การทำลายสุสานบะกีอ์

จาก wikishia

การทำลายสุสานบะกีอ์ (ภาษาอาหรับ: هدم قبور أئمة البقيع) ถือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากการปิดล้อมเมืองมะดีนะฮ์ ในปี 1344 ฮ.ศ. โดยเหล่ามุฟตีเมืองมะดีนะฮ์ได้ออกคำฟัตวาให้มีการทำลายสุสานบะกีอ์และโดมต่างๆของหลุมฝังศพ และผู้ออกคำสั่งให้ทำลาย คือ ชัยค์ อับดุลเลาะห์ อัลบุลัยฮิด หัวหน้าศาลเมืองมะดีนะฮ์ ยังรวมถึงโดมของบรรดาอิมามทั้งสี่คนของชีอะฮ์ ได้แก่ อิมามฮะซัน (อ.) อิมามซัจญาด (อ.) อิมามบากิร (อ.) และอิมามศอดิก (อ.)

พวกวะฮาบีย์ ได้ทำลายสุสานบะกีอ์ ถึงสองครั้งด้วยกัน ครั้งแรก เริ่มต้นในปี 1220 ฮ.ศ.และครั้งสุดท้าย ในปี 1344 ฮ.ศ. จากคำฟัตวาจำนวน 15 คนของเหล่ามุฟตีย์ประจำเมืองมะดีนะฮ์ บนพื้นฐานที่ว่า การห้ามการปลูกสิ่งปลูกสร้างเหนือหลุมฝังศพและความจำเป็นที่จะต้องทำลายให้หมดสิ้นซาก ขณะเดียวกันได้เกิดปฏิกิริยาโต้ตอบต่อการทำลายสถานที่และโดมต่างๆของสุสานบะกีอ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรดาชาวมุสลิมในอิหร่าน อิรัก ปากีสถานและสหภาพโซเวียต

รัฐบาลอิหร่านได้ประกาศไว้อาลัยหนึ่งวัน เนื่องจากการทำลายดังกล่าวและยังประกาศเลื่อนการยอมรับอนาธิปไตยของซาอุดีอาระเบียออกไปอีก 3 ปี

หลังจากการทำลายสุสานบะกีอ์ ได้กลายเป็นพื้นที่ราบ แต่หลุมฝังศพของบรรดาอิมามทั้งสี่ของชีอะฮ์ถูกกำหนดด้วยหินเป็นเครื่องหมาย ขณะที่นักการศาสนาและรัฐบาลอิหร่านมีความพยายามที่จะสร้างหลังคาเหนือหลุมฝังศพของบรรดาอิมามและการสร้างกำแพงล้อมรอบหลุมฝังศพก็ตาม แม้ว่าในเบื้องต้นได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลซาอุดีอาระเบีย แต่ทว่า ไม่บรรลุผลใดๆทั้งสิ้น

บรรดานักการศาสนา นอกเหนือจากการประท้วงต่อต้านการทำลายสุสานบะกีอ์แล้ว พวกเขายังได้เขียนหนังสือวิพากษ์วิจารณ์หลักการของลัทธิวะฮาบีย์และการทำลายสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น หนังสือ กัชฟุลอิรติยาบ เขียนโดย ซัยยิดมุฮัมมัด อะมีน และหนังสือ ดะวะตุลฮุดา เขียนโดย มุฮัมมัดญะวาด บะลาฆี โดยกล่าวกันว่า กลุ่มวะฮาบี เป็นกลุ่มแรกที่อ้างทัศนะต่างๆทางศาสนาเพื่อทำลายสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา

สถานภาพและความสำคัญของสุสานบะกีอ์

บะกีอ์ ญันนะตุลบะกีอ์ หรือ บะกีอ์อัลฆ็อรก็อด (ชื่อ บะกีอ์ ก่อนการปรากฏของศาสดาแห่งอิสลาม (1) เป็นสุสานที่มีความสำคัญมากที่สุดของชาวมุสลิมในเมืองมะดีนะฮ์ (2) และตามริวายะฮ์ของอิสลาม รายงานว่า สุสานบะกีอ์ เป็นสถานที่ซึ่งศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)ให้ความสนใจเป็นพิเศษ (3) บะกีอ์ เป็นสถานที่ฝังศพของบรรดาอิมามทั้งสี่ของชีอะฮ์และบรรดาศอฮาบะฮ์และตาบิอีน จำนวนมาก (4) จนถึงปี 1220 ฮ.ศ. ก่อนเหตุการณ์การทำลายโดยพวกวะฮาบี และในปี 1344 ฮ.ศ. ยังอนุสรณ์สถานบนหลุมฝังศพของบรรดาอิมามทั้งสี่และผู้อื่นอยู่(5)

