การมีอายุยืนยาวของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.)

จาก wikishia

การมีอายุยืนยาวของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) (ภาษาอาหรับ طول عمر الإمام المهدي (ع)) หมายถึง อิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) มีชีวิตอยู่ ตั้งแต่ ฮ.ศ. 255 จนกระทั่งถึงการปรากฏตัวของเขา ถือเป็นหนึ่งในความเชื่อของอิมามียะฮ์ อายุขัยของเขายาวนานกว่า 1,190 ปี จนถึงปี 1446 ฮ.ศ. ฝ่ายตรงข้ามกับอิมามียะฮ์ รวมทั้งอิบนุ ตัยมียะฮ์ และนาศิร อัลกิฟารี ถือว่า การมีชีวิตเช่นนี้ ไม่น่าจะเป็นไปได้ และถือว่า เป็นหลักฐานในการปฏิเสธการถือกำเนิดของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) บรรดานักวิชาการอิมามียะฮ์ พิจารณาถึงความเป็นไปได้ของการมีอายุที่ยืนยาวผิดปกติว่า เป็นไปได้ทางสติปัญญา และเพื่อพิสูจน์ในประเด็นนี้ พวกเขาอ้างถึงอายุยืนยาวของศาสดานูฮ์ นบีคิฎร์ และศาสดาอีซา นอกเหนือจากนี้ สำหรับการพิสูจน์อายุยืนยาวของอิมามมะฮ์ดี มีตัวอย่างทางประวัติศาสตร์ของผู้ที่มีอายุยืนยาว จากริวายะฮ์ต่างๆที่บ่งบอกถึงชีวิตที่ยืนยาวของอิมามมะฮ์ดี และความเป็นไปได้ที่จะมีอายุยืนยาวในเชิงประสบการณ์นิยม

มีการเขียนหนังสือที่เป็นอิสระเกี่ยวกับชีวิตอันยืนยาวของอิมามมะฮ์ดี (อ.) ในบรรดาหนังสือเหล่านี้ เช่น อัลบุรฮาน อะลา ศิฮะติ ฏูลิอุมริลอิมาม ศอฮิบิซซะมาน ผลงานเขียนของอะบุลฟัตห์ กะรอญะกี ในปี 427 ฮ.ศ. นอกเหนือจากนี้ ยังมีหนังสือที่เกี่ยวกับการรายงาน ประพันธ์หลังจากปี 370 ฮ.ศ. ที่เกี่ยวกับประเด็นนี้โดยเฉพาะ

ความสำคัญและความเป็นมา

การมีอายุยืนยาวของอิมามมะฮ์ดี (อ.) หมายถึง การมีชีวิตของเขาจะดำเนินต่อไปหลังจากการถือกำเนิดของเขา (255 ฮ.ศ.) จนกระทั่งเขาปรากฏตัว ถือเป็นหนึ่งในความเชื่อของอิมามียะฮ์ [1] และนักวิชาการอะฮ์ลิซซุนนะฮ์บางคน [2] ฉะนั้น อายุของอิมามมะฮ์ดี (อ) จะมีอายุมากกว่า 1,190 ปี ตั้งแต่ปีที่ 255 ถึง 1,446 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช

จากมุมมองของอิมามียะฮ์ เป็นไปได้ที่การมีชีวิตที่ยืนยาวอยู่นอกสังคม และมีตัวอย่างต่างๆอยู่ด้วย [3] ขณะเดียวกัน ฝ่ายตรงข้ามกับอิมามียะฮ์ ถือว่า การมีชีวิตที่ยืนยาวเช่นนี้ ไม่น่าจะเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ และถึงมองว่า มันเป็นเหตุผลในการปฏิเสธการถือกำเนิดของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) [4] หนึ่งในนั้นคือ อิบนุ ตัยมียะฮ์ ฮัรรอนี (เสียชีวิต: 728 ฮ.ศ.) [5] และนาศิร อัลกิฟารี นักเขียนวะฮ์ฮาบีจากชาวซาอุดีอาระเบีย(6)

