ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาคิเราะฮ์"

ไม่มีคำอธิบายอย่างย่อ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 17: บรรทัดที่ 17:


มุรตะฎอ มุเฏาะฮะรี กล่าวว่า ในหนังสือเทววิทยาอิสลาม ชาวมุสลิม ถือว่า ความศรัทธาต่อโลกอาคิเราะฮ์ เป็น  ‎ [[หลักมะอาด]] (10) [[บัรซัค]] [[กิยามัต]] [[ศิรอฏ]] [[ฮิซาบ]] เป็นประเด็นที่เกี่ยวกับอาคิเราะฮ์ ซึ่งในอัลกุรอาน ฮะดีษต่างๆ และผลงานเขียนของบรรดานักวิชาการมุสลิม ได้มีการพูดคุยถึงมันและตามอัลกุรอาน ระบุว่า จะต้องมีความศรัทธาในสิ่งเหล่านี้[11]‎
มุรตะฎอ มุเฏาะฮะรี กล่าวว่า ในหนังสือเทววิทยาอิสลาม ชาวมุสลิม ถือว่า ความศรัทธาต่อโลกอาคิเราะฮ์ เป็น  ‎ [[หลักมะอาด]] (10) [[บัรซัค]] [[กิยามัต]] [[ศิรอฏ]] [[ฮิซาบ]] เป็นประเด็นที่เกี่ยวกับอาคิเราะฮ์ ซึ่งในอัลกุรอาน ฮะดีษต่างๆ และผลงานเขียนของบรรดานักวิชาการมุสลิม ได้มีการพูดคุยถึงมันและตามอัลกุรอาน ระบุว่า จะต้องมีความศรัทธาในสิ่งเหล่านี้[11]‎
== เหตุผลของการมีอยู่ของอาคิเราะฮ์ ==
บรรดานักวิชาการมุสลิม ถือว่า เหตุผลที่สำคัญที่สุดของการมีอยู่ของอาคิเราะฮ์ ‎ เป็นเหตุผลเชิงการรายงาน(นักลีย์) รวมถึงวะฮีย์ ด้วย กล่าวคือ ความจริงที่ว่า บรรดาศาสดา ผู้บริสุทธิ์ ได้แจ้งข่าวเกี่ยวกับการมีอยู่ของอาคิเราะฮ์ ‎และเชิญชวนผู้คนให้มีความศรัทธา เป็นเหตุผลที่บ่งบอกถึงการมีอยู่ของอาคิเราะฮ์ ‎ [12] ในบรรดาเหตุผลเชิงการรายงาน ในบริบทนี้ คือ โองการที่ 7 ‎ของซูเราะฮ์อัตตะฆอบุน : จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด)  ใช่แล้ว ขอสาบานต่อพระผู้ทรงอภิบาลของข้าพระองค์ พวกเจ้าจะถูกทำให้ฟื้นคืนชีพอย่างแน่นอน  (13)‎
มุรตะฎอ มุเฎาะฮะรี กล่าวว่า นอกเหนือจากหลักฐานเชิงการรายงานแล้ว ยังมีวิธีการอื่นในการพิสูจน์ถึงการมีอยู่ของอาคิเราะฮ์ ‎ ซึ่งอย่างน้อยที่สุด ก็มีสัญลักษณ์และสัญญาณของการมีอยู่ของโลกอาคิเราะฮ์  ซึ่งมีอยู่ 3 แนวทาง กล่าวคือ 1. การรู้จักพระเจ้า 2.การรู้จักโลก 3.การรู้จักจิตวิญญาณและตัวตนของมนุษย์ (14)‎
ข้อพิสูจน์ทางวิทยปัญญา และข้อพิสูจน์ทางยุติธรรม เป็นอีกเหตุผลทางสติปัญญาของบรรดานักเทววิทยาที่ใช้ในการพิสูจน์การมีอยู่ของอาคิเราะฮ์ ‎ [15]‎
กล่าวได้ว่า ข้อพิสูจน์ทางสติปัญญานั้น มีความขัดแย้งกันกับวิทยปัญญาของพระเจ้า ซึ่งด้วยการจำกัดการใช้ชีวิตในโลกนี้ จึงมีความเป็นไปได้ที่ชีวิตของมนุษย์ จะมีความเป็นอมตะนิรันดร์ เพราะว่า พระองค์คือผู้สร้างมนุษย์ขึ้นมา เพื่อที่จะนำเขาไปสู่ความสมบูรณ์แบบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เป็นไปได้ และการบรรลุถึงความสมบูรณ์แบบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนั้นไม่สามารถที่จะกระทำได้ในโลกนี้ เพราะว่า คุณค่าที่มีอยู่ของความสมบูรณ์แบบทางอาคิเราะฮ์ ‎ไม่สามารถที่จะเทียบเทียมได้กับความสมบูรณ์แบบทางโลกนี้ (16)‎
ข้อพิสูจน์ทางความยุติธรรม ยังกล่าวอีกว่า เนื่องจากในโลกนี้ มีทั้งคนดีและคนเลว ที่ได้รับรางวัลและการลงโทษจากการกระทำของพวกเขา ซึ่งพวกเขาไม่ได้เห็น แต่ด้วยความยุติธรรมของพระเจ้าบ่งบอกว่า จะต้องมีอีกโลกหนึ่งที่แต่ละคนได้รับสิ่งที่เขาสมควรที่จะได้รับ (17)‎
== คุณลักษณะของอาคิเราะฮ์และความแตกต่างกับโลกนี้ ==
