กอเซ็ม สุไลมานี

จาก wikishia

กอเซ็ม สุไลมานี (ภาษาอาหรับ: قاسم سليماني) (ค.ศ. 1957-2020 ) เป็นที่รู้จักในนาม ฮัจญ์ กอเซ็ม และชะฮีด สุไลมานี อดีตผู้บัญชาการกองกำลังอัลกุดส์แห่งกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม ซึ่งเขาถูกลอบสังหารพร้อมกับอาบู มะฮ์ดี อัล-มุฮันดิส รองผู้อำนวยการกองกำลังอัลฮัชดุชชะอ์บี เมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 2020 โดยกองกำลังของสหรัฐอเมริกา ณ กรุงแบกแดด

ในช่วงสงครามอิหร่าน-อิรัก เขาเป็นผู้บัญชาการกองทัพที่ 41 ของ ษารุลเลาะห์ จังหวัดเคอร์มาน และเป็นหนึ่งในผู้บัญชาการของการปฏิบัติการ วัลฟัจญ์ครั้งที่ 8 กัรบะลาครั้งที่ 4 และครั้งที่ 5

สุไลมานี ได้รับการแต่งตั้งโดยซัยยิด อาลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ในฐานะผู้บัญชาการกองกำลังกุดส์ของ กองทัพพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม ซึ่งรับผิดชอบภารกิจนอกพรมชายแดนของกองทัพพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน

สุไลมานี ได้ให้การช่วยเหลือเหล่านักรบแห่งอัฟกานิสถานในการต่อสู้กับกลุ่มตอลิบาน และหลังสงครามกลางเมืองในอัฟกานิสถาน เขาได้ดำเนินการช่วยบูรณะประเทศอัฟกานิสถานอีกครั้ง

เขาได้ช่วยเหลือกลุ่มฮิซบุลเลาะห์และฮามาส ในสงคราม 33 วันในเลบานอน และสงคราม 22 วันในปาเลสไตน์ ในการต่อต้านอิสราเอล และจัดเตรียมอาวุธที่ก้าวหน้าให้กับแกนหลักแห่งขบวนการต่อต้าน หลังจากการเกิดขึ้นของ กลุ่มไอซิสในอิรักและซีเรีย สุไลมานีได้ปรากฏตัวในพื้นที่เหล่านี้และจัดตั้งกองกำลังประชาชนในการต่อสู้กับ กลุ่มไอซิส

การกำจัดภัยคุกคามของกลุ่มไอซิส ออกจาก เมืองซามัรรอ นะญัฟ และกัรบะลา เป็นหนึ่งในความสำเร็จของเขาในการต่อสู้กับ กลุ่มไอซิส นอกเหนือจากประเด็นทางการทหารแล้ว เขายังมีบทบาทในประเด็นทางวัฒนธรรมอีกด้วย ตามที่การเปิดเผยของเจ้าหน้าที่บางคนของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านระบุว่า สุไลมานีเป็นผู้ก่อตั้งสำนักงานใหญ่สำหรับการบูรณะฮะร็อมอันศักดิ์สิทธิ์ และการดูแลแผนการพัฒนาฮะร็อมของบรรดาอิมาม ผู้บริสุทธิ์ (อ.) นอกจากนี้ เขายังมีบทบาทในการอำนวยความสะดวกในการแสวงบุญอัรบาอีนและรับรองความปลอดภัยของผู้แสวงบุญ

เมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 2020 กอเซ็ม สุไลมานี ถูกลอบสังหารด้วยโดรนโจมตี พร้อมกับอาบู มะฮ์ดี อัล-มุฮันดิส และคนอื่นๆ ตามคำสั่งโดยตรงของประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา

กองทัพพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามได้โจมตีฐานทัพ อัยนุลอะซัดของทหารอเมริกา ด้วยขีปนาวุธ เพื่อเป็นการตอบสนองต่อการลอบสังหารของเขา และรัฐสภาอิรักก็อนุมัติแผนการขับไล่กองกำลังทหารอเมริกาออกจากอิรัก

ได้มีการจัดพิธีการแห่ศพสุไลมานีและเหล่าสหายของเขา ในเมืองต่างๆ ของอิรักและอิหร่าน และอายาตุลเลาะฮ์ บะชีร ฮุเซน นะญะฟีย์ และซัยยิด อะลี คาเมเนอี ได้ทำนมาซมัยยิตให้กับศพของพวกเขา ทั้งในอิรักและอิหร่าน

ตามรายงานของสำนักข่าวบางแห่ง รายงานว่า พิธีการแห่ศพของเขา เป็นหนึ่งในพิธีการแห่ศพที่ใหญ่ที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์ โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ 25 ล้านคน และศพของเขา ถูกนำไปไว้ฝังในสุสานชุฮะดาอ์ เมืองเคอร์มาน เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2020

