึงสัญลักษณ์หนึ่งและหมายถึง การต่อสู้ทางทหาร

สถานภาพและความสำคัญ

การลุกขึ้นต่อสู้ของอิมามมะฮ์ดี(อ.ญ.) ชี้ให้เห็นถึงการดำเนินการของอิมามที่สิบสองของชาวชีอะฮ์ หลังจากการปรากฏกายของเขา เพื่อธำรงความยุติธรรมในโลกนี้ [1] อย่างไรก็ตาม การลุกขึ้นต่อสู้ของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) กับการปรากฏกายของเขานั้น มีความหมายเดียวกัน [2] ดังที่โคดอมูรอด ซะลีมียอน นักวิจัยชาวชีอะฮ์ กล่าวว่า ทั้งสองประเด็นนี้ ถือว่ามีความแตกต่างกัน ขณะที่การลุกขึ้นต่อสู้ เกิดขึ้นหลังการปรากฏกาย [3]‎

ในริวายะฮ์‎ต่างๆ ยังชี้ให้เห็นว่า การลุกขึ้นต่อสู้ของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) ใช้คำว่า คุรูจญ์ [4] ในริวายะฮ์หนึ่งจากหนังสือของคิซ็อล ซึ่งเขียนโดยเชคศอดูก รายงานว่า การลุกขึ้นต่อสู้ของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) พร้อมกับการร็อจอะฮ์และวันแห่งการฟื้นคืนชีพ ถือเป็นวันแห่งพระผู้เป็น[5] บางริวายะฮ์ รายงานว่า การลุกขึ้นต่อสู้ของอิมามมะฮ์ดี ‎‎(อ.ญ.) กินเวลานานถึงแปดเดือน[6] และนำไปสู่การปกครองทั่วโลกของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) [7]‎

เวลาและระยะเวลา

เวลาที่แน่นอนของการลุกขึ้นต่อสู้‎ของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) ยังไม่ชัดเจน [8] แต่ลักษณะบางอย่างของช่วงเวลาของการลุกขึ้นต่อสู้‎ได้มีการระบุไว้ในริวายะฮ์‎ว่า ในปีคี่ วันอาชูรอ และวันเสาร์ [9] ตามความเชื่อของซัยยิดมุฮัมมัด ศ็อดร์ ผู้เขียนหนังสือ ตารีค มา บะอ์ดุซซุฮูร ถือว่า ยกเว้นริวายะฮ์‎ที่เกี่ยวข้องกับวันอาชูรอ ส่วนริวายะฮ์‎อื่นๆ มี ‎หลักฐานที่อ่อนแอในประเด็นนี้[10] ‎ เกี่ยวกับระยะเวลาของการลุกขึ้นต่อสู้‎ มีรายงานว่า อิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) ถือดาบเป็นเวลานานถึงแปดเดือน[11]‎

สถานที่

บนพื้นฐานของริวายะฮ์‎ส่วนใหญ่ การลุกขึ้นต่อสู้‎ของอิมามมะฮ์ดี (อ.) เริ่มต้นขึ้นในนครมักกะฮ์ [12] หนึ่งในนั้นคือ ริวายะฮ์‎ที่กุลัยนีระบุในอัลกาฟี และนุอ์มานีในอัลฆ็อยบะฮ์ [13] ในริวายะฮ์หนึ่ง‎จากหนังสือ อุยูนุลอัคลารุลริฎอ ‎เขียนโดยเชคศอดูก ระบุว่า ตะฮามะฮ์ คือ สถานที่ของการลุกขึ้นต่อสู้‎ได้รับการแนะนำแล้ว[14] แต่มีการกล่าวกันว่า ‎เนื่องจากมักกะห์เป็นส่วนหนึ่งของตะฮามะฮ์ จึงถูกเรียกว่า ตะฮามะฮ์ [15] ‎