จากการวิจัยต่างๆที่มีการดำเนินการในประเด็นการมีอายุยืนยาวของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) ได้รับพิจารณาในผลงานที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อในอิมามมะฮ์ดีของอิมามียะฮ์ หลังจากฮิจเราะฮ์ที่ 370 ผลงานก่อนหน้านี้ เช่น บะศออิรุดดะรอญาต อัลกาฟี และอัลฆ็อยบะฮ์ นุอ์มานี เนื่องจากการมีชีวิตของอิมามมะฮ์ดี (อ.) เป็นเรื่องธรรมดาทางสังคม จนกระทั่งเวลานั้น ประเด็นดังกล่าวก็ไม่ได้ถูกหยิบยกขึ้นมา [7] หนังสือเล่มแรกที่กล่าวถึงประเด็นนี้คือ กะมาลุดดีน วะตะมามุนนิอ์มะฮ์ ผลงานของเชคศอดูก (เสียชีวิต: 381 ฮ.ศ.)

พิสูจน์ความเป็นไปได้อย่างไม่ธรรมดาของการมีชีวิตยืนยาว

ความเป็นไปได้ในเชิงสติปัญญา

ด้วยเหตุผลนี้ การมีอายุยืนยาว ถือเป็นสิ่งพิเศษที่มีความเป็นไปได้ และเนื่องจากพระเจ้าทรงรอบรู้และทรงอานุภาพ พระองค์จึงสามารถประทานชีวิตที่ยืนยาวได้ หากพระองค์มีความประสงค์ [10] มุฮัมมัดบากิร ศ็อดร์ (เสียชีวิต: 1400 ฮ.ศ.) เชื่อว่า ความพิเศษของประเด็นนี้ เกิดจากปาฏิหาริย์หรือประการอื่น ซึ่งมันจะเป็นไปไม่ได้ จนกว่ามันจะเกิดขึ้น [11] อับดุลลอฮ์ ญะวาดี ออมูลี (ถือกำเนิดปี 1312 สุริยคติอิหร่าน) นักปรัชญาชีอะฮ์ เชื่อว่า หากจิตวิญญาณของมนุษย์เติบโตขึ้นก็จะพบกับความสมบูรณ์แบบที่สามารถครอบครองได้ ทั้งในโลกของสสาร รวมทั้งร่างกายของตน และสภาพของการมีชีวิตทางวัตถุ(12)

การอ้างอิงถึงผู้ที่มีอายุยืนยาวในอัลกุรอานและคัมภีร์โตราห์

ชี้ให้เห็นว่า การเป็นศาสดาถึง 950 ปีของศาสดานูฮ์ (อ.) ในโองการที่ 14 จากซูเราะฮ์อัลอังกะบูต เป็นหนึ่งในหลักฐานจากอัลกุรอานของบรรดานักวิชาการอิมามียะฮ์สำหรับการพิสูจน์ความเป็นไปได้ของการชีวิตที่ยืนยาว [13] นอกเหนือจากนี้ นบีคิฎร์ ซึ่งตามการอธิบายของอัลกุรอาน กล่าวว่า ตั้งแต่การมีชีวิตของศาสดามูซา เขายังมีชีวิตอยู่(14) เชคมุฟีด (เสียชีวิต: 413 ฮ.ศ.) รายงานว่า และเป็นฉันทามติของนักเขียนชีวประวัติ การมีชีวิตของเขาจะดำเนินต่อไป [15] อิรบะลี (เสียชีวิต: 692 ฮ.ศ.) ยังอ้างถึงโองการที่ 159 จากซูเราะฮ์อันนิซาอ์ โดยแนะนำศาสดาอีซาว่า เขายังมีชีวิตอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ (16)

ลุฏฟุลลอฮ์ ศอฟี ฆุลพัยฆานี (เสียชีวิต: ปี1400 สุริยคติอิหร่าน) หนึ่งในมัรญิอ์ ตักลีดของชีอะฮ์และผู้วิจัยประเด็นอิมามมะฮ์ดี กล่าวว่า ในทุกศาสนาแห่งพระเจ้า มีความเชื่อในการดำรงอยู่ของผู้คนที่อายุยืนยาว ตัวอย่างเช่น ในซิฟร์ ตักวีนของคัมภีร์โตราห์ บทที่ 5 โองการที่ 5 8 11 14 17 20 27 31 และในกรณีอื่นๆ มีการกล่าวถึงผู้คนจากบรรดาศาสดาและบุคคลอื่นๆ ที่มีอายุยืนยาวอย่างมาก [17]