ชีวประวัติ

กอเซ็ม สุไลมานี เกิดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1957 ในหมู่บ้าน กานาต มาลิก ในเมือง ราโบร จังหวัด เคอร์มาน ในชนเผ่า สุไลมานี (1) เมื่ออายุ 18 ปี เขาทำงานที่ สำนักงานประปาจังหวัดเคอร์มาน (2) ตามคำกล่าวของเขา เขาเป็นหนึ่งในผู้จัดการในการประท้วงและต่อต้านกองกำลังของรัฐบาลชาห์ปาห์เลวีในเมืองเคอร์มาน ในช่วงการปฏิวัติอิสลาม (3) เขาแต่งงานในช่วงสงครามอิหร่าน-อิรัก (4) และมีบุตร หกคน (5)

ในปี ค.ศ.2019 กอเซ็ม สุไลมานี ได้รับเกียรติในการเป็นผู้รับใช้คอดิมฮะร็อมของอิมามริฏอ ด้วยคำสั่งของซัยยิด อิบรอฮีม ระอีซี ในขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ดูแลฮะร็อมของอิมามริฎอ (อ.) (6) หลังจากที่เขาได้รับตำแหน่ง ชะฮีด เขาจึงเป็นที่รู้จักว่า นายพลแห่งดวงใจทั้งหลาย และมีการเตรียมและการเผยแพร่สัญลักษณ์ต่างๆในการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับประเด็นนี้อย่างมากมาย(7)

คุณลักษณะพิเศษ ความบริสุทธิ์ใจ ความกล้าหาญ การแสวงหาการเป็นชะฮีด และการยึดมั่นใน อะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) ผู้ที่มีวิลายัต ผู้เคร่งครัดในศาสนาและทางจิตวิญญาณ ความเป็นอัจฉริยะทางทหาร เป็นผู้มีระเบียบและวินัย และการเป็นคนของประชาชน ทั้งหมดเหล่านี้ ล้วนเป็นหนึ่งในคุณลักษณะของกอเซ็ม สุไลมานี(8) นอกจากนี้ อายะตุลเลาะฮ์ คาเมเนอี ถือว่า เขาเป็นภาพลักษณ์ระหว่างประเทศของขบวนการยืนหยัดต่อต้าน ได้รับการอบรมสั่งสอนในอิสลามและสำนักคิดของอิมามโคมัยนี (9)

ระหว่างสงครามอิหร่านอิรัก

หลังจากการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน กอเซ็ม สุไลมานี เข้าเป็นสมาชิกของกองทัพพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามในปี ค.ศ. 1979 โดยเขาเป็นสมาชิกของหน่วยฝึกอบรมและเขากลายเป็นครูฝึกสอนในค่ายฝึก กุดส์ ของกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามประจำเมืองเคอร์มาน (10) สุไลมานี ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกองพล ษารุลลอฮ์ที่ 41 ในเคอร์มาน ในปี ค.ศ. 1981 ตามคำสั่งของมุฮ์ซิน เรซาอี ผู้บัญชาการของกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามในขณะนั้น (11) เขาเป็นหนึ่งในผู้บัญชาการในสงครามอิรักกับอิหร่าน ในปฏิบัติการของวัลฟัจร์ครั้งที่ 8 กัรบะลาครั้งที่ 4 และกัรบะลาครั้งที่ 5 (12) และเขาได้รับบาดเจ็บถึงสองครั้งด้วยกัน โดยครั้งแรก เขามีอาการบาดเจ็บสาหัส (13)

หลังจากสิ้นสุดสงครามอิหร่าน-อิรักในปี 1988 สุไลมานีก็ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกองพลที่ 7 ซอฮิบุซซะมาน อยู่สักระยะหนึ่ง (14) จากนั้น เขาก็ได้เป็นผู้บัญชาการกองทัพที่ 41 ษารุลลอฮ์ อีกครั้ง และก่อนที่เขาจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการกองกำลังกุดส์ เขาได้ต่อสู้กับขบวนการค้ายาเสพติด บริเวณชายแดนอิหร่านและอัฟกานิสถานมาก่อน (15)

ผู้บัญชาการแห่งกองกำลังกุดส์

กอเซ็ม สุไลมานี ได้รับการแต่งตั้งจากผู้นำสูงสุดของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ให้เป็นผู้บัญชาการกองกำลังกุดส์ ในปี ค.ศ. 1997 (16) กองกำลังกุดส์ ซึ่งถือเป็นสาขาในต่างประเทศของกองทัพพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม ถูกเพิ่มเข้ามาในโครงสร้างของกองทัพพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม ในปี ค.ศ. 1990 โดยผู้บัญชาการคนแรกของกองกำลังนี้ คือ อะหมัด วะฮีดี และหลังจากนั้น กอเซ็ม สุไลมานี ก็กลายเป็นผู้บัญชาการกองกำลังกุดส์ของอิหร่าน และหลังจากการเป็นชะฮีดของเขา อิสมาอีล กออานี ก็เข้ามารับหน้าที่เป็นผู้บังคับบัญชาการกองกำลังนี้ต่อไป (17)