อีกรายงานหนึ่ง รายงานว่า มีหมู่บ้านชื่อว่า กัรอะฮ์ในเยเมน ถูกแนะนำว่า เป็นสถานที่แห่งการลุกขึ้นต่อสู้‎ [16] แต่ผู้เขียนสารานุกรมอิมามมะฮ์ดี (อ.) ถือว่า รายงานนั้นไม่น่าเชื่อถือ และคาดว่า ในริวายะฮ์ดังกล่าว การลุกขึ้นต่อสู้‎ของอิมามมะฮ์ดี มีความสับสนกับการลุกขึ้นของยะมานี [17] ริวายะฮ์‎เหล่านี้ถูกสร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อยืนยันของรัฐบาลฟาฏิมียะห์หรือการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับมะฮ์ดีจอมปลอมในแอฟริกาเหนือและตะวันตกของโลกอิสลาม [18]‎

ดังที่ระบุไว้ในสารานุกรมอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) บนพื้นฐานของริวายะฮ์ต่างๆ ระบุว่า ‎ ผู้คนนับหมื่นคนในมักกะฮ์จะให้สัตยาบันกับอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) และเขาจะส่งกองทัพไปยังเมืองมะดีนะฮ์ หรือตามริวายะฮ์‎อื่นๆ รายงานว่า ตัวเขาเอง จะเดินทางไปยังเมืองมะดีนะฮ์ แล้วจึงไปยังอิรัก เพื่อปราบปรามกองทัพซุฟยานี ซึ่งเป็นสถานที่หลักของการลุกขึ้นต่อสู้ [19]‎

ในริวายะฮ์ต่างๆ รายงานว่า เขาจะพิชิตโรม ดีลม อินเดีย คาบูล และทะเลแคสเปียน (20) กล่าวกันว่า นบีอีซา (พระเยซู) (อ.) จะเข้าร่วมกับอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) ใน บัยตุลมุก็อดดัซ (กรุงเยรูซาเล็ม) [21] การสิ้นสุดของการลุกขึ้นต่อสู้‎ ‎คือ เมืองกูฟะฮ์ และเมืองนี้จะกลายเป็นศูนย์กลางการปกครองของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.)[22]‎

วิธีการในการเริ่มต้น

ตามริวายะฮ์‎ รายงานว่า อิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.)จะทำนมาซอิชาอ์ในมัสยิดอัลฮะรอม และหลังจากนั้น เขาก็เริ่มต้นการลุกขึ้นต่อสู้ ใกล้กับกะอ์บะฮ์ (23) เขาซึ่งเป็นทายาทของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เขามีดาบ เสื้อเกราะ ผ้าโพกศรีษะ ‎อานม้า ไม้เท้า ผ้าคลุมตัว และธงของศาสดา[24] และบรรดาสหาย ผู้ช่วยเหลือเขา จะให้สัตยาบันกับเขาระหว่างรุกน์และมะกอม (รุกน์ยะมานีและมะกอมอิบรอฮีม) [25]‎

ตามที่เชคศอดูก กล่าวว่า อิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.)จะปรากฏกายในมัสยิดอัลฮะรอม พร้อมทั้งผู้คน 313 คน และเริ่มกล่าวสุนทรพจน์ของเขา ด้วยโองการที่ 86 ของซูเราะฮ์ฮูด : สิ่งที่เหลืออยู่ของอัลลอฮ์นั้นดีที่สุดสำหรับพวกเจ้า หากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธา จากนั้น เขาก็แนะนำตัวเองว่า ฉันนั้นเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของอัลลอฮ์ในแผ่นดินและเป็นเคาะลีฟะฮ์ของพระองค์และข้อพิสูจน์ของพระองค์ที่มีต่อพวกท่าน และเมื่อจำนวนผู้ติดตามของเขาถึงหมื่นคนเขาก็เริ่มต้นในการลุกขึ้นต่อสู้‎ [26]‎

