กลุ่มชนที่ได้รับความปลอดภัย

จาก wikishia

กลุ่มชนที่ได้รับความปลอดภัย หรือกลุ่มชนที่ได้รับทางรอด (ภาษาอาหรับ: الفرقة الناجية) เป็นวลีหนึ่งที่ได้รับการตีความมาจากฮะดีษ อิฟติรอก โดยชีอะฮ์อิมามียะฮ์ ซึ่งเป็นฮะดีษที่ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้กล่าวไว้ว่า หลังจากเขา ประชาชาติอิสลาม จะถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มชนต่างๆ ขณะที่มีกลุ่มชนเดียวเท่านนั้นที่จะได้รับทางรอดปลอดภัย

มีรายงานว่า ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า กลุ่มชนที่ได้รับทางรอด คือ บรรดาชีอะฮ์ของอะลี (อ.) และยังมีการประพันธ์หนังสือที่เกี่ยวกับกลุ่มชนดังกล่าวอีกด้วย

กลุ่มชนที่ได้รับความปลอดภัย เป็นชื่อที่ได้รับมาจากฮะดีษ73 จำพวก จากการอธิบายของชีอะฮ์อิมามียะฮ์ ในฮะดีษที่รายงานจากศาสดามุฮัมมัดว่า

แท้จริงประชาชาติของฉัน จะแยกออกเป็น 73 จำพวกโดยทั้งหมดจะอยู่ในไฟนรก เว้นแต่มีกลุ่มเดียวเท่านั้นที่ได้รับความปลอดภัย

รายงานจากศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ)และอิมามอะลี(อ.)ว่า กลุ่มชนที่ได้รับความปลอดภัย คือ บรรดาชีอะฮ์ของอะลี และยังหนังสือต่างๆที่เขียนเกี่ยวกับตัวอย่างของกลุ่มชนที่ได้รับความปลอดภัยอีกด้วย

ความสำคัญของกลุ่มชนที่ได้รับความปลอดภัย

กลุ่มชนที่ได้รับความปลอดภัย หมายถึง กลุ่มชนที่ในวันกิยามัต จะได้รับความปลอดภัย กล่าวถึงฮะดีษที่รายงานจากศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ)ที่เรียกว่า ฮะดีษ 73 จำพวก ในฮะดีษได้รายงานว่า ศาสดา ผู้ทรงเกียรติของอิสลาม ได้กล่าวว่า ประชาชาติอิสลามหลังจากฉันจะถูกแบ่งออกเป็น 73 จำพวก และมีกลุ่มเดียวเท่านั้นที่ได้รับความปลอดภัย(1)ขณะที่กลุ่มต่างๆของอิสลามต่างก็อ้างว่าตนเองคือกลุ่มชนที่ได้รับความปลอดภัย(2)

ความถูกต้องของฮะดีษ 73 จำพวก

ประเด็นที่เกี่ยวกับความถูกต้องของฮะดีษ 73 จำพวก มีความเห็นที่แตกต่างกัน


อิบนุ ฮัซม์ อันดะลุซี (เสียชีวิต ฮ.ศ.456) หนึ่งในนักวิชาการชาวอะฮ์ลิซุนนะฮ์ ถือว่า ฮะดีษนี้ไม่สามารถที่จะใช้ในการโต้แย้งได้และฮะดีษนี้ไม่ถูกต้อง(3) ทัศนะของอิบนุ วะซีร นักนิติศาสตร์มัสฮับซัยดี(เสียชีวิต ฮ.ศ. 840) ถือว่า ในส่วนสุดท้ายของฮะดีษ(ทั้งหมดจะอยู่ในไฟนรก เว้นแต่กลุ่มชนเดียว) เป็นการกุขึ้นมาเอง(4) ในขณะเดียวกัน ตำราด้านฮะดีษของชีอะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ และบรรดานักเขียนเกี่ยวกับสำนักคิดและมัสฮับ(7)ต่างยอมรับในฮะดีษนี้ เพราะฉะนั้น ตามคำกล่าวทั้งหมด จะเห็นได้ว่า ฮะดีษ 73 จำพวก เป็นฮะดีษมัชฮูร(เป็นที่รู้จัก) และมุสตะฟีฎ(ฮะดีษที่มีสายงานยังไม่ถึงระดับมุตะวาติร)(8) แต่ทว่า ฮะดีษนี้ยังเป็นมุตะวาติร(9) หรือมีความที่เกือบจะถึงระดับมุตะวาติร(10)