การต่อสู้กับกลุ่มตอลิบานและอัลกออิดะห์ ในอัฟกานิสถาน

การแต่งตั้ง กอเซ็ม สุไลมานี เป็นผู้บัญชาการกองกำลังกุดส์ เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่กลุ่มตอลิบานมีความเคลื่อนไหวอย่างมากในอัฟกานิสถาน (18) เขาร่วมมือกับนักต่อสู้ชาวอัฟกานิสถาน รวมถึงอาหมัด ชาห์ มัสอูด (19) และตามคำบอกเล่าของนักต่อสู้บางคน เขาปรากฏตัวในอัฟกานิสถานหลายครั้ง เพื่อต่อสู้กับกลุ่มตอลิบานและอัลกออิดะห์(20) วิดีโอที่ได้รับการเผยแพร่ที่เกี่ยวกับการปรากฏตัวของเขาในหุบเขา พันญ์ชีร และการพบปะของเขากับ อาหมัด ชาห์ มัสอูด ระหว่างการต่อสู้ของเหล่านักต่อสู้ชาวอัฟกานิสถานกับกลุ่มตอลิบาน (21)

ตามรายงานของกองทัพอัฟกานิสถาน ระบุว่า การปรากฏตัวของสุไลมานีในอัฟกานิสถาน เป็นการปรากฏตัวที่ประสบความสำเร็จ เพราะว่า เขามีบุคลิกที่เป็นมิตรซึ่งสามารถไว้วางใจได้ง่าย มีพลังดึงดูดฝ่ายตรงกันข้ามและมีความสามารถอย่างมากในการวางรากฐานสำหรับการหยุดยิงและความร่วมมือระหว่างกองกำลังต่างๆ ( 22)

การต่อสู้กับอิสราเอลในเลบานอนและปาเลสไตน์

กอเซ็ม สุไลมานี ได้ปรากฏตัวในการต่อสู้กับอิสราเอลในเลบานอน ระหว่างสงคราม 33 วัน ในพื้นที่ อัลฎอฮิยะห์ อัลญุนุบียะฮ์ ชานเมืองตอนใต้ของกรุงเบรุต และเขาปฏิบัติการอยู่ในห้องบัญชาการกลางของกลุ่มฮิซบุลเลาะห์ในเลบานอน (23)

ตามที่คำพูดของแกนนำกลุ่มฮามาสคนหนึ่งกล่าวว่า เขามีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับขบวนการฮามาสและสนับสนุนการต่อต้านของชาวปาเลสไตน์ (24) ด้วยพื้นฐานนี้ เขาจึงสามารถจัดเตรียมอาวุธที่ล้ำหน้าให้กับฮามาสเพื่อต่อสู้กับอิสราเอลได้ (25) และเขาได้ช่วยเหลือในการขุดอุโมงค์ใต้ดินเพื่อเผชิญหน้ากับอิสราเอล ก็เป็นหนึ่งในแบบแผนปฏิบัติการของอิมาด มูฆนียะฮ์ และกอเซ็ม สุไลมานี ด้วยกัน(26)

การต่อสู้กับกลุ่มไอซิส ในอิรัก กอเซ็ม สุไลมานี เป็นหนึ่งในผู้บัญชาการของการต่อสู้กับ กลุ่มไอซิส ในอิรัก (27) และซีเรีย (28) กลุ่มไอซิส เป็นกลุ่ม ตักฟีรีย์ ที่ถือกำเนิด หลังจากการล่มสลายของซัดดัมในอิรักและการเกิดสุญญากาศทางอำนาจในภูมิภาคนี้ (29) ในปี 2014 ซึ่งเมืองโมซูลถูกกลุ่มไอซิสยึดครองและกรุงแบกแดดซึ่งเป็นเมืองหลวงของอิรักก็ใกล้ที่จะล่มสลายด้วยเช่นกัน กอเซ็ม สุไลมานี จึงได้เข้าพบอายาตุลเลาะฮ์ ซีสตานี ซึ่งเป็นหนึ่งในมัรญิอ์ ตักลีดในอิรัก และหลังจากนั้น อายาตุลเลาะฮ์ ซีสตานี ก็ได้ออกคำฟัตวาในการต่อสู้แบบญิฮาดกับกลุ่มไอซิส (30) เขามีบทบาทที่มีประสิทธิภาพในการขับไล่กลุ่มไอซิสออกจากอิรัก ด้วยการจัดตั้งกองกำลัง ฮัชดุชชะอ์บีย์ ในลักษณะที่นาย ฮัยดัร อัลอะบาดี นายกรัฐมนตรีของอิรักในขณะนั้น กล่าวถึงกอเซ็ม สุไลมานีว่า เป็นหนึ่งในพันธมิตรหลักของอิรักในการต่อสู้กับ กลุ่มไอซิส (31)

