การเป็นชะฮีดของอิมามอะลี (อ.)

จาก wikishia

การเป็นชะฮีด (มรณสักขี) ของอิมามอะลี (อ.) (ภาษาอาหรับ : استشهاد الإمام علي عليه السلام ) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษแรกแห่งฮิจญ์เราะฮ์ศักราช ซึ่งส่งผลอย่างมากต่อสถานภาพของบรรดาชีอะฮ์ การเป็นชะฮีดของอิมามอะลี (อ.) เป็นสาเหตุทำให้เกิดการสังหารและการรังแกชาวชีอะฮ์ทั้งหลาย และทำให้เกิดการล่มสลายของกองทัพของอิมามอะลี (อ.) ด้วยการเป็นชะฮีดของอิมาม ได้เกิดมีแนวโน้ม ความขัดแย้ง และความขุ่นเคืองที่หลากหลายในหมู่ชาวเมืองกูฟะฮ์ปรากฏอย่างชัดเจน หลังจากการเป็นชะฮีดของอิมาม สหายบางคนของท่านอะลี (อ.)ได้เปรียบเทียบกองทัพของกูฟะฮ์กับฝูงแกะที่ได้สูญเสียคนเลี้ยงแกะไป และกำลังจะถูกหมาป่าจากทุกด้านล่าเป็นเหยื่อของมัน

พวกคอวาริจญ์กลุ่มหนึ่งได้รวมตัวกันหลังพิธีฮัจญ์ และร้องเรียนเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ของชาวมุสลิม จนในที่สุด มีคนสามคนได้สาบานว่า จะสังหารอะลี มุอาวียะฮ์และอัมร์ บิน อาศ โดยอิบนุ มุลญัม สาบานว่า จะสังหารท่านอะลี อิมามอะลี (อ.) เป็นแขกของอุมมุล กุลษูม บุตรสาวของเขา ในกลางคืนของวันที่ ๑๙ รอมฎอน เขาไปที่มัสญิดก่อนอะซานศุบฮ์ เขาได้ปลุกผู้คนที่กำลังนอนหลับอยู่ในมัสญิด รวมทั้ง อิบนุ มุลญัม สำหรับการนมาซ และเขาได้ยืนอยู่ในมิห์รอบเพื่อทำนมาซ

อิบนุ มุลญัม ได้ฟันที่ศีรษะของอิมาม ด้วยดาบของเขาขณะที่กำลังซุญูด หรือลุกขึ้นจากการซุญูด อิมามถูกนำตัวกลับไปยังบ้าน และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมีชื่อว่า อะษีร บิน อัมร์ ได้ตรวจร่างกายของอิมาม อะษีรเป็นหนึ่งในสาวกของเขาและหลังจากได้รับบาดแผลที่สมอง เขาจึงบอกให้อิมามทำพินัยกรรม เพราะว่า เวลาของเขานั้น จะอยู่ได้ไม่นานนัก ก่อนเป็นชะฮีดของอิมาม เขาหมดสติไปหลายครั้ง เขานั่งทำนมาซและได้มีพินัยกรรมให้กับบุตรทั้งหลายของเขา

อิมามฮะซัน(อ.) อิมามฮุเซน (อ.) มุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮ์และอับดุลลอฮ์ บิน ญะอ์ฟัร ร่วมกันทำฆุซล์ให้อิมามอะลี (อ.) อิมามฮะซัน (อ.) ได้นมาซมัยยิตให้ศพของอิมาม ผู้ล่วงลับ พวกเขาได้ทำการฝังศพของท่านอะลี (อ.) ในเวลากลางคืน สถานที่ฝังศพของอิมามอะลี (อ.) ได้ถูกซ่อนเร้นไว้ เพื่อป้องกันการขุดหลุมศพโดยพวกคอวาริจญ์และความเป็นปรปักษ์ของบะนีอุมัยยะฮ์ จนกระทั่ง อิมามซอดิก (อ.)ได้เปิดเผยสถานที่ฝังศพให้ทุกคนรับรู้ในช่วงยุคสมัยการปกครองของบะนี อับบาส