ตามรายงานต่างๆ อนุสรณ์สถานของบรรดาอิมามของชีอะฮ์ บัยตุลอะฮ์ซาน และอนุสรณ์สถานอื่น ในปี1298 ฮ.ศ. ยังคงมีอยู่ในสุสานบะกีอ์ (6) สิ่งปลูกสร้างเหล่านี้ หลังจากการทำลายครั้งแรกและเมืองมะดีนะฮ์ได้ยึดครองมาจากพวกวะฮาบีย์ มาห์มูดที่สอง สุลต่านแห่งจักรวรรดิออตโตมัน ได้ออกคำสั่งให้การบูรณะอีกครั้งในปี 1234 ฮ.ศ.(7)

ดังที่ มุรอด มีรซา บุตรชายของอับบาส มีรซา (1168-1212 ฮ.ช.)และเป็นที่รู้จักกันว่า ฮิซาม อัซซุนฏอนะฮ์ ได้เขียนไว้ในหนังสือของเขาว่า อย่างน้อยที่สุด จนถึงปี 1297 ฮ.ศ. บนหลุมฝังศพของอิมามฮะซัน (อ.) อิมามซัจญาด (อ.) อิมามบากิร (อ.) และอิมามศอดิก (อ.) ในสุสานบะกีอ์ นอกจากมิฮ์รอบ ยังมีเฎาะรีฮ์ ไม้สีเขียว บัยตุลอะฮ์ซาน ซึ่งเป็นของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ.) ที่อยู่ด้านหลังหลุมฝังศพของบรรดาอิมามทั้งสี่คน (8)

ตามบันทึกการเดินทางของอะยาซ คาน กัชกออี เหรัญญิกของชนเผ่าพันธุ์กัชกออี ซึ่งเขาได้เขียนไว้ในปี 1341 ฮ.ศ. นั่นคือ สองปีก่อน การทำลายสุสานบะกีอ์อย่างสมบูรณ์ ว่า แต่ทว่า หลุมฝังศพของบรรดาอิมามทั้งสี่ของชีอะฮ์ อยู่ในอนุสรณ์สถานเดียวกัน ซึ่งหลุมฝังศพของแต่ละคนนั้น เป็นที่ชัดเจน( 9) อะยาซ คาน เขายังได้กล่าวถึงการมีอยู่อนุสรณ์สถานบนหลุมฝังศพของอิบรอฮีม บุตรชายของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และอับดุลลอฮ์ บิน ญะอ์ฟัร ฏ็อยยาร ในสุสานบะกีอ์ อีกด้วยเช่นกัน และในตรอกหนึ่งที่ใกล้กับบะกีอ์ ยังมีอนุสรณ์สถานบนหลุมฝังศพของท่านหญิงศอฟียะฮ์ และอาติกะฮ์ บินติ อับดุลมุฏฏอลิบ ป้าทั้งสองของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และท่านหญิงอุมมุลบะนีน มารดาของอับบาส บิน อะลี และอีกหลายคนจากตระกูลบะนีฮาชิมรวมอยู่ด้วย (10)

เหตุการณ์ที่เป็นสาเหตุให้มีการทำลายสุสาน

ในปี 1220 ฮ.ศ. พวกวะฮาบีย์ได้ยึดครองเมืองมะดีนะฮ์และทำการปิดล้อมเมืองนี้ จนเกิดวิกฤตการขาดแคลน(25)

ตามแหล่งอ้างอิงที่มีอยู่ รายงานว่า ซูอูด บิน อับดุลอะซิส หลังจากที่เข้ายึดเมืองมะดีนะฮ์ได้แล้ว ก็ยึดทรัพย์สินในคลังของฮะรอมนบีในเมืองมะดีนะฮ์ไปจนหมดสิ้น และเขายังได้ออกคำสั่งให้มีการทำลายสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดและโดมเมืองมะดีนะฮ์ด้วย รวมทั้ง สุสานบะกีอ์ด้วยเช่นกัน (26)