สุไลมานีได้เข้าร่วมในปฏิบัติการหลายครั้งในการต่อต้าน กลุ่มไอซิส โดยเขาได้ให้คำปรึกษาแก่กองกำลังฮัชดุชชะอ์บีย์ กองทัพอิรัก และกองกำลังของรัฐบาลภูมิภาคเคอร์ดิสถานของอิรัก รวมถึงการปลดปล่อยเมือง อามีร์ลี ในจังหวัด ศอลาฮุดดีน ของอิรัก (32) การยึดคืน เมืองติกรีต กลับคืนมา (33) การป้องกันไม่ให้ กลุ่มไอซิส แทรกซึมเข้าไปในเมือง เออร์บีล ทางตอนเหนือของอิรัก (34) รวมถึงการต่อสู้กับ กลุ่มไอซิส ในจังหวัดซามัรรอ (36)

การต่อสู้กับกลุ่มตักฟีรีย์ในซีเรีย

สุไลมานี ได้จัดตั้งกองกำลังป้องกันแห่งชาติของซีเรีย เพื่อต่อสู้กับกลุ่มไอซิส และกลุ่มตักฟีรีย์ ในซีเรีย (36) ในปี 2011 เขาได้ส่งกองกำลังต่างๆ ภายใต้คำบัญชาของเขา ซึ่งรู้จักกันในชื่อว่า กลุ่มผู้พิทักษ์ฮาร็อมศักดิ์สิทธิ์ รวมถึง กองพลฟาฏิมียูนและกองพลซัยนะบียูน ไปยังซีเรีย (37) การปลดปล่อยเมืองอัลบูกะมาล (38) การปลดปล่อยเมืองประวัติศาสตร์ พัลไมรา ทางตะวันออกเฉียงใต้ของ ฮอมส์ (39) และการปลดปล่อยเมืองอัลกุศ็อยร์ เป็นหนึ่งในความสำเร็จของเขาในสงครามซีเรีย (40)

ประกาศการสิ้นสุดของกลุ่มไอซิส

กอเซ็ม สุไลมานี ส่งจดหมายถึง ซัยยิดอาลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ซึ่งมีการเผยแพร่ในสื่อต่างๆของอิหร่าน เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2017 โดยเขาประกาศยุติการยึดครองของกลุ่มไอซิส และชูธงซีเรียในเมืองอัลบูกะมาลจากเมืองต่างๆ ของซีเรียใกล้ชายแดนอิรัก (41) ก่อนหน้านั้น สุไลมานี สัญญาไว้ว่า ภายในเวลาไม่ถึงสามเดือน เขาจะประกาศการสิ้นสุดการปกครองของกลุ่มไอซิสในโลก (42)

ส่วนหนึ่งของคำตอบของอายาตุลเลาะฮ์ คาเมเนอีต่อจดหมายของกอเซ็ม สุไลมานี เกี่ยวกับการสิ้นสุดการปกครองของ กลุ่มไอซิส ท่านได้รับใช้ต่อมนุษยชาติอย่างยิ่งใหญ่ ด้วยการทำลายล้างมะเร็งร้ายของกลุ่ม ไอซิส ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ไม่เพียงแต่กับประเทศในภูมิภาคและโลกอิสลามเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทุกประชาชาติอีกด้วย (43)

การจัดตั้งสำนักงานใหญ่สำหรับการบูรณะฮะร็อมอันศักดิ์สิทธิ์และการเดินเท้าในพิธีอัรบะอีน

การจัดตั้งสำนักงานใหญ่สำหรับการบูรณะฮะร็อมอันศักดิ์สิทธิ์ ด้วยการสนับสนุนโดยตรงของกองกำลังกุดส์ของกองทัพพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม ในช่วงการบังคับบัญชาของ กอเซ็ม สุไลมานี และบุคคลที่รับผิดชอบก็ได้รับการแต่งตั้งจาก สุไลมานี ด้วยเช่นกัน (44) นอกจากนี้ กอเซ็ม สุไลมานี ยังมีบทบาทในการรักษาความปลอดภัยด้วยการสนับสนุนทางด้านโลจิสติกส์ และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้แสวงบุญพิธีอัรบะอีน (45) เนื่องจากวีซ่าอิรักสำหรับผู้แสวงบุญพิธีอัรบะอีนของชาวอิหร่าน ได้ถูกยกเลิก ก็ด้วยความพยายามของเขา (46)