กล่าวได้ว่า เนื่องจากฮะดีษนี้ เป็นคอบัรวาฮิด (ฮะดีษที่มีสา่ยงานเดียว) ซึ่งไม่สามารถที่จะทำการพิสูจน์ในหลักศรัทธาและกำหนดกลุ่มชนที่ได้รับความปลอดภัย(11) แต่จากคำกล่าวของอยาตุลลอฮ์ ซุบฮานี กล่าวว่า ฮะดีษนี้เป็นฮะดีษมุสตะฟีฎ และมีการรายงานอย่างมากมายในตำราฮะดีษของชีอะฮ์และซุนนี ฉะนั้น จึงทำให้สายรายงานที่อ่อนแอนั้นถูกชดเชยและการรายงานฮะดีษนี้ เป็นที่น่าเชื่อถืออย่างยิ่ง เนื่องจากฮะดีษนี้มีแหล่งอ้างอิงอย่างมากมาย(12)

กลุ่มชนใดคือ กลุ่มชนที่ได้รับความปลอดภัย?

ในการกำหนดว่า กลุ่มชนใดคือ กลุ่มชนที่ได้รับความปลอดภัย มีความเห็นที่แตกต่างกันระหว่างบรรดานักวิชาการในมัสฮับต่างๆ ส่วนมากมักเชื่อว่า มัสฮับหรือสำนักคิดของตน เป็นกลุ่มชนที่ได้รับความปลอดภัย และอีก 72 กลุ่มชนอยู่ในการพินาศ(13) ญะมาลุดดีน รอซี หนึ่งในนักวิชาการของชีอะฮ์ เขียนไว้ในหนังสือ ตับศิเราะตุลอะวาม ฟีย์ มะอ์ริฟะติมะกอลาติลอะนาม(14) ญะอ์ฟัร บินมันซูร อัลยะมัน จากนักวิชาการชีอะฮ์อิสมาอีลียะฮ์ ในหนังสือ ซะราอิร วะ อิซรอรุลนุฏกออ์(15) และชะฮ์ริสตานี นักวิชาการชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ในหนังสือ อัลมิลัล วันนิฮัล(16) ถือว่า มัสฮับของตน เป็นกลุ่มชนที่ได้รับความปลอดภัย สำหรับการกำหนดที่เกี่ยวกับกลุ่มชนที่ได้รับความปลอดภัย คือ กลุ่มชนใด มีคำอธิบายอย่างมากมายในฮะดีษ 73 จำพวก(17) แต่กลุ่มชนต่างมีเหตุผลที่ยืนยันว่า กลุ่มชนของตน เป็นกลุ่มที่ได้รับความปลอดภัย ตามการวิจัยของอะลี ออกอนูรี กล่าวว่า มีการตีความฮะดีษนี้ถึง 15 การตีความที่เกี่ยวกับกลุ่มชนที่ได้รับความปลอดภัย(19) ซึ่ง 8 การตีความมีความเกี่ยวข้องกับวิลายัต(ตำแหน่งผู้นำ)ของอิมามอะลี(อ.) หรือผู้ที่ปฏิบัติตามอะฮ์ลุลบัยต์(อ.) หรือบรรดาชีอะฮ์ของอิมามอะลี(20) แม้ว่า ตามคำกล่าวของเขา จะเห็นได้ไม่มีการชี้อย่างชัดเจนว่า กลุ่มชนคือ กลุ่มชนที่ได้รับความปลอดภัย