ในการทำลายครั้งแรก พวกวะฮาบีย์ได้ทำลายหลุมฝังศพของบรรดาอิมามทั้งสี่ของชีอะฮ์ และสถานที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ถูกรู้จักกันว่า บัยตุลอะฮ์ซาน ในปี 1220 ซึ่งได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก(27)

หลังจากเหตุการณ์นั้น รัฐบาลของออตโตมัน ได้บุกมายังเมืองมะดีนะฮ์ ได้ทำการยึดเมืองนี้ จากพวกวะฮาบีย์ และในเดือนซุลฮิจญะฮ์ ปี 1227 ฮ.ศ. พวกเขายึดคืนการปกครองในเมืองมะดีนะฮ์ได้สำเร็จ ด้วยเหตุนี้เอง มาห์มูดที่สองสุลต่านที่สามสิบของจักรวรรดิออตโตมัน จึงได้คำสั่งให้มีการบูรณะหลุมฝังศพขึ้นใหม่ในปี 1234 ฮ.ศ. (28)

พวกวะฮาบีย์ได้บุกโจมตีเมืองมะดีนะฮ์ อีกครั้ง ในเดือนศอฟัร ปี 1344 ฮ.ศ.(29) ซึ่งในการโจมตีครั้งนี้ได้สร้างความเสียหายต่อฮะรอมอันศักดิ์สิทธิ์และสถานที่ทางศาสนา (30) และเจ็ดเดือนหลังจากนั้น ในเดือนรอมฎอนปี 1344 ฮ.ศ. ชัยค์อับดุลเลาะห์ บิน บุลัยฮิด (1284-1359 ฮ.ศ.) ซึ่งเขาเป็นหัวหน้าผู้พิพากษาสูงสุดเมืองมักกะฮ์ (31) นับตั้งแต่ปี 1343 จนถึง 1345 ได้เข้ามายังเมืองมะดีนะฮ์และได้รับคำฟัตวาของเหล่ามุฟตีเมืองมะดีนะฮ์ให้ออกคำสั่งทำลายสุสานทั้งหลาย(32)

และในวันที่ 8 เชาวาล ปี 1344 ฮ.ศ. สถานที่อนุสรณ์สถานทั้งหมดในสุสานบะกีอ์ ได้ถูกทำลายลงทั้งหมด รวมทั้งอนุสรณ์สถานของบรรดาอิมามทั้งสี่ของชีอะฮ์ด้วย โดยคำสั่งของชัยค์ อับดุลเลาะฮ์ บิน บุลัยฮิด จากการยึดถือตามคำฟัตวาของเหล่ามุฟตีย์เมืองมะดีนะฮ์ (33) 15 คนจากเหล่ามุฟตีย์เมืองมะดีนะฮ์ (34)ได้มีมติเอกฉันท์สั่งห้ามการปลูกสร้างสิ่งใดก็ตามเหนือหลุมฝังศพและยังออกกฏให้ทำลายมันอีกด้วย (35) ในขณะเดียวกัน ตรงกันข้ามกับความเชื่อของพวกวะฮาบี การสร้างสิ่งปลูกสร้างเหนือหลุมฝังศพ ตามความเชื่อของชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์และบรรดาชีอะฮ์ ไม่ได้ขัดแย้งกับความศรัทธาของอิสลาม และการซิยาเราะฮ์ยังหลุมฝังศพของบรรรดาผู้สูงส่งทางศาสนาและผู้ศรัทธาทั้งหลาย ถือเป็นมุสตะฮับ (36) ตามหลักฐานที่อ้างอิง ระบุว่า หลังจากการบุกเข้าทำลาย กษัตริย์อับดุลอะซีส แห่งซาอุดีอาระเบีย ได้ส่งจดหมายให้ชัยค์อับดุลเลาะฮ์ บิน บุลัยฮิด ในวันที่ 12 เชาวาล ปี 1344 ฮ.ศ. เพื่อขอบคุณต่อการดำเนินการของเขาในครั้งนี้ (37)

ปฏิกิริยาและผลที่ตามมา

ปฏิกิริยาของบรรดานักวิชาการและผลงานการประพันธ์

การทำลายสุสานบะกีอ์และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อื่นๆของชาวมุสลิม ทั้งในเมืองมักกะฮ์และเมืองมะดีนะฮ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำลายสุสานบะกีอ์ ทำให้ซัยยิดอะบุลฮะซัน อิศฟาฮานี และเชคอับดุลกะรีม ฮาอิรีย์ นักการศาสนาของสถาบันศาสนาเมืองนะญัฟและเมืองกุม ได้แสดงปฏิกิริยาตอบโต้ และเป็นเหตุให้ปิดการเรียนการสอนและตลาด (38) เชคมุฮัมมัด คอลิศี และซัยยิดฮะซัน มุดัรริซ ก็แสดงปฏิกิริยาจากการทำลายสุสานบะกีอ์ด้วยเช่นกัน โดยพวกเขาได้เรียกร้องให้มีการดำเนินการอย่างเด็ดขาดกับผูู้ก่อเหตุในการทำลายสถานที่ศักดิ์สิทธิ์(39) ซัยยิดฮุเซน ฏอบาฏอบาอี กุมมี ซึ่งเป็นที่รู้จักว่า อยาตุลลอฮ์ กุมมี หนึ่งในมัรญิอ์ของชีอะฮ์ ได้พยายามในการบูรณะหลุมฝังศพของบรรดาอิมามทั้งสี่ของชีอะฮ์ เป็นเวลานานหลายปี หลังจากการทำลายสุสานบะกีอ์ และกระทรวงการต่างประเทศอิหร่านได้เจรจากับรัฐบาลซาอุดีอาระเบีย ตามคำเรียกร้องของเขา(40) อิมามโคมัยนี ถือว่ ความเข้าใจผิดและการหันเห เป็นปัจจัยของการทำลายหลุมฝังศพของบรรดาอิมามทั้งสี่ของชีอะฮ์ในสุสานบะกีอ์ (41) มุฮัมมัด ฮุเซน กาชิฟุลฆิฏอ ได้เขียนจดหมายถึงอับดุลเลาะห์ บิน บุลัยฮิด หัวหน้าผู้พิพากษาของพวกวะฮาบี โดยกล่าวถึงลำดับขั้นความเชื่อของชีอะฮ์ที่มีต่อหลักเตาฮีด และเรียกร้องให้เขามีการสนทนาทางวิชาการและการไม่ตอบรับหมายถึงความอ่อนแอทางหลักฐานและเหตุผล (42)

ซัยยิดมุฮ์ซิน อะมีน ได้เขียนหนังสือ กัชฟุลอิรติยาบ เกี่ยวกับการทำลายสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามในเมืองฮิญาซและอธิบายถึงลัทธิวะฮาบีย์ ประวัติศาสตร์ และการดำเนินการของพวกวะฮาบีย์ (43) หนังสือดังกล่าว ยังกล่าวถึงหลักความเชื่อของพวกวะฮาบีย์ และการหักล้างความเชื่อของพวกเขาและได้รับการแปลเป็นภาษาฟารซีย์ โดยใช้ชื่อว่า ประวัติการวิจารณ์และการวิเคราะห์ลัทธิวะฮาบีย์(44) มุฮัมมัด ญะวาด บะลาฆี ได้เขียนบทความในหัวข้อ การปฏิเสธคำฟัตวาในการทำลายหลุมฝังศพของบรรดาอิมามทั้งสี่ของชีอะฮ์ในสุสานบะกีอ์ ด้วยการวิจารณ์หลักการพื้นฐานความคิดของพวกวะฮาบีย์ที่เกี่ยวกับการทำลายสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลาม (45) และยังมีหนังสืออีกเล่มหนึ่งชื่อว่า ดะอ์วะตุลฮุดา อิลัลวะรออ์ ฟีลอัฟอาล วัลฟัตวา ได้แสดงปฏิกิริยาตอบโต้คำฟัตวาของพวกวะฮาบีย์ในการทำลายอนุสรณ์สถานต่างๆ(46) และ บรรดานักกวีหลายคน เนื่องจากความไม่พอใจในการทำลายหลุมฝังศพในสุสานบะกีอ์ ได้นำเสนอในรูปแบบบทกวีอีกด้วยเช่นกัน (47)

เชิงอรรถ

บรรณานุกรม