ยศทหาร

อายาตุลเลาะฮ์ คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านได้มอบเหรียญรางวัลแห่งความกล้าหาญ ซุลฟิกอร ให้กับกอเซ็ม สุไลมานี ในปี 2018

กอเซ็ม สุไลมานี ได้รับยศเป็นพลตรีจาก ซัยยิดอาลี คาเมเนอี ผู้บัญชาการสูงสุดทุกกองกำลังทหารของอิหร่าน (47) นอกจากนี้ เขายังได้รับเหรียญซุลฟิกอร เมื่อ 10 มีนาคม 2019 (48) ตามกฎระเบียบในการมอบเหรียญตราทหารของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน เหรียญซุลฟิกอร จะมอบให้กับผู้บัญชาการระดับสูงและเสนาธิการระดับสูงในกองทัพ ซึ่งมีมาตรการในการวางแผนและการกำกับปฏิบัติการรบ นำไปสู่ความสำเร็จของผลลัพธ์ที่ต้องการ (49) สุไลมานี เป็นคนแรกที่ได้รับเหรียญ ซุลฟิกอร หลังการปฏิวัติอิสลามในปี 1978 (50) นอกจากนี้ เขายังได้เลื่อนยศทหาร เป็นพลโท ในปี 2020 และหลังจากการเป็นชะฮีดของเขา (51)

ในปี 2019 จากการรายงานพิเศษประจำปีของ นิตยสาร ฟอเรนโพลิซี ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการแนะนำนักคิดที่โดดเด่น 100 อันดับแรกของโลก โดย กอเซ็ม สุไลมานี ถูกรวมอยู่ในรายชื่อนักคิดที่โดดเด่น 10 อันดับแรกในสาขาการป้องกันและความมั่นคง (52) ตามที่คำกล่าวของผู้บัญชาการกองทัพสหรัฐคนหนึ่งกล่าวว่า นายพลสุไลมานี เป็นนักยุทธศาสตร์ที่คิดคำนวณและมีการปฏิบัติการซึ่งรักษาความสัมพันธ์ที่มั่นคงและได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับสถานภาพของอิหร่านในภูมิภาคและประสบความสำเร็จในการสร้างความสามัคคีให้เกิดกับชีอะฮ์และเพิ่มขีดความสามารถให้กับพวกเขา(53) นักวิเคราะห์ทางการเมืองบางคน เชื่อว่า กอเซ็ม สุไลมานี สามารถเป็นตัวอย่างของนายพลที่เก่งกาจที่สุดในโลกได้ (54)

การถูกลอบสังหารที่สนามบินกรุงแบกแดด

กอเซ็ม สุไลมานี ได้รับตำแหน่งชะฮีด เนื่องจากการถูกลอบสังหารด้วยการโจมตีของผู้ก่อการร้ายโดยโดรนของสหรัฐอเมริกา ขณะที่เขานั่งอยู่ในยานพาหนะใกล้สนามบินกรุงแบกแดดเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2020 พร้อมด้วยคนอื่นๆ อีกหลายคน รวมถึงอาบู มะฮ์ดี อัล-มุฮันดิส รองผู้อำนวยการกองกำลังฮัชดุชชะอ์บีย์ (อาสาสมัครประชาชนของอิรัก) (55) กระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์และประกาศว่าการโจมตีครั้งนี้ เกิดขึ้นตามคำสั่งของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาในขณะนั้น (56)

ก่อนหน้านี้ กอเซ็ม สุไลมานี เคยตกเป็นเป้าของการลอบสังหารหลายครั้ง โดยครั้งแรก เขาถูกลอบสังหาร ในปี 1981 โดยนายแพทย์ในเครือขององค์กรมุญาฮีดีน ค็อลก์ (57) ประมาณช่วงแรกของเดือนกันยายน ปี 2019 ฮุเซน ตออิบ ผู้อำนวยการองค์กรคุ้มครองหน่วยข่าวกรองของกองทัพพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม ได้ประกาศจับกุมผู้ที่วางแผนจะลอบสังหาร กอเซ็ม สุไลมานีในจังหวัดเคอร์มาน (58)

ปฏิกิริยาต่างๆ

ซัยยิด อาลี คาเมเนอี: ข้าพเจ้า จะต้องขอคำนับต่อสิ่งที่เขานำมาเพื่อประเทศ แต่ทว่า เพื่อภูมิภาคในการเผชิญของเขา

การถูกลอบสังหาร กอเซ็ม สุไลมานี ทำให้เกิดการประท้วงในประเทศต่างๆ ของโลกอย่างต่อเนื่อง และมีการจัดพิธีรำลึกเพื่อเป็นเกียรติแก่เขาในเมืองต่างๆ ของอิหร่านและประเทศอื่นๆ ของโลก นอกจากนี้ บุคคลสำคัญทางการเมืองและทางศาสนาของอิหร่านและประเทศอื่น ๆ ก็มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการถูกลอบสังหารของเขาด้วยเช่นกัน