อาวุธ

บนพื้นฐานของริวายะฮ์ต่างๆ รายงานว่า‎ อาวุธของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) ในการลุกขึ้นต่อสู้ ‎คือ ดาบ [27] ด้วยเหตุนี้ ‎บางคนจึงเชื่อว่า ในระหว่างการลุกขึ้นต่อสู้‎ของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) อาวุธขั้นสูงจะล้มเหลวตามพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า บางคนกล่าวว่า เนื่องมาจากการเกิดสงครามก่อนการปรากฏกาย อาวุธเหล่านั้นจะถูกทำลายไป และตามความเชื่อของกลุ่มหนึ่ง ถือว่า พระเจ้าจะทรงประทานพลังอันมหัศจรรย์ไว้ในดาบของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.)ให้เหนือกว่าอาวุธอื่นๆ [28]‎

ในทางตรงกันข้าม บางคนเชื่อว่า คำว่า ดาบ ในริวายะฮ์‎เหล่านี้ เป็นการกล่าวถึงอำนาจและความแข็งแกร่งทางการทหาร[29] ดังนั้น จึงหมายความว่า อิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) จะมีชัยชนะเหนือศัตรูที่ผ่านการสู้รบกันทางทหาร ไม่จำเป็นที่ต้องใช้ดาบ [30] ‎

บรรดาผู้เข้าร่วม

คุณลักษณะบางประการของบรรดาผู้เข้าร่วมในการลุกขึ้นต่อสู้‎ของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) รวมถึงจำนวน คุณลักษณะส่วนบุคคล และบุคลิกที่มีชื่อเสียง ได้รับการอธิบายไว้ในริวายะฮ์ต่างๆแล้ว

จำนวน

จำนวนสหาย ผู้ช่วยเหลือของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) ในริวายะฮ์‎ส่วนใหญ่ คือ 313 คน เช่นเดียวกับสหายทั้งหลายของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ในสมรภูมิบะดัร [31] แต่จำนวนนี้มีมากกว่าในริวายะฮ์‎อื่น ๆ ‎เช่น หนึ่งหมื่นคน [32] หนึ่งหมื่นสองพันหรือหนึ่งหมื่นห้าพันคน [33] ตามหลักการนี้ กล่าวกันว่าผู้เข้าร่วมการลุกขึ้นต่อสู้มีมากกว่า 313 คน และ 313 คน เป็นผู้ช่วยเหลือพิเศษและผู้บัญชาการกองทัพของเขา [34]‎

คุณลักษณะส่วนบุคคล

ในฮะดีษหนึ่งจากหนังสืออัลฆ็อยบะฮ์ ซึ่งเขียนโดยนุอ์มานี ระบุว่า บรรดาผู้เข้าร่วมในการลุกขึ้นต่อสู้ ส่วนใหญ่ยังเป็นเยาวชนและบางส่วนก็เป็นคนชรา[35] นอกเหนือจากนี้ พวกเขายังได้รับการอธิบายว่า มีความกล้าหาญอย่างมาก มีการอิฮ์ยาในยามกลางคืน ความแน่วแน่และมีความเข้มแข็งมาก [36]‎

บุคคลที่มีชื่อเสียง

บนพื้นฐานของริวายะฮ์‎ต่างๆ รายงานว่า นบีอีซา (พระเยซู) (อ.) จะเป็นผู้ที่ช่วยเหลืออิมามมะฮ์ดี ‎‎(อ.ญ.) ในการลุกขึ้นต่อสู้ครั้งนี้อีก‎ด้วย [37] นอกเหนือจากนี้ กลุ่มเอาลิยาอ์ จำนวนหนึ่ง ของพระเจ้าที่ล่วงลับไปแล้ว ก็จะกลับมายังโลกนี้อีกครั้ง บางส่วนของบุคคลที่ถูกกล่าวชื่อในริวายะฮ์ต่างๆ ได้แก่ อัศฮาบุลกะฮ์ฟ ยูชะอ์ บินนูน มุอ์มิน อาลิฟิรเอาน์ ซัลมาน ฟารซี อะบูดะญานะฮ์ อันศอรี และมาลิก อัชตัร ‎นะเคาะอี[38]‎