ผลของการเป็นชะฮีดของอิมามอะลี (อ.) ต่อสถานการณ์ของบรรดาชีอะฮ์

อิมามอะลี (อ.) ถูกทำชะฮาดัต ในเดือนรอมฎอน ฮ.ศ. ๔๐ [๑] การเป็นชะฮีดของอิมามเป็นช่วงเวลาที่มีปัญหาอย่างมาก กองทัพทหารไม่เชื่อฟังอิมามอย่างเต็มที่และมีความหละหลวมในการร่วมทางกับเขา ในทางกลับกัน กองทัพแห่งเมืองชาม ภายใต้การบังคับบัญชาของมุอาวียะฮ์มีความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นอย่างมาก [๒]ในช่วงเวลานี้ เมื่อทราบสถานการณ์แล้ว มุอาวียะฮ์ได้โจมตีพื้นที่ต่างๆ ของการปกครองของอิมามอะลี (อ.) และสังหารและปล้นสะดมผู้ที่ปฏิบัติตามและบรรดาชีอะฮ์ของท่านอะลี (อ.) [๓]

อิมามอะลี (อ.) กำลังเตรียมกองทัพเพื่อเคลื่อนทัพไปยังซีเรียและต่อสู้กับมุอาวียะฮ์ เมื่อเขาถูกอิบนุ มุลญัม ฟัน (๔) การเป็นชะฮีดของอิมามอะลี (อ.) ทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างกองทัพกูฟะฮ์ ในลักษณะดังกล่าว เนาว์ บิกาลี จากบรรดาสหายของท่านอะลี (อ.)รายงานว่า กองทัพกำลังเตรียมเคลื่อนทัพไปยังซีเรีย เมื่อท่านอะลี (อ.) ถูกอิบนุ มุลญัมฟัน และกองทัพจึงกลับไปยังเมืองกูฟะฮ์ เนาว์ได้เปรียบเทียบสถานการณ์ของกองทัพของอิมามอะลีในช่วงเวลานั้นกับฝูงแกะที่สูญเสียคนเลี้ยงแกะไปและหมาป่ากำลังจะขโมยจากทุกทิศทาง (๕)

หลังจากการเป็นชะฮีดของอิมามอะลี (อ.) ชาวเมืองกูฟะฮ์ได้ให้สัตยาบันกับอิมามฮะซัน (อ.) แต่ตามที่นักค้นคว้าวิจัยบางคน ระบุว่า ข้อเท็จจริงของกูฟะฮ์นั้นไม่มีอะไร นอกจากแนวโน้มที่หลากหลาย ความแตกต่างทางความคิดเห็น และการสำแดงความเกลียดชังในหมู่ผู้คน ด้วยเหตุนี้ กองทัพของอิมามฮะซัน (อ.) จึงไม่มีความสามารถในการต่อต้านกองทัพแห่งเมืองชามได้ [๖] อายะตุลลอฮ์ ซุบฮานี นักประวัติศาสตร์ชีอะฮ์ เชื่อว่า การเป็นชะฮีดของอิมามอะลี (อ.) ได้สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่อเรือนร่างของสังคมอิสลาม และทำให้เกิดการสังหาร การทำร้ายร่างกาย และการคุกคามชาวชีอะฮ์โดยศัตรู (๗) ด้วยการเป็นชะฮีดของอิมามและหลังจากช่วงเวลาสั้นๆในการปกครองของอิมามฮะซัน (อ.) ยุคสมัยของบะนีอุมัยยะฮ์ก็ได้เริ่มต้นขึ้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดสำหรับชาวชีอะฮ์ (๘) สถานการณ์ของชาวชีอะฮ์ กลายเป็นเรื่องที่ยากอย่างมาก หลังจากที่มุอาวียะฮ์เข้ามามีอำนาจ อิบนุ อะบีลฮะดีด รายงานว่า ไม่ว่าชาวชีอะฮ์ จะอยู่ที่ใดก็ตาม พวกเขาถูกสังหาร หรือไม่ ก็มือและเท้าของพวกเขาจะถูกตัดขาด หรือทรัพย์สินของพวกเขาถูกปล้นสะดมและถูกคุมขัง [๙]