ซัยยิด อาลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน เรียกเขาว่า เป็นภาพลักษณ์ระดับนานาชาติในขบวนการยืนหยัดต่อต้านและประกาศไว้อาลัยต่อสาธารณชนเป็นเวลา 3 วันในอิหร่าน เนื่องในโอกาสที่การเป็นชะฮีดของเขา (60) บุคคลสำคัญทางการเมืองและทางศาสนา รวมถึงผู้นำของสภาทั้งสามของอิรัก และบรรดามัรญิอ์ ตักลีดของอิหร่าน และอิรัก ได้ส่งสาร ยกย่องถึงความกล้าหาญ ความบริสุทธิ์ใจ และ การเสียสละของเขา ด้วยเช่นกัน (61)

ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ เลขาธิการใหญ่ของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ในเลบานอน, ซัยยิด อับดุลมาลิก บัดรุดดีน อัลฮูษี ผู้นำสูงสุดกลุ่มอันซอรุลลอฮ์ในเยเมน และประธานาธิบดีซีเรีย เลบานอน และอิรัก ล้วนเป็นบุคคลสำคัญทางการเมืองที่ไม่ใช่อิหร่าน ได้ประกาศประณามการลอบสังหารสุไลมานี (62) ประธานาธิบดีของอัฟกานิสถาน(63) และตุรกี (64) และกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียแสดงความเสียใจต่อชาวอิหร่านสำหรับการเสียชีวิตของเขา (65) แอกเนส คัลลามาร์ด ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติ ถือว่า การลอบสังหารกอเซ็ม สุไลมานี และอาบู มะฮ์ดี อัล-มุฮันดิส ผิดกฎหมายและเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ (66) เออร์แวนด์ อับราฮัมเมียน นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกา เขาได้เน้นย้ำว่า ก่อนหน้านี้ ชาวอิหร่านยังถือว่าอเมริกาเป็นรัฐบาลที่มีแผนการสมรู้ร่วมคิด และหลังจากนั้น รัฐบาลดังกล่าวจะเป็นรัฐบาลแห่งการก่อการร้าย (67) ไมเคิล มัวร์ ผู้สร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกา ได้ประท้วงต่อต้านการกระทำของรัฐบาลอเมริกาและเรียกรัฐบาลอเมริกาโดยปริยายว่า เป็นผู้ก่อสงคราม (68)

ผลที่ตามมา

ผลที่ตามมาบางประการของการเป็นชะฮีดของกอเซ็ม สุไลมานี ได้แก่: การอนุมัติแผนการขับไล่ทหารสหรัฐฯออกจากอิรัก: หลังจากการเป็นชะฮีดของกอเซ็ม สุไลมานี และอาบู มะฮ์ดี อัล-มุฮันดิส กลุ่มการเมืองอิรักบางกลุ่มและประชาชนจำนวนหนึ่งในประเทศนี้เรียกร้องให้มีการขับไล่กองกำลังทหารสหรัฐฯจากอิรัก ในที่ประชุมฉุกเฉิน ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2020 รัฐสภาอิรักประกาศอนุมัติแผนการถอนกำลังทหารสหรัฐฯออกจากอิรัก (69)แน่นอนว่า ประเด็นการถอนกองกำลังทหารสหรัฐฯออกจากอิรัก ได้มีการถกเถียงในช่วงการโจมตีของสหรัฐฯเข้าใส่ฐานที่มั่นของกองกำลังฮัชดุชชะอ์บีย์ และซัยยิดกาซิม ฮาอิรี หนึ่งในบรรดามัรญิอ์ ตักลีดของอิรัก ประกาศห้ามมิให้กองกำลังทหารสหรัฐฯประจำการอยู่ในอิรัก (70)

อิหร่านปฏิบัติการโจมตีด้วยขีปนาวุธเข้าใส่ฐานทัพอากาศ อัยนุลอะซัดของทหารสหรัฐฯ ที่อิรัก : กองทัพพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม ได้ตอบโต้ต่อการลอบสังหาร กอเซ็ม สุไลมานี ด้วยการโจมตีด้วยขีปนาวุธเข้าใส่ฐานทัพอากาศอัยนุลอะซัด เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2020 ซึ่งถือเป็นฐานทัพทหารของสหรัฐในอิรัก (71)

การกำหนดให้วันที่ 3 มกราคม เป็นวันแห่งการต่อต้านสากล ในปฏิทินของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน (72)