ริวายะฮ์ที่บ่งบอกถึงอายุยืนยาวของอิมามมะฮ์ดี

เชคฏูซี (เสียชีวิต: 460 ฮ.ศ.) กล่าวถึงริวายะฮ์ต่างๆในหนังสือ อัลฆ็อยบะ ที่ชี้ให้เห็นว่า อิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) มีอายุที่ยืนยาวเป็นพิเศษ (18) อิรบะลี ผู้รายงานฮะดีษของชีอะฮ์อีกคนหนึ่ง เขียนในหนังสือ กัชฟุลฆุมมะฮ์ ว่า มีริวายะฮ์ต่างๆที่กล่าวถึงการมีอายุยืนยาวของบรรดาศาสดาบางคน เช่น อิลยาส (อ.) อีซา (อ.) และคิฎร์ (อ.) เป็นเหตุผลที่พิสูจน์ถึงความเป็นไปได้ของการมีชีวิตที่ยืนยาว จากนั้น มีการรายงานจากริวายะฮ์ที่บ่งบอกถึงการมีชีวิตของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) จนกระทั่งถึงการปรากฏตัวของเขา [19] อิบนุ มัยษัม บะห์รอนี (เสียชีวิต: 679 หรือ 699 ฮ.ศ.) มีทัศนะเห็นด้วยที่ชีอะฮ์และซุนนี ชี้ให้เห็นว่า อิลยาส (อ.) และคิฎร์ (อ.) ยังมีชีวิตอยู่ ในหมู่บรรดาศาสดาและซามิรีและดัจญาล จากผู้ที่ชั่วร้าย และกล่าวว่า หากผู้คนเหล่านี้มีชีวิตอยู่ได้ วะลีของพระองค์ก็สามารถจะมีอายุที่ยืนยาวด้วยเช่นกัน(20)ฟัยฎ์ กาชานี (เสียชีวิต 1090 ฮ.ศ.) ถือว่า มีริวายะฮ์ต่างๆที่รายงานจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)และบรรดาอิมาม ผู้บริสุทธิ์ (อ.) เกี่ยวกับการมีอายุยืนยาวของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) อยู่ในระดับขั้นมุตะวาติร[21]

ความเป็นไปได้เชิงประสบการณ์นิยมในการมีอายุทียืนยาว

เหตุผลนี้ได้รับการอธิบายในลักษณะเชิงวิทยาศาสตร์ว่า สำหรับความตายนั้นต้องการเหตุผล ไม่ใช่เพื่อความคงอยู่ของการมีชีวิต ความตาย คือ การไม่มีสภาพชีวิต มนุษย์เนื่องจากความไม่รู้และความรู้ไม่เพียงพอเกี่ยวกับปัจจัยของโรคและความชรา เขาจึงไม่สามารถควบคุมปัจจัยเหล่านี้และต้องประสบกับความตาย หากผู้ใดก็ตามที่ใช้วิทยาศาสตร์และเครื่องมือที่จำเป็นในการควบคุมปัจจัยเหล่านี้ เช่น โภชนาการ สิ่งแวดล้อม และพันธุกรรม เขาก็จะสามารถที่จะมีชีวิตที่ยืนยาวและเป็นนิรันดร์ได้จากมุมมองเชิงวิทยาศาสตร์[23]

การยืนยันทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับอายุที่ยืนยาวของอิมามมะฮ์ดี

เชคศอดูก เขียนในหนังสือ กะมาลุดดีน วะตะมามุนนิอ์มะฮ์ เกี่ยกับการกล่าวถึง มุอัมมะรีน (บุคคลที่มีอายุยืนยาว) ในบทนี้ เขาได้ยกตัวอย่างบุคคลทั้ง 10 คน ในบรรดาบุคคลเหล่านี้ มีอายุตั้งแต่ 120 จนถึง 3,000 ปี เชคศอดูกไม่ได้ถือว่า รายงานของบุคคลเหล่านี้เจาะจงกับชีอะฮ์ และเขาเชื่อว่า การมีอยู่ของบุคคลดังกล่าวได้รับการยืนยันในหนังสือของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ด้วยเช่นกัน (24) เขาได้ยกตัวอย่างและอ้างจากริวายะฮ์ของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ของประชาชาติก่อนหน้าประชาชาติอิสลาม การเกิดขึ้นของอายุขัยเช่นนี้โดยเฉพาะกับอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) ถือว่า มีความเป็นไปได้(25)