บรรดาชีอะฮ์ได้ร่วมไว้อาลัย (๑๐)ต่อการเป็นชะฮีดของอิมามอะลี (อ.) ในคืนที่ ๒๑ ของเดือนรอมฎอน ซึ่งคาดว่า จะเป็นคืนอัลก็อดร์ [๑๑ ] ในบางพื้นที่ของอิหร่าน ในคืนนี้ จะมีการแสดงตะอ์ซีเยะฮ์ ที่เรียกว่า ตะอ์ซีเยะฮ์ กัมบัร และท่านอะลี (อ.) (๑๒) นอกจากนี้ ชาวชีอะฮ์บางคนก็ได้แจกจ่าย นัศรี อิฟฏอร และซะฮะรี ในคืนนี้ ด้วย (๑๓) การกล่าวประโยคที่ว่า ข้าแต่อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงโปรดสาปแช่งฆาตกรที่สังหารอะมีรุลมุอ์มินีน อะลี (อ.) หนึ่งร้อยครั้ง เป็นหนึ่งในการกระทำของคืนที่ ๑๙ และ ๒๑ ของเดือนรอมฎอน [๑๔]

อิมามอะลีทราบเรื่องการเป็นชะฮีดของเขาใช่หรือไม่?

ตามบางริวายะฮ์รายงานว่า อิมามอะลีทราบถึงรายละเอียดของการเป็นชะฮีดของเขา เช่น เมื่อใดและเกิดขึ้นได้อย่างไร [๑๕]ในหนังสือ อัลกาฟี หนึ่งในสี่หนังสือชีอะฮ์ มีหัวข้อหนึ่งที่ว่า อิมามทราบว่า พวกเขาจะเสียชีวิตเมื่อใด [๑๖] เชคมุฟีด อัลลามะฮ์ ฮิลลี และซัยยิดมุรตะฎอ ได้มีการพูดคุยกันเกี่ยวกับประเด็นนี้ในผลงานของพวกเขาด้วย[๑๗]ตามคำกล่าวของเชค มุฟีด (เสียชีวิต: ๔๑๓ ฮ.ศ.) นักศาสนศาสตร์ชีอะฮ์ ระบุว่า ริวายะฮ์ต่างๆที่เกี่ยวกับประเด็นนี้อยู่ในระดับมุตะวาติร (๑๘) ในการคำตอบของประเด็นนี้ หากว่า บรรดาอิมาม รวมทั้งอิมามอะลี มีความรู้ในเวลาที่พวกเขาเป็นชะฮีด ทำไมพวกเขาจึงไม่ปกป้องชีวิตของพวกเขา มีความเป็นไปได้อยู่สองประการ ดังนี้ : บางทีความรู้ของพวกเขาเกี่ยวกับเวลาและสถานที่แห่งการเป็นชะฮีดและเหล่าฆาตกร ก็ไม่มีรายละเอียด หากว่า พวกเขาทราบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการเป็นชะฮีดของพวกเขา ในบางครั้ง หน้าที่ของพวกเขา ก็คือ การมีความอดทน [๑๙]

ซัยยิดมุรตะฎอ (เสียชีวิต: 436 ฮ.ศ.) นักศาสนศาสตร์ชีอะฮ์ อีกคนหนึ่ง ยังกล่าวด้วยว่า อิมามอะลีมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการเป็นชะฮีดของตัวเองและฆาตกรของเขา แต่เขาไม่ทราบถึงเวลาของการเป็นชะฮีด เพราะว่า หากเขามีความรู้ เขาก็น่าจะหลีกเลี่ยงจากการถูกฆาตกรรมได้ [๒๐]