พิธีการแห่ศพและการฝังศพ

พิธีการแห่ศพของ กอเซ็ม สุไลมานี พร้อมด้วย อาบูมะฮ์ดี อัล-มุฮันดิส และสหายอื่นๆ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2020 โดยมีบุคคลสำคัญทางการเมืองและทางศาสนาและประชาชนชาวอิรักเข้าร่วมในกรุงแบกแดด กัรบะลา และนะญัฟ (73) และ ในกัรบะลา ซัยยิด อะห์หมัด อัศศอฟี ผู้ดูแลฮะร็อมท่านอับบาส (74) ในนะญัฟ เชคบะชีร นะญะฟีย์ ชีค บาชีร์ ทำนมาซมัยยิตให้ศพของพวกเขา (75) หลังจากนั้น ศพของบรรดาชะฮีดชาวอิหร่านและอาบู มะฮ์ดี อัล-มุฮันดิสก็ถูกเคลื่อนย้ายไปยังอิหร่านและมีพิธีการแห่ศพในเมืองอาห์วาซและมัชฮัด ในเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2020 และในกรุงเตหะรานและเมืองกุมในวันที่ 6 มกราคม (ต้องการแหล่งที่มา)

ซัยยิด อาลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ได้ทำนมาซมัยยิตให้ศพของกอเซ็ม สุไลมานี และสหายคนอื่นๆ ของเขา รวมถึงอาบู มะฮ์ดี อัล-มุฮันดิส ในกรุงเตหะราน เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2020 [76] ในพิธีแห่ศพของเขา ในกรุงเตหะราน อิสมาอีล ฮะนีเยห์ หัวหน้าสำนักงานการเมืองของกลุ่มฮามาส ในระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์โดยเขากล่าวถึงความพยายามของกอเซ็มสุไลมานีในการปลดปล่อยปาเลสไตน์จากการยึดครองของอิสราเอลและเรียกเขาว่า ชะฮีดแห่งกุดส์ (77) เว็บไซต์ข่าว รูซิยาอัลเยาว์ม ของรัสเซีย รายงานว่า พิธีการแห่ศพของเขาถือเป็น พิธีการแห่ศพที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ หลังจากพิธีการแห่ศพของอิมามโคมัยนี (78)โฆษกกองทัพพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม กล่าวว่า มีผู้คนประมาณ 25 ล้านคนเข้าร่วมในพิธีการแห่ศพของสุไลมานี (79)

พิธีการแห่ศพของกอเซ็ม สุไลมานี ในจังหวัดเคอร์มานเมื่อวันที่ 7 มกราคม และศพของเขาถูกนำมาฝังในสุสานชุฮะดาของเมืองนี้ เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2020 (80)

พินัยกรรม อิสมาอีล กอออนี ผู้บัญชาการกองกำลังกุดส์ ได้อ่านพินัยกรรมของกอเซ็ม สุไลมานี ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2020 (81) การปฏิบัติตามซัยยิด อาลี คาเมเนอี และการสนับสนุนผู้นำสูงสุดในฐานะวะลียุลฟะกีฮ์ การให้ความใส่ใจต่อลูกหลานของบรรดาชะฮีดและการให้ความเคารพกองทัพอิหร่านและบางส่วนของพินัยกรรมของเขา กล่าวถึงความสำคัญของสาธารณรัฐอิสลาม และอธิบายว่า เป็นที่ค่ายของฮุเซน บินอะลี และฮะร็อม และกล่าวเตือนว่า หากศัตรูได้ทำลายฮะร็อมนี้ จะไม่คงเหลือฮะร็อมอีกต่อไป ไม่ใช่เพียงฮะร็อมแห่งอิบรอฮีม และไม่ใช่เพียงฮะร็อมแห่งมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) (82) พิธีมรณกรรม40 วัน ของสุไลมานี ถูกจัดขึ้นในเมืองต่างๆ ของอิหร่าน และประเทศอื่นๆ บางประเทศ (83)

ผลงานศิลปะและสื่อ

หลังจากการเป็นชะฮีดของ กอเซ็ม สุไลมานี งานศิลปะที่เรียกว่า นักเช เนกีน สุไลมอนี จัดขึ้นที่เมืองกุม เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2020 ในงานศิลปะนี้ อาจารย์และนักศึกษาสาขาอักษรวิจิตร การประดิษฐ์ตัวอักษร จิตรกรรม ภาพประกอบ และการประดิษฐ์ตัวอักษรได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะในหัวข้อ การยืนหยัดต่อต้านและบรรดาชะฮีดจากอาชญากรรมล่าสุดจากระบอบการก่อการร้ายของอเมริกา (84)