เชคมูฟีด [26] กะรอญะกี [27] (เสียชีวิต: 449 ฮ.ศ.) เชคฏูซี [28] อะมีนุลอิสลาม เฏาะบัรซี [29] (เสียชีวิต: 548 ฮ.ศ.ควอญะฮ์ นะศีร ฏูซี [30] (เสียชีวิต: 672 ฮ.ศ.) อิบนุมัยษัม บะห์รอนี [31 ] อัลลามะฮ์ฮิลลี (เสียชีวิต: 726 ฮ.ศ) [32] อัลลามะฮ์มัจญ์ลิซี [33] (เสียชีวิต: 1110 ฮ.ศ.) ลุฟฟุลลอฮ์ ศอฟี ฆุลพัยฆานี [34] และอิบรอฮีม อะมีนี [35] (เสียชีวิต: 1399 ฮ.ศ.) ล้วนเป็นนักวิชาการของชีอะฮ์ ที่พวกเขาอ้างถึงความเป็นไปได้ของการมีอายุยืนยาวเป็นพิเศษด้วยเหตุผลเชิงประวัติศาสตร์

ผลงานประพันธ์

ประเด็นการมีอายุยืนยาวของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) เป็นประเด็นที่เป็นอิสระในหนังสือบางเล่ม อาทิเช่น :

อัลบุรฮาน อะลา ศิฮ์ฮะติฏูลิอุมริลอิมาม ศอฮิบิซซะมาน เขียนโดย อะบุลฟัตห์ กะรอญะกี หนึ่งในลูกศิษย์ของเชคมุฟีดและนักเทววิทยาอิมามียะฮ์ : ในผลงานนี้กล่าวถึง เหตุผลทางสติปัญญาและการรายงานที่เกี่ยวกับความลี้ลับของการมีอายุยืนยาวและประวัติความเป็นมาของกลุ่มมุอัมมะรีน พิมพ์ครั้งแรก ได้รับการจัดพิมพ์โดยเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ กันซุลฟะวาอิด ในปี 1332 ฮ.ศ. ในเมืองตับรีซ และได้รับการแปลเป็น โดย มุฮัมมัดบากิร กุมเรฮ์อี ในชื่อ สมบัติอันล้ำค่าของความรู้ของชีอะฮ์อิมามียะฮ์(36) ตามที่ผู้เขียนกล่าวไว้ในตอนต้นของหนังสือเล่มนี้ ปีที่เขียนคือ 427 ฮ.ศ.(37)

ดัฟอุชุบฮะฮ์ฏูลิอุมริลฮุจญะฮ์ (การตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับอายุที่ยืนยาวของอิมามมะฮ์ดี) เขียนโดย มะห์มูด บิน มุฮัมมัดฮะซัน ชะรีอัตมะดาร [38]

อายุยืนยาวของวะลียุลอัศร์ (อ.) เขียนโดย ลุฏฟุลลอฮ์ ศอฟี ฆุลพัยฆานี [39]

ผู้รอคอยของโลกและความลี้ลับของการมีอายุยืนยาว เขียนโดย ซัยยิดอะห์มัด อะละมุลฮุดา [40]

สิ่งที่น่าประหลาดใจคืออะไร เขียนโดย มุฮัมมัด ศอลิฮี อาซะรี [41]

การพิสูจน์อายุที่ยืนยาวของอิมามซะมาน (อ.) เขียนโดย ซัยยิดมุรตะฎอ มีรซะอีด กอฎี [42]

การอภิปรายเกี่ยวกับการมีอายุยืนยาวของอิมามที่เร้นกาย จัดพิมพ์โดย ดารุตตับลีฆ อิสลามี เมืองกุม [43]

อายุที่ยืนยาวของอิมามซะมาน จากมุมมองทางวิทยาศาสตร์และศาสนา เขียนโดย อะลี อักบัร มะฮ์ดีพูร [44]

อิมามมะฮ์ดี อายุที่ยืนยาว เขียนโดย ฮาดี ฮุซัยนี [45]