ข้ามไปเนื้อหา

กะลีมุลลอฮ์ (สมญานาม)

จาก wikishia

กะลีมุลลอฮ์ (ภาษาอาหรับ : كليم الله ) (หมายถึง ผู้ที่พระเจ้าทรงตรัสกับเขา) เป็นสมญานามที่เฉพาะของศาสดามูซา (อ. ) (๑) และเนื่องจากพระผู้เป็นเจ้าทรงสนทนากับเขา โดยปราศจากสื่อกลางใดๆทั้งสิ้น เขาจึงถูกเรียกว่า กะลีมุลลอฮ์ (๒) การได้รับสมญานามนี้กับมูซา (อ.) ถือเป็นความสูงส่งประการหนึ่งสำหรับเขา [๓]

ในโองการที่ ๑๖๔ ซูเราะฮ์อันนิซาอ์ พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสกับมูซา (อ.) : อัลลอฮ์ทรงตรัสกับมูซา[๔] ในโองการที่ ๑๔๓ และ๑๔๔ ซูเราะฮ์อัลอะอ์รอฟ มีการกล่าวถึงการสนทนาของพระเจ้ากับมูซาอีกด้วย [๕] เช่นเดียวกับในโองการที่ 11 ซูเราะฮ์ฏอฮา ได้ชี้ให้เห็นว่า คุณลักษณะพิเศษนี้ ด้วยการใช้วลี นูดิยะ (ถูกเรียก) บรรดานักวิชาการชาวมุสลิม [๖]และชาวยิวบางคน [๗] ถือว่า บทสนทนาประเภทนี้ เป็นเรื่องเฉพาะของศาสดามูซา (อ.) [๘]ชาวยิวได้ศาสดามูซาว่า กะลีมี เนื่องจากเขามีคุณลักษณะกะลีมุลลอฮ์ [๙]

บรรดานักวิชาการมุสลิมบางคน เชื่อว่า พระเจ้าทรงตรัสกับศาสดาแห่งอิสลาม ในช่วง การขึ้นสู่มิอ์รอจญ์ และริวายะฮ์ต่างๆได้บ่งบอกถึงคำพูดนี้ [๑๐] พวกเขาเชื่อว่า การสนทนากับพระเจ้าโดยตรงนั้นมีไว้เฉพาะสำหรับศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) และศาสดามูซา (อ.) เพียงเท่านั้น (๑๑) คำพูดของพระเจ้า ถือเป็นการพูดโดยปราศจากรูปร่าง เพราะว่า การพูดด้วยลิ้น เป็นเครื่องหมายของการมีรูปร่าง ในขณะที่พระเจ้าไม่มีรูปร่าง [๑๒]

ยะอ์กูบ อะลี บุรูซะวี นักอรรถาธิบายอัลกุรอานในศตวรรษที่สิบสองแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช ถือว่า เหตุผลที่เฉพาะกับศาสดามูซาด้วยการมีสนทนาประเภทนี้ กล่าวคือ ในขณะที่เขายังเป็นเด็กและลิ้นของเขาถูกเผาไหม้ พระเจ้าต้องการชดเชยการเผาไหม้นั้นด้วยการสนทนากับเขา เขาจึงถูกเรียกว่า กะลีมุลลอฮ์ (๑๓) นักตัฟซีรผู้นี้ยังกล่าวถึงเหตุการณ์นี้ด้วยบทกวี :

ทุกความยากลำบาก เป็นบทนำของความสะดวกสบาย ด้วยการสนทนากับพระเจ้า ลิ้นของกะลีมจึงได้ถูกเผาไหม้ [๑๔]

นักอรรถาธิบายอัลกุรอานบางคนได้ให้การตีความเหตุผลของสมญานาม กะลีมุลลอฮ์ อีกครั้งหนึ่ง ในลักษณะที่พระผู้เป็นเจ้าทรงแสดงต่อศาสดามูซา (อ เป็นครั้งแรก โดยตรัสว่า แท้จริงข้าคือพระเจ้าของเจ้า และการเป็นศาสนทูตของศาสดามูซา เริ่มต้นด้วยพระวจนะของพระองค์ ด้วยเหตุนี้เอง เขาจึงถูกเรียกว่า กะลีมุลลอฮ์ (๑๕)