ทัศนะของนักวิชาการชีอะฮ์

เชคศอดูก นักรายงานฮะดีษ ที่ถูกรู้จักของชีอะฮ์ในศตวรรษที่สี่ บันทึกไว้ในหนังสือ กะมาลุดดีน วะ ตะมามุนนิอ์มะฮ์ โดยอ้างอิงจากฮะดีษษะกอลัยน์ว่า ผู้ใดที่ยึดถืออัลกุรอานและอะฮ์ลุลบัยต์แห่งนะบูวัต เขาจะเป็นกลุ่มชนที่ได้รับความปลอดภัย(22) และเช่นกัน อัลลามะฮ์ มัจญ์ลิซี บันทึกไว้ในหนังสือ บิฮารุลอันวาล รายงานจากอิมามอะลี(อ.) กล่าวว่า บรรดาชีอะฮ์ของฉัน พวกเขาคือ ผู้ที่ได้รับความปลอดภัย(23) อัลลามะฮ์ ฮิลลีได้อ้างอิงจากฮะดีษ 12 อิมาม โดยถือว่า ผู้ที่ปฏิบัติตามบรรดาอิมาม เขาคือ กลุ่มชนที่ได้รับความปลอดภัย(24) หลังจากนั้นเขาก็ได้พิสูจน์ถึงความชอบธรรมของมัสฮับชีอะฮ์(25) และเช่นเดียวกัน ฮะดีษซะฟีนะฮ์ ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่กล่าวว่า กลุ่มชนที่ได้รับความปลอดภัย คือ กลุ่มชนที่ปฏิบัติตามบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(อ.) เพราะว่าฮะดีษนี้กล่าวว่า ผู้ใดก็ตามที่ปฏิบัติตามอะฮ์ลุลบัยต์ เขาจะรอดปลอดภัย(24) ในขณะที่ชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ โดยการอ้างจากฮะดีษอื่นๆ ว่า ญะมาอัต(27) หรือส่วนมาก(28)หรือเหล่าผู้ปฏิบัติตามคอลีฟะฮ์ อัรรอชีดีน(29) พวกเขาเหล่านั้นคือ กลุ่มชนที่ได้รับความปลอดภัย และยังมีรายงานอีกด้วยว่า สำนักคิดและมัสฮับทั้งหมดในอิสลาม คือ กลุ่มชนที่ได้รับความปลอดภัย เว้นแต่พวกซินดีก เท่านั้น(30)

หนังสือบรรณานุกรม

ในประเด็นที่เกี่ยวกับกลุ่มชนที่ได้รับความปลอดภัย มีผลงานประพันธ์ต่างๆมากมาย เช่น หนังสือ อัซซะรีอะฮ์ เขียนโดย ออกอบุซุรก์ เตห์รอนี ได้บันทึกผลงานเขียนของนักวิชาการชีอะฮ์เกี่ยวกับประเด็นนี้ [32] อัศศอวาริม อัลมาฎิยะฮ์ ฟิล ฟุรกอติลนาญียะฮ์ เขียนโดย ซัยยิด มุฮัมมัด มะฮ์ดี ฮุซัยนี ก็อซวีนี ฮิลลี [33] ในหนังสือเล่มนี้ ได้พิสูจน์ว่า สำนักคิดชีอะฮ์อิมามียะฮ์ เป็นกลุ่มชนที่ได้รับความปลอดภัย [34] ] และมีกวีนิพนธ์ประมาณ 25,000 บท [35] นักวิชาการชีอะฮ์ได้ยกย่องหนังสือเล่มนี้ [36] และอัลลามะฮ์ มัจลิซี ถือว่า เป็นหนึ่งในหนังสือที่ดีที่สุดที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้[37] จากหนังสือเล่มนี้ ยังมีชื่อว่า อัศศอวาริม อัลมาฎิยะฮ์ ลิร็อดดิลฟิลกอติลฮาดิยะฮ์ วะ ตะฮ์กีกุลฟิลกออัลนาญียะฮ์ [38]หนังสือ อิษบาตุลฟิลกอติลนาญียะฮ์ เขียนโดย มุฮัมมัดฮะซัน ชะรีอัตมาดาร เอสตัรอะบาดี (เสียชีวิต 1318 ฮ.ศ.) ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ พยายามที่จะกำหนดกลุ่มชนที่ได้รับความปลอดภัยและ 72 สำนักคิดต่างๆอีกด้วย หนังสือ อัลฟิรกอตุลนาญียะฮ์ เขียนโดย อิบรอฮีม สุไลมาน กอฏีฟี (เสียชีวิต 950 ฮ.ศ.) ริซาละฮ์ อุศูลียะฮ์ ฟีย์ อิษบาต มัสฮับอัลฟิรกอฮ์ อัลนาญียะฮ์ มิน บัยนัลฟิรอก อัลอิสลามียะฮ์ เขียนโดย เชคญะอ์ฟัร กาชิฟุลฆิฏออ์ และหนังสือ อิษบาต อัลฟิรกอฮ์ อัลนาญียะฮ์ วะ อันนะฮุม อัชชีอะฮ์ อัลอิมามียะฮ์ ผู้เขียน ซัยยิดฮุเซน บิน อะลี บิน อะบีฏอลิบ ฮุซัยนี ฮะมาดานี และหนังสือ อิษบาต อัลฟิรกอฮ์ อัลนาญียะฮ์ ผลงานเขียนโดย คอญิฮ์ นะศีรุดดีน ฏูซี ถือเป็นอีกผลงานที่เกี่ยวกับเรื่องนี้