มุรตะฎอ มุเฎาะฮะรี กล่าวว่า มีโองการจากอัลกุรอานหลายร้อยโองการ ที่เกี่ยวข้องกับอาคิเราะฮ์ ‎ เช่น โลกหลังความตาย วันแห่งการฟื้นคืนชีพ วิธีการรวมตัวคนตายเข้าด้วยกัน มาตรวัด การคิดบัญชี การบันทึกของการกระทำ สวรรค์และนรกและความเป็นอมตะของอาคิเราะฮ์ ‎ [18] บรรดานักวิชาการมุสลิม เชื่อว่า ตามพื้นฐานของโองการอัลกุรอาน ระบุว่า อาคิเราะฮ์ ‎มีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากโลกนี้และระบบที่มีอยู่ในนั้น [19] มุลลา ศ็อดรอ เชื่อว่า จิตวิญญาณอยู่ภายในร่างกายฉันใด ‎โลกหน้าก็ยังเป็นโลกภายในของโลกนี้ฉันนั้น [20] ฮะกีม ซับซะวารี ยังอธิบายถึงคำพูดนี้ด้วยว่า อาคิเราะฮ์ ‎อยู่ในแนวตั้งของโลกนี้ และเมื่อเปรียบเทียบกับโลกนี้ ก็เหมือนลูกนกที่มีความสัมพันธ์ไปยังไข่ของมัน [21] ในอาคิเราะฮ์ ‎ มนุษย์ทุกคนมีชีวิตอยู่พร้อมๆ กัน ตั้งแต่เริ่มการสร้างไปจนถึงจุดสิ้นสุด [22 ] ในนั้น มนุษย์ทั้งหลาย หรือว่าพวกเขามีความสุขอย่างแท้จริงและทุกสิ่งที่พวกเขาต้องการก็มีให้สำหรับพวกเขา หรือพวกเขาอยู่ในความทุกข์ยากอย่างยิ่งที่ไม่มีอะไร นอกจากสิ่งที่พวกเขาคิดว่าแย่ ก็จะมีให้สำหรับพวกเขา แต่ในโลกนี้ ชีวิตและความตาย ประโยชน์และความขาดแคลน ความอับโชคและความผาสุก ‎ความทุกข์และความสบายใจ ความเศร้าและความยินดี ได้ปะปนอยู่ด้วยกัน (23)‎
คุณลักษณะอื่นๆ บางประการของอาคิเราะฮ์ ในโองการของอัลกุรอานและฮะดีษ ซึ่งมีดังนี้ :‎
'''ความเป็นอมตะ''' : ตามโองการของอัลกุรอาน อาคิเราะฮ์นั้นไม่มีที่สิ้นสุดและเป็นนิรันดร์ ตัวอย่างเช่น ในโองการที่ 34 ของซูเราะฮ์ก็อฟ  ระบุว่า ได้มีการแจ้งข่าวดีแก่บรรดาชาวสวรรค์ในอาคิเราะฮ์ วันนี้เป็นวันแห่งความเป็นอมตะ  นอกจากนี้ ในหนังสือฆุรอรุลฮิกัม รายงานจากอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า  โลกนี้นั้นมีขอบเขตจำกัด และอาคิเราะฮ์ก็เป็นนิรันดร์ [24]‎
'''การแยกออกของผู้ที่กระทำความดีออกจากผู้ที่กระทำความชั่วร้าย''' : ตามโองการของอัลกุรอาน ระบุว่า คนที่กระทำความดีและคนที่กระทำความชั่ว จะถูกแยกออกจากกันในอาคิเราะฮ์ ‎: โอ้ คนบาปทั้งหลาย จงแยกตัวออกจากกันในวันนี้  (25) “บรรดาผู้ที่ ปฏิเสธศรัทธา จะถูกรวบรวมไปยังนรก แล้วอัลลอฮ์จะทรงแยกสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์ออกจากสิ่งที่บริสุทธิ์  (26) บรรดาผู้ศรัทธานั้นมีความสุขและได้เข้าสู่สรวงสวรรค์ และผู้ปฏิเสธศรัทธาก็เศร้าโศกและเข้าในนรก (27) บรรดาผู้ที่เกรงกลัวต่อพระเจ้าของพวกเขาจะถูกนำไปสู่สวรรค์เป็นกลุ่มๆ  (28) "และเราได้ขับไล่ผู้ที่กระทำความผิดบาปไปสู่นรก ในสภาพที่หิวกระหาย  (29)‎
'''การเห็นผลลัพธ์ของการกระทำ''' : ตามโองการของอัลกุรอาน ยืนยันว่า มนุษย์เขาจะเห็นถึงผลลัพท์ของการกระทำของเขาในโลกนี้ในอาคิเราะฮ์ ‎: และ [ผลลัพธ์] ของความพยายามของเขาจะถูกทำให้มองเห็นในไม่ช้านี้ แล้วพวกเขาจะได้รับรางวัลตอบแทนอย่างเต็มที่  (30) ดังนั้น ผู้ใดก็ตามที่กระทำความดี หนักเท่าผงธุลี เขาจะได้เห็น (ผลของ)มัน  และผู้ใดที่กระทำความชั่ว ‎หนักเท่าผงธุลี จะได้เห็น [ผลของ]มัน (31)‎
การใช้ประโยชน์ด้วยความเหมาะสม : อาคิเราะฮ์ ทุกคนย่อมได้ประโยชน์ตามสิทธิที่เหมาะสมของเขา ซึ่งตรงกันข้ามกับโลกนี้ ในฮะดีษของอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า สถานการณ์ของโลกนี้ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ต่างๆ ส่วนสถานการณ์ของอาคิเราะฮ์นั้น ‎เป็นไปตามคุณงามความดีของมนุษย์ (32)][หมายเหตุที่ 1]‎


== เชิงอรรถ ==
== เชิงอรรถ ==
confirmed
838

การแก้ไข