ตามที่ผู้เขียนบทความ ความรู้ของอิมามเกี่ยวกับการเป็นชะฮีดและข้อสงสัยในความไม่ลงรอยกันของมันกับความสะอาดบริสุทธิ์จากบาป ในหลายกรณีที่บรรดาอิมามต่างยอมรับที่จะเป็นชะฮีด พวกเขาไม่ได้คัดค้านกฏที่จำเป็นในการรักษาชีวิตตนเอง ตามทัศนะของผู้เขียนคนนี้ ระบุว่า ความรู้ของบรรดาอิมามไม่ได้เกิดขึ้นตามวิธีการทั่วไป ด้วยเหตุนี้ความรู้ดังกล่าวจึงมิใช่หน้าที่และหากสมมุติว่า เป็นหน้าที่ บางทีอิมามอาจมีหน้าที่อันพิเศษ เนื่องจากการทำให้สังคมได้รับความผาสุก เป็นต้น [๒๑] มีรายงานจากอิมามริฎอ (อ.) กล่าวว่า อิมามอะลีได้ยอมรับการยอมจำนนต่อชะตาลิขิตของพระเจ้า ในคืนที่ ๑๙ รอมฎอน [๒๒] มุลลา ศอลิห์ มาซันดะรอนี หนึ่งในผู้อธิบายหนังสือ อุศูลอัลกาฟี ในการอธิบายคำกล่าวนี้จากสุนทรพจน์ของอิมามริฎอ (อ.) ที่เกี่ยวกับท่านอะมีรุลมุอ์มินีน อะลี (อ.) (ถูกเลือกในมัน ระหว่างการคงอยู่และการพบปะ ดังนั้น เขาจึงได้เลือกการพบปะ เพื่อที่จะเป็นชะตาลิขิตของพระเจ้า ) เขียนไว้ว่า อิมามอะลี (อ.) ในคืนวันที่ ๑๙ เดือนรอมฎอน เขาอยู่ระหว่างการคงอยู่ในโลกนี้กับการพบปะกับพระเจ้า ดังนั้น เขาจึงเลือกการพบปะกับพระเจ้า เพื่อทำให้การกำหนดของพระเจ้าบรรลุผลสำเร็จ และหากสิ่งนี้กระทำโดยพระบัญชาของพระเจ้าและด้วยความพึงพอพระทัยของพระองค์ ไม่เพียงแต่เป็นที่อนุญาตเท่านั้น แต่ถือเป็นข้อบังคับ เช่นเดียวกับที่อิมามฮุเซนก็กระทำเช่นนี้ และเราก็กระทำเช่นเดียวกันในเวลาญิฮาดกับศัตรูอีกด้วย [๒๓]

เศาะฆีร อิศฟะฮานี ราชสีห์แห่งพระเจ้า นายแห่งวีรบุรุษ กล่าวกับบุตรชายว่า ถ้าฉันเสียชีวิต เนื่องจากบาดแผลที่ศีรษะ ฉันจะอภัยให้กับความผิดพลาดของศัตรู และ ถ้าฉันละเว้นความผิดพลาดของเขา เนื่องจากความกล้าหาญของฉัน และหากฉันไม่สิ้นชีวิต เจ้าจะต้องแก้แค้นให้ฉัน การฟันเพียงครั้งเดียว ทำให้เกิดความเศร้าใจ ใช่แล้ว นี่คือบทเรียนแห่งความกล้าหาญ อะลีต้องการสอนเรื่องนี้ให้เรา (๒๔)

บทบาทของเกาะฏอมในการเป็นชะฮีดของอิมามอะลี (อ.)

ตามรายงานทางประวัติศาสตร์ เกาะฏอม บินติ ชัจญ์นะฮ์ เป็นผู้ที่มีบทบาทในการเป็นชะฮีดของอิมามอะลี (อ.) เพื่อตอบสนองต่อข้อเสนอของ อิบนุมุลญัม นางได้ตั้งสินสอดของตน ไว้ที่หนึ่งพันดิรฮัม ทาสรับใช้หนึ่งคน และการสังหารอะลี (อ.) (๒๕) อิบนุมุลญัมด้วยการยอมรับเงื่อนไขเหล่านี้ เขาจึงตกลงที่จะแต่งงานกับเกาะฏอม [๒๖] พ่อของเกาะฏอม [๒๗] และพี่น้องของนาง [๒๘] ถูกสังหารในสงครามนะฮ์รอวาน