นอกจากนี้ ยังการจัดงานศิลปะ ภายใต้หัวข้อ เกียรติและความภาคภูมิใจของการปฏิวัติอิสลาม เกี่ยวกับมิติต่างๆชีวิตของ กอเซ็ม สุไลมานี ณ มหาวิทยาลัยออซอดอิสลาม สาขา(พิเศษ)ศิลปะอิสลามอิหร่าน ศาสตราจารย์ ฟัรช์ชิยอน จัดขึ้นโดยมีศิลปินทั้งหลายเข้าร่วมในวันที่ 6 และ 7 กุมภาพันธ์ 2020 (85) การจัดงานผลิตสื่อ ภายใต้หัวข้อ สำนักคิดฮัจญ์กอเซ็ม สุไลมานี ในเดือนธันวาคม 2020ในเมืองอาห์วาซ (86)

มีการสร้างภาพยนตร์สารคดีหลายเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตและการขับเคลื่อนต่างๆ ของกอเซ็ม สุไลมานี เช่น กอเซ็ม (87), ความทรงจำของชายคนนั้น (88), 72 ชั่วโมง (89) และ ต้นเดือนมกราคม(90) นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำสารคดีเป็นภาษาสเปน โดยเผยแพร่ผ่านสถานีโทรทัศน์ช่อง ฮิสเปนทีวีสำหรับชาวสเปนจากทั่วทุกมุมโลก (91) ทีวีฟินแลนด์ ยังมีการออกอากาศสารคดีที่เกี่ยวกับกอเซ็มสุไลมานีอีกด้วย (92)

ผลงานประพันธ์

ผลงานประพันธ์บางส่วนที่มีการจัดพิมพ์เกี่ยวกับกอเซ็ม สุไลมานี เช่น หนังสือ ฉันไม่เคยหวาดกลัวสิ่งใดเลย เป็นหนังสือที่บันทึกชีวประวัติของกอเซ็ม สุไลมานี ด้วยลายมือของเขาเอง โดยหนังสือเล่มนี้มีทั้งหมด 136 หน้า ซึ่งจัดพิมพ์ในปี 2020 ประกอบด้วยลายมือของกอเซ็ม สุไลมานี ตั้งแต่ช่วงวัยเด็กและการใช้ชีวิตของเขาในหมู่บ้าน กอนาต มาลิก ในจังหวัดเคอร์มาน ไปจนถึงการต่อสู้กับการปกครองยุคชาห์ปาห์เลวี ในปี 1978 (93)

ฮัจญ์ กอเซ็ม การบันทึกความทรงจำของฮัจญ์กอเซ็ม สุไลมานี หนังสือเล่มนี้มีทั้งหมด 168 หน้ารวบรวมการบันทึกความทรงจำบางส่วน และสุนทรพจน์ของกอเซ็ม สุไลมานี ในช่วงสงครามอิหร่าน-อิรัก หนังสือเล่มนี้ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ ยาซะฮ์รอ ในปี 2015 (94) หนังสือดังกล่าวได้รับการแปลเป็นภาษาอาหรับและจัดพิมพ์โดย ญัมอียะตุลมะอาริฟ ในเลบานอน (95)

ซัรบอซอเนซันดอร เขียนโดย มุรตะซอ กะรอมะตี เป็นหนังสือที่แนะนำตัวของกอเซ็ม สุไลมานีและบรรดาชะฮีดที่ป้องกันฮะร็อมอันศักดิ์สิทธิ์ หนังสือเล่มนี้แปลเป็นภาษาตุรกีโดย อัยกูต พอซอร บาชี และจัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์เฟตา ในตุรกี โดยหนังสือเล่มนี้มีทั้งหมด 208 หน้า (96)

ซุลูก ดัร มักตะเบสุไลมอนี เขียนโดย มุฮัมมัดญะวาด รุดกัร จัดพิมพ์โดย สถาบันวัฒนธรรมความรู้และแนวคิดร่วมสมัย ศูนย์วิจัยวัฒนธรรมและแนวคิดอิสลาม มีทั้งหมด 264 หน้า จัดพิมพ์ในปี 2019 ผลงานชิ้นนี้ มีการอธิบายถึงหลักการและวิธีการทางรหัสยนิยมทางสังคมของ กอเซ็ม สุไลมานี (97)

อักเล ซุรค์ รวมบทความและการบันทึกโดยนักวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับบุคลิกภาพและโลกทัศน์ของ กอเซ็ม สุไลมานี (98)

สุไลมอนีเย อะซีซ หนังสือที่รวบรวมการรายงานเกี่ยวกับชีวิต การต่อสู้ และเนื้อความในพินัยกรรมของ กอเซ็ม สุไลมานี ได้รับการจัดพิมพ์โดยมีทั้งหมด 256 หน้า (99)

ชอเคซฮอเยมักตะเบสุไลมอนี หนังสือที่รวมถึงลักษณะพิเศษทางศาสนาและวัฒนธรรมทางบุคลิกภาพของ กอเซ็ม สุไลมานี ซึ่งจัดพิมพ์ในปี 2020 (100)


เชิงอรรถ

บรรณานุกรม