ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อิบรอฮีม(ศาสดา)"
ไม่มีคำอธิบายอย่างย่อ
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 35: | บรรทัดที่ 35: | ||
กล่าวว่ากันว่า หลังจากการถึงแก่กรรมของท่านหญิงซาราห์ ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ก็ได้แต่งงานกับผู้หญิงอีกสองคน คนหนึ่งมีบุตรชายด้วยกัน 4 คน อีกคนหนึ่งมีบุตรชายด้วยกันอีก 7 คน และจำนวนบุตรทั้งหมดของเขาจึงมีทั้งหมด 13 คน [26] มาซีย์ ซุมรอน ซัรฮัจญ์ ซะบัก จากหญิงที่ชื่อว่า ก็อนฏูรอ และนาฟิซ มัดยัน กีชาน ชะรูค อะมีม ลูฏ และยักชาน จากหญิงที่มีชื่อว่า ฮะญูนีย์ [27] | กล่าวว่ากันว่า หลังจากการถึงแก่กรรมของท่านหญิงซาราห์ ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ก็ได้แต่งงานกับผู้หญิงอีกสองคน คนหนึ่งมีบุตรชายด้วยกัน 4 คน อีกคนหนึ่งมีบุตรชายด้วยกันอีก 7 คน และจำนวนบุตรทั้งหมดของเขาจึงมีทั้งหมด 13 คน [26] มาซีย์ ซุมรอน ซัรฮัจญ์ ซะบัก จากหญิงที่ชื่อว่า ก็อนฏูรอ และนาฟิซ มัดยัน กีชาน ชะรูค อะมีม ลูฏ และยักชาน จากหญิงที่มีชื่อว่า ฮะญูนีย์ [27] | ||
== อิบรอฮีม (อ.) ในอัลกุรอาน == | |||
อัลกุรอานได้กล่าวถึงอิบรอฮีม 69 ครั้ง [28] ซูเราะฮ์ที่ได้รับการตั้งชื่อเขา ตามเรื่องราวการดำเนินชีวิตของอิบรอฮีม [29] อัลกุรอาน กล่าวถึงอิบรอฮีม รวมทั้งความเป็นศาสดาของเขาและการเรียกร้องให้นับถือพระเจ้าองค์เดียว(เตาฮีด) ความเป็นอิมามะฮ์ (ผู้นำ)ของเขา การเชือดบุตร ปาฏิหาริย์ในการทำให้นกสี่ตัวกลับมามีชีวิตอีกครั้งหลังจากที่พวกมันตายไปและการทำให้ไฟมีความเย็นลง | |||
'''ความเป็นศาสดา ผู้นำและเคาลีลุลลอฮ์''' | |||
ในหลายโองการของอัลกุรอาน มีการกล่าวถึงความเป็นศาสดาของอิบรอฮีมและการเชิญชวนของเขาไปสู่การนับถือพระเจ้าเพียงองค์เดียว ( เตาฮีด ) [30] นอกจากนี้ ในโองการที่ 35 ของซูเราะฮ์อัลอะฮ์ก็อฟ ถือว่า ศาสดาอิบีรอฮีม เป็นหนึ่งในบรรดาศาสดาอุลูลอัซม์ [30] และตามริวายะฮ์ รายงานว่า อิบรอฮีม เป็นหนึ่งในนั้นและเป็นศาสดาองค์ที่สอง หลังจากศาสดานูฮ์ (โนอาห์) (อ. ) [31] ตามโองการที่ 124 ของซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ ระบุว่า พระเจ้าทรงแต่งตั้งศาสดาอิบราฮิม (อ. ) ให้ดำรงตำแหน่งอิมามะฮ์ (ผู้นำ)หลังจากการทดสอบหลายครั้งด้วยกัน อัลลามะฮ์ฏอบาฏออี กล่าวว่า ตำแหน่งของอิมามะฮ์ในโองการนี้ หมายถึง การชี้นำภายใน เป็นตำแหน่งที่จะเข้าไปถึงต้องมีความสมบูรณ์แบบที่มีอยู่และสถานะทางวิญญาณพิเศษยิ่ง หลังจากผ่านการต่อสู้อย่างมากมาย [32] | |||
ตามโองการในอัลกุรอาน ระบุว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงคัดเลือกศาสดาอิบรอฮีมให้เป็นคอลีล (มิตร) (33)ด้วยเหตุนี้เอง เขาจึงถูกตั้งฉายานามว่า เคาะลีลุลลอฮ์ ตามริวายะฮ์ในหนังสืออิละลุชชะรออิย์ รายงานว่า การสุญูดอย่างมากมาย การไม่ปฏิเสธความต้องการของผู้อื่น และไม่ร้องขอจากผู้อื่นที่ไม่ใช่พระเจ้า การให้อาหารและการอิบาดะฮ์ในยามกลางคืน เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้พระผู้เป็นเจ้าทรงเลือกเขาให้เป็นเคาะลีล [34 ] | |||
'''อิบรอฮีม เป็นบิดาของบรรดาศาสดา''' | |||
ตรงตามอัลกุรอาน อิบรอฮีม เป็นบรรพบุรุษของบรรดาศาสดาจำนวนหนึ่ง หลังจากเขา [35] อิสฮาก บุตรชายของเขา เป็นบรรพบุรุษของบะนีอิสราเอล ซึ่งมีบรรดาศาสดา เช่น ยะอ์กูบ ยูซุฟ ดาวูด สุไลมาน อัยยูบ ฮารูน และบรรดาศาสดาคนอื่นๆจากบะนีอิสรออีล [ 36] | |||
นอกเหนือจากนี้ เชื้อสายของศาสดาอีซา โดยผ่านทางมารดาของเขา ท่านหญิงมัรยัม (อ.) ไปถึง ยะอ์กูบ บุตรชายของอิสฮาก [37] ตามริวายะฮ์ของอิสลามรายงานว่า เชื้อสายของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) มาจากอิสมาอีล บุตรชายอีกคนของศาสดาอิบรอฮีม ด้วยสาเหตุนี้ เขาจึงถูกเรียกว่า อะบูลอัมบิยาอ์ (บิดาของบรรดาศาสดา) [39] | |||
'''ปาฏิหาริย์''' | |||
ตามโองการอัลกุรอาน ระบุว่า การทำให้ไฟมีความเย็นและการคืนชีพของนกทั้งสี่ตัว ถือเป็นปาฏิหาริย์ของศาสดาอิบรอฮีม (อ.) | |||
การทำให้ไฟมีความเย็น ตามโองการที่ 57 จนถึง 70 จากซูเราะฮ์อัลอัมบิยาอ์ ระบุว่า ศาสดาอิบรอฮีมได้ทำลายรูปปั้น หลังจากที่เขาเห็นว่า กลุ่มผู้คนของเขาไม่ได้หยุดในการบูชารูปปั้น และถือว่า การกระทำนี้เป็นของรูปปั้นตัวใหญ่ และกล่าวว่า หากรูปปั้นนั้นพูดได้ก็จงถามมัน เหล่าพวกที่เคารพรูปปั้นก็หยุดในการใช้เหตุผลของเขา แต่ก็ไม่ได้หยุดความเชื่อ พวกเขาจึงจับตัวของอิบรอฮีมโยนลงไปในกองไฟ เพราะเขาได้ทำลายรูปปั้นของพวกเขา แต่ไฟก็ดับลงตามพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า [40] | |||
การฟื้นคืนชีพของนกสี่ตัว: ตามโองการที่ 260 จากซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ ระบุว่า เพื่อตอบสนองต่อคำร้องขอของศาสดาอิบราฮีมที่ต้องการเห็นสิ่งที่เสียชีวิตกลับมามีชีวิตอีกครั้ง พระผู้เป็นเจ้าจึงทรงสั่งให้เขาเชือดนกทั้งสี่ตัวและผสมพวกมันเข้าด้วยกันและวางไว้บนภูเขาหลายลูก พระองค์ทรงกระทำการงานนี้แล้ว จึงทรงเรียกนก ทั้งหมดและทำให้พวกมันมีชีวิตขึ้นมาและกลับไปหายังพระองค์ | |||
'''การอพยพ''' | |||
ในโองการที่ 71 ของซูเราะฮ์อัลอัมบิยาอ์ มีการกล่าวถึงศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ว่า : เราได้พาเขาไปพร้อมกับลูฏให้ไปยังดินแดนที่ถือว่าเป็นเกียรติแก่ชาวโลก [41] หนังสือตัฟซีรบางเล่มเขียนว่า แผ่นดินที่ถูกกล่าวในโองการนี้ คือ แผ่นดินชาม (ซีเรีย) [42]หรือปาเลสไตน์และบัยตุลมุก็อดดัซ(เยรูซาเล็ม) (43) ในริวายะฮ์จากอิมามศอดิก (อ.) ในแนะนำว่า บัยตุลมุก็อดดัซ เป็นจุดหมายปลายทางของการอพยพของศาสดาอิบรอฮีม (อ.) | |||
'''การสร้างวิหารกะอ์บะฮ์''' | |||
| |||
ในโองการที่ 127 จากซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ ระบุว่า ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ได้สร้างกะอ์บะฮ์ด้วยความช่วยเหลือของอิสมาอีล บุตรชายของเขา [45] และตามพระบัญชสของพระผู้เป็นเจ้า เขาได้เชิญชวยผู้คนเข้าร่วมประกอบพิธีฮัจญ์ [46] ตามบางริวายะฮ์ รายงาน กะอ์บะฮ์ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกโดยศาสดาอาดัม (อ.) และศาสดาอิบรอฮีมก็บูรณะมันขึ้นมาใหม่ [47] | |||
'''การเชือดบุตร''' | |||
การทดสอบอันศักดิ์สิทธิ์ประการหนึ่งของศาสดาอิบรอฮีม ก็คือ เขาได้รับมอบหมายให้สังหารบุตรชายของเขา ตรงตามอัลกุรอาน รายงานว่า ศาสดาอิบรอฮีมได้ฝันว่า เขากำลังสังหารบุตรชายของเขา เขาจึงหารือเรื่องนี้กับบุตรชายของเขา และบุตรชายของเขาขอให้เขาปฏิบัติตามพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า แต่เมื่อศาสดาอิบรอฮีมวางบุตรชายบนแท่นเชือดเพื่อสังหาร ก็มีเสียงร้องเรียกว่า โอ้อิบรอฮีมเอ๋ย เจ้าได้กระทำตามความฝันของเจ้าสำเร็จแล้ว นี่คือวิธีที่เราจะตอบแทนบรรดาผู้ที่กระทำความดี ซึ่งการมีเจตนาดีและบริสุทธิ์แทนที่การกระทำ) แท้จริงการทดสอบนี้ชัดเจนแล้ว และเราได้งดเว้นบุตรของเจ้า จากการเสียสละอันใหญ่หลวง (จากการถูกเชือด) (48) | |||
อัลกุรอานไม่ได้กล่าวถึงชื่อของบุตรชายของอิบรอฮีมที่ได้รับคำสั่งให้สังหารเขา ในเรื่องนี้ มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันระหว่างทั้งชาวชีอะฮ์และชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ บางคนบอกว่า เป็นอิสมาอีล ส่วนบุคคลอื่นๆ บอกว่า เป็นอิสฮาก [49] เชคฏูซี เชื่อว่า จากริวายะฮ์ของชีอะห์นั้นเป็นที่ชัดเจนว่า เป็นอิสมาอีล [50] มุลลา ศอลิฮ์ มาซันดะรอนีเขียนในหนังสือชะเราะฮ์ฟุรูอุลกาฟีย์ ถือว่า ความคิดเห็นนี้ เป็นที่รู้จักกันในหมู่นักวิชาการของชีอะฮ์ [51] ] ในบทซิยาเราะฮ์ฆุฟัยละฮ์(บทซิยาเราะฮ์สำหรับอิมามฮุเซน (อ.) ในวันที่ 15 เดือนรอญับ) กล่าวว่า ขอสันติสุขพึงมีแด่ โอ้ผู้เป็นทายาทของอิสมาอีล ผู้พลีชีพแห่งพระเจ้า[ 52] | |||
== เชิงอรรถ == | == เชิงอรรถ == |