ในระหว่างการประกอบพิธีฮัจญ์ในปี ฮ.ศ. ๓๙ เกิดการโต้เถียงเกิดขึ้นระหว่างตัวแทนของอิมามอะลีและตัวแทนของมุอาวียะฮ์ หลังจากพิธีฮัจญ์ กลุ่มคอวาริจญ์กลุ่มหนึ่ง ได้รวมตัวกันที่มักกะฮ์ และกล่าวว่า พวกเขาไม่เคารพความศักดิ์สิทธิ์ของกะอ์บะฮ์ [๒๙]พวกเขาฟ้องร้องเกี่ยวกับสภาพของชาวมุสลิมและรำลึกถึงการเสียชีวิตของพวกเขาในสงคราม นะฮ์รอวาน (๓๐) ในท้ายที่สุด มีบุคคลสามคนได้สาบานที่จะสังหารท่านอะลี มุอาวียะฮ์ และอัมร์ บิน อาศ โดยอิบนุมุลญัม มุรอดี ให้สัญญาว่า เขาจะสังหารอะลี (อ.) [๓๑] อิบนุ มุลญัม เข้าไปในเมืองกูฟะฮ์ในวันที่ ๒๐ ชะอ์บาน ฮ.ศ. ๔๐ [ ๓๒ ] และรู้จักกับเกาะฏอมที่นั่น [๓๓]

การฟาดฟันอิมามอะลี (อ.)

ในคืนที่ ๑๙ เดือนรอมฎอน อิมามอะลี (อ.) ได้เป็นแขกของท่านหญิงอุมมุลกุลษูม บุตรสาวของเขา (๓๔) ญะอ์ฟะรียอน นักประวัติศาสตร์ชีอะฮ์ รายงานว่า มีริวายะฮ์ต่างๆมากมายที่ได้รับการรายงานผ่านอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.)และอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสภาพจิตใจพิเศษของอิมามในคืนที่ถูกฟัน (๓๕) ตามรายงานจากอิบนุอะษีร นักประวัติศาสตร์ชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ เขียนไว้ในหนังสือ อัลกามิล (๓๖) และริวายะฮ์จากหนังสือ กาฟี [ ๓๗]ในคืนการถูกฟัน เมื่ออิมามได้ออกมาจากบ้าน ฝูงห่านก็เข้ามาเบื้องหน้าเขา และเมื่อพวกเขาขับไล่พวกเหล่านั้นออกไป ท่านอิมามก็กล่าวว่าให้ปล่อยพวกเหล่านั้นไว้ตามลำพัง ซึ่งส่งเสียงร้องดัง อัลลามะฮ์ มัจญ์ลิซี ถือว่า ริวายะฮ์นี้ในอัลกาฟีย์ มีความอ่อนแอ [๓๘]

ตามรายงานจากอัลลามะฮ์ มัจญ์ลิซี ในหนังสือ บิฮารุลอันวาร เขียนว่า อิมามอะลี (อ.) ได้ไปยังมัสญิด และได้กล่าวอะซานด้วยตัวของเขาเอง (๓๙) เขาได้ปลุกผู้คนที่กำลังนอนหลับอยู่ในมัสญิดเพื่อทำนมาซ นอกจากนี้ เขายังปลุกอิบนุมุลญัม ที่กำลังนอนคว่ำอยู่ในมัสญิดให้ตื่นขึ้น และห้ามไม่ให้มีการนอนหลับแบบนั้น (๔๐) แล้วเขายืนนมาซในมิห์รอบ ในช่วงเวลาของการซุญูด (๔๑) หรือเมื่ออิมามลุกขึ้นจากการซุญูด (๔๒) อิบนุมุลญัม ก็ฟันศีรษะของอิมามด้วยดาบ [๔๓] บนพื้นฐานของบางรายงาน ระบุว่า อิมามถูกโจมตีขณะที่เขาเข้าไปในมัสญิด [๔๔] อิบนุมุลญัม พร้อมกับชะบีบ บิน บัจญ์เราะฮ์ อัชญะอี[๔๕] และวัรดาน [๔๖] ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว อิบนุมุลญัม พูดว่า : คำตัดสินมีไว้เพื่อพระเจ้า ไม่ใช่เพื่อท่านและเหล่าสหายของท่าน (๔๗) มีรายงานว่า หลังจากที่อิมามอะลี (อ.) ถูกฟัน ญิบรออีลได้สาบานต่อพระเจ้าว่า รากฐานแห่งการชี้นำถูกทำลายสิ้น และดวงดาวในท้องฟ้าและสัญญาณแห่งความยำเกรงก็สูญสลายไป [๔๘] รายงานนี้ไม่พบในแหล่งข้อมูลก่อนหน้านี้ [ ต้องการแหล่งอ้างอิง ] และมีเพียงแหล่งข้อมูลภายหลังบางส่วนเท่านั้น [๔๙] ที่รายงานเรื่องนี้ [หมายเหตุ ๑]

ฉันประสบความสำเร็จแล้วและขอสาบานต่อพระผู้อภิบาลแห่งกะอ์บะฮ์

ตามรายงานจากอิบนุ กุตัยบะฮ์ อัดดีนะวะรี นักประวัติศาสตร์แห่งศตวรรษที่ ๓ ระบุว่า อิมามอะลี (อ.) หลังจากถูกฟันได้กล่าวคำว่า ฉันประสบความสำเร็จแล้วและขอสาบานต่อพระผู้อภิบาลแห่งกะอ์บะฮ์ [๕๐] บรรดานักวิชาการชีอะฮ์ เช่น ซัยยิดเราะฎี [๕๑] อิบนุ ชะฮ์ร อาชูบ [๕๒] และจากชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ เช่น อิบนุ อะษีร [๕๓] และบะลาซุรี [๕๔]ได้รายงานคำพูดนี้

อิบนุอะบีลฮะดีด กล่าวไว้ว่า หลังจากที่อิมามถูกฟัน บรรดาแพทย์ของเมืองกูฟะฮ์ก็มารวมตัวกัน เพื่อทำการรักษาอิมาม [๕๕] อะษีร บิน อัมร์ หลังจากที่เขาได้ตรวจบาดแผลที่ศีรษะของอิมามแล้ว จึงสรุปว่าบาดแผลนั้นลามถึงสมองแล้ว ดังนั้น เขาจึงบอกให้อิมาม ทำพินัยกรรม เพราะว่า เวลาจะมีชิวิตอยู่ได้ไม่นาน [๕๖]

พินัยกรรมของอิมามอะลี หลังจากการถูกฟัน

บทกวีของวะซ็อล ชีรอซี เพื่อแสดงความเสียใจต่ออิมามอะลี (อ.) อะบุลฮะซัน อิมามแห่งโลกได้อำลาจากโลกนี้ไปแล้ว ในเมืองกูฟะฮ์ ฮะซัน และฮุเซน ไม่มีใครอีกแล้ว [๕๗]

มีรายงานเกี่ยวกับคำพูดและพินัยกรรมของอิมามอะลี ในระหว่างการถูกฟาดฟัน จนถึงการเป็นชะฮีด อิมามอะลี (อ.) หมดสติไปหลายครั้ง หลังจากถูกฟันจนถึงการเป็นชะฮีด (๕๘)เขานั่งนมาซและสั่งเสียกับบุตรทั้งหลายของเขา [๕๙] นอกจากนี้ เขายังได้มีพินัยกรรมพิเศษที่ส่งถึงอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน ซึ่งมีการรายงานไว้ในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ (๖๐)ในช่วงเวลานี้ อิมามยังได้กล่าวถึงความตายอีกด้วย [๖๑] อิมามอะลี (อ.) เป็นชะฮีด ในวันที่ ๒๑ รอมฎอน ฮ.ศ. ๔๐ [๖๒] แหล่งข้อมูลบางแห่งได้กล่าวถึงวันอื่นๆ สำหรับการเป็นชะฮีดของเขา [๖๓]

คำสั่งเสียเกี่ยวกับการแก้แค้นอิบนุมุลญัม

อิมามอะลี (อ.) ได้สั่งเสียให้ฟันอิบนุมุลญัมเพียงครั้งเดียวเท่านั้น (๖๔) ถ้าหากเขาถูกสังหาร ไม่ควรหั่นศพของเขา [๖๕] ตามแหล่งข้อมูลบางแห่งรายงานว่า อิมามได้ออกคำสั่งว่า ให้อาหารและน้ำและมีการประพฤติอย่างเหมาะสมกับอิบนุมุลญัม [๖๖] อย่างไรก็ตาม ในบางแหล่งข้อมูล ระบุว่า มีการกล่าวถึงว่าหลังจากการแก้แค้นอิบนุมุลญัม โดยอิมาม ฮะซัน [๖๗] ประชาชนได้เผาร่างกายของเขา (๖๘) นอกจากนี้ ยังมีรายงานบางส่วนกล่าวถึงการหั่นศพของอิบนุมุลญัม [๖๙]

ชะฮ์เรยาร

ในรุ่งเช้าของวันกิยามัต มีผล แหวนก็ถูกปลดออกจากเขา เขาวางมือไว้บนตักของเมาลา แล้วอะลีจะผ่านไป แต่เราไม่ได้ผ่านไป ผ้าพันคอของราชาถูกเปิดออกและแขวนที่ลำคอ ซัยนับของเขาก็รู้สึกเสียใจ สวมผ้าพันคอและร่ำไห้ ซึ่งเป็นเข็มขัดที่มั่นคงแห่งการเป็นชะฮีด ผู้นำซึ่งมีความปรารถนาที่จะพบปะ และเขาได้ปลุกฆาตกรให้ตื่นขึ้น [๗๐]

พิธีศพและการฝังศพ

อิมามฮะซัน (อ.) อิมามฮุเซน (อ.) มุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮ์ และอับดุลลอฮ์ บิน ญะอ์ฟัร ได้ร่วมกันทำฆุซล์ให้อิมามอะลี (อ.) [๗๑] อิมามฮะซัน (อ.) ได้นมาซมัยยิตเหนือศพของอิมาม (๗๒) พวกเขาได้ทำการฝังศพท่านอะลี (อ) ในตอนกลางคืน และจัดเตรียมสถานที่ฝังไว้หลายแห่ง เพื่อซ่อนสถานที่ฝังศพไว้ [๗๓] สถานที่ฝังศพของอิมามอะลี (อ.) ถูกซ่อนไว้เพื่อป้องกันการขุดหลุมศพโดยพวกคอวาริจญ์ [๗๔] และความเป็นปรปักษ์ของบะนีอุมัยยะฮ์ [๗๕] บรรดาชีอะฮ์เพียงไม่กี่คน ที่รู้จักสถานที่ฝังศพของเขา จนกระทั่ง อิมามศอดิก (อ.)ได้เปิดเผยสถานที่ฝังศพให้ทุกคนรับรู้ในช่วงยุคสมัยการปกครองของบะนี อับ บาส [๗๖] สถานที่ฝังศพของอิมามอะลี (อ.) อยู่ในเมืองนะญัฟ ซึ่งได้รับการกล่าวถึงในแหล่งข้อมูลต่างๆ [๗๗] เป็นเรื่องที่มีความเห็นพ้องต้องกันในหมู่ชีอะฮ์ [๗๘]

ผลงานประพันธ์ที่เกี่ยวข้อง

มักตัลอัลอิมามอะมีรุลมุอ์มินีน อะลี บิน อะบีฏอลิบ หนังสือเป็นภาษาอาหรับ เขียนโดย อิบนุ อะบีดุนยา (เสียชีวิต ๒๘๑ ฮ.ศ.) หนึ่งในนักวิชาการของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ [๗๙]ในหนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงการเป็นชะฮีดของอิมามอะลี (อ.) ในรูปแบบของฮะดีษ หนังสือเล่มนี้ได้รับแปลเป็นภาษาฟาร์ซี โดย มะห์มูด มะฮ์ดะวี ดามฆอนี [๘๐] ชะฮีด ผู้โดดเดี่ยว (มักตัล อะมีรุลมุอ์มินีน อะลี (อ.) เขียนโดย ซัยยิดมุฮัมมัดริฎอ ฮุซัยนี มุฏลัก